การประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556
ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรื่อง  สารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุค Open Access

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน - วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556
ห้อง บอลรูม 1 ชั้น 3 โรงแรมดิเอ็มเมอรัล กรุงเทพฯ
 

ติดตามความเคลื่อนไหว "การประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556"
ได้ที่  fb-01https://www.facebook.com/STKS.NSTDA

หลักการและเหตุผล

              ในแวดวงวิจัย วิชาการของประเทศไทย มีการผลิตผลงานวิจัย ผลงานวิชาออกมาอย่างสม่ำ เสมอ และเป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ดีผลงานเหล่านั้นมีระบบบริหารจัดการ การเข้าถึง และการ ให้บริการ ตามแนวทางของแต่ละหน่วยงาน บางหน่วยงานให้บริการเอกสารฉบับเต็ม ในบาง หน่วยงานบริการ เฉพาะข้อมูลบรรณานุกรมและบทคัดย่อ หลายหน่วยงานให้บริการผ่านเอกสารตัว เล่ม และมีหลาย หน่วยงานเปิดระบบออนไลน์ให้เข้าถึงได้สะดวก โดยการให้บริหารจัดการและ การให้บริการดังกล่าว จะทำผ่านห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศที่ทำ หน้าที่เป็นบ่อพักน้ำโดยการ จัดเก็บรวบรวมผลงาน ต่างๆ อันเป็นผลผลิตของประชาคมอย่างเป็น ระบบ และทำหน้าที่ให้บริการ เสมือนเป็นปลายน้ำ อย่างไรก็ดีการสร้างมูลค่าเพิ่มต่อการบริการ ปลายน้ำ ยังคงมีความจำเป็นยิ่งขึ้น ในยุคที่สารสนเทศเป็นปัจจัยสำคัญ โดยการทำให้ผลงานวิจัย ผลงานวิชาการที่จัดเก็บมีการเชื่อมโยง ข้อมูลระหว่างหน่วยงาน การนำข้อมูลจากผลงานดังกล่าว มาประมวลผลในมิติต่างๆ เช่น การหา ความเชี่ยวชาญของบุคลากร การให้ประชาคมนักวิจัย นัก วิชาการมีส่วนร่วมในการเผยแพร่องค์ความ รู้จากผลงาน การใช้ประโยชน์จากผลงานในรูปแบบ ต่างๆ และการเปิดโอกาสให้ทุกภาคส่วนเข้าถึง ผลงาน และองค์ความรู้ได้อย่างเหมาะสม อัน เป็นการสอดรับกับกระแสเทคโนโลยีระบบเปิด (Open Technology)

              ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (STKS) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และ เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารจัดการผลงานวิจัย ผลงาน วิชาการของประเทศไทยที่มีอยู่เป็นจำนวนมาก การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานของห้อง สมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ และแนวทางการเผยแพร่บนผลงานวิจัย ผลงาน วิชาการ และองค์ความรู้ที่สอดรับกับเทคโนโลยีระบบเปิด จึงได้จัดการประชุมวิชาการ STKS ประจำปี 2556 ขึ้น ภายใต้หัวข้อเรื่อง “สารสนเทศเพื่อการวิจัยในยุค Open Access” ขึ้น เพื่อให้ ความรู้ เพื่อเป็นกรณีศึกษาและแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการ สารสนเทศต่อไป 

 

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานวิจัย ผลงานวิชาการ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานของห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ
  2. เพื่อนำเสนอแนวคิดและส่งเสริมการประยุกต์ใช้ ICT ที่เหมาะสม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ
  3. เพื่อแลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงาน และเป็นกรณีศึกษาและแนวทางปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ
     

ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ

  1. ได้รับความรู้เกี่ยวกับการบริหารจัดการงานวิจัย ผลงานวิชาการ การสร้างมูลค่าเพิ่มจากการดำเนินงานของห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ
  2. ได้รับแนวคิดและองค์ความรู้ที่สอดรับกับระบบเปิด (Open Technology) และสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการบริหารจัดการผลงานวิจัย ผลงานวิชาการ
  3. ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ระหว่างหน่วยงาน และสามารถนำกรณีศึกษาต่างๆ มาเป็นแนวปฏิบัติที่ดีสำหรับห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ

หลักสูตรนี้เหมาะสำหรับ

  1. ผู้บริหารห้องสมุด สำนักหอสมุด และศูนย์บริการสารสนเทศ หน่วยงานวิจัย
  2. บรรณารักษ์ เจ้าหน้าที่สารสนเทศ เจ้าหน้าที่ระบบคอมพิวเตอร์ นักวิชาการ
  3. ผู้สนใจทั่วไป

รูปแบบการประชุมวิชาการ

  • การบรรยาย เสวนาทางวิชาการ และนิทรรศการทางวิชาการ

กำหนดการ

วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน 2556

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 09.05 น. กล่าวต้อนรับและกล่าวรายงาน
  • ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
    รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
09.05 - 09.15 น. กล่าวเปิดงาน
  • ดร. ชฎามาศ ธุวะเศรษฐกุล
    รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
09.15 - 10.15 น. ระบบคลังข้อมูลงานวิจัยไทย
  • นางกาญจนา ปานข่อยงาม
    รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ
การจัดเก็บข้อมูลงานวิจัย เป็นภาระงานหนึ่งที่หน่วยงานที่ทำงานเกี่ยวข้องกับทุนวิจัย และการทำวิจัยต้องดำเนินการ ที่มาผ่านมาจัดเก็บเป็นไปโดยต่างเก็บต่างรวบรวม ต่างประมวลผล แต่ด้วยเทคโนโลยีระบบเปิด ส่งผลให้เกิดมาตรฐานการเชื่อมข้อมูล OAI-PMH หน่วยงานที่ให้ทุนวิจัยของประเทศไทย อันได้แก่ วช. สวทช. สวรส. สวก. สกว. ได้ดำเนินการจัดทำระบบคลังข้อมูลวิจัยประเทศไทยขึ้นมา อันเป็นระบบจัดเก็บข้อมูลบรรณานุกรมข้อมูลงานวิจัย ระบบประมวลผล และสืบค้นแบบบูรณาการอันจะช่วยเป็นต้นแบบในการพัฒนาระบบฐานข้อมูลอื่นๆ แบบเชื่อมประสานกันต่อไป

10.15 - 10.30 น. นำเสนอระบบ และนำเสนอประเด็นการพัฒนา การเชื่อมโยง    
  • บุญเลิศ อรุณพิบูลย์
    ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
10.30 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11.00 - 11.50 น. การริเริ่มระบบมาตรฐานสากลเอกสารดิจิทัล DOI ประเทศไทย    
  • รศ.ดร.น้ำทิพย์ วิภาวิน
    สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
DOI (Digital Object Identifier) คือ รหัสบ่งชี้ รหัสประจำเอกสารดิจิทัล ช่วยให้ผู้ใช้ค้นหาและเชื่อมโยงการเข้าถึงสารสนเทศดิจิทัลได้สะดวก ถูกต้อง แม่นยำ แม้ว่ามีการเปลี่ยนที่อยู่เว็บไซต์ DOI ได้รับการรับรองให้เป็นมาตรฐาน ISO เลขที่ 26324-2012 การสัมมนาหัวข้อนี้ จะทำให้เห็นภาพแนวทางการประยุกต์ใช้ DOI ในประเทศไทยว่าควรเริ่มต้นอย่างไร มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง และหน่วยงานตั้งต้นควรเป็นหน่วยงานใด ความยั่งยืนควรมีแผนปฏิบัติอย่างไร


11.50 - 12.00 น.

นำเสนอตัวอย่างการใช้ประโยชน์จาก DOI โดยเน้นการลงรายการแบบ DOI ด้วย Drupal และ Zotero


  • บุญเกียรติ เจตจำนงนุช
    ฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.00 น. สถานการณ์การเผยแพร่ผลงานวิชาการในยุค OA (บริการสารสนเทศเพื่องานวิจัย : จะสนับสนุนและมีส่วนร่วมได้อย่างไร)   
  • รศ.อังสนา ธงไชย
    มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ในช่วงที่ผ่านมาราว 5 ปีมานี้ เกิดโมเดลใหม่ในการตีพิมพ์ผลงานวิจัยระดับโลก คือ Open Access (OA) โดยเฉพาะแบบ Gold OA ที่เปิดให้ผู้อ่านทั่วไปสามารถอ่านได้ฟรี เรียกเก็บค่าตีพิมพ์จากผู้แต่งบทความ ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบในวงกว้างต่อวงการวิชาการทั่วโลก เช่น เหตุการณ์ Boycott สำนักพิมพ์ การเกิดขึ้นของสำนักพิมพ์ล่าเหยื่อ Beall's Listฯลฯ โมเดลการตีพิมพ์ และการเผยแพร่ผลงานวิชาการแบบ OA มีลักษณะอย่างไร มีผลต่อวงการวิชาการไทยอย่างไร และไทยควรเตรียมพร้อมอย่างไร หัวข้อสัมมนานี้จะช่วยไขรายละเอียดให้ทุกท่าน

14.00 - 15.00 น. ผลงานวิชาการจอมปลอมใน Open Access 
  • รศ.ดร.ธีรยุทธ วิไลวัลย์
    ภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ระบบการสื่อสารทางวิชาการในอดีตจะเป็นในรูปแบบที่สำนักพิมพ์ดำเนินการแบบกึ่งผูกขาด โดยผู้เขียนมักจะเขียนให้ฟรีแล้วยังได้เงินจากผู้อ่านในรูปของค่าบอกรับสมาชิกวารสาร เพื่อดึงดูดให้ผู้อ่านยอมจ่ายเงินเพื่อเข้าถึงเนื้อหา วารสารจึงมักจะต้องมีการกลั่นกรองคุณภาพของงานที่ตีพิมพ์อย่างเข้มงวด อย่างไรก็ตาม ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้การเผยแพร่ผลงานในรูปแบบ Open Access ที่ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเพื่อให้ผู้อ่านสามารถเข้าถึงผลงานได้โดยไม่มีข้อจำกัดเป็นที่นิยมมากขึ้น ดังจะเห็นได้จากการเติบโตของวารสารในกลุ่มนี้อย่างก้าวกระโดด การตีพิมพ์ในรูปแบบ Open Access นี้แม้จะมีข้อดีอยู่หลายประการ แต่ก็กลับกลายเป็นช่องทางที่ให้ผู้ไม่หวังดีจำนวนมากใช้เป็นช่องทางในการหาประโยชน์โดยเน้นปริมาณของผลงาน (ซึ่งหมายถึงกำไร) มากกว่าคุณภาพของผลงาน  ในฐานะนักวิจัย ควรจะต้องตระหนักรู้ถึงอะไรบ้างที่จะทันต่อเล่ห์เหลี่ยมของผู้ไม่หวังดีต่อวงการวิชาการเหล่านี้ และในฐานะห้องสมุด ศูนย์บริการสารสนเทศ ศูนย์บริการข้อมูล จะสามารถช่วยเหลือหรือมีวิธีดำเนินการอย่างไร ในการกลั่นกรองผลงานวิชาการจอมปลอมเหล่านี้

15.00 - 15.30 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.30 - 16.30 น. การประเมินคุณภาพวารสารวิชาการไทยด้วยหลักการ Bibliometric    
  • ศ.ดร.ณรงค์ฤทธิ์ สมบัติสมภพ
    คณะพลังงานสิ่งแวดล้อมและวัสดุ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

คณะกรรมการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่ตีพิมพ์ในประเทศ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ให้การสนับสนุนการศึกษาวิจัยดัชนี ผลกระทบการอ้างอิง วารสารวิชาการภายในประเทศ เพื่อยกระดับคุณภาพ มาตรฐาน วารสารวิชาการไทยให้เทียบเท่าสากล โดยค่า Impact Factor ของวารสารแต่ละชื่อตามหลักการ Bibliometrics มาฟังกันว่าแนวทางต่อไปของคณะกรรมการฯ จะดำเนินการอย่างไร วารสารที่ต้องการค่า Impact Factor ควรทำอย่างไร และประเทศไทยได้อะไรจากการทำกิจกรรมนี้

 

วันศุกร์ที่ 28 มิถุนายน 2556

 

08.30 - 09.00 น. ลงทะเบียน
09.00 - 10.30 น. ข้อควรระวังในการละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในงานวิจัย    
  • ดร.เพียงเพ็ญ  บุตรกตัญญู
    สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ

มาทำความรู้จัก ทำความเข้าใจและแลกเปลี่ยนความรู้ด้านทรัพย์สินทางปัญญา โดยเฉพาะประเด็น “การละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาในงานวิจัย” อันจะช่วยให้งานวิจัยมีความโดดเด่น ความปลอดภัย

10.30 - 11.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
11.00 - 12.00 น. การโจรกรรมทางวิชาการ Plagiarism
  • นายสรวง อุดมสรภัณฑ์                   
    คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

กระแสการตรวจสอบการคัดลอกผลงานวิชาการเป็นกระแสที่พูดถึงกันมากในวงการวิชาการของประเทศไทย มีการพัฒนาเครื่องมือช่วยในการตรวจสอบหลายเครื่องมือ สำหรับประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยชั้นนำหลายแห่งให้ความสำคัญ และสนใจกับแนวทางนี้ หัวข้อนี้จะทำให้ท่านทราบว่า Plagiarism คืออะไร มีผลกระทบอย่างไรต่อวงการวิชาการ และเครื่องมือที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง

สรุปจากการบรรยาย

12.00 - 13.00 น. รับประทานอาหารกลางวัน
13.00 - 14.30 น. TurnItIn VS AntiKoppae
  • นายทักขพล จันทร์เจริญ
    Book Promotion & Service Co. ,Ltd.
     
  • ดร. อลิสา คงทน
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

ปัญหาการคัดลอกผลงานมีอัตราสูงเป็นอย่างมากในแวดวงวิชาการ วิจัย การตรวจสอบจำเป็นต้องใช้เครื่องมือที่มีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือที่พัฒนาด้วยโปรแกรมเชิงพาณิชย์ หรือโปรแกรมอื่นๆ ที่มีการพัฒนาเอง ซึ่งประเทศไทยมีการใช้งานทั้ง 2 ประเภท ย่อมเป็นแนวทางที่ดีของวงการวิชาการไทยในการป้องกันการคัดลอกผลงาน จากโปรแกรม TurnItIn และ AntiKoppae ต่างก็เป็นโปรแกรมที่น่าสนใจที่ต้องติดตาม
 

14.30 - 15.00 น. พักรับประทานอาหารว่าง
15.00 - 16.00 น. Social Network ของแวดวงวิชาการระดับโลก
  • ดร.ชูชาติ หฤไชยะศักดิ์
    ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ

Facebook เป็น Social Network ที่ได้รับการใช้งานมากที่สุดในปัจจุบัน แล้วในวงการวิชาการจะมี Social Network ใดบ้างที่เป็นที่ยอมรับ มาทำความรู้จักกับ Social Network ของกลุ่มนักวิชาการกันบ้างว่ามีอะไรบ้าง มีจุดเด่นอย่างไร และประยุกต์ได้อย่างไร

สรุปจากการบรรยาย

16.00 - 16.10 น. กล่าวปิดการประชุม               
  • นางสาวสุภาพร ชัยธัมมะปกรณ์
    ผู้อำนวยการฝ่ายบริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
                   

 



หมายเหตุ :
 กำหนดการอาจมีการเปลี่ยนแปลง