ตามที่ STKS ได้ศึกษาซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส (Open Source Software) รวมทั้งฟรีแวร์ (Freeware) โดยมีการใช้งานจริงใน STKS อย่างเป็นรูปธรรม ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 นั้น STKS ได้นำประสบการณ์จากการศึกษาและใช้งานจริงไปรณรงค์ส่งเสริมในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนในสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์ และสารสนเทศศึกษา/สารสนเทศศาสตร์ และได้รับการตอบรับจากสาขาวิชา/ภาควิชาเป็นอย่างดี ดังรายละเอียด 

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาควิชาบรรณารักษศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้ความสนใจกับกิจกรรมการส่งเสริม OSS & Freeware ของ STKS โดยเริ่มจากการเชิญบุคลากรของ STKS ไปให้คำแนะนำกับนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทในรายวิชาต่างๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ OSS & Freeware เช่น 

  • การพัฒนาเว็บด้วย Joomla
  • การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลด้วย Greenstone
  • การพัฒนา eBook 

และในปี พ.ศ. 2552 ได้มีการปรับปรุงหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา โดยกำหนดให้มีวิชา “ม.บร 436 (009436) โปรแกรมโอเพนซอร์สสำหรับการจัดการสารสนเทศ 3 หน่วยกิต” อย่างเป็นรูปธรรม รวมทั้งปรับปรุงหลักสูตรปริญญาโทสาขาวิชาสารสนเทศศึกษา โดยกำหนดให้วิชา “ม.สศ. 733 (023733) : ระบบซอฟต์แวร์สำหรับห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ 3 หน่วยกิต” เป็นการเรียนด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส 

 ตลอดทั้งได้ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนากับ STKS เป็นประจำทุกปี จากกิจกรรมข้างต้นภาควิชาฯ ได้พัฒนามาเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการโดยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. 2553 ถึง 25 ส.ค. 2557

ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

ภาควิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ได้ความสนใจกับกิจกรรมการส่งเสริม OSS & Freeware ของ STKS โดยเริ่มจากการเชิญบุคลากรของ STKS ไปให้คำแนะนำกับนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทในรายวิชาต่างๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ OSS & Freeware เช่น 

  • การพัฒนาเว็บด้วย Joomla
  • การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลด้วย Greenstone
  • การพัฒนา IR ด้วย Drupal


 ตลอดทั้งได้ร่วมจัดกิจกรรมสัมมนากับ STKS เป็นประจำทุกปี จากกิจกรรมข้างต้นภาควิชาฯ ได้พัฒนามาเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการโดยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 9 ก.ค. 2552 ถึง 8 ก.ค. 2556

สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย

สาขาวิชาสารสนเทศศึกษา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ได้ความสนใจกับกิจกรรมการส่งเสริม OSS & Freeware ของ STKS โดยเริ่มจากการเชิญบุคลากรของ STKS ไปให้คำแนะนำกับนักศึกษาทั้งระดับปริญญาตรี และปริญญาโทในรายวิชาต่างๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ OSS & Freeware เช่น 

  • การพัฒนาเว็บด้วย Joomla
  • การพัฒนาคลังเอกสารดิจิทัลด้วย Greenstone


รวมทั้งได้มีการปรับปรุงวิชา Information Storage & Retrieval และพัฒนาวิชา Metadata วิชา Information Repacking ขึ้นใหม่ และพิจารณาเลือก OSS & Freeware ที่เหมาะสมกับการเรียนการสอนในสองวิชาข้างต้น ดังนี้

  • การศึกษากระบวนการจัดเก็บและค้นคืนด้วย Greenstone, OpenOffice.org, Cataloger, XnView, Zotero
  • การพัฒนาศัพท์สัมพันธ์ด้วย TemaTres, TheW32
  • การศึกษาเมทาดาทาด้วย OpenOffice.org, ID3 Tag Editor, Greenstone, XnView, VLC, MetaX


จากกิจกรรมข้างต้นภาควิชาฯ ได้พัฒนามาเป็นความร่วมมืออย่างเป็นทางการโดยการลงนามความร่วมมือทางวิชาการ (MOU) มีระยะเวลาตั้งแต่วันที่ 26 ส.ค. 2553 ถึง 25 ส.ค. 2555