ด้วยพันธกิจหลักของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ในด้านวิจัยและการบริการวิชาการแก่สังคม ซึ่งในขณะเดียวกันพิพิธภัณฑ์ฯ ก็มีความจำเป็นที่จะต้องมีการพัฒนาตนเอง เพื่อสร้างความรู้ความเชี่ยวชาญในด้านการบริหารจัดการพิพิธภัณฑ์ และพัฒนาให้เป็นต้นแบบของแนวปฏิบัติที่ดี (best practice) โครงสร้างและรูปแบบฐานข้อมูลดิจิทัลสำหรับพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ที่ได้ดำเนินการไปในปีงบประมาณ 2559 ที่ผ่านมา ทำให้พบว่าระบบมาตรฐาน (standard system) ที่น่าจะเหมาะสมกับความต้องการ สำหรับการจัดการฐานข้อมูลวัตถุของพิพิธภัณฑ์ฯให้มีระบบเป็นสากล ก็คือ CDWA (Categories for the Description of Works of Art) แม้ว่าจะมีโครงสร้างที่ซับซ้อน แต่น่าจะเหมาะสมที่จะนำมาปรับใช้
สำหรับฐานข้อมูลประเภทโบราณวัตถุและวัตถุทางชาติพันธุ์ของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์ฯได้ ในปีงบประมาณ 2560 ได้จำลองโครงสร้างฐานข้อมูลและแบบการลงรายการ (Cataloging) ที่เป็นการกำหนดหมวดหมู่วัตถุ และกำหนดลำดับของการบรรยายคุณลักษณะของวัตถุ ที่จะนำมาเป็นต้นแบบของโครงสร้างฐานข้อมูลดิจิทัลต่อไปได้ ในปีงบประมาณ 2561 ได้จัดทำคู่มือการลงรายการ (Instruction for Cataloging) ซึ่งค้นคว้าและเรียบเรียงเป็นภาษาไทยจากคู่มือภาษาอังกฤษของ CDWA เป็นหลัก ซึ่งมีความละเอียดเป็นการกำหนดคลังศัพท์ควบคุม (controlled vocabularies) ซึ่งเป็นการเรียบเรียงคำนิยามของศัพท์ควบคุมประเภท controlled list เช่น ภาษาของชื่อวัตถุ, ลำดับการลงรายการ, หมวดหมู่วัตถุ, Dimensions Type, Dimensions Unit, หน้าที่ของวัสดุ, หน้าที่ของเทคนิค, หัวเรื่องทั่วไป เป็นต้น (ดูรายงานโครงการ) ก็เพื่อให้การลงรายการเป็นไปตามมาตรฐาน อันจะส่งผลต่อความเข้าใจที่ชัดเจนต่อวิธีการลงรายการของเจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ และมีผลต่อการสืบค้นข้อมูลด้วยระบบดิจิทัลอย่างมีประสิทธิ์ภาพ
ในปีงบประมาณ 2562 ได้สร้างคลังศัพท์ควบคุม ประเภท authority ได้แก่ ประเภทวัตถุ, หน้าที่ของผู้สร้าง, แบบศิลปะ / ยุคสมัย, วัสดุ, เทคนิค เป็นต้น โดยการรวบรวมจาก แหล่งเอกสารที่เชื่อถือและอ้างอิงได้ เช่น ศัพทานุกรมโบราณคดี, พจนานุกรมศัพท์ศิลปกรรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน, พจนานุกรมศัพท์ ศิลปกรรมไทย, พจนานุกรมหัตถกรรมเครื่องมือเครื่องใช้พื้นบ้าน, นามานุกรมเครื่องจักสาน เป็นต้น ทั้งนี้ คลังศัพท์ที่สร้างขึ้นมา จะอยู่บนฐานของประเภทวัตถุในคอลเลคชันของพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระ เกียรติ เป็นหลัก
และในปีงบประมาณ 2565 ต้องการพัฒนางานฐานข้อมูลที่ได้ดำเนินการมาแล้ว ให้เป็นโปรแกรมที่มี ความสมบูรณ์ ทั้งในแง่ความเป็นสากลและสามารถนำไปใช้ได้จริงทั้งโดยเจ้าหน้าที่ และผู้เข้าชม ซึ่งการพัฒนา งานฐานข้อมูลในครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดย คุณบุญเลิศ อรุณพิบูลย์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริการความรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นผู้ประสานงานหลักทั้งนี้การจัดทำฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ก็เพื่อให้ฐานข้อมูลดิจิทัลนี้เป็นประโยชน์สำหรับการบริหารจัดการวัตถุ การศึกษาวิจัย การจัดแสดง และการเผยแพร่สู่สาธารณะที่สามารถใช้อ้างอิงในเชิงวิชาการได้ด้วย นอกจากนี้ ฐานข้อมูลดิจิทัลที่กำลังพัฒนาให้มีระบบที่เป็นสากลนี้ จะเป็นฐานในการพัฒนาต่อยอดในอนาคต ให้พิพิธภัณฑ์ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ สามารถแลกเปลี่ยนและเชื่อมโยงข้อมูลกับพิพิธภัณฑ์ในต่างประเทศได้ อันจะเป็นประโยชน์สำหรับการศึกษาวิจัยด้านวัฒนธรรม และเป็นการพัฒนาทรัพยากร ของมหาวิทยาลัยให้สามารถก่อเกิดประโยชน์ในด้านการเรียนการสอนและการวิจัย และขยายขอบเขตการสร้างองค์ความรู้ด้านวัฒนธรรมได้อย่างไม่รู้จบ
เพื่อลงรายการในระบบฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์ เพื่อประโยชน์ในการจัดการข้อมูลและการสืบค้นต่อไป