หลักการ
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยโครงการนักวิจัยแกนนำ ดำเนินการคัดเลือกนักวิจัยศักยภาพสูงจำนวนหนึ่ง เป็นนักวิจัยแกนนำ สวทช. โดยให้การสนับสนุนงบประมาณรวมไม่เกิน 20 ล้านบาท ในระยะเวลาดำเนินงาน 5 ปี เพื่อแสดงความเป็นเลิศในสาขาที่เชี่ยวชาญ และผลิตผลงานวิจัยที่มีคุณภาพ ทั้งนี้ เพื่อเร่งให้เกิดการเพิ่มคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น จากผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นระหว่างการดำเนินงานของนักวิจัยแกนนำ จึงประกาศช่องทางการสนับสนุน “แผนงานการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น” ตั้งแต่ พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา เพื่อมุ่งสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการ และ/หรือ การใช้ประโยชน์ ที่อาจพัฒนาขยายไปสู่ภาคผลิต ภาคบริการ หรือภาคอุตสาหกรรมได้ในอนาคต
คำนิยาม แผนการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น
เป็นแผนงานที่ต่อยอดจากผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ เพื่อเร่งให้เกิดผลงานวิจัยที่มีคุณภาพสูงขึ้นจากเดิม มิได้เป็นการขยายขอบเขตของงานวิจัยให้กว้างขึ้น ผลงานที่เกิดขึ้นนี้มุ่งหวังให้นำไปสู่ 1. ความเป็นเลิศทางวิชาการ เช่น การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติชั้นนำของโลก เช่น Nature index หรือเทียบเท่า และ/หรือ 2. นวัตกรรมทางวิชาการที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์หรือเชิงสาธารณประโยชน์ที่เป็นรูปธรรม
หมายเหตุ
*หัวหน้าโครงการพิจารณารายการผลงานวิจัยที่เกิดขึ้นภายใต้โครงการวิจัย และเลือกผลงานวิจัยที่มีศักยภาพต่อยอดเพื่อเสนอรายละเอียดแผนงานในการขอรับการสนับสนุน
การสนับสนุน
จำนวนไม่เกิน 2 แผนงาน งบประมาณไม่เกิน 15 ล้านบาท/แผนงาน
คุณสมบัติของผู้เสนอแผนงาน และการดำเนินงาน
- เป็นหัวหน้าโครงการที่อยู่ระหว่างการดำเนินโครงการวิจัยภายใต้โครงการนักวิจัยแกนนำ และโครงการ NSTDA Chair Professor ซึ่งมีระยะเวลาดำเนินงานเหลืออยู่ไม่น้อยกว่า 14 เดือน นับจากวันที่ปิดรับสมัคร
- การดำเนินงานของแผนงานการยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้นต้องอยู่ภายใต้ระยะเวลาของโครงการวิจัยที่ได้รับการสนับสนุน
- โครงการนักวิจัยแกนนำจะประกาศรายละเอียดหลักการการเสนอแผนการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น เฉพาะในกลุ่มหัวหน้าโครงการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนดได้รับทราบ และ เรียนเชิญหัวหน้าโครงการที่มีคุณสมบัติตามที่กำหนด เสนอแผนงานฯ เพื่อรับการพิจารณา
ระยะเวลาการเสนอแผนงาน
2 เดือน นับตั้งแต่วันที่แจ้ง
รายละเอียดแผนงาน
- ชื่อแผนงาน (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
- งบประมาณ (บาท) ระยะเวลาดำเนินงาน (ปี)
- คณะผู้วิจัย
- บทคัดย่อและคำสำคัญ (ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ)
- รายละเอียดคณะผู้วิจัย
- ขอบเขตของแผนงานวิจัย
- ที่มาและการทบทวนวรรณกรรม
- เป้าหมายการยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้น
- วัตถุประสงค์หลัก
- Target Output Profiles ที่สำคัญของข้อเสนอแผนงาน เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ตามที่ตั้งไว้
- แผนผังแสดงความเชื่อมโยงกับแผนงานที่ได้รับการสนับสนุนภายใต้โครงการต่อเนื่อง
- ผลงานเด่นและผลกระทบที่คาดว่าจะได้รับจากแผนงาน รวมทั้ง แสดงเอกสารประกอบ ได้แก่
- บทคัดย่อ/สิทธิบัตร ของผลงานเด่นภายใต้โครงการ ที่คาดว่าจะสามารถตีพิมพ์ในวารสารชั้นนำ Nature index หรือวารสารวิชาการอันดับต้นของสาขาวิชา และระบุ Key-finding ในแต่ช่วงระยะเวลาตามเนื้อหาในบทคัดย่อ/สิทธิบัตร
- รายชื่อวารสารวารสารวิชาการอันดับต้นของสาขาวิชา ที่ประสงค์จะตีพิมพ์
- ผลงานที่คาดว่าจะได้รับ (จำนวนนับ)
- รายละเอียดแผนงานหลัก
- รายละเอียดการดำเนินการวิจัย
- งบประมาณ (ไม่เกิน 15 ล้านบาท)
- หมวดค่าจ้าง/ค่าตอบแทน (ไม่เกิน 40% ของงบประมาณรวม)
- หมวดทุนศึกษาวิจัย (ค่าลงทะเบียน และค่าใช้จ่ายประจำเดือน)
- หมวดค่าวัสดุ/สารเคมี
- หมวดค่าใช้สอย (ค่าวิเคราะห์ตัวอย่าง ค่าเดินทางเพื่อปฏิบัติงานในประเทศ ค่าจดสิทธิบัตรทั้งในและต่างประเทศ ค่าจัดประชุมหารือ และอื่นๆ)
- หมวดความร่วมมือกับภาคการผลิตและบริการ
- หมวดเดินทางต่างประเทศ (ไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี)
- หมวดค่าบริหารโครงการเพื่อจ่ายให้กับต้นสังกัด (ไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี)
- หมวดค่าครุภัณฑ์ ไม่เกิน 500,000 บาท ตลอดโครงการ
- เอกสารอ้างอิง
- ประวัติเต็มของคณะผู้วิจัยทุกท่าน
เกณฑ์การพิจารณา แบ่งเป็น 3 ส่วน ดังนี้
- แผนงานและวัตถุประสงค์ 30%
- ที่มาและเป้าหมายการยกระดับคุณภาพงานวิจัยให้สูงขึ้น
- ความเป็นไปได้ของวัตถุประสงค์และเป้าหมาย
- ความเชื่อมโยงกับแผนงานหลัก
- ความเหมาะสมของงบประมาณและวิธีดำเนินการในช่วงเวลาที่เสนอ
- ความพร้อมของเครื่องมือ อุปกรณ์ และสถานที่
- ความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายและโอกาสความสำเร็จของผลงานที่คาดว่าจะเกิดขึ้น 50%
- มีความเป็นไปได้ในการบรรลุเป้าหมายและผลสำเร็จที่คาดว่าจะเกิดขึ้น
- เกิดการยกระดับคุณภาพผลงานวิจัยให้สูงขึ้น เช่น การตีพิมพ์ในวารสารระดับนานาชาติ ชั้นนำของโลก เช่น Nature index หรือเทียบเท่า หรือวารสารอันดับต้นของสาขา การยื่นจดสิทธิบัตรระดับนานาชาติ การสร้างนวัตกรรมทางวิชาการที่มีศักยภาพการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณประโยชน์
- ความเหมาะสมของผลสำเร็จของผลงานวิจัยในเชิงคุณภาพ
- ผลกระทบที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากโครงการที่เสนอ 20% เช่น
- มีคุณค่าและเป็นประโยชน์อย่างมาก ในการพัฒนาด้านวิชาการ ด้านเศรษฐกิจ หรือ ด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือ
- มีความเชื่อมโยง และมีความเป็นไปได้สู่การใช้ประโยชน์ในภาคการผลิตและบริการหรือ ภาคสังคม หรือ
- สามารถคาดหวังผลกระทบในระดับสูงทางด้านเศรษฐกิจ และ/หรือ สังคม