• showcase_1.jpg
  • showcase_2.jpg
  • showcase_3.jpg
  • showcase_4.jpg
  • showcase_5.jpg
  • showcase_6.jpg
  • showcase_7.jpg
  • showcase_8.jpg
  • showcase_9.jpg
  • showcase_10.jpg
  • showcase_11.jpg
  • showcase_12.jpg

ภาวะโลกร้อนกับผลกระทบต่อป่าเมฆ

ภาวะโลกร้อนเป็นปัญหาสำคัญปัญหาหนึ่งของโลก เห็นได้จากผลกระทบที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นสภาวะที่อุณหภูมิโลกสูงขึ้น ส่งผลให้น้ำแข็งขั้วโลกละลาย และยังมีปรกกฏการณ์ต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เช่น ปรากฏการณ์เอลนิญโญ่-ลานิญญ่า หรือแม้กระทั่งความถี่และความรุนแรงของภัยพิบัติต่างๆ เช่น การเกิดแผ่นดินไหว พายุทอร์นาโด การเกิดน้ำท่วมอย่างฉับพลัน ภัยพิบัติเหล่านี้ล้วนแต่ก่อให้เกิดปัญหาต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสิ่งมีชีวิตต่างๆ บนโลก

ป่าเมฆเป็นระบบนิเวป่า (Forest ecosystem) ที่ได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะโลกร้อน ทั้งทางตรงและทางอ้อม

ผลกระทบทางตรง อุณหภูมิที่สูงขึ้น และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศอื่นๆ ทั้งความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน ทิศทางและความเร็วลม ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะโลกร้อน ล้วนส่งผลต่อการก่อตัวของเมฆและหมอก ซึ่งเป็นองค์ประกอบสำคัญของการเกิดขึ้นของป่าเมฆ

ผลกระทบทางอ้อม การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นจะส่งผลต่อปัจจัยที่ใช้ในการดำรงชีวิต ทำให้เกิดการโยกย้ายแหล่งที่อยู่ นำไปสู่การสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทั้งพืชและสัตว์ที่อยู่ในป่าเมฆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพืชอิงอาศัย (Epiphytes) ชนิดต่างๆ เช่น มอส ลิเวอร์เวิร์ต เฟิร์น กล้วยไม้ เป็นต้น รวมไปถึงสิ่งมีชีวิตประจำถิ่น (Endemic species) ซึ่งมีอยู่อย่างมากในป่าเมฆ การเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่เกิดขึ้นก็อาจจะส่งผลให้ป่าเมฆตายไปในที่สุด

พื้นที่ศึกษาชุดโครงการ "ป่าเมฆ-เขานัน"

อุทยานแห่งชาติเขานัน


ข้อมูลจำเพาะ

ที่ตั้ง:      ครอบคลุมพื้นที่ ต.กรุงชิง ต.นบพิตำ ต.ตลิ่งชัน ของ อ.ท่าศาลา และ ต.เขาน้อย ต.ฉลอง ต.เทพราช ต.เปลี่ยน ของ อ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช
สถานภาพ: ยังอยู่ระหว่างดำเนินการจัดตั้งเป็นอุทยาน
พื้นที่: 408.09 ตารางกิโลเมตร
จุดสูงสุด: 1,374 เมตรจากระดับน้ำทะเล
สังคมพืช: ดิบแล้ง

        อุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขานครศรีธรรมราช  เป็นต้นน้ำของลำธารหลายสายเช่น คลองกลาย คลองท่าทน คลองท่าควาย คลองเพียน คลองผด ฯลฯ ที่ต่างไหลจากยอดเขาอันชุ่มชื้นผ่านหมู่บ้านในตอนล่าง ลงสู่อ่าวไทย ราษฎรสามารถนำน้ำไปใช้ในการอุปโภคและบริโภค และใช้ในการทำเกษตรกรรมได้

       ลักษณะพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขานันเป็นเทือกเขาสูงสลับซับซ้อนเชื่อมติดต่อกัน มีความสูงตั้งแต่ 200-1,400 เมตร โดยมียอดที่สูงที่สุด คือ ยอดเขาใหญ่ มีความสูงโดยประมาณ 1,374 เมตร จากระดับน้ำทะเล และเป็นยอดเขาที่รับอิทธิพลจากลมทะเล จึงเป็นพื้นที่ที่น่าสนใจในการทำการศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพ รวมถึงระบบนิเวศของป่าเมฆในพื้นที่นี้

       พื้นที่อุทยานแห่งชาติเขานันจึงเป็นพื้นที่หลักในชุดโครงการวิจัยความหลากหลายทางชีวภาพเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน การผสมผสานการวิจัยทางความหลากหลายทางชีวภาพ การศึกษาและการจัดการเพื่อการอนุรักษ์โดยความร่วมมือระหว่างอุทยานแห่งชาติเขานัน โครงการ BRT และนักวิจัยจากสถาบันการศึกษาต่างๆ ที่ต้องการสร้างองค์ความรู้จากทรัพยากรในพื้นที่เพื่อเป็นฐานสำหรับการต่อยอดไปสู่การอนุรักษ์ที่ยั่งยืน

น้ำตกสุนันทา

 

 

"ป่าเมฆ" มีความสำคัญอย่างไร

        "ป่าเมฆ" เป็นป่าดิบเขาเขตร้อนชนิดหนึ่งที่พบได้ยาก มีพื้นที่เพียง 2.5 เปอร์เซ็นต์ของพื้นที่ป่าเขตร้อนทั้งหมดและมีแนวโน้มลดลงเรื่อยๆ ถึงแม้ป่าเมฆจะมีพื้นที่ไม่มากนัก แต่ในเชิงของระบบนิเวศแล้วเป็นพื้นที่ที่สำคัญในการเกิดฝน  เนื่องจากอุ้มความชื้นไว้สูง จึงก่อให้เกิดการจับตัวกันของไอน้ำและพร้อมที่จะกลั่นตัวลงมาเป็นน้ำฝน

        ป่าเมฆจึงเป็นแหล่งกำเนิดน้ำจืดที่ใช้หล่อเลี้ยงสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในพื้นที่ใกล้เคียงให้มีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย นอกจากนี้ ในพื้นที่แห่งนี้ยังได้ซุกซ่อนความหลากหลายทางชีวภาพไว้มากมาย โดยการศึกษาที่ผ่านมาพบสิ่งมีชีวิตที่เป็นสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่น หรือ endemic species ในป่าเมฆจำนวนมาก  ป่าเมฆจึงเป็นระบบนิเวศที่น่าสนใจในการค้นคว้าหาความรู้ทั้งสิ่งมีชีวิตในป่าเมฆและสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการเกิดระบบนิเวศดังกล่าว ในเวลาเดียวกันก็มีความจำเป็นในการศึกษาเพื่อเข้าใจภัยคุกคามต่างๆ  เพื่อปกป้องระบบนิเวศนี้ให้อยู่คู่กับโลกของเราตลอดไป

"ป่าเมฆ" คืออะไร?

        "ป่าเมฆ" (Cloud Forest)  คือ ป่าดิบเขาเขตร้อนชนิดหนึ่งซึ่งสิ่งแวดล้อมในบริเวณนั้นเอื้อต่อการทำให้เกิดเมฆและหมอกปกคลุมเหนือพื้นที่ป่าดังกล่าวอย่างสม่ำเสมอ  ลักษณะพิเศษของป่าเมฆ คือ มีความหนาแน่นสูงของมอส เฟิร์น กล้วยไม้ และไม้อิงอาศัยตามต้นไม้และก้อนหิน  ความสูงที่สามารถพบป่าเมฆได้จะแตกต่างกันระหว่างพื้นที่ โดยปกติจะพบที่ระดับความสูง 1,200-1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล แต่ก็อาจพบ "ป่าเมฆ" ในระดับความสูงมากกว่าหรือน้อยกว่านี้ก็ได้ เช่นในกรณีของอุทยานแห่งชาติเขานัน จ.นครศรีธรรมราช สามารถพบ "ป่าเมฆ" ได้ที่ระดับความสูงเพียง 400 เมตรจากระดับน้ำทะเลเท่านั้น  ป่าเมฆที่โด่งดังใกล้ประเทศไทยที่สุดคือ เทือกเขาโคตา-คินาบาลู ที่ซาบาร์ ประเทศมาเลซีย

ประวัติความเป็นมาชุดโครงการ "ป่าเมฆ-เขานัน"

         "ป่าเมฆ " หรือ "Cloud Forest " เป็นป่าที่มีเมฆหมอกปกคลุมตลอดทั้งปี  ก่อให้เกิดระบบนิเวศที่มีความพิเศษ พรรณไม้ที่พบจะมีความสูงไม่มากนัก ลำต้นปกคลุมด้วยพรรณไม้ขนาดเล็กที่ต้องการความชุ่มชื้นสูงอย่างหนาแน่น เช่น มอส เฟิร์น และลิเวอร์เวิร์ต ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการดูดซับความชื้น แล้วค่อยๆ ปล่อยสู่ผืนป่าอันเป็นแหล่งต้นน้ำลำธารของสิ่งมีชีวิตอื่นๆ ด้วยเหตุนี้ "ป่าเมฆ" จึงได้รับการบรรจุเป็นวาระสำคัญระดับโลกหรือ "Cloud Forest Agenda" โดยองค์กรด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลกหลายองค์กร เพื่อสนับสนุนการจัดการ การอนุรักษ์และการฟื้นฟูระบบนิเวศป่าเมฆ ซึ่งไวต่อการเปลี่ยนแปลงทางสภาพแวดล้อม โดยเฉพาะการเกิดสภาวะโลกร้อน (global warming) ที่เป็นปัญหาสำคัญของโลกในปัจจุบัน  ป่าเมฆพบทั่วไปในพื้นที่ป่าใกล้แถบศูนย์สูตร  ในประเทศไทยพบเพียงไม่กี่แห่ง  จึงต้องเร่งศึกษาวิจัยเพื่อหาข้อมูลพื้นฐานในการบริหารจัดการและการอนุรักษ์ป่าต้นน้ำลำธารอย่างยั่งยืน


       โครงการ BRT ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของประเด็นดังกล่าว จึงได้พัฒนาชุดโครงการวิจัยเชิงพื้นที่ขึ้นภายใต้ชื่อ "ชุดโครงการวิจัยป่าเมฆ" โดยเลือกพื้นที่อุทยานแห่งชาติเขานัน จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งมีระบบนิเวศป่าเมฆเป็นพื้นที่ศึกษา ชุดโครงการวิจัยดังกล่าวมีระยะเวลา 3 ปี (พ.ศ 2549-2551)  เน้นการวิเคราะห์ข้อมูลอย่างบูรณาการทั้งทางด้านชีวภาพและกายภาพ เพื่อสำรวจและประมวลองค์ความรู้พื้นฐานในระบบนิเวศป่าเมฆ รวมทั้งปัจจัยทางกายภาพต่างๆ เช่น ข้อมูลอุตุนิยมวิทยา ปริมาณความชื้นสัมพัทธ์ ปริมาณน้ำฝน ข้อมูลดิน และน้ำ เป็นต้น เพื่ออธิบายการเกิดป่าเมฆและความสัมพันธ์กับสิ่งมีชีวิตในป่าเมฆ


       ชุดโครงการดังกล่าวนอกจากมีโครงการ BRT เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณส่วนหนึ่งแล้ว ยังได้สร้างหุ้นส่วนร่วมกับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งต้องการแสดงความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงบรรษัทหรือของธุรกิจ หรือ Corporate Social Responsibility (CSR) ด้วยการสนับสนุนทุนวิจัยร่วมกับโครงการ BRT ในการค้นหาความรู้เกี่ยวกับป่าเมฆ ซึ่งเป็นระบบนิเวศที่เปราะบางต่อการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศท้องถิ่น (local climate change) และภูมิอากาศโลก (global climate change) เพื่อเผยแพร่ความรู้ให้กับผู้กำหนดนโยบายในการเฝ้าระวังและวางแนวทางในการบริหารจัดการสิ่งแวดล้อมภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์อย่างยั่งยืน

Magazine

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่

ราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hirsutella nivea Hywel-Jones

วงศ์ : Ophiocordyceps

ชื่อสามัญ : -

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดดนี้ชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีขาวคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

ราก่อโรคบนเพลี้ยหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones & Mongkolsamrit

วงศ์ : Clavicipitaceae

ชื่อสามัญ :

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยหอยชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีเหลืองอ่อนคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

กิ้งกือมังกรสีชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea

วงศ์ :  Paradoxosomatidae

ชื่อสามัญ :  pink dradon millipede

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : purpurosea เป็นภาษาลาติน แปลว่า สีชมพูม่วง

Read more