• showcase_1.jpg
  • showcase_2.jpg
  • showcase_3.jpg
  • showcase_4.jpg
  • showcase_5.jpg
  • showcase_6.jpg
  • showcase_7.jpg
  • showcase_8.jpg
  • showcase_9.jpg
  • showcase_10.jpg
  • showcase_11.jpg
  • showcase_12.jpg

“ด้วงดินขอบทองแดง” แมลงแสนสวย

วันนี้ขอแนะนำให้รู้จักกับเพื่อนใหม่ที่เป็นแมลงแสนสวย นั่นคือ “ด้วงดินขอบทองแดง” หรือที่เรียกชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Mouhotia batesi เป็นแมลงที่อยู่ในวงศ์ Carabidae มีลักษณะเด่นที่สามารถสังเกตเห็นได้เด่นชัด คือ หัวแบนกว้าง คล้ายรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า มีปีกแข็ง ปีกทั้งสองข้างยึดติดกัน จึงทำให้มันไม่สามารถบินได้ ทั้งตัวมีสีดำเป็นมัน แต่ขอบรอบส่วนอกมีสีเหลือบทองแดง บางส่วนก็เห็นเป็นสีเขียวเหลือบทองแดง สีสันบนตัวแวววาวสวยงามมาก

แมลงชนิดนี้สามารถพบเห็นได้ในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งถ้าใครได้พบเห็นตัวเป็นๆ คงจะไม่ปฏิเสธว่าเจ้าแมลงตัวน้อยนี้มีความสวยงามมาก และด้วยเหตุนี้มันจึงกลายเป็นแมลงที่มีค่าหัวไปโดยปริยาย เป็นที่หมายตาของนักสะสมแมลงทั้งหลาย จนน่าเป็นห่วงว่าคงใกล้จะสูญพันธุ์ในไม่ช้านี้ ดังนั้น ทางกรมป่าไม้จึงได้ออกพระราชบัญญัติให้ “ด้วงดินขอบทองแดงเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกแมลง ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535”

อย่างไรก็ตาม ถือเป็นโชคดีของพวกเราได้พบเห็นเจ้าแมลงแสนสวยชนิดนี้ ในพื้นที่ป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูน ซึ่งจากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่ในพื้นที่ต่างก็ให้คำตอบว่าแมลงชนิดนี้ไม่ค่อยจะพบเห็นได้ง่ายนัก ผู้เฒ่าผู้แก่บางคนก็บอกว่าเพิ่งเคยเจอเป็นครั้งแรกพร้อมหลานๆ นี่แหล่ะ ดังนั้น จึงขอฝากชาวป่าโคกฯ ช่วยกันเป็นหูเป็นตาดูแลแมลงแสนสวยตัวน้อยนี้ด้วย ไม่งั้นลูกหลานเราคงจะได้ดูเฉพาะด้วงดินขอบทองแดง ตัวแข็งๆ ที่โดนเสียบด้วยเข็มแหลม หรือโดนสต๊าฟติดแปะตามฝาผนังในพิพิธภัณฑ์เท่านั้นละหนอ !!!!  มันคงเป็นเรื่องที่น่าเศร้า !!!! 

ข้อมูล/ภาพ : ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT

 

ช็อตภาพสวยๆ ของ “ด้วงดินขอบทองแดง”  

สังเกตนิดหนึ่งนะค่ะ  สีสันบนตัวแมลงชนิดนี้บางทีก็มองเห็นเป็นสีเหลือบทองแดง บางทีก็มองเห็นเป็นสีเขียวเหลือบทองแดง สลับไปมาตามแต่มุมที่เรากำลังจ้องมองเขานะค่ะ สวยมากๆ

 

เราพบเจ้าตัวนี้ออกมาเดินอยู่บนผืนทรายหลังฝนตกใหม่ๆ ในป่าโคกหินลาดฯ มันเดินช้าๆ เหมือนกับจะยินยอมให้เราถ่ายภาพง่ายๆ

 

ช็อตสุดท้ายที่นำมาฝากค่ะ....เจ้าตัวน้อยเดินไม่หยุดเลย

 

การเดินทางสู่ป่าโคกหินลาดหนองคู - นาดูน

            พื้นที่ป่าโคกหินลาดหนองคู - นาดูน อยู่ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม ประมาณ 54 กิโลเมตร สำหรับท่านที่ต้องการแวะเยี่ยมชมป่าโคกหินลาดหนองคู - นาดูน สามารถเดินทางจากจังหวัดมหาสารคาม เข้าถึงพื้นที่ได้ใน 4 เส้นทาง คือ

  • เส้นทางมหาสารคาม – อำเภอวาปีปทุม - ตำบลนาข่า
  • เส้นทางมหาสารคาม – อำเภอบรบือ - ตำบลนาข่า
  • เส้นทางมหาสารคาม – อำเภอนาดูน - ตำบลนาข่า
  • เส้นทางมหาสารคาม – อำเภอนาเชือก - ตำบลนาข่า

            สำหรับท่านที่ไม่สะดวกจะเดินทางด้วยรถยนต์ สามารถโดยสารรถประจำทางมาได้ มีรถประจำทางขนาดเล็กวิ่งจากหมู่บ้านในแถวป่าโคกหินลาดฯ ถึงอำเภอวาปีปทุม จังหวัดมหาสารคาม และมีรถโดยสารประจำทางปรับอากาศวิ่งจากอำเภอนาดูน ถึงกรุงเทพมหานคร ซึ่งจะวิ่งผ่านพื้นที่ป่าโคกหินลาดฯ วันละ 2 เที่ยว คือ ช่วงเช้า 09.00 น. และช่วงเย็น 21.30 น.

 

แผนที่แสดงที่ตั้งป่าโคกหินลาดหนองคู - นาดูน

แผนผังแสดงการเดินทางจากจังหวัดมหาสารคามไปยังป่าโคกหินลาดหนองคู - นาดูน

รู้จักป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูน

         ป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า โคกนาข่า หรือโคกแก่ง หรือโคกหินลาดนาข่า-นาดูน มีลักษณะสภาพป่าเป็นป่าเต็งรัง มีพื้นที่ประมาณ 2,500 ไร่ ครอบคลุมพื้นที่ 4 ตำบล 19 หมู่บ้าน ในเขตตำบลนาข่า ตำบลบ้านหวาย ตำบลหนองคู อำเภอนาดูน และตำบลหนองเรือ อำเภอนาเชือก อยู่ห่างจากจังหวัดมหาสารคาม ไปทางทิศใต้ประมาณ 54 กิโลเมตร

 

สภาพพื้นที่ป่าโคกหินลาด หนองคู-นาดูน 

           โคกหินลาด มาจากคำว่า โคก + หินลาด โคก เป็นชื่อเรียกพื้นที่ของชาวอีสาน ซึ่งมีลักษณะเป็นพื้นที่เนิน หรือพื้นที่สูง ที่มีป่าโปร่งขึ้น หินลาด หมายถึงหินดินแดงที่ลาดเป็นพื้นใต้ผืนดินทั่วบริเวณพื้นที่ป่า ชาวบ้านบางกลุ่มเรียกพื้นที่ป่าโคกหินลาดว่า โคกแก่ง เนื่องจากมีแก่งหรือแอ่งน้ำขนาดใหญ่อยู่ ซึ่งเป็นจุดรวมรองรับน้ำในพื้นที่ป่าโคกฯ นอกจากนี้ในป่าโคกยังมีลักษณะพื้นที่แบบอื่นๆ ที่ชาวบ้านได้จำแนกและตั้งชื่อเรียกขานตามสภาพพื้นที่ที่พบเห็นไว้หลายชื่อ เช่น โสกดินแดง ฮอมพระธรรม ฮอมหินหล่อง และโคกม่วงหวาน เป็นต้น

สภาพพื้นที่ที่เป็นหินลาด พบเห็นได้ทั่วไปในบริเวณพื้นที่ป่าโคกฯ และแอ่งน้ำขนาดใหญ่ที่เป็นจุดรวมรองรับน้ำในพื้นที่ป่าโคกฯ และเป็นที่มาของชื่อโคกแก่ง

ป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูนในอดีต

            ป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูน ตั้งแต่ปี.. 2506 และก่อนหน้านั้น เป็นป่าธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านได้กล่าวถึงป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูนในสมัยก่อนว่า เป็นป่าหนาทึบ การเข้าถึงพื้นที่บางบริเวณต้องอาศัยพรานหรือผู้เชี่ยวชาญการเดินป่านำทางจึงจะสามารถเข้าไปได้ ในอดีตพื้นที่ป่าโคกอุดมสมบูรณ์ไปด้วยพรรณไม้ใหญ่น้อย เห็ดป่า และสัตว์ป่าหลากหลายชนิด เช่น ไก่ป่า กระรอก กระแต อีเห็น หมาจอก จอนฟอน (พังพอน) และนกชนิดต่างๆ ทั้งนกกด กาเหว่า และนกคุ่ม รวมทั้งแมลงนานาชนิด ชาวบ้านที่อาศัยอยู่โดยรอบได้อาศัยทรัพยากรดังกล่าวในการดำรงชีวิตเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน ต่อมาในปี .. 2507 มีเจ้าหน้าที่จากสำนักงานป่าไม้ ได้เข้ามาขอความร่วมมือจากผู้นำชุมชนในการร่วมออกสำรวจแนวเขตพื้นที่ป่าโคกฯ และชี้แนวเขตปักหลักเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ซึ่งขณะนั้นพื้นที่ป่าโคกฯ ก็ยังคงความอุดมสมบูรณ์ตามธรรมชาติและมีแนวเขตชัดเจน

 

ปัจจุบันป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูน ก็ยังคงเป็นแหล่งพึ่งพาหาอยู่หากินของชุมชนที่อาศัยอยู่โดยรอบพื้นที่

ช่วงวิกฤติของป่าโคกหินลาดหนองคู-นาดูน

           

            จนกระทั่ง ในปี.. 2516 ได้มีการตัดถนนเส้นทางบ้านค้อ-นาดูน ผ่านพื้นที่ป่าโคกฯ เป็นระยะทาง 6 กิโลเมตร ทำให้เกิดการแบ่งแยกพื้นที่ป่าตามธรรมชาติออกเป็น 2 ส่วน และถนนสายดังกล่าวยังถูกนายทุนต้มเกลือจากอำเภอบรบือ จังหวัดมหาสารคาม ใช้เป็นเส้นทางเข้ามาตัดไม้ใหญ่น้อยจากพื้นที่ป่าโคกฯ มีการนำรถบรรทุกมาขนไม้ออกไปเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นเชื้อเพลิงสำหรับการต้มเกลือขาย ผลพวงจากการตัดต้นไม้เป็นจำนวนมากส่งผลให้สัตว์ป่าค่อยๆ ลดจำนวนลงไปด้วย เนื่องจากขาดแหล่งที่อยู่อาศัย

            ประกอบกับในปี.. 2521 ชาวบ้านหลายหมู่บ้านได้รับการส่งเสริมให้ทำไร่ฝ้าย ไร่ปอ ไร่มันสำปะหลัง ทำให้เริ่มมีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพิ่มมากขึ้น มีการตัดไม้ ถางป่า เพื่อใช้เป็นพื้นที่ทำการเกษตร แม้กระทั่งเมื่อ 2-3 ปีที่ผ่านมา ในฤดูแล้งยังคงมีชาวบ้านบางกลุ่มเข้าไปลักลอบตัดไม้เพื่อนำไปก่อสร้างบ้านเรือน ส่งผลให้ทำให้ต้นไม้ใหญ่ค่อยๆ ลดจำนวนลง  

 

ถนนสายที่ตัดผ่านป่าโคกฯ จนทำให้พื้นที่แบ่งแยกออกเป็น 2 ส่วน

สู่ความหวังการฟื้นฟูและอนุรักษ์ป่าโคกหินลาดหนองคู นาดูน

           

            อย่างไรก็ตาม ยังคงมีชาวบ้านบางกลุ่มที่ยังคงเห็นความสำคัญและมุ่งหวังที่อยากจะเห็นป่าโคกฯ ยังคงความอุดมสมบูรณ์ และคงอยู่ให้ลูกหลานได้ใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืนต่อไป จึงได้รวมตัวกันก่อตั้งกลุ่มอนุรักษ์ป่าโคกหินลาดหนองคู-นาข่า และประสานความร่วมมือไปยังสำนักงานป่าไม้ จังหวัดมหาสารคาม เพื่อจัดตั้งและประกาศเป็นป่าชุมชน พร้อมออกข้อกำหนดบังคับเรื่องการอนุรักษ์ป่าได้สำเร็จในปี.. 2545

            ปัจจุบันกิจกรรมของกลุ่มอนุรักษ์ฯ ยังคงดำเนินการไปอย่างต่อเนื่องและเข้มแข็ง ประชาชนเริ่มเห็นพ้องกับแนวคิดกลุ่มอนุรักษ์ และเริ่มตระหนักถึงความสำคัญในเรื่องดังกล่าว ผลจาการที่ชุมชนได้ดำเนินการอนุรักษ์มาอย่างต่อเนื่องทำให้ทรัพยากรธรรมชาติที่เคยหายไปเริ่มคืนกลับมา เช่น ไก่ป่า หมาจอก อีเห็น นกกด นกคุ่ม และสัตว์อีกมากมายเริ่มปรากฏให้เห็นอีกครั้ง ซึ่งถือเป็นแนวโน้มที่ดีต่อการอนุรักษ์และฟื้นฟูทรัพยากรท้องถิ่นอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

  

ศูนย์ปฏิบัติการป่าชุมชน ตำบลนาข่า สร้างขึ้นเพื่อเป็นจุดประสานงานเรื่องการอนุรักษาป่าโคกฯ

 

Magazine

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่

ราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hirsutella nivea Hywel-Jones

วงศ์ : Ophiocordyceps

ชื่อสามัญ : -

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดดนี้ชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีขาวคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

ราก่อโรคบนเพลี้ยหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones & Mongkolsamrit

วงศ์ : Clavicipitaceae

ชื่อสามัญ :

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยหอยชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีเหลืองอ่อนคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

กิ้งกือมังกรสีชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea

วงศ์ :  Paradoxosomatidae

ชื่อสามัญ :  pink dradon millipede

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : purpurosea เป็นภาษาลาติน แปลว่า สีชมพูม่วง

Read more