• showcase_1.jpg
  • showcase_2.jpg
  • showcase_3.jpg
  • showcase_4.jpg
  • showcase_5.jpg
  • showcase_6.jpg
  • showcase_7.jpg
  • showcase_8.jpg
  • showcase_9.jpg
  • showcase_10.jpg
  • showcase_11.jpg
  • showcase_12.jpg

ความหลากหลายทางชีวภาพ

กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตนานนับพันล้านปีก่อน ก่อให้เกิดสิ่งมีชีวิตมากมายหลากหลายรูปแบบ ความหลากหลายในสิ่งมีชีวิตทั้งพืช สัตว์ จุลินทรีย์ ที่มีความเชื่อมโยงกันเป็นสายใยในระบบนิเวศ เรียกโดยรวมว่า ความหลากหลายทางชีวภาพ (Biodiversity) ซึ่งมีอยู่มากมายในโลก

ทฤษฎีวิวัฒนาการ กับ ชาร์ลส์ ดาร์วิน

เป็นเวลา 150 ปีผ่านมาแล้ว ที่ชาร์ลส์ ดาร์วินได้เขียนและตีพิมพ์หนังสือ การกำเนิดของชนิดพันธุ์โดยกระบวนการคัดสรรโดยธรรมชาติ (On the Origin of Species by Means of Natural Selection)” โดยได้รวบรวมข้อมูลและหลักฐานอ้างอิง จากการเดินทางไปกับเรือหลวงบีเกิล ดาร์วินได้เก็บเกี่ยวประสบการณ์ และข้อสงสัยเกี่ยวกับความแปรผันของสิ่งมีชีวิต ทำไมสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันในที่หนึ่ง มีความแปรผันไปจากอีกที่หนึ่ง อะไรคือต้นเหตุเล็กๆ น้อยๆ ที่ทำให้พ่อแม่กับลูกแตกต่างกัน หรืออะไรคือต้นเหตุของความแตกต่างระหว่างสิ่งมีชีวิตที่แข่งขันซึ่งกันและกัน ซึ่งทำหน้าที่เสมือนเป็นวัตถุดิบให้เกิดการปรับตัว

ชีวิตและวิวัฒนาการ กับความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย

กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่

กระบวนการเกิดสปีชีส์ใหม่ (speciation) คือกระบวนการเปลี่ยนแปลงจากสปีชีส์หนึ่งโดยการแตกแขนงออกเป็นสปีชีส์ใหม่ ก่อให้เกิดการเพิ่มจำนวนสปีชีส์มากขึ้น

ตัวอย่างการเกิดสปีชีส์ใหม่ที่นิยมพูดถึงกัน คือ การเกิดสปีชีส์ใหม่บนเกาะกาลาปากอส ที่ชาลร์ส ดาร์วินได้กล่าวเอาไว้ แต่ประเทศไทยก็มีตัวอย่างที่สามารถใช้อธิบายการเกิดสปีชีส์ใหม่ที่สมบูรณ์แบบเช่นกัน นั่นคือ การเกิดหอยมรกตแห่งเกาะตาชัย ซึ่งเป็นปรากฏการณ์การเกิดสปีชีส์ใหม่ที่คลาสสิคและมีหลักฐานที่สมบูรณ์ที่สุดในประเทศไทย โดยผลงานวิจัยได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Evolution ซึ่งเป็นวารสารชั้นน้ำของโลก

หอยมรกตแห่งเกาะตาชัย

การพรางตัว และ การเลียนแบบ

บางครั้ง การทำตัวให้โดดเด่นมองเห็นได้ชัดเจนในสิ่งแวดล้อม อาจนำภัยมาถึงตัว สิ่งมีชีวิตจึงต้อง ปรับตัวให้กลมกลืนกับสิ่งแวดล้อมเพื่อหลีกเลี่ยงจากโจมตีของศัตรู หรือบางครั้งอาจ เป็นการล่อให้เหยื่อตายใจ กลไกเหล่านี้เรียก ว่า การพรางตัว หรือ Camouflage

นอกจากนี้ ยังมีรูปแบบการเปลี่ยนลักษณะตัวเองให้คล้ายกับสัตว์ชนิดอื่น เพื่อป้องกันภัย เรียกว่า การเลียนแบบ (Mimicry)

การพรางตัว และ การเลียนแบบ

 

 

เส้นทางการศึกษาวิวัฒนาการหลังยุคดาร์วิน

กำเนิดแห่งชีวิต หรือ The origin of spiecies อาจนับได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการศึกษาวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และหลังจากยุคของดาร์วิน ได้มีนักวิทยาศาสตร์หลายคนทำการศึกษาเกี่ยวกับวิัวัฒนาการ ทำให้เกิดความรู้ความเข้าใจชีววิทยาเชิงวิวัฒนาการยุคใหม่ หรือ Neo-Darwinian

Neo-Darwinian เส้นทางหลังยุคดาร์วิน

 

 

 


 

การปรับตัว และการคัดสรรทางธรรมชาติ

ทฤษฎีวิวัฒนาการ นอกจากจะตั้งอยู่บนแนวคิดของการแปรผันของสิ่งมีชีวิตแล้ว ยังได้กล่าวถึง การคัดสรรทางธรรมชาติ (Natural Selection) ว่าเป็นกระบวนการที่สิ่งแวดล้อมได้ตรวจสอบและตัดสินเลือกเฉพาะความแข็งแกร่งของแต่ละปัจเจกที่จะอยู่รอดและสืบพันธุ์ต่อไปได้ ดังนั้น เพื่อที่จะอยู่ต่อไปได้ สิ่งมีชีวิตจึงต้องมีการ การปรับตัว (adaptation) ให้สามารถอยู่รอดได้จนถึงปัจจุบัน สิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถ ปรับตัว ก็ไม่สามารถอยู่รอดได้และสูญพันธุ์ไปในที่สุด

การปรับตัวของพืชกินแมลง

การปรับตัวจากน้ำสู่บก

 

ความแตกต่างแปรผัน

ทฤษฎีวิวัฒนาการของดาร์วินตั้งอยู่บนพื้นฐานของความแตกต่างแปรผันของสิ่งมีชีวิต ดาร์วินได้ตั้งข้อสังเกตและข้อสงสัยมากมายในขณะที่สำรวจธรรมชาติไปกับเรือหลวงบีเกิล ผ่านพื้นที่หลายแห่งที่มีความแตกต่างทางธรณีวิทยาและสภาพภูมิอากาศ เห็นสิ่งมีชีวิตหลากหลายพันธุ์ที่มีความแตกต่างจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง เช่น จากการเก็บฟอสซิลในระหว่างการเดินทางกับเรือหลวงบีเกิล ดาร์วินได้ข้อมูลหลักฐานด้านฟอสซิลของสัตว์ขนาดใหญ่ซึ่งเป็นฟอสซิลของสัตว์พวกอาร์มาดิลโลยักษ์ที่สูญพันธุ์ไปแล้ว มีลักษณะคล้ายกับพวกอาร์มาดิลโลที่ยังมีชีวิตอยู่ในปัจจุบันแต่มีขนาดเล็กกว่ามาก บ่งชี้ถึงความสัมพันธ์เกี่ยวโยงกันระหว่างสิ่งมีชีวิตชนิดที่สูญพันธุ์แล้วกับชนิดที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือในกรณีของนกฟินซ์ (Finch) ที่แพร่กระจายอยู่ตามเกาะต่างๆ ในหมู่เกาะกาลาปากอส ที่มีสัณฐานวิทยาในแต่ละเกาะแตกต่างกัน

นกฟินซ์ บนเกาะกาลาปากอส

อ่านต่อที่นี่

Magazine

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่

ราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hirsutella nivea Hywel-Jones

วงศ์ : Ophiocordyceps

ชื่อสามัญ : -

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดดนี้ชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีขาวคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

ราก่อโรคบนเพลี้ยหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones & Mongkolsamrit

วงศ์ : Clavicipitaceae

ชื่อสามัญ :

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยหอยชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีเหลืองอ่อนคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

กิ้งกือมังกรสีชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea

วงศ์ :  Paradoxosomatidae

ชื่อสามัญ :  pink dradon millipede

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : purpurosea เป็นภาษาลาติน แปลว่า สีชมพูม่วง

Read more