• showcase_1.jpg
  • showcase_2.jpg
  • showcase_3.jpg
  • showcase_4.jpg
  • showcase_5.jpg
  • showcase_6.jpg
  • showcase_7.jpg
  • showcase_8.jpg
  • showcase_9.jpg
  • showcase_10.jpg
  • showcase_11.jpg
  • showcase_12.jpg

สาหร่ายทะเลหลากสีสัน

ผลงานแอนนิเมชั่นดินน้ำมัน (Claymation) ชุดสาหร่ายทะเลหลากสีสัน หรือ สาหร่ายทะเลลดโลกร้อน เป็นผลงานการสร้างสรรค์ของทีมวิจัยสาหร่ายและหญ้าทะเล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ โดยนางสาวจารุวรรณ มะยะกูล และนางสาวสุภัทรา พงศ์ภราดร เป็นแกนหลักของการจัดทำ

น้องมารีน ดารานำของเรื่อง

แอนนิเมชั่นเรื่องนี้ นอกจากความเพลิดเพลินของเทคนิคการทำแอนนิเมชั่นจากดินน้ำมันแล้ว ยังเต็มเปี่ยมไปด้วยเนื้อหาสาระด้านความหลากหลายของสาหร่ายทะเลชนิดต่างๆ รวมถึงประโยชน์ที่มีอยู่มากมายของสาหร่ายทะเล ทั้งในรูปแบบของอาหาร และภารกิจในการช่วยลดโลกร้อนของสาหร่ายที่มีการสะสมหินปูน

 

ชมคลิปวีดิโอได้ที่นี่ ค่ะ


กำหนดการแข่งขัน

1. ส่งใบสมัคร มาที่อีเมล This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.  กรุณาระบุชื่อผลงาน และชื่อทีมให้ชัดเจน (หากท่านส่งใบสมัครมาแล้ว กรุณาโทรศัพท์ยืนยันการสมัครมายังฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT โทร. 0-2644-8150-4 ต่อ 557)

2. การคัดเลือกรอบแรก จากการสัมภาษณ์แนวคิดการจัดทำ  โดยโครงการ BRT สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เพื่อคัดเลือกชิ้นงานที่น่าสนใจ

3. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบแรก จะได้รับการยืนยันทางโทรศัพท์ และเชิญท่านมานำเสนอแนวคิดต่อคณะกรรมการฯ

4. การคัดเลือกรอบสอง นำเสนอแนวคิดในรูปแบบพาวเวอร์พ้อยท์ พร้อมนำเสนองบประมาณการจัดทำ (ไม่จำกัดงบประมาณ)

5. ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกรอบสอง จะได้รับงบประมาณการจัดทำ  ซึ่งจะพิจารณางบประมาณการจัดทำ ตามความเหมาะสมของชิ้นงาน

6. คณะกรรมการฯ ไปตรวจเยี่ยมผลงานของท่าน เพื่อให้คำแนะนำครั้งสุดท้าย  สำหรับการปรับปรุงแก้ไขก่อนการตัดสินรอบสุดท้าย

7. การตัดสินรอบสุดท้าย ผลงานทั้งหมดจะถูกนำมาแสดง และตัดสินผลงานชนะเลิศในการประชุมวิชาการประจำปีโครงการ BRT ครั้งที่ 14 ที่จะจัดขึ้นในเดือนตุลาคม 2553

 

ดาวน์โหลดใบสมัคร

รายละเอียดโครงการ และเกณฑ์การประกวด

ท่านอยากทำ เราอยากสื่อ

โครงการ BRT เชิญชวนผู้มีจินตนาการร่วมกันจัดทำสื่อเผยแพร่ความรู้ กับกิจกรรมประกวดสื่อเผยแพร่


“ความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย :
ประกาศไว้ให้โลกรู้”

จัดโดย
โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
เพื่อเฉลิมฉลองปีสากลแห่งความหลากหลายทางชีวภาพ
และครบรอบ 15 ปีโครงการ BRT

--------------------------------------------------------


สิ่งประดิษฐ์ / โมเดล / หุ่นยนต์ / แอนนิเมชั่น / วีดีโอ พรีเซนเทชั่น / สารคดี / หนังสั้น / มัลติมีเดีย / ชุดจำลองระบบนิเวศ / ชุด interactives ฯลฯ
คุณจะทำอะไรก็ได้  เพื่อสื่อสารความรู้เกี่ยวกับความหลากหลายทางชีวภาพ ให้ดึงดูดความสนใจของผู้ชม  เข้าใจง่าย


1. ผู้มีสิทธิสมัคร
1.1 นิสิต/นักศึกษาที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับปริญญา ตั้งแต่ปริญญาตรีขึ้นไป ในสาขาดังนี้  วิทยาศาสตร์วิศวกรรมศาสตร์ เทคโนโลยี อิเล็กทรอนิกส์ การออกแบบ นิเทศศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์
1.2  ผู้กำลังรับทุน หรือ เคยรับทุนโครงการ BRT ทั้งนักวิจัย นิสิตนักศึกษา และอาจารย์ที่ปรึกษา

2. เกณฑ์การสมัคร
2.1  ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทั้งแบบเดี่ยว หรือ ทีม ทีมละไม่เกิน 2 คน
2.2  ผู้ส มัครที่กำลังศึกษาระดับปริญญาตรี ต้องได้รับการเห็นชอบจากอาจารย์ที่ปรึกษา และมีอาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ


3. คำแนะนำด้านเนื้อหา
สื่อสาร หรือ สะท้อน เรื่องราวความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทย  ดังนี้
3.1    สื่อสารถึงความหลากหลายทางชีวภาพในประเทศไทยว่ามีความเก่าแก่ เชื่อมโยงไปสู่อดีต
3.2    สื่อสารถึงวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต
3.3    สื่อสารถึงระบบนิเวศเฉพาะถิ่นในประเทศไทยที่มีความแตกต่างหลากหลายและมีสิ่งมีชีวิตเฉพาะถิ่นอาศัยอยู่
3.4    สื่อสารถึงสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยที่มีวิถีชีวิตมหัศจรรย์ หรือมีความสามารถพิเศษ
3.5    สื่อสารถึงลักษณะของสิ่งมีชีวิตที่มีความแตกต่างในระดับวงศ์ สกุล หรือในระดับสปีชีส์ (แสดงลักษณะของความแตกต่าง) ซึ่งสิ่งมีชีวิตนั้นควรจะเป็นชนิดที่มีประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม
3.6     สื่อสารถึงสิ่งมีชีวิตในประเทศไทยโดยเฉพาะตัวอย่างสิ่งมีชีวิต (specimen) ที่สำรวจ ค้นพบ และเก็บรักษา ว่ามีความหลากหลาย สำคัญ และยิ่งใหญ่
3.7    สื่อสารถึงผลกระทบของโลกร้อนหรือการทำลายระบบนิเวศที่มีผลต่อความหลากหลายทางชีวภาพ
3.8    สื่อสารถึงสิ่งมีชีวิตในจินตนาการ แต่ต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักวิชาการ

4. คำแนะนำด้านเทคนิค
ใช้เทคนิคอะไรก็ได้ที่ดึงดูดความสนใจ อาจใช้เทคนิค แสง สี เสียง กลไกการเคลื่อนไหว

5.  คำแนะนำด้านการจัดทำ
5.1 อาจเป็นชิ้นงานสิ่งประดิษฐ์ / โมเดล / หุ่นยนต์ / แอนนิเมชั่น / วีดีโอ พรีเซนเทชั่น / สารคดี / หนังสั้น / มัลติมีเดีย / ชุดจำลองระบบนิเวศ / ชุด inter actives หรือรูปแบบอื่นๆ ที่ดึงดูดความสนใจของผู้ชม
5.2  อาจทำเป็นนิทรรศการเล็กๆ ที่มีการนำตัวอย่าง (ที่ไม่ใช่ตัวอย่างสด) มาจัดแสดง โดยผสมผสานเข้ากับเทคนิคต่างๆ
5.3 ชิ้นงานควรนำเสนอเป็นเรื่องราวที่สามารถสื่อให้คนทั่วไปเข้าใจได้ง่าย เหมาะสมกับเพื่อการเรียนรู้
5.4 ชิ้นงานดังกล่าว สามารถนำใช้ในการเรียนการสอนความหลากหลายทางชีวภาพในห้องเรียน สำหรับนักเรียน และ/หรือ นิสิตนักศึกษา  หรือนำไปจัดแสดงเพื่อสร้างความสนใจต่อสาธารณชนได้
5.5 ควรเป็นชิ้นงานที่คงทนแข็งแรง เคลื่อนย้ายได้ และสะดวกต่อการเก็บรักษา
5.6 ต้องเป็นชิ้นงานที่อยู่บนพื้นฐานความรู้ทางวิชาการ โดยไม่ได้ลอกเลียนแบบผู้อื่น

ดาวน์โหลดใบสมัคร

Magazine

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่

ราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hirsutella nivea Hywel-Jones

วงศ์ : Ophiocordyceps

ชื่อสามัญ : -

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดดนี้ชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีขาวคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

ราก่อโรคบนเพลี้ยหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones & Mongkolsamrit

วงศ์ : Clavicipitaceae

ชื่อสามัญ :

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยหอยชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีเหลืองอ่อนคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

กิ้งกือมังกรสีชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea

วงศ์ :  Paradoxosomatidae

ชื่อสามัญ :  pink dradon millipede

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : purpurosea เป็นภาษาลาติน แปลว่า สีชมพูม่วง

Read more