• showcase_1.jpg
  • showcase_2.jpg
  • showcase_3.jpg
  • showcase_4.jpg
  • showcase_5.jpg
  • showcase_6.jpg
  • showcase_7.jpg
  • showcase_8.jpg
  • showcase_9.jpg
  • showcase_10.jpg
  • showcase_11.jpg
  • showcase_12.jpg

การขอทุนวิจัย

คุณสมบัติผู้ขอทุนวิจัย

การสนับสนุนทุนของโครงการ BRT มุ่งหวังเพื่อการพัฒนาบุคลากรนักวิจัย นักวิชาการชาวไทย รวมทั้งสถาบันการวิจัย และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ เป็นหลัก หากเป็นนักวิจัยชาวต่างประเทศที่มีความสนใจก็สามารถที่จะส่งข้อเสนอโครงการเพื่อขอรับทุนดังกล่าวได้ โดยมีหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้

  1. นักวิจัยจะต้องทำงานเกี่ยวข้องกับหน่วยงานราชการ องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา หรือสถาบันการวิจัยต่างๆ
  2. หัวหน้าโครงการจะต้องเกี่ยวข้องกับงานวิจัยในโครงการที่เสนอขอรับทุน อย่างมีนัยสำคัญ
  3. โครงการวิจัยจะต้องเอื้อประโยชน์ให้แก่ประเทศไทยในทางใดทางหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นการจัดฝึกอบรม การเสริมสร้างศักยภาพ ทางวิชาการ การ พัฒนาความสามารถในเชิงงานวิจัย การถ่ายทอดข้อมูลทางวิชาการที่เป็นประโยชน์ รวมทั้งการสร้างความรู้ ความเข้าใจให้แก่สาธารณชนทั่วไป

ขั้นตอนการขอทุนวิจัย

  1. ผู้เสนอโครงการจัดทำข้อเสนอโครงการวิจัยจำนวน 1 ชุดพร้อมแผ่นบันทึกข้อมูล เสนอมายัง  ฝ่ายเลขานุการฯ ตามที่อยู่ ดังนี้           
    ฝ่ายเลขานุการ
    โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
    73/1 ชั้น 5 อาคารสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)
    ถนนพระรามที่ 6 เขตราชเทวี กรุงเทพฯ 10400
    โทรศัพท์ 0-2644-8150 ต่อ 552 โทรสาร 0-2644-8106

  2. ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอทุนวิจัย

  3. ฝ่ายเลขานุการฯ ตรวจสอบรายละเอียดของข้อเสนอโครงการ หากจำเป็นต้องมีการปรับปรุงหรือเพิ่มเติมข้อมูลฝ่ายเลขานุการฯ จะแจ้งให้ผู้เสนอโครงการทราบเพื่อดำเนินการแก้ไข
  4. ฝ่ายเลขานุการฯ ส่งข้อเสนอโครงการให้ผู้เชี่ยวชาญในแต่ละสาขาประเมินข้อเสนอโครงการ
  5. ฝ่ายเลขานุการฯ สรุปผลการประเมิน และแจ้งให้ผู้เสนอโครงการแก้ไขปรับปรุง (ถ้ามี)
  6. ฝ่ายเลขานุการนำข้อเสนอโครงการวิจัยที่สมบูรณ์แล้วเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการบริหารของโครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากรชีวภาพในประเทศไทย
  7. ฝ่ายเลขานุการฯ แจ้งผลการพิจารณาให้ผู้เสนอโครงการทราบ (ภายในระยะเวลาไม่เกิน 2 เดือน นับจากวันที่ได้รับข้อเสนอโครงการ)
  8. หลังจากได้รับจดหมายแจ้งผลการพิจารณา ผู้เสนอโครงการจะต้องส่งข้อเสนอโครงการฉบับปรับปรุงมายังฝ่ายเลขานุการฯ ภายในระยะเวลาไม่เกิน 1 เดือน โดยเอกสารข้อเสนอฉบับปรับปรุง จะต้องประกอบด้วย
    - ข้อเสนอโครงการฉบับปรับปรุง
    -
    เอกสารชี้แจงรายละเอียดของส่วนที่ปรับแก้
    -
    แผ่นบันทึกข้อมูล

ข้อปฏิบัติระหว่างการรับทุน

1. ผู้รับทุนจะต้องส่งรายงานความก้าวหน้าและรายงานการเงินแก่โครงการ BRT ทุกๆ 6 เดือน และในกรณีที่โครงการมีการจัดทำสปีชีส์ลิสต์ ผู้รับทุนจะต้องแนบแบบฟอร์มการเก็บข้อมูลสปีชีส์มาด้วยทุกครั้ง

2. ผู้รับทุนจะต้องใช้เงินอย่างประหยัดและเป็นไปตามหมวดหมู่งบประมาณที่ระบุไว้ในบันทึกข้อตกลง หากจะมีการเปลี่ยนแปลงใดๆ ต้องแจ้งให้โครงการ BRT ทราบทุกครั้ง

การเขียนรายงานความก้าวหน้า/ฉบับสมบูรณ์

ประเภทของรายงาน
จำนวน
การเข้าเล่ม
องค์ประกอบของรายงาน
1. รายงานความก้าวหน้า
1 เล่ม
(พร้อมไฟล์)
เย็บมุม
1. ปกหน้า
2. เนื้อหาของรายงาน ประกอบด้วย รายละเอียดต่างๆ ของโครงการ ได้แก่ วิธีการศึกษา, ผลการศึกษา (พร้อมตาราง/ภาพประกอบตามสมควร), สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา, ปัญหา/อุปสรรคและแนวทางการแก้ไข งานที่คาดว่าจะดำเนินต่อไปในอีก 6 เดือนข้างหน้า และ เอกสารอ้างอิง
3. ภาคผนวก ประกอบด้วย
3.1 ข้อมูลสปีชีส์ลิสต์ในรูปแบบ Excel File (ตามแบบฟอร์มของโครงการ BRT)
3.2 บทความเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน (ตัวอย่างการเขียน)
4. สรุป Output ที่ได้รับจากการดำเนินงาน (เอกสารแนบ1)
5. รายงานการเงิน (เอกสารแนบ 2)
6. รายงานการจัดซื้อครุภัณฑ์ (ถ้ามีการจัดซื้อ) (เอกสารแนบ 3)
7. ผลงานตีพิมพ์บทความทางวิชาการ (reprint) (ถ้ามี) แยกออกมาจากเล่มรายงาน พร้อม pdf file (ถ้ามี)
2. รายงานฉบับสมบูรณ์
2 เล่ม
(พร้อมไฟล์)
เย็บเล่มหรือไสกาว
1. ปกหน้า (รูปแบบปก)
2. กิตติกรรมประกาศ (รูปแบบการเขียนกิตติกรรมประกาศ), บทคัดย่อไทย-อังกฤษ, บทสรุปสำหรับผู้บริหารไทย-อังกฤษ
3.  เนื้อหาของงาน:  ประกอบด้วย สารบัญตาราง, สารบัญภาพ, บทนำวัตถุประสงค์, ขั้นตอน, วิธีการดำเนินงาน, ผลการศึกษา (พร้อมตาราง/ภาพประกอบตามสมควร), สรุปและวิจารณ์ผลการศึกษา, ปัญหาและอุปสรรคพร้อมแนวทางการแก้ไข, เอกสารอ้างอิง
4. ภาคผนวก ประกอบด้วย
4.1 ข้อมูลสปีชีส์ลิสต์ในรูปแบบ Excel File (ตามแบบฟอร์มของโครงการ BRT)
4.2 บทความเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ผลงานวิจัยสู่สาธารณชน (ตัวอย่างการเขียน)
4.3 สรุปกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำผลงานจากโครงการไปใช้ประโยชน์
5. สรุป Output ที่ได้รับจากการดำเนินงาน (เอกสารแนบ 1)
6. รายงานการเงิน (เอกสารแนบ 2)
7. รายงานการจัดซื้อครุภัณฑ์ (ถ้ามีการจัดซื้อ) (เอกสารแนบ 3)
8.  สำเนาสมุดบัญชี
9. ผลงานตีพิมพ์บทความทางวิชาการ (reprint) (ถ้ามี) แยกออกมาจากเล่มรายงานพร้อม pdf file (ถ้ามี)
หมายเหตุ :
  • การส่งรายงานความก้าวหน้า/รายงานฉบับสมบูรณ์ จะต้องมีจดหมายนำส่งทุกครั้ง
  • เอกสารสรุปกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการนำผลงานจากโครงการไปใช้ประโยชน์ให้ส่งพร้อมรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือเมื่อผู้ให้ทุนกำหนดเป็นคราวๆ ไป
  • กรณีที่ท่านไม่สามารถส่งรายงานความก้าวหน้าหรือรายงานฉบับสมบูรณ์ของ โครงการวิจัยได้ทันตามที่กำหนดไว้ในบันทึกข้อตกลง หรือสัญญารับทุนฯ หัวหน้าโครงการควรติดต่อมายังโครงการ BRT โดยการส่งหนังสือขออนุมัติเลื่อนกำหนดส่งรายงานเสนอต่อหัวหน้าโครงการ BRT (หากการเลื่อนกำหนดไม่เกิน 1 เดือน ท่านสามารถโทรศัพท์/e-mail แจ้งมายังฝ่ายเลขานุการฯ ที่หมายเลข 0-2644-8150-4 ต่อ 552 โทรสาร 0-2644-8106         หรือ E-mail: This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
  • กรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงในสาระสำคัญของการดำเนินงานวิจัย เช่น บุคลากรในคณะวิจัย (ไม่นับผู้ช่วยหรือลูกจ้างโครงการ) ระยะเวลาโครงการ การใช้งบประมาณ หรืออื่นๆ ไปจากที่ปรากฏในบันทึกข้อตกลงหรือสัญญารับทุนฯ หัวหน้าโครงการควรติดต่อมายังโครงการ BRT เพื่อแจ้งให้ทราบหรือขออนุมัติเป็นรายกรณี

การขอทุนวิทยานิพนธ์

คุณสมบัติผู้ขอทุนวิทยานิพนธ์

ผู้ที่จะขอรับทุนนั้นจะต้องกำลังศึกษาในระดับปริญญาโท หรือปริญญาเอกซึ่งมีหัวข้อวิทยานิพนธ์ที่ผ่านการอนุมัติจากบัณฑิตวิทยาลัย แล้ว


เงื่อนไขของการขอทุน

1. อาจารย์ที่ปรึกษาจะต้องเป็นผู้ขอทุนให้กับนักศึกษา
2. การให้ทุนสนับสนุนนั้น จะต้องเป็นค่าใช้จ่ายในการทำวิจัยวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาโทและปริญญาเอกเท่านั้น ได้แก่ เงินเดือน ค่าวัสดุ ค่าใช้สอย ค่าเดินทางไปเก็บตัวอย่าง เป็นต้น

อัตราการขอทุน

- ปริญญาโทไม่เกิน 150,000 บาท/ทุน
- ปริญญาเอกไม่เกิน 250,000 บาท/ทุน

ขั้นตอนการขอทุนวิทยานิพนธ์

การส่งข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ ต้องจัดส่งเอกสารสำคัญมาที่ฝ่ายเลขานุการโครงการ BRT ดังนี้
  1. จดหมายนำจากอาจารย์ที่ปรึกษาเขียนมาขอทุนให้นักศึกษา
  2. ข้อเสนอโครงการที่ได้กรอกรายละเอียดครบถ้วนตามแบบฟอร์มขอทุนวิทยานิพนธ์
  3. แผ่นบันทึกข้อมูลข้อเสนอโครงการ

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มขอทุนวิทยานิพนธ์

หมายเหตุ: ระยะเวลาโครงการ คิดเริ่มต้นเป็นทางการนับตั้งแต่วันที่โครงการ BRT แจ้งผลการอนุมัติโครงการแก่อาจารย์ที่ปรึกษา โดยการจ่ายเงินเดือนและใบเสร็จต่างๆ จะเริ่มต้นนับตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นไป โครงการ BRT จะไม่อนุมัติเงินเดือนของนักศึกษาย้อนหลังจากวันที่โครงการ BRT แจ้งผลการอนุมัติโครงการอย่างเป็นทางการ การปรับปรุงข้อเสนอโครงการวิทยานิพนธ์ เมื่อ BRT อนุมัติสนับสนุนทุนวิทยานิพนธ์ ท่านจะต้องส่งกลับข้อเสนอฉบับปรับปรุงส่งกลับมาที่ฝ่ายเลขานุการโครงการฯ โดยจะต้องมีสิ่งต่างๆ ดังนี้

  1. จดหมายนำขอส่งเอกสารปรับปรุงแล้วจากอาจารย์ที่ปรึกษา
  2. ข้อเสนอโครงการที่ปรับปรุงแล้ว
  3. แผ่นบันทึกข้อมูล
  4. ตาราง Output

ข้อปฏิบัติระหว่างการรับทุน

มีข้อปฏิบัติเดียวกับการรับทุนวิจัย

ข้อปฏิบัติในการใช้จ่ายเงินทุน

1.  ใช้จ่ายเงินตามรายการที่ระบุไว้ในเอกสารแนบของสัญญารับทุนหรือบันทึกข้อตกลง หรือจดหมายแจ้งการสนับสนุนทุน หากมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนแปลงการใช้เงิน จะต้องแจ้งให้โครงการ BRT ทราบก่อนทุกครั้ง

2.  เรียกใบเสร็จรับเงินจากผู้ขาย (ผู้รับเงิน) ทุกครั้งที่มีการใช้จ่ายเงิน ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกใบเสร็จรับเงินได้ จะต้องจัดทำใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน โดยขอให้มีรายละเอียดในใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน ดังตัวอย่าง แบบฟอร์ม A (ใบรับรองแทนใบเสร็จรับเงิน) ใช้ในกรณีที่มีการซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (ผู้รับเงิน) ซึ่งผู้ขายไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ เช่น การซื้อสินค้าหรือบริการจากผู้ขาย (ผู้รับเงิน) ซึ่งผู้ขายไม่สามารถออกใบเสร็จรับเงินให้ได้ เช่น การซื้อสินค้าในร้านขายของชำ ค่าโดยสารรถ-เรือ ที่ไม่มีตั๋ว ค่าเหมารถ-เรือ เป็นต้น

3.  ใบเสร็จรับเงินซึ่งออกโดยผู้ขาย (ผู้รับเงิน) จะสมบูรณ์และถือเป็นหลักฐานการใช้จ่ายเงินได้ จะต้องประกอบด้วย

  • ชื่อ ที่อยู่ ของร้านค้า
  • วันที่ซื้อ
  • ชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อ จะต้องออกในนามผู้รับทุน หรือหัวหน้าโครงการ (หากชื่อ ที่อยู่ของผู้ซื้อ ไม่ใช่ชื่อของผู้รับทุนหรือหัวหน้าโครงการ ผู้รับทุนหรือหัวหน้าโครงการจะต้องเซ็นชื่อในใบเสร็จรับเงินนั้น เพื่อรับรองว่าได้ใช้จ่ายไปเพื่องานของโครงการโดยแท้จริง)
  • รายละเอียดของสินค้า และจำนวนเงิน
  • ลายเซ็นรับรองการซื้อขายจากผู้ขาย (ผู้รับเงิน)
  • ใบเสร็จรับเงินจะต้องไม่มีรอยลบ ขีดฆ่า หากมีการขีดฆ่าจะต้องมีลายเซ็นชื่อกำกับด้วย

4. ใบเสร็จรับเงินที่ไม่ใช่ใบกำกับภาษี สามารถใช้เป็นหลักฐานการใช้จ่ายเงินได้ ถ้าใบเสร็จรับเงินนั้นมีชื่อ ที่อยู่ร้านค้าชัดเจน และรายละเอียดการซื้อขายที่สมบูรณ์ ตามข้อ 3

5.  การจ่ายเงินเพื่อเป็นค่าตอบแทนลูกจ้างในโครงการ เงินทุนนักศึกษา หรือค่าจ้างปฏิบัติงาน ผู้จ่ายเงิน ซึ่งได้แก่ หัวหน้าโครงการ หรือผู้รับมอบอำนาจในการจ่ายเงิน จะต้องเตรียมใบสำคัญรับเงิน โดยขอให้มีรายละเอียดในใบสำคัญรับเงิน ดังตัวอย่าง แบบฟอร์ม B (ใบสำคัญรับเงิน)ให้ผู้รับเงินกรอกรายละเอียดและเซ็นชื่อยืนยันการรับเงินด้วย พร้อมทั้งแนบ สำเนาบัตรประชาชนของผู้รับเงินเซ็นชื่อรับรอง "สำเนาถูกต้อง" และผู้จ่ายเงินจะต้องเซ็นชื่อรับรองการจ่ายเงินด้วย

ารจัดเก็บเอกสารหลักฐานการจ่ายเงิน

1. รวบรวมและจัดเก็บเป็นหมวดหมู่งบประมาณตามที่ได้รับอนุมัติ โดยเรียงลำดับก่อน-หลังตามวันที่ของเอกสาร
2. แยกเอกสารตามช่วงเวลาให้สอดคล้องกับรายงานการใช้จ่ายเงิน
3. เก็บเอกสารให้เรียบร้อย เพื่อความพร้อมในการเรียกตรวจสอบ ระยะเวลาในการเก็บเอกสารอย่างน้อย 5 ปี หลังจากโครงการวิจัยเสร็จสมบูรณ์แล้ว

Magazine

สิ่งมีชีวิตชนิดใหม่

ราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดด

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Hirsutella nivea Hywel-Jones

วงศ์ : Ophiocordyceps

ชื่อสามัญ : -

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยกระโดดนี้ชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีขาวคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

ราก่อโรคบนเพลี้ยหอย

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Aschersonia luteola Hywel-Jones & Mongkolsamrit

วงศ์ : Clavicipitaceae

ชื่อสามัญ :

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : เนื่องจากตัวอย่างราก่อโรคบนเพลี้ยหอยชนิดนี้สร้างเส้นใยราสีเหลืองอ่อนคลุมแมลง จึงให้ชื่อตามสีของตัวอย่าง

Read more

กิ้งกือมังกรสีชมพู

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Desmoxytes purpurosea

วงศ์ :  Paradoxosomatidae

ชื่อสามัญ :  pink dradon millipede

ที่มาของชื่อวิทยาศาสตร์ : purpurosea เป็นภาษาลาติน แปลว่า สีชมพูม่วง

Read more