ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อุปกรณ์เพื่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อโรคผ่านการสัมผัสบนพื้นผิวที่ปนเปื้อนเป็นที่สนใจขึ้นอย่างมาก เพื่อตอบโจทย์ความต้องการดังกล่าว คิวบ์–เอกซ์ (Cube-X) หรือก้อนฆ่าเชื้อชนิดไอระเหยในภาชนะปิด ถูกพัฒนาขึ้นจากการเตรียมวัสดุนาโนไฮบริดเพื่อใช้ในการปลดปล่อยสารฆ่าเชื้อ เช่น เอทานอลในรูปแบบของไอระเหย โดยกลไกการฆ่าเชื้อโรคคือ ไอของเอทานอลที่ระเหยออกจาก คิวบ์–เอ็กซ์ จะเข้าสู้พื้นที่ที่มีการปนเปื้อนโดยเชื้อโรค
ไอของเอทานอลดังกล่าวจะรบกวนเยื่อหุ้มเซลล์ของเชื้อโรค ทำให้สามารถฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยไม่ทำลายพื้นผิว การใช้งานทำได้ง่ายโดยการใส่ก้อนฆ่าเชื้อในกล่องพลาสติกขนาด 10 x10 x 3 ลูกบาศก์เซนติเมตร ปิดฝาทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 6 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 25-37 องศาเซลเซียส คิวบ์–เอ็กซ์ผลิตจากกรดไขมันและอนุพันธ์ของเซลลูโลสทำให้สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติเมื่อสิ้นสุดการใช้งาน อีกทั้งกระบวนการผลิตสามารถทำได้ง่าย ต้นทุนการผลิตต่ำ และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในงานต่างๆ ได้อย่างหลากหลาย
สรุปและจุดเด่นเทคโนโลยี
สถานภาพสิทธิบัตร
สิทธิบัตร เลขที่คำขอ 2001005368 เรื่อง .กระบวนการเตรียมนาโนไฮบริดคิวบิคเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อจุลชีพบนพื้นผิว วันที่ยื่นคำขอ 22 กันยายน 2563
กลุ่มอุตสาหกรรม
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ / วิจัยพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม
สถานภาพของผลงานวิจัย
ผลการทดลองระดับห้องปฏิบัติการได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นไปได้
นักวิจัย
ดร. ลัพธ์พร วยาจุต (หัวหน้าโครงการ)
ดร. ชุลีกร โชติสุวรรณ
ดร. พนิดา พรหมพินิจ
ดร. รวีวรรณ ถิรมนัส
นาย สักรินทร์ ดูอามัน
ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
จิรนันท์ บุบผามาลา
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ