จากความต้องการในการพัฒนาเครื่องเดนตีสแกนให้รองรับการติดตั้งใช้งานในคลินิกหรือโรงพยาบาลที่มีขนาดพื้นที่จำกัด ประกอบกับความต้องการลดต้นทุนในการผลิต และความต้องการฟังก์ชันการถ่ายภาพรังสีที่หลากหลายขึ้น รวมทั้งจากการสำรวจความต้องการจากทันตแพทย์และผู้ใช้งานหลายคน พบว่า มีความต้องการเครื่องถ่ายภาพรังสีปริทัศน์ หรือ เครื่องถ่ายภาพรังสีสองมิติแบบพาโนรามิกบริเวณช่องปากเป็นที่จำนวนมาก เพราะถือว่าเป็นการถ่ายภาพรังสีในช่องปากขั้นพื้นฐาน เพื่อใช้ในการประเมินความผิดปกติของฟันและบริเวณใบหน้าเบื้องต้นได้ ดังนั้น จึงมีการพัฒนาเครื่องเดนตีสแกน โดยเริ่มต้นจาก เดนตีสแกน รุ่น 1.1, เดนตีสแกน รุ่น 2.0 และปัจจุบัน คือ เดนตีสแกน รุ่น ดูโอ ซึ่งมีขนาดเล็กลงและใช้พื้นที่ในการติดตั้งน้อย

เครื่องเดนตีสแกน รุ่น ดูโอ (DentiiScan Duo) ประกอบด้วยการถ่ายภาพเอกซเรย์ทั้งสองมิติและสามมิติ

1) การถ่ายภาพเอกซเรย์สองมิติแบบพาโนรามิก หรือ ถ่ายภาพรังสีปริทัศน์ (Panoramic Radiography) ใช้รังสีเอกซ์และฉากรับรังสีชนิดแบนราบ แต่มีการบีบลำรังสีเอกซเรย์ให้เป็นเส้นเล็กๆ ทำการเคลื่อนที่ตามแนวโค้งของฟัน ทั้งการเลื่อนและหมุนของชุดคานหมุน ภาพรังสีในแต่ละมุมต้องนำมาต่อภาพให้เป็นภาพแบบพาโนรามิกและทำการประมวลผลภาพให้มีความคมชัดและมีความถูกต้องของภาพ
2) การถ่ายภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบลำรังสีทรงกรวย (CBCT หรือ Cone-Beam CT) ใช้รังสีเอกซ์ที่มีลำรังสีแบบทรงกรวย และฉากรับรังสีชนิดแบนราบ (Flatpanel detector) ซึ่งตั้งอยู่ตรงกันข้ามกัน อุปกรณ์ทั้งสองจะหมุนไปพร้อมๆ กันรอบศีรษะผู้ป่วย เพื่อเก็บข้อมูลดิบในแต่ละมุมมอง จากนั้นนำข้อมูลดิบที่ได้มาผ่านอัลกอริทึมในการสร้างภาพตัดขวาง (Image Reconstruction) เพื่อสร้างภาพตัดขวางที่เป็นข้อมูลสามมิติบริเวณช่องปากและขากรรไกรของผู้ป่วยภาพตัดขวางที่ได้จะถูกแสดงผลในมุมมองสองมิติและสามมิติโดยผ่านซอฟต์แวร์แสดงภาพ (Viewer)

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ทันตกรรมรากฟันเทียม (Dental Implant)
  • วางแผนการผ่าตัดบริเวณช่องปากขากรรไกร และใบหน้า (Oral and Maxillofacial Surgery)
  • วางแผนการจัดฟันร่วมกับการผ่าตัดขากรรไกร (Orthognathic Surgery)
  • ทันตกรรมจัดฟัน (Orthodontics)
  • วินิจฉัยและติดตามการรักษาทั่วไป

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
สิทธิบัตรการประดิษฐ์ 3 ผลงาน, อนุสิทธิบัตร 1 ผลงาน และลิขสิทธิ์ 9 ผลงาน

ความปลอดภัยและมาตรฐาน

  • ความปลอดภัยทางปริมาณรังสี
  • ความปลอดภัยทางระบบไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์
  • การทดสอบทางคลินิกในมนุษย์
  • การรับรองมาตรฐาน ISO 13485
  • การขึ้นทะเบียนผลิตภัณฑ์ (CSDT)

สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

นักวิจัย
ดร.เสาวภาคย์ ธงวิจิตรมณี และคณะ
ศูนย์วิจัยเทคโนโลยีสิ่งอำนวยความสะดวกและเครื่องมือแพทย์
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

เครื่อง DentiiScan Duo

ภาพเอกซเรย์คอมพิวเตอร์แบบลำรังสีทรงกรวย (Cone-Beam Computed Tomography)

ภาพรังสีปริทัศน์ (Panoramic Radiograph)

 

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

กุลภัทร์ เฉลิมงาม
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO) 
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :