เซลล์ยีสต์ลูกผสม Saccharomyces cerevisiae สำหรับการผลิตสารออกฤทธิ์ทางชีวภาพเบต้าแคโรทีนและไลโคปีน

Introduction:

เบต้าแคโรทีนเป็นสารประกอบแคโรทีนอยด์ เป็นสารตั้งต้นในการสังเคราะห์วิตามินเอ (Pro-vitamin A) ที่มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานปกติของระบบต่างๆ ของร่างกาย เช่น ระบบประสาทและการมองเห็น เป็นต้น ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคต้อกระจก อีกทั้งยังมีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ 

การผลิตเบต้าแคโรทีนสามารถทำได้โดยการสกัดจากแครอท หรือผักผลไม้ชนิดอื่นๆ ข้อดีของวิธีการนี้คือเป็นกระบวนการผลิตจากแหล่งที่มาตามธรรมชาติ แต่ข้อเสียคือปริมาณการผลิตเบต้าแคโรทีนจะแปรเปลี่ยนไปตามฤดูกาล สภาพดินฟ้าอากาศ รวมทั้งต้องอาศัยพื้นที่ในการเพาะปลูก ซึ่งอาจก่อให้เกิดผลกระทบกับการเพาะปลูกพืชเพื่อการบริโภคและพืชเศรษฐกิจอื่นๆ นอกจากนี้ยังมีต้นทุนการผลิตที่สูง

อย่างไรก็ตามในปัจจุบันปริมาณความต้องการเบต้าแคโรทีนเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากมีการนำไปใช้เป็นอาหารเสริม อาหารฟังก์ชั่น และเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางอย่างแพร่หลาย ดังนั้นการเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการผลิตเบต้าแคโรทีนจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ในงานวิจัยนี้มุ่งพัฒนากระบวนการผลิตสารประกอบแคโรทีนอยด์มูลค่าสูงเบต้าแคโรทีนและไลโคปีน เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารเสริม อาหารฟังก์ชั่นและเครื่องสำอาง ตลอดจนอุตสาหกรรมทางการแพทย์และยา

 

 

จุดเด่นของเทคโนโลยี
คือการดึงเอาทรัพยากรหลักของประเทศอันได้แก่ ความหลากหลายทางชีวภาพ มาก่อให้เกิดการใช้ประโยชน์อย่างสูงสุดด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่เรียกว่า ชีววิทยาสังเคราะห์ (synthetic biology) เพื่อการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ได้อย่างแท้จริง

ทีมวิจัยระบบจุลินทรีย์เพื่อผลิตชีวโมเลกุล มุ่งเน้นการพัฒนาสายพันธุ์จุลินทรีย์โดยใช้องค์ความรู้ด้านชีววิทยาสังเคราะห์ร่วมกับการพัฒนาชีวกระบวนการที่มีประสิทธิภาพเพื่อผลิตสารชีวเคมีภัณฑ์เป้าหมาย เป็นสารประกอบแคโรทีนอยด์มูลค่าสูงเบต้าแคโรทีนและไลโคปีน เพื่อการใช้งานในอุตสาหกรรมอาหารเสริม อาหารฟังก์ชั่นและเครื่องสำอาง ตลอดจนอุตสาหกรรมทางการแพทย์และยา

เซลล์ยีสต์ลูกผสมที่สร้างขึ้นจากงานวิจัยนี้มีประสิทธิภาพและมีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้ในการผลิตเบต้าแคโรทีนด้วยกระบวนการหมักแบบขั้นตอนเดียว โดยใช้น้ำตาลซูโครสที่มีราคาถูกเป็นแหล่งคาร์บอน ซึ่งจะช่วยลดต้นทุนในกระบวนการผลิตเบต้าแคโรทีนได้

สายพันธุ์ยีสต์และกระบวนการผลิตสารประกอบแคโรทีนอยด์มูลค่าสูงเบต้าแคโรทีนและไลโคปีน พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยีให้กับผู้ที่สนใจ

 

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ดร.วีรวัฒน์ รังกุพันธุ์
ทีมวิจัยระบบจุลินทรีย์เพื่อผลิตชีวโมเลกุล (IMCT)
กลุ่มวิจัยเทคโนโลยีไบโอรีไฟเนอรีและชีวภัณฑ์ (IBBG)
ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ(BIOTEC)

นิทรรศการอื่นๆ :