การอบรมครูเชิงปฏิบัติการแบบออนไลน์ “Food Waste กับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน”

09:00 
- 16:00 น.
Artboard 1

วิทยากร

ดร.นงนุช พูลสวัสดิ์, ดร.เสกสรร พาป้อง and นางสาวประมวญ อุทรักษ์

ขยะอาหาร (Food Waste) เป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สังคมและเศรษฐกิจ หากมองให้ลึกลงไปจะพบว่าไม่ใช่แค่เรื่องของอาหารที่ถูกทิ้ง แต่เป็นการสูญเสียทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตและขนส่งอาหารไม่ว่าจะเป็นทรัพยากรธรรมชาติ น้ำ พลังงาน และแรงงานอีกด้วย

จากรายงาน Food Waste Index Report 2021 หรือรายงานดัชนีขยะอาหาร โดยโครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (UN Environment Programme: UNEP) ระบุว่า ในปี 2019 มีปริมาณขยะอาหารเกิดขึ้นทั่วโลก 931 ล้านตัน หรือเท่ากับ 17% ของอาหารทั้งหมดที่ผลิตมาให้กับผู้บริโภค โดยขยะอาหารเหล่านี้ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก 8-10% ของก๊าซเรือนกระจกที่มีการปล่อยทั่วโลก  

การสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ทำให้ประเทศทั่วโลกตระหนักถึงความสำคัญของหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ที่มุ่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยใช้ทรัพยากรให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด มาใช้เป็นแนวทางในการขับเคลื่อนสู่เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) ของโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) โดยขยะอาหารเป็นหนึ่งในเป้าหมายที่ 12 กำหนดเป้าประสงค์ในการลดขยะอาหาร (Food Waste) ของโลกลง 50% ในระดับค้าปลีกและผู้บริโภค ภายในปี 2030 สำหรับประเทศไทยได้มีการนำหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียนมาใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน โดยกำหนดแผนและเป้าหมายการลดขยะอาหารของประเทศไว้ในแผน BCG สาขาเศรษฐกิจหมุนเวียน แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 13 (ฉบับร่าง)  

จากข้อมูลกรมควบคุมมลพิษ ประเทศไทยมีขยะอาหารในสัดส่วน 40-60 % ของปริมาณขยะทั้งหมด เนื่องจากการแยกขยะที่ไม่มีประสิทธิภาพ ทำให้ขยะอาหารส่วนใหญ่ถูกกำจัดโดยวิธีการฝังกลบ ก่อให้เกิดปัญหามลพิษต่อสิ่งแวดล้อม เช่น กลิ่นเหม็น การปนเปื้อนจากขยะสู่ดินและแหล่งน้ำ รวมถึงการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ประเทศไทยอยู่ในช่วงเริ่มต้นของการดำเนินงานเก็บข้อมูลและจัดการเรื่องการสูญเสียอาหารและขยะอาหาร เพื่อลดปัญหาขยะอาหารที่เหมาะสมกับบริบทของประเทศไทย โดยบรรจุเรื่องปัญหาขยะอาหารไว้ในแผนขับเคลื่อนการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน พ.ศ. 2560 – 2580  มีเป้าหมายลดขยะอาหารให้ได้ 5% ต่อปี โครงการอบรม “Food Waste กับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน” จัดทำขึ้นเพื่อให้ความรู้กับครูระดับโรงเรียนในการนำไปใช้ในการประเมินขยะอาหาร การเก็บข้อมูลและรายงานปริมาณขยะอาหาร และแนวทางการใช้เทคโนโลยีในการบริหารจัดการอาหาร/ขยะอาหาร อันจะนำไปสู่การสร้างความตระหนักและมีส่วนร่วมของทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการช่วยกันลดการสูญเสียอาหารที่เหลือจากการบริโภคและลดปริมาณขยะอาหารที่ต้องฝังกลบในโรงเรียน เพื่อการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าและลดผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ตามแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน 


นิทรรศการออนไลน์ผ่าน Virtual Reallity

รับชมผลงานวิจัยและนิทรรศการจาก สวทช. แบบ ​Interactive.

กำหนดการสัมมนา:

09.00 – 12.00 น.

บรรยายให้ความรู้ด้านขยะอาหาร (Food Waste) กับแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน วิธีการประเมินปริมาณขยะอาหารและแนวทางการลดปริมาณขยะอาหาร 
โดยทีมวิจัย สถาบันเทคโนโลยีและสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ

13.00 – 14.00 น.

เสวนาร่วมกับเทศบาลนครรังสิต ในหัวข้อการดำเนินงานการคัดแยกขยะและการจัดการขยะอาหารในบริบทชุมชนเมือง กรณีศึกษาเทศบาลนครรังสิต จังหวัดปทุมธานี

14.00 – 16.00 น.

Workshop การคำนวณปริมาณขยะอาหารตามวิธีมาตรฐานสากล

 

เกี่ยวกับวิทยากร

ดร.นงนุช พูลสวัสดิ์
สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เอ็มเทค สวทช.
ดร.เสกสรร พาป้อง
สถาบันเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน เอ็มเทค สวทช.
นางสาวประมวญ อุทรักษ์
Share on facebook
Facebook
Share on twitter
Twitter
Share on email
Email

กิจจกรรมที่น่าสนใจอื่นๆ: