สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ ขอเชิญชวนให้นำสุนัขมาเข้ารับบริการฉีควัคซีนพิษสุนัขบ้า

สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ ขอเชิญชวนให้นำสุนัขมาเข้ารับบริการฉีควัคซีนพิษสุนัขบ้า และทำหมันด้วยวิธีใหม่ไม่ต้องผ่าตัด (ฟรี) ซี่งเป็นความสำเร็จของนักวิจัยไทย  ในวันพุธ ที่ 25 พ.ย.52 เวลา 11.00 น. ณ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถนนโยธี กรุงเทพฯ สนใจสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ สวทช. โทร.0 2644 8150 ต่อ 712,212,218 และ 213 (รับจำนวนจำกัด)

สวทช./ก.วิทย์ เสนอมิติใหม่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกลวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้ทดลองและเรียนรู้อย่างสนุก สมวัย

เรื่อง     สวทช./ก.วิทย์ เสนอมิติใหม่การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ผ่านกลวิทยาศาสตร์ ให้เด็กได้ทดลองและเรียนรู้อย่างสนุก สมวัย

 

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นำเสนอรูปแบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแนวใหม่ผ่านกิจกรรม “สนุกคิดกลวิทยาศาสตร์” เพื่อให้เด็กๆ ได้เรียนรู้และได้ทดลองวิทยาศาสตร์อย่างสนุกสนาน สมวัย  ซึ่งแท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์ คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวตั้งแต่แรกเกิด  เห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามสิ่งต่างๆ ที่พบเจอ และบางครั้งก็เป็นคำถามที่ยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะตอบได้

 

ดังนั้นเพื่อเป็นเปิดโอกาสให้เด็กได้เรียนรู้อย่างกว้างไกลและสมวัย สวทช./กระทรวงวิทย์  โดย ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  พร้อมด้วยแพทย์หญิงศันสนีย์ ฉัตรคุปต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านสมองและการเรียนรู้ของเด็ก ร่วมเสวนาด้วย ซึ่งภายในงานพบกับกิจกรรมเสริมสร้างความรู้และความสนุกมากมาย เช่น  ลูกโป่งพองได้เองในไมโครเวฟ  เสกน้ำเปลี่ยนสีได้ดั่งใจนึก  สัตว์ประหลาดเต้นระบำจากแป้งข้าวโพด  ไข่ลอยน้ำ อาบน้ำให้ใบบัว  หมากฝรั่งกับช๊อคโกแลต  ฯลฯ  ในวันพฤหัสบดีที่ 5 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

สวทช. จับมือ บางจากฯ ร่วมพัฒนาวิจัยพลังงานทดแทน

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2552 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบและการวิจัยพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ระหว่างบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ
ชี้รัฐสนับสนุนพลังงานทดแทนช่วยชาติประหยัดเงินจากการนำเข้าน้ำมัน ประมาณ 80,000 ล้านบาท
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมอู่ทหารเรือ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มบริษัท สามมิตรมอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) สมาคมเครื่องจักรกลไทย และบริษัท เกรทอะโกร จำกัด เป็นต้น ได้เข้ามามีส่วนแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิตตอนบน ที่ครอบคลุมอาณาเขตถึง 5 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ
ตอนเหนือ ปทุมธานี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา โดยการนำเอาพืชพลังงานมาปลูกในพื้นที่ การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อแปรรูปผลผลิตพลังงานเหล่านั้น เช่น น้ำมันปาล์มเป็นไบโอดีเซลในกลุ่มเกษตรกร ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่ทุกฝ่ายร่วมกันทำงาน โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้ การทดสอบการปลูกปาล์มและสบู่ดำ ปรากฎว่า สามารถแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืน และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อไร่ต่อปี
นอกจากนี้ การลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด สวทช. และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง ด้วยบริษัทน้ำมันของชาติจะเข้ามามีส่วนร่วมในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ณ ศูนย์ผลิตไบโอดีเซล อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับทุ่งหลวงรังสิตอยู่แล้ว และจะเป็นส่วนสำคัญที่ให้ผู้ประกอบการ ผู้ปลูกพืชน้ำมันในทุ่งหลวงรังสิตและพื้นที่ภาคกลางทั้งหลาย มีทางออกในการส่งผลผลิตเหล่านั้นเข้ามาแปรรูป มีตลาดที่ยั่งยืนและมั่นคงต่อไป
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของเอ็มเทค/สวทช. มีนโยบายสนับสนุนการใช้ไบโอดีเซล ดังนั้น การร่วมมือในครั้งนี้กับบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด จึงเป็นข่าวดีที่ทั้ง 2 หน่วยงานได้มีโอกาสทำงานร่วมกันในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและการผลิตไบโอดีเซล ตลอดจนมีความประสงค์จะร่วมมือกันในการซื้อขายปาล์มน้ำมันดิบ จากเกษตกรในโครงการโรงงานสาธิตการผลิตไบโอดีเซลสำหรับชุมชนแบบครบวงจรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ทางเอ็มเทค/สวทช.ได้จัดทำขึ้นจนสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือดังกล่าว สวทช. จะเป็นผู้ประสานงานการดำเนินงานโครงการการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ระหว่าง บริษัท บางจากไบโอฟูเอล กับวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการกับเอ็มเทค เพื่อเแปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันไบโอดีเซลในปริมาณ 60 ตันต่อเดือน หรือประมาณ 2 ตันต่อวัน เป็นระยะเวลา 5 ปี รศ.ดร.ศักรินทร์ฯ กล่าว
ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ช่วยวิจัยพัฒนาด้านเมล็ดพันธุ์ปาล์มซึ่งจะให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และร่วมกันวิจัยและพัฒนาสร้างนวัตกรรมพลังงานทดแทนในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงานที่ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซล ทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 5 ภายในปี 2554 โดยนำไบโอดีเซล B100 ไปใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 1.35 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 2.5 ล้านลิตรต่อวัน พร้อมกำหนดเป้าหมายให้มีการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B5 ทั่วประเทศ และ B10 ในบางพื้นที่ ระหว่างปี 2554-2565 ซึ่งการที่จะขับเคลื่อนพลังงานทดแทนไบโอดีเซลให้เป็นไปตามเป้าหมายของภาครัฐได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งต้นน้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบโดยเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ และปลายน้ำที่เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายถึงมือผู้ใช้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง “ปัจจุบันปาล์มเป็นพืชพลังงานหลักที่เป็นวัตุดิบในการผลิตไบโอดีเซล การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ปัจจุบันมีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 2.8 ตันต่อไร่ต่อปี ในอนาคตต้องพัฒนาให้ได้มากกว่า 3.2 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมโรงสกัดน้ำมันปาล์มในประเทศ และลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ปีละประมาณ 80,000 ล้านบาท” ดร.อนุสรณ์ กล่าว

[singlepic id=131 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=129 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=130 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=132 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=133 w=320 h=240 float=]

Tags: , ,

สวทช.ร่วมกับน้ำมันบางจาก รับซื้อ-ขายพืชพลังงานจากชุมชน เพื่อผลิตน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันไบโอดีเซลที่มีคุณภาพมาตรฐาน

เรื่อง     สวทช.ร่วมกับน้ำมันบางจาก รับซื้อ-ขายพืชพลังงานจากชุมชน เพื่อผลิตน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันไบโอดีเซลที่มีคุณภาพมาตรฐาน

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)  ร่วมกับ บริษัทบางจากไบโอฟูเอล จำกัด ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือใน “โครงการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ” ตามความร่วมมือที่ได้ดำเนินโครงการโรงงานสาธิตการผลิตไบโอดีเซลแบบครบวงจรสำหรับชุมชนเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสงานฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี

 

 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว มีการพัฒนาเป็นต้นแบบโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม ต้นแบบชุดเครื่องหีบน้ำมันสบู่ดำ ต้นแบบโรงงานผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันปาล์มและน้ำมันสบู่ดำ แบบครบวงจรและ มีกำลังการผลิต 300,000 ลิตรต่อวัน  และดำเนินธุรกิจด้านการรับซื้อวัตถุดิบผลปาล์มน้ำมันจากเกษตรกร  เพื่อนำมาแปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันไบโอดีเซลแบบครบวงจรและได้มาตรฐาน ออกจำหน่ายเป็นผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องต่อไป

 

การนี้ สวทช. ใคร่ขอเรียนเชิญผู้สื่อข่าวทุกท่านเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันพุธที่ 21 ตุลาคม 2552 เวลา 10.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้    โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

สวทช. ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ ประจำปี 2552

          สวทช. ร่วมกับ มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงข่าวเปิดตัวผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ประจำปี 2552 อันเป็นปีที่ 8 ที่ได้ประกาศให้รางวัล ในวันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม 2552 ณ ห้องอโนมา 1 ชั้น 3 โรงแรมอโนมา กรุงเทพฯ เวลา 10.00 น. โดยมี ดร.กอปร กฤตยากีรณ ประธานกรรมการบริหารมูลนิธิฯ รศ.ดร.ศักรินทร์  ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ผู้สนับสนุนโครงการและ ศ.นพ.สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ประธานโครงการรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่น ร่วมในการแถลงข่าว

             ในการแถลงข่าวจะได้เปิดตัว ผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นประเภทกลุ่ม และประเภทบุคคล ซึ่งจะได้รับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดพร้อมเงินรางวัลรวมเป็นจำนวน 1,000,000 บาท และรางวัลนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่จะได้รับเหรียญรางวัลเรือใบซูเปอร์มดพร้อมเงินรางวัลเป็นจำนวนเงิน 200,000 บาท และในงานจะได้พบกับการจัดแสดงผลงานของผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและนักเทคโนโลยีรุ่นใหม่ และการฉายวีดิทัศน์ แสดงถึงผลงานที่ได้รับรางวัลในปีนี้ โดยผู้ได้รับรางวัลนักเทคโนโลยีดีเด่นและรุ่นใหม่ จะเข้ารับรางวัลประติมากรรมเรือใบซูเปอร์มดและเหรียญรางวัลเรือใบซูเปอร์มด ในงานการประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 35 (วทท.35)  ในวันที่ 15 ตุลาคม 2552  ณ  เดอะ ไทด์ รีสอร์ท  จ.ชลบุรี ดังนี้ จึงขอเรียนเชิญผู้สื่อข่าว เข้าร่วมทำข่าว ในงานดังกล่าว

          ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่  ฝ่าย รัฐกิจสัมพันธ์ งานประชาสัมพันธ์ คุณ สรินยา ,  โกเมศ , ปริเยศ , กัญรินทร์ ที่เบอร์ 081-988-6614 , 081- 668-1064 , 084-529-006 , 084-910-0850

สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ ลงนามร่วมสถานฑูตอังกฤษ ร่วมวิจัย พร้อมแก้วิกฤต 4 ด้าน ได้แก่ รับมือโรคอุบัติใหม่,ค้นหาแหล่งพลังงานใหม่จากพลังงานชีวมวลนาโนเทคโนโลยีและวิจัยไบโออิเล็กทรอนิกส์

[singlepic id=128 w=320 h=240 float=] 

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยี ระหว่าง สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ กับสถานฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาความร่วมมือแลกเปลี่ยนบุคลากรและทำงานวิจัยร่วมกันภายใต้โครงการ UK-Thailand Partners in Science ทั้งนี้กรอบการทำงานร่วมกัน กำหนดขึ้นจากประเด็นปัญหาที่ทั้ง 2 ประเทศประสบอยู่ในขณะนี้ ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ งานวิจัยแก้ปัญหาสุขภาพชีววิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่,ไบโออิเล็กทรอนิกส์,นาโนเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เพื่อมองหาพลังานทางเลือกจากชีวมวล  เป็นต้น คาดว่า ราวเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดการประชุมหารือถึงหัวข้อวิจัยที่จะทำร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง

สวทช./วท.นำคณะบุคลากรนักวิจัยและเยาวชนที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อรับพระราชทานโล่รางวัล

เมื่อเร็วนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อม รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำคณะบุคลากรนักวิจัยและเยาวชนที่ได้รับรางวัลดีเด่นในสาขาต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทและเข้ารับโล่และถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล ตลอดจนเป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยต่อไป ซึ่งในปี 2552 สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการวิจัยที่สำคัญ 3 โครงการ อันได้แก่ โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ และทุน NSTDA Chair Professor   และโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 และโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 โดยมีรายละเอียดผู้ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆ ดังนี้

[singlepic id=117 w=320 h=240 float=]           

โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ ศ.ดร.วัชระ กสินฤกษ์ ผศ.ดร.ขจรศักดิ์  ตระกูลพัว  ดร.ณัฐจีรา อินต๊ะใส มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     โครงการวิจัยและพัฒนาและจัดการองค์ความรู้ทางวิทยาภูมิคุ้มกันและเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลเพื่อการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค

[singlepic id=118 w=320 h=240 float=]

โครงการทุน NSTDA Chair Professor  ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล รศ. ดร.เมตตา เจริญพานิช  ดร.อำพร เสน่ห์ ดร.รังรอง ยกส้าน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการออกแบบและการผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม

โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11

รางวัลชนะเลิศ ระดับนิสิต นักศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท

[singlepic id=119 w=320 h=240 float=]

  • ประเภท โปรแกรมเพื่อความบันเทิง

โครงการ “เกมรามยุทธ์” ผู้พัฒนา ได้แก่ นายอานนท์ ตั้งสถิตพร, นายจักรพงศ์ นาคเดช, นายขัตติพงศ์ เห็นสุข และอาจารย์ที่ปรึกษา  นายวิษณุ โคตรจรัส จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   

[singlepic id=120 w=320 h=240 float=]

  • ·       ประเภทโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
  • โครงการ “สร้างสรรค์โลกสามมิติด้วยจาวา” ผู้พัฒนา ได้แก่ นายกีรติพงศ์ อุกะโชค, นายธนากร จิวารุ่งเรือง, นายฐณวัฒน์ รอดสมบุญ และอาจารย์ที่ปรึกษา  นางสาวฐิติวรรณ ศรีนาค จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    [singlepic id=121 w=320 h=240 float=]

    • ประเภทโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ

    โครงการ “ไบรท์ไซต์” (Bright  Sight) ผู้พัฒนา ได้แก่ นางสาวรพีพร พิมพ์อูบ  

    นางสาวภคภร ทิสยากร   และอาจารย์ที่ปรึกษา นายบุญเสริม กิจศิริกุล จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    [singlepic id=122 w=320 h=240 float=]

    • ประเภทโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ 

    โครงการ “ลีนุกซ์บ้านอัจฉริยะ” ผู้พัฒนา ได้แก่ นายฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ ,นายอภิวัฒน์ ยมนา,นายธีรพงศ์ แซ่ตั้ง  และอาจารย์ที่ปรึกษา  นายวีรพันธ์ มุสิกสาร  จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่

    รางวัลชนะเลิศระดับนักเรียน

    [singlepic id=123 w=320 h=240 float=]

  • ·       ประเภทโปรแกรมเพื่อความบันเทิง 
  • โครงการ “ผลึกผนึกมาร” ผู้พัฒนา ได้แก่นายธนานนท์  ปฏิญญาศักดิกุล 

    นายภัทรวุฒิ  มาลีหวล,นายพรสิงห์  นิลผาย  และอาจารย์ที่ปรึกษา  นายนิพนธ์  สมัครค้า จาก โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา

  • โครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประกอบด้วย
    • รางวัลชนะเลิศประเภทที่ ๑ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีผู้ได้รับรางวัลนี้จำนวน ๒ คณะ ได้แก่

    [singlepic id=124 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน ด้ามตะเกียบ : นายทรงสิทธิ์ สีสุธรรม/นายสิทธิศักดิ์ สีสุธรรม/ นายปริวรรต แก้วระดี โรงเรียนปลาปากวิทยา  จังหวัดนครพนม อาจารย์ที่ปรึกษา  นายสิทธิชัย ยางธิสาร

     [singlepic id=125 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน ระบบเก็บแก๊ส ชีวภาพ : นายศจิษฐ์ โปธาตุ/ นายอติศักดิ์ ศรีตำแย/นายอลงกรณ์ ตั้งสมบัติสันติ โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อาจารย์ที่ปรึกษา นายธนภณ  อุ่นวิเศษ 

    • รางวัลชนะเลิศประเภทที่ 2 นักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี

    [singlepic id=126 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน กบเหลาดินสอเเละกระถางต้นไม้ตกเเต่ง (Plantcil sharpener) : นางสาวพิมพิพัฒน์ ห้องดุลย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา  นายมาร์ก รุกขมธุร์

    • รางวัลชนะเลิศประเภทที่ 4 ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

    [singlepic id=127 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน  กระถางย่อยสลายได้สำหรับ ปลูกต้นกระดาษ : ดร. ชินรัฐ บุญชู/ ดร.เฉิดฉัน ปุกหุต/ ดร. สกุณณี บวรสมบัติ  บริษัท ดี. เอ. รีเซิร์ช เซ็นเตอร์ จำกัด/มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    ประเทศไทยร่วมมือกับสหราชอาณาจักรในการต่อสู้กับปัญหาโลกร้อน

    สวทช. กระทรวงวิทย์ ฯ ตระหนัก ถึงปัญหาดังกล่าว และคาดการณ์ว่า ในปี พ.ศ. 2573   ความต้องการด้านอาหารและพลังงาน จะเพิ่มสูงขึ้นเป็นถึงร้อยละ 50 และความต้องการน้ำ จะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 30 ตามจำนวนประชากรที่เพิ่มสูงสุดถึง 8.3 พันล้าน ประเทศไทยและประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นพื้นที่มีความอ่อนไหวที่สุดแห่งหนึ่งของโลกที่จะได้รับผลกระทบจากปัญหาโลกร้อน  ปัญหาดังกล่าวอาจส่งผลให้เกิดการขาดแคลนอาหาร พลังงาน และน้ำ ซึ่งอาจนำไปสู่สงคราม ความไม่สงบ และการอพยพของคนจำนวนมากในอนาคต ดังนั้น การพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านพลังงานหมุนเวียน การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการจัดการแหล่งน้ำอย่างเหมาะสมจึงเป็นแนวทางสำคัญต่อการรับมือกับปัญหาดังกล่าว

     

     ดังนี้ สถานทูตอังกฤษ และ สวทช. รู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่จะได้เชิญสื่อมวลชนมาร่วมในการประชุมในครั้งนี้ โดย ฯพณฯ ดร. คุณหญิง กัลยา โสภณพานิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีศาสตราจารย์ , ศ.ดร เบดดิงตัน และ ดร. ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สวทช. เป็นประธาน ในงานดังกล่าว ณ ห้องมณฑาทิพย์ 2 โรงแรมโฟร์ซีซั่น ถนนราชดำริ กรุงเทพฯ ในวันอังคารที่ 29 กันยายน 2552 เวลา 18.30 น. พร้อมรับประทานอาหารเย็นร่วมกัน  สามารถติดต่อสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ คุณ สรินยา , คุณ โกเมศ , คุณ ปริเยศ , คุณ กัญรินทร์ ที่เบอร์ 081-9886614 , 081-6681064 , 02-6448150 ต่อ 237 , 712 , 217 ,212

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์อัญเชิญแจกันดอกไม้มอบแด่นายศักรินทร์ ภูมิรัตน

    [singlepic id=113 w=320 h=240 float=]

    สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี โปรดเกล้าฯ ให้ผู้แทนพระองค์นายติระวัฒน์ สุจริตกุล อัญเชิญแจกันดอกไม้มอบแด่นายศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ในโอกาสครบรอบวันเกิด 60 ปี

    คุณหญิงกัลยาฯ ประกาศหนุนวิทยาศาสตร์ฯ แก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ พร้อมรับน้องหม่อง ที่สุวรรณภูมิ

    [singlepic id=114 w=320 h=240 float=] [singlepic id=116 w=320 h=240 float=]    

     21 กันยายน 2552 สุวรรณภูมิ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะฯ ได้เดินทางมารับ ด.ช.หม่อง ทองดี และคณะผู้ชนะการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ซึ่งเป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อสร้างเสริมแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ฟิสิกส์เบื้องต้นไปจนถึงเรื่อง อากาศ และพลศาสตร์อย่างสนุกสนานและเข้าใจง่าย โดยใช้ความคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องบินกระดาษด้วยหลักการเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งมีเครื่องบินกระดาษเป็นสื่อ  โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ที่จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น  โดยสมาคมกระดาษพับแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประเทศไทย โดย นอกเหนือจาก ด.ช.หม่อง ทองดี แล้ว ยังมีตัวแทนประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอีกสามประเภทคือ ประเภทบุคคลทั่วไป ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่สองและที่สาม ได้แก่ ดร.ประเสริฐ เฉลิมการนนท์,นายสุรินทร์ อินทรโชติ และประเภทบุคคลทั่วไปหญิง นางสาวฝอยฝน ศรีสวัสดิ์

    ทั้งนี้ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้กล่าวแสดงความยินดี และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กชายหม่องด้วย นอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าวนี้ ดร.คุณหญิงกัลยายังกล่าวเสริมว่า  สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ ยังมีโครงการส่งเสริมและสร้างกระแสความนิยมกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนในโอกาสต่อไป รวมทั้งในช่วงปิดเทอมนี้ด้วย เพื่อแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ หรือรวมกลุ่มทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ซึ่งเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรซึ่งเปิดกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆมากมาย สนใจติดต่อสอบถามที่ Call center สวทช.025648000