Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • Kibo-RPC
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge

NSTDA SPACE Education 19/03/2021

 

          องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (Japan Aerospace Exploration Agency: JAXA) และองค์การบริหารการบินและอวกาศแห่งชาติสหรัฐ (National Aeronautics and Space Administration: NASA) ได้มีความร่วมมือกันภายใต้โปรแกรม JAPAN US Open Platform Partnership (JP-US OP3) จัดการแข่งขัน Kibo Robot Programming Challenge เขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ Astrobee ชิงแชมป์เอเชีย ซึ่งการจัดแข่งขันในปี 2564 นี้ ได้จัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 เพื่อค้นหาตัวแทนทีมเยาวชนของประเทศสมาชิก Kibo-ABC (Asian Beneficial Collaboration through “Kibo” Utilization) เข้าร่วมโครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์เอเชีย ในเดือนกันยายน 2564 แบบออนไลน์ ณ Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น

          หุ่นยนต์ที่ใช้ในการแข่งขัน คือหุ่นยนต์ Astrobee ผู้ช่วยนักบินอวกาศของ NASA และหุ่นยนต์ Int-Ball ของ JAXA โดยการแข่งขันกำหนดให้เยาวชนผู้เข้าร่วมการแข่งขัน เขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์เพื่อควบคุมการทำงานของหุ่นยนต์ Astrobee ที่ใช้งานอยู่จริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ (International Space Station: ISS) ให้ปฏิบัติภารกิจตามที่ได้รับมอบหมาย

          เพื่อเป็นการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทย ในการพัฒนาขีดความรู้ความสามารถด้านสะเต็มศึกษา (Science Technology Engineering and Mathematics Education: STEM Education) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ซึ่งเป็นหนึ่งในหน่วยงานสมาชิกของ Kibo-ABC ได้รับมอบสิทธิ์ให้เป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันรอบชิงแชมป์ประเทศไทย เพื่อคัดเลือกหาตัวแทนทีมเยาวชนไทย เข้าร่วมการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์เอเชียในเดือนกันยายน 2564 ต่อไป

          โดย สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภายใต้สังกัด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้มีความร่วมมือกับหน่วยงานพันธมิตร ได้แก่ สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) และ สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (สทอศ.) จัดการแข่งขันโครงการแข่งขันร่วมกัน

วัตุประสงค์ของโครงการ
          1. สร้างโอกาสในการเรียนรู้ผ่านองค์ความรู้ที่ทันสมัย ได้ฝึกฝนทักษะการเขียนโปรแกรม วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรม และคณิตศาสตร์

          2. เยาวชนได้รับการเสริมสร้างให้มีวินัยในการทำงาน รู้จักการทำงานร่วมกับผู้อื่น การแบ่งหน้าที่และทำงานเป็นกลุ่มได้อย่างมีประสิทธิภาพ

          3. เยาวชนผู้ชนะเลิศการแข่งขันในระดับประเทศ ได้มีโอกาสเข้าร่วมการแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชียร่วมกับเยาวชนต่างประเทศ สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศ และได้รับประสบการณ์จากการแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

          4. สร้างโอกาสในการพูดคุยกับนักวิทยาศาสตร์ วิศวกรมืออาชีพ สามารถสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาการศึกษา และวิชาชีพของตนเอง ผ่านโครงการแข่งขันครั้งนี้

กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนทุกระดับชั้น จนถึงระดับปริญญาตรีหรือเทียบเท่า

รายละเอียดการแข่งขัน (สำหรับประเทศไทย)
          1. นักเรียนทุกระดับชั้นจนถึงระดับปริญญาตรี สมัครเข้าร่วมการแข่งขันประเภททีม สมาชิกทีมละ 3 คน (หัวหน้าทีม 1 คน และสมาชิก 2 คน) สมาชิกภายในทีมสามารถเรียนอยู่ต่างสถาบันการศึกษากันได้

          2. กรอกใบสมัครให้สมบูรณ์ และส่งไฟล์ใบสมัครมาที่อีเมล spaceeducation@nstda.or.th (หมดเขตส่งใบสมัคร 6 มิ.ย. 64 เวลา 23.59 น.) เมื่อทางโครงการฯ ได้รับใบสมัครแล้ว ระบบอัตโนมัติจะจัดส่ง Team ID ให้กับตัวแทนทีมทางอีเมล เพื่อใช้สำหรับการเขียนโปรแกรมในระบบ Simulation และใช้เป็น Team ID สำหรับส่งไฟล์ APK เข้าร่วมการแข่งขัน

          3. ทีมผู้เข้าแข่งขันต้องเขียนโปรแกรมคอมพิวเตอร์ (ภาษา JAVA) ปฏิบัติภารกิจตามที่กำหนด เพื่อบังคับหุ่นยนต์ผู้ช่วยนักบินอวกาศ  Astrobee ของ NASA ในระบบ Simulation บน Server ของ JAXA ประเทศญี่ปุ่น ที่ลิงก์ https://jaxa.krpc.jp/ โดยสามารถศึกษาได้จากคู่มือประกอบการแข่งขัน

          4. การแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชีย ในช่วงเดือนกันยายน 2564 จะเป็นการ Run Code จริงบนสถานีอวกาศนานาชาติ เพื่อควบคุมหุ่นยนต์ Astrobee จริง ถ่ายทอดสดจาก Tsukuba Space Center ประเทศญี่ปุ่น โดยสื่อสารแบบ Real-time กับสถานีอวกาศนานาชาติ ซึ่งมีนักบินอวกาศเป็นผู้ควบคุมการแข่งขัน

*** ผลตัดสินการแข่งขันของผู้จัดงานถือเป็นที่สิ้นสุด และรางวัลสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม

ดาวน์โหลดเอกสาร (ภาษาอังกฤษ)

Application Form
(ใบสมัคร)
Guide Book
(คู่มือแนะนำ)

> รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน

> ถอดประสบการณ์ won-spaceY แชมป์โครงการแข่งขัน Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 1

> วิดีโอ Guidance Session โดย JAXA | ไฟล์นำเสนอ Guidance Session (PDF file)

กำหนดการ

  • เปิดรับใบสมัคร 
    ถึงวันที่ 6 มิถุนายน 2564 เวลา 23.59 น.
  • แถลงข่าวเปิดตัวโครงการ
    3 พฤษภาคม 2564
  • กำหนดส่งไฟล์ APK เข้าระบบ Server ของ JAXA
    21 มิถุนายน 2564 เวลา 23.59 น.
  • ประกาศผลแชมป์ประเทศไทย
    14 กรกฎาคม 2564
  • การแข่งขันรอบชิงแชมป์เอเชีย
    เดือนกันยายน 2564

เงินรางวัล

  • รางวัลทีมชนะเลิศ
    เงินรางวัล 30,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  •  รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 1
    เงินรางวัล 15,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมรองชนะเลิศ อันดับ 2           
    เงินรางวัล 9,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมนำเสนอยอดเยี่ยม               
    เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมดีเด่นระดับประถมศึกษา       
    เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร
  • รางวัลทีมดีเด่นระดับมัธยมศึกษา       
    เงินรางวัล 3,000 บาท พร้อมเกียรติบัตร* ทุกทีมที่ส่งไฟล์ APK เข้าร่วมการแข่งขันจะได้รับเกียรติบัตรการเข้าร่วมโครงการ

จัดโดย
องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

หน่วยงานร่วมจัด
สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน)
สถาบันเทคโนโลยีอวกาศนานาชาติเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจ (สทอศ.)

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
E-Mail: spaceeducation@nstda.or.th       Facebook: NSTDA SPACE Education


👨🏻‍💻🧑🏻‍💻👨🏻‍💻 ทีมแชมป์เก่า wonSpace-Y เผยแพร่ Source Code เพื่อการเรียนรู้ เพื่อนๆ คนไหนสนใจศึกษาและเรียนรู้การเขียนโปรแกรมสามารถดาวน์โหลด Source Code ของทีม wonSpace-Y ทีมชนะเลิศการแข่งขันโครงการ The 1st Kibo Robot Programming Challenge ของประเทศไทยในปีที่ผ่านมา
📥 ดาวน์โหลด https://github.com/M-TRCH/1st-Kibo-RPC_won-spaceY

</ 📨 สมัครก่อน ซ้อมโค้ดก่อน! 🛰️>
ส่งใบสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน โครงการ Kibo Robot Programming Challenge ครั้งที่ 2 ในวันนี้! รับทันทีบัญชีเข้าสู่ระบบ Simulator การแข่งขันของ JAXA เพื่อได้ทดลองเขียนโปรแกรมทดสอบโค้ดที่ทีมผู้สมัครได้พัฒนาขึ้น
🔥 หัวร้อนแล้ว ลุยเลย~
📍 ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ – 6 มิถุนายน 2564 (กำหนดแข่งขันภายในเดือน ก.ค. 64)

 

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: Astrobee coding Int-Ball JAXA Kibo Robot Programming Challenge Kibo-RPC NASA NSTDA programming Robotic STEM Education สถานีอวกาศนานาชาติ สวทช สะเต็ม สะเต็มศึกษา เขียนโปรแกรม แข่งขันเขียนโปรแกรม โค้ดดิ้ง

Continue Reading

Previous: ถอดประสบการณ์ won-spaceY แชมป์ SPRC 2020 เขียนโค้ดควบคุมหุ่นยนต์อวกาศ
Next: รายชื่อทีมสมัครเข้าร่วมการโครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge

Related Stories

สวทช. ประกาศผล “คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3” ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC

สวทช. ประกาศผล “คิโบะ โรบ็อต โปรแกรมมิง ชาเลนจ์ ครั้งที่ 3” ทีมโซลาร์ซิสเท็มทรี คว้ารางวัลชนะเลิศ เป็นตัวแทนประเทศเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

22/07/2022
อันดับคะแนนรอบ 40 ทีมสุดท้าย โครงการ The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

อันดับคะแนนรอบ 40 ทีมสุดท้าย โครงการ The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge

07/07/2022
ประกาศผลทีมผ่านเข้ารอบ 40 ทีม The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge
  • Kibo-RPC

ประกาศผลทีมผ่านเข้ารอบ 40 ทีม The 3rd KIBO-Robot Programming Challenge

28/06/2022

NSTDA Space Education

Popular Posts

  • โครงการ Asian Herb in Space (AHiS) 23.8k views
  • โครงการแข่งขัน The 2nd Kibo Robot Programming Challenge 9.4k views
  • โครงการ Asian Try Zero-G 2022 ท้าทาย ท้าไทย ไอเดียสุดปิ๊ง ทดลองจริงในอวกาศ 7.8k views
  • โครงการแข่งขัน The 3rd Kibo Robot Programming Challenge 6.8k views
  • 9 เทคโนโลยีในชีวิตประจำวัน ที่ได้มาจากการสำรวจอวกาศ 5.7k views

You may have missed

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ
  • Asian Try Zero-G
  • News & Articles

เยาวชนไทยคว้ารางวัลชนะเลิศ Kibo-ABC Award แข่งขันนำเสนอผลการทดลองบนอวกาศ

20/03/2023
งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์
  • News & Articles

งานประชุมวิชาการ The 5th COSPAR Symposium ระหว่างวันที่ 16-21 เม.ย. 66 ณ ประเทศสิงคโปร์

07/03/2023
เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?
  • News & Articles

เทคโนโลยีอวกาศ (Space Technology) คืออะไร?

22/02/2023
MMX ภารกิจสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร เพื่อนำตัวอย่างกลับสู่โลก
  • News & Articles

MMX ภารกิจสำรวจดวงจันทร์โฟบอสของดาวอังคาร เพื่อนำตัวอย่างกลับสู่โลก

22/02/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.