- องค์ประกอบของทีม
- การแข่งขันจัดขึ้นสำหรับนักเรียนระดับมัธยมศึกษา อายุระหว่าง 14-18 ปี จากประเทศสมาชิกของการประชุม APRSAF
- แต่ละประเทศสามารถส่งทีมเข้าแข่งขันได้สูงสุด จำนวน 2 ทีม
- แต่ละทีมประกอบด้วย นักเรียนไม่เกิน 3 คน และ ครูผู้ควบคุมทีมอีก 1 คน
- เป้าหมายโดยภาพรวม
- ทุกทีมมีหน้าที่ปฏิบัติตามภาระกิจที่ได้รับมอบหมาย
- ในภาระกิจหลัก ทีมจะต้องทำการเก็บข้อมูลที่เซ็นเซอร์ตรวจวัดได้ในขณะที่ดาวเทียมลอยอยู่ในอากาศ ซึ่งเป็นข้อมูลพื้นฐานของสภาพอากาศ ประกอบด้วย อุณหภูมิ ความดันและตำแหน่ง
- ในภาระกิจที่รอง จะต้องกำหนดภาระกิจของตัวเอง โดยขึ้นอยู่กับเครื่องมือที่จะใช้ (เช่น กล้อง, ตัวตรวจวัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์,ตัวตรวจวัดแก๊สออกซิเจน,ตัวตรวจวัดความสมดุล ฯลฯ)
- ฮาร์แวร์พื้นฐานของดาวเทียมกระป๋อง
อุปกรณ์พื้นฐานประกอบด้วย
- หน่วยควบคุมขนาดเล็ก (MCU)
- ตัวรับส่งสัญญาณกับสถานีภาคพื้น
- แบตเตอรี่
- โครงสร้างภายนอก
- อุปกรณ์วัด อุณหภูมิ ความดัน และตำแหน่ง
- ร่มชูชีพ
- แต่ละทีมควรจะออกแบบและสร้าง โมเดลดาวเทียมกระป๋องให้สอดคล้องกับอุปกรณ์พื้นฐาน และ เป้าหมายของภารกิจที่รอง แต่ละทีมสามารถมีดาวเทียมกระป๋องได้หลายเครื่อง แต่ใช่แข่งได้เพียง 1 เครื่องเท่านั้น ทีมแข่งขันจะต้องนำอะไหล่รวมถึงอุปกรณ์ซ่อมแซมมาเอง
- แต่ละทีมจะต้องส่งข้อมูลเบื้องต้นของการออกแบบดาวเทียมกระป๋องรวมถึงรายการของชิ้นส่วนประกอบ ข้อมูลของภาระกิจที่สอง ขนาด น้ำหนัก แบบแปลน และ แผนการปฏิบัติงาน
- น้ำหนักของดาวเทียมกระป๋องต้องไม่เกิน 350 กรัมและส่วนประกอบอิเล็คโทรนิคต้องอยู่ภายในตัวเครื่องยกเว้นร่มชูชีพ วิทยุสื่อสาร และ ระบบนำร่อง เสาอากาศสามารถติดหัวหรือท้ายของตัวเครื่องได้
ข้อจำกัดขนาดตัวเครื่องดาวเทียม
- ปริมาตร = 330 มล.
- ความสูง = 53 นิ้ว / 11.5 ซม.
- เส้นผ่าศูนย์กลาง = 61 นิ้ว / 6.6 ซม.
- ฐานยิงและการปล่อย
ดาวเทียมกระป๋องจะต้องถูกปล่อยโดยใช้เครื่องบินไร้คนขับ (UAV) ซึ่งการควบคุมจากสถานีภาคพื้น เรือชูชีพที่ติดเข้าไปกับ UAV จะเป็นอุปกรณ์ช่วยปล่อยดาวเทียมกระป๋อง โดยอาศัยการทำงานของมอเตอร์ในการปล่อย และดาวเทียมกระป๋องทั้งหมดจะถูกปล่อยลงจากความสูง 100 เมตร (+/- 20 เมตร) จากพื้นดิน
- แต่ละทีมจะมีโอกาสปล่อยเพียงครั้งเดียว
- ไม่อนุญาติให้มีการสื่อสารระหว่างที่ดาวเทียมกระป๋องยังไม่ถูกปล่อยลงมา
- ดาวเทียมกระป๋องควรจะสามารถส่งข้อมูลมายังสถานีภาคพื้น ได้ทันทีที่ถูกปล่อยลงมา ถ้าดาวเทียมกระป๋องไม่สามารถส่งข้อมูลได้ ทีมอาจจะต้องทำการกู้ข้อมูลจากดาวเทียมกระป๋องเอง
- อุปกรณ์อิเล็คโทรนิคทุกชิ้นจะต้องถูกยึดติดไว้อย่างแข็งแรงอย่างเช่น การใช้น๊อตยึด หรือใช้กาวคุณภาพสูง
- ไม่อนุญาติให้ใช้ การจุดระเบิด, เครื่องจุดระเบิด, เทคนิคการจุดระเบิด, สารติดไฟหรือวัสดุใดๆที่ก่อให้เกิดอันตราย วัสดุทั้งหมดต้องปลอดภัยกับเจ้าหน้าที่ภาคพื้นและสิ่งแวดล้อม
- แบตเตอรี่จะต้องง่ายต่อการเปลี่ยนหรือการชาร์จ
- ดาวเทียมกระป๋องจะต้องมีสวิทช์ไฟฟ้าหลักที่สามารถตัดไฟได้ทั้งระบบในตำแหน่งที่เข้าถึงได้ง่าย เผื่อในกรณีฉุกเฉินด้านความปลอดภัย
- ดาวเทียมกระป๋องควรจะมีระบบการนำอุปกรณ์กลับมาใช้ใหม่ได้ เช่น ร่มชูชีพที่ใช้ได้อีกหลังการใช้งานไปแล้ว
- ทีมแข่งขันสามารถนำดาวเทียมกระป๋องกลับคืนได้หลังการปล่อย ในกรณีที่ไม่สามารถนำดาวเทียมกระป๋องกลับมาได้การคิดคะแนนจะขึ้นอยู่กับข้อมูลที่มีอยู่ในมือเท่านั้น
- ดาวเทียมกระป๋องจะต้องอยู่ภายใต้การตรวจสอบของคณะกรรมการ 1 วันก่อนการแข่งขัน เพื่อให้ถูกต้องตามข้อกำหนด ดาวเทียมกระป๋องที่ไม่ผ่านการยอมรับสามารถปรับแต่งได้จนกว่าการตรวจสอบรอบสุดท้าย หากดาวเทียมกระป๋องที่ไม่ผ่านการตรวจรอบสุดท้ายจะถูกตัดสิทธ์ทันที
- เกณฑ์การตัดสินดังนี้
เกณฑ์การให้คะแนน | % |
ความซับซ้อนของภารกิจ | 20 |
การวางระบบ | 45 |
วิธีการปล่อย | 15 |
การประมวลผลข้อมูล | 20 |
รวม | 100 |
- ทีมที่ได้คะแนนสูงสุดจะเป็นผู้ชนะการแข่งขัน แต่ในกรณีที่คะแนนเท่ากัน ทีมที่มีคะแนนในหมวดความซับซ้อนของภาระกิจสูงกว่าจะเป็นผู้ที่ชนะไป
- การแข่งจะถูกตัดสินโดยคณะกรรมการประกอบด้วยกรรมการ 3 คน ซึ่งการตัดสินของกรรมการถือเป็นที่สิ้นสุด
- แต่ละทีมจะต้องส่งรายงานซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพิจารณาคะแนนเพื่อจบภารกิจ
- เนื้อหาของรายงานประกอบด้วย:
- บทนำ
- เป้าหมายของภารกิจ
- วิธีการปฏิบัติ
- ผลการทดลองและวิจารณ์
- สรุปผลการทดลอง
APRSAF-23 CAN SATELLITE COMPETITION
- กำหนดการเบื้องต้น
วันที่ | เวลา | กิจกรรม |
ศุกร์, 11 พ.ย.
|
เดินทางถึงสนามบิน
ผู้สมัครเดินทางเข้าพักที่โรงแรม (มีการจัดเตรียมอาหารทุกมื้อให้กับผู้สมัคร) |
|
เสาร์, 12 พ.ย.
วันที่ 1 |
6.00 AM | รับประทานอาหารเช้า |
8.00 AM | ลงทะเบียน | |
9.00 AM | พิธีเปิด | |
10.45 AM | ปล่อยดาวเทียมกระป๋อง | |
11.00 AM | ปล่อยดาวเทียมกระป๋อง | |
12.00 PM | รับประทานอาหารเที่ยง | |
1.00 PM | รถบัส พาเดินทาง | |
2.30 PM | มาถึง | |
6.00 PM | รับประทานอาหารเย็น | |
8.00 PM | รับชมการนำเสนอ เทคนิคการจุดระเบิด | |
8.15 PM | ขึ้นรถกลับโรงแรม | |
9.30 PM | ถึงโรงแรม | |
จบวันที่1 |
อาทิตย์, 13 พ.ย.
วันที่ 2 |
6.00 AM | รับประทานอาหารเช้า | |
8.00 AM | รายงานข้อมูลและนำเสนอโครงการ | คุณครูร่วมแชร์ประสบการณ์เทคนิคการสอนเกี่ยวกับจรวดขวดน้ำ | |
11.00 AM | ถ่ายรูปรวม | ||
11.30 AM | รับประทานอาหารเที่ยง | ||
12.30 PM | ไปยังจุดปล่อย | ||
1.00 PM | สาธิตพิเศษเกี่ยวกับดาวเทียมกระป๋อง | ||
1.15 PM | เริ่มแข่งขันการปล่อย | ||
5.00 PM | รถไปส่งยัง รร | ||
5.30 PM | พักตามอัธยาศัย | ||
6.00PM | เดินทางไปยังร้านอาหารเย็น | ||
7.30 PM | สังสรรค์และประทานอาหารเย็น | ||
8.30 PM | มอบรางวัลและปิดงาน | ||
จบวันที่2 | |||
จันทร์, 14 พ.ย.
วันที่ 3 |
6.00 AM | รับประทานอาหารเช้า | |
8.00 AM | ออกจากโรงแรม เดินทางไปยังสนามบิน |
- ผู้สมัคร ผู้เข้าแข่งขัน : เป็นนักเรียนที่มีอายุ ระหว่าง 14 ถึง 18 ปี จากประเทศในเอเชียแปซิฟิก (เกิดระหว่างวันที่ 14 พ.ย. 1997 ถึง 13 พ.ย. 2022)
- การคัดเลือก : ประเทศที่สมัครจะต้องมีการจัดการแข่งขันดาวเทียมกระป๋องภายในประเทศเพื่อหาตัวแทนมาแข่งขัน
- ครู/ผู้นำทีม : นักจะต้องมาพร้อมกับครูหรือผู้ดูแลทีม โดยครูผู้ดูแล
ต้องมีความสนใจในด้านการศึกษาอวกาศ เต็มใจที่จะแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์และทักษะเกี่ยวกับดาวเทียมกระป๋องและกิจกรรมทางการศึกษาอื่นๆกับแต่ละประเทศ และ มุ่งมันในการส่งเสริมการศึกษาด้านอวกาศให้กับเยาวชนในประเทศตนเอง