Skip to content
NSTDA SPACE Education

NSTDA SPACE Education

โครงการส่งเสริมการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์อวกาศ และสะเต็มสำหรับเยาวชนไทย โดย สวทช.

  • Home
  • About Us
  • Asian Try Zero-G
  • Kibo-RPC
  • AHiS
  • Space Ratchaphruek Tree
  • Parabolic Flight
  • Articles
  • Alumni
  • Contact us
  • Home
  • News & Articles
  • เยาวชนไทย ตะลุยค่ายอวกาศนานาชาติ
  • News & Articles

เยาวชนไทย ตะลุยค่ายอวกาศนานาชาติ

NSTDA SPACE Education 01/11/2014

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และบริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ดำเนินการรับสมัครและส่งเยาวชนเข้าร่วมโครงการ 2014 International Space Camp ณ พิพิธภัณฑ์การบินและอวกาศเชจู (Jeju Aerospace Museum) เกาะเชจู สาธารณรัฐเกาหลี ซึ่งจัดโดย Korea Aerospace Research Institute (KARI) โดยคัดเลือกเยาวชนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีศักยภาพและคุณสมบัติเพื่อเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเข้าร่วมกิจกรรม ร่วมกับตัวแทนเยาวชนจาก 6 ประเทศในภูมิภาคเอเชีย ได้แก่ ประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย สาธารณรัฐเกาหลี สาธารณรัฐประชาชนจีน สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม และสาธารณรัฐประชาชนบังกลาเทศ

ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชนได้มีโอกาสเรียนรู้วิทยาการใหม่ๆ ทางด้านเทคโนโลยีอวกาศ และเพื่อเพิ่มพูนความรู้ด้านการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีอวกาศและวิศวกรรมศาสตร์ อันจะเป็นพื้นฐานนำไปสู่การเรียนรู้และการเข้าใจเนื้อหาทางด้านเทคโนโลยีอวกาศได้ดียิ่งขึ้น ตลอดจนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ต่อไป นอกจากนี้เยาวชนยังจะได้รับประสบการณ์การเรียนรู้ร่วมกันกับผู้แทนเยาวชนจากนานาประเทศที่มาเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย

(ภาพ Thai-Students.jpg)

ค่ายครั้งนี้ได้จัดขึ้นระหว่างวันที่ 22-25 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 ที่ผ่านมา รายชื่อนักเรียน 6 คน ที่ได้รับการคัดเลือก มีดังนี้

  1. เด็กชายพิทยุตม์ อยู่ศิริ ชั้น ม.2 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  2. เด็กชายวีรวิชญ์ จงศิริวิทยรัฐ           ชั้น ม.2 โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  3. เด็กชายเศรษฐพงศ์ ภัทรเมฆานนท์           ชั้น ม.3 โรงเรียนไทยคริสเตียน
  4. เด็กหญิงจณิสตา เลื่อนผลเจริญชัย           ชั้น ม.2 International School Bangkok
  5. เด็กหญิงมณีวรรณ ธุวะนุติ           ชั้น ม.3 โรงเรียนศรีสวัสดิ์วิทยาคาร
  6. เด็กหญิงสรัญญ์ภัทร์ ลิมปิจำนงค์ ชั้น ม.1 โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครราชสีมา

 

กิจกรรมในค่ายที่ช่วยเปิดประสบการณ์เทคโนโลยีอวกาศให้กับเยาวชนที่น่าสนใจ ตัวอย่างเช่น

(ภาพ Jeju Aerospace Museum.jpg)

  • Guided tour in Jeju Aerospace Museum

เยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์ Jeju Aerospace Museum ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์อากาศยานที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชีย มีการแบ่งนักเรียนออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ (กลุ่ม 1-5 และ 6-10) เพื่อความคล่องตัวในการเยี่ยมชม และในพิพิธภัณฑ์มีชุดเครื่องเสียงสำหรับบรรยายนิทรรศการเป็นภาษาอังกฤษจัดเตรียมไว้ให้ด้วย

 

นิทรรศการในพิพิธภัณฑ์

  • ชั้น 1 Aviation History Hall: Actual model of 23 aircrafts, Air Force Gallery, virtual flight simulator, etc.
  • ชั้น 2 Astronomy and Space Hall: Spaceship and Mars probes models, space exploration, etc.
  • ชั้น 2 Theme Zone ประกอบด้วย

– Polaris (5D theater): เป็นห้องฉายภาพยนตร์อนิเมชัน 5 มิติ ได้รับทั้ง รูป เสียง กลิ่น สัมผัส มีจอ 360 องศา ขนาด 5mx50m
– Canopus (Dome theater) เป็นห้องฉายภาพยนตร์ที่มีเพดานโค้ง ผู้รับชมสามารถปรับเบาะเอนนอนเสมือนกำลังมองดูเรื่องราวบนท้องฟ้า ภาพยนตร์ที่ฉายนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับเทคโนโลยีอวกาศ ตั้งแต่กำเนิดจักรวาลไปจนถึงการสร้างและการใช้เทคโนโลยี ด้วยภาพความละเอียดสูง (4K Ultra high-definition television that delivers four times the picture resolution of 1080p Full HD.)
– Procyon (Interactive wall) นักท่องเที่ยวสามารถถ่ายรูปตัวเอง และเลือกตกแต่งภาพเป็นมนุษย์อวกาศในชุดต่างๆ ก่อนจะส่งภาพตัวเองไปปรากฏบนผนังอีกด้านหนึ่ง

– Arius (Interactive theater) เป็นห้องสำหรับทดสอบความรู้ด้านเทคโนโลยีอวกาศที่ทันสมัยมาก มีจอพาโนรามายาวถึง 30 เมตร และมีคอมพิวเตอร์สำหรับให้ลองทำข้อสอบวัดความรู้ด้วย

 

  • Rocket Making and Launching

KARI จัดเตรียมชุดอุปกรณ์สำหรับทำจรวด 2 แบบ คือ Model Rocket กับ Water Rocket มี Mr. Choi Sung Woo ผู้เชี่ยวชาญด้านจรวด เป็นวิทยากร มาสอนหลักการและแนะนำขั้นตอนการประกอบจรวดขวดน้ำ นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติประกอบจรวดทั้งสองแบบ โดยหลังจากประกอบเสร็จก็มีการแข่งขันยิงจรวดขวดน้ำ

 

ในการแข่งขันยิงจรวดขวดน้ำ จะมีหลักวางอยู่ห่างจากจุดยิงประมาณ 80 เมตร จรวดที่ตกใกล้หลักมากที่สุดจะเป็นผู้ชนะ และมีรางวัลพิเศษสำหรับจรวดที่พุ่งได้ไกลที่สุดด้วย ที่ฐานยิง จะมีพี่เลี้ยงชาวเกาหลีซึ่งเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยมาช่วยติดตั้ง โดยนักเรียนจะมีส่วนร่วมในการกำหนดมุมและทิศทางก่อนจะยิงจรวดออกไป

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Related

Tags: International Space Camp Jeju Aerospace Museum Korea Aerospace Research Institute ค่ายอวกาศนานาชาติ สวทช

Continue Reading

Previous: The 6th Asia Oceania Regional Workshop on GNSS
Next: องค์การสำรวจอวกาศญี่ปุ่น (JAXA)

Related Stories

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023
  • News & Articles
  • ราชพฤกษ์อวกาศ

สัมมนาวิชาการและส่งมอบต้นกล้าราชพฤกษ์อวกาศ ภายในงาน NAC 2023

31/03/2023

You may have missed

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ
  • Kibo-RPC
  • News & Articles

ทีมกาแล็กติก 4 คว้ารางวัลชนะเลิศ ‘Kibo Robot Programming Challenge 2023’ เป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าแข่งขันชิงแชมป์ระดับนานาชาติ

13/07/2023
ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย
  • Kibo-RPC

ผลคะแนน The 4th Kibo-Robot Programming Challenge รอบชิงแชมป์ประเทศไทย

12/07/2023
กิจกรรม International Space Challenge 2024
  • News & Articles

กิจกรรม International Space Challenge 2024

09/05/2023
รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023
  • Asian Try Zero-G

รายชื่อผู้สมัครโครงการ Asian Try Zero-G 2023

02/05/2023
NSTDA SPACE Education Copyright © All rights reserved. | DarkNews by AF themes.