ของเล่นเด็กจากยางธรรมชาติ (Para Plearn Series)

สถานการณ์ที่ยางพาราธรรมชาติ พืชเศรษฐกิจของประเทศไทย มีราคาผันผวนตลอดเวลา ดังนั้น เพื่อช่วยส่งเสริมการรักษาเสถียรภาพราคายาง จึงมีการวิจัยและคิดค้นให้สามารถนำยางพารามาใช้งานได้หลากหลายมากขึ้น โดยการประยุกต์ใช้ยางธรรมชาติในมุมมองใหม่ ๆ ทั้งนี้ จากเหตุการณ์ปัจจุบันที่มีการระบาดของไวรัสโคโรน่า ผู้คนปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต โดยใช้เวลาอยู่บ้านและใส่ใจสุขอนามัยมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคคลในครอบครัววัยเด็กและผู้สูงวัย  ด้วยเหตุนี้ ผลิตภัณฑ์ที่ตอบสนองกิจกรรมภายในบ้าน เช่น ของเล่นเด็ก จึงเป็นที่ต้องการของตลาดและขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะเวลาอันสั้น

ของเล่นเด็กจากยางพารา ได้แก่ ยางแท่ง และยางแผ่น มีส่วนประกอบที่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและหาได้ง่ายภายในประเทศ และปรับกระบวนการผลิตกับเครื่องจักรเดิม จึงมีความปลอดภัยค่อนข้างสูงและมีต้นทุนต่ำ 

การนำยางพารามาประยุกต์ใช้ในการผลิตเป็นของเล่นเด็กนอกจากจะเป็นการช่วยส่งเสริมการแปรรูปยางธรรมชาติซึ่งเป็นทางออกหนึ่งในการช่วยลดปัญหาปริมาณยางล้นตลาดแล้วยังเป็นการสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่น ๆ อีกด้วย รวมถึงช่วยให้ผู้ผลิตของเล่นไทยมีศักยภาพในการแข่งขันทางการตลาดเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีของเล่นทางเลือกใหม่ ที่ปลอดภัยต่อทั้งผู้เล่นและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

 

คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี

  • ผลิตจากยางธรรมชาติ (ชนิดยางแห้ง) เช่น ยางแท่ง ยางแผ่น เป็นต้น
  • มีองค์ประกอบเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติและหาได้ง่ายภายในประเทศ 
  • มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง มีต้นทุนต่ำ และ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา 

  • คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2001002221 องค์ประกอบของวัสดุจากยางธรรมชาติที่มีความแข็งต่ำพิเศษและกรรมวิธีการเตรียมวัสดุดังกล่าว วันที่ยื่นคำขอ 21 เมษายน 2563
  • คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 2001002217 เรื่อง องค์ประกอบการเตรียมวัสดุชนิดแข็งพิเศษจากยางธรรมชาติและกรรมวิธีการเตรียมวัสดุดังกล่าว วันที่ยื่นคำขอ 21 เมษายน 2563
  • คำขอรับสิทธิบัตรการประดิษฐ์ เลขที่คำขอ 1801006042 กรรมวิธีการผลิตกาวดักแมลงอินทรีย์จากยางธรรมชาติชนิดยางแห้ง วันที่ยื่นคำขอ 28 กันยายน 2561
  • ความลับทางการค้า เรื่อง สูตรและกรรมวิธีการผลิตวัสดุยางแข็งพิเศษจากยางธรรมชาติชนิดยางแห้ง ตามลำดับ 
  • ยางประสาน (rubber binder) จากยางธรรมชาติ (อยู่ระหว่างขอรับความคุ้มครอง)

สถานภาพของผลงานวิจัย 
ต้นแบบระดับ pilot scale 

ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ

นักวิจัย
ดร.ปณิธิ วิรุฬห์พอจิต,
ดร. กรรณิกา หัตถะปะนิตย์,
คุณกฤตพร อุตรา และ คณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

เอกสารประกอบการบรรยาย

ติดต่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม:

ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

นิทรรศการอื่นๆ :