แนวโน้มของผู้บริโภคให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (eco-friendly products) อุตสาหกรรมสิ่งทอจึงมีการนำสีธรรมชาติมาใช้แทนสีเคมีมากขึ้น อย่างไรก็ดีการใช้สีธรรมชาติส่วนใหญ่เป็นการย้อมเส้นด้ายหรือผ้าโดยชาวบ้านหรือกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ในขณะที่การใช้สีธรรมชาติพิมพ์ลงบนผ้ามีค่อนข้างน้อย ซึ่งอาจเกิดจากการที่ขั้นตอนการเตรียมแป้งพิมพ์สีธรรมชาติมีความยุ่งยาก ผู้ประกอบการขาดความรู้ในการทำบล็อกสกรีนหรือถ่ายลาย ทั้งยังขาดอุปกรณ์เครื่องจักรที่จำเป็น เป็นต้น
ทีมวิจัยพัฒนาวิธีการสกัดสีธรรมชาติให้อยู่ในรูปแบบสารละลายเข้มข้นหรือแบบผงจากวัตถุดิบธรรมชาติที่หาได้ในประเทศ แล้วนำมาปั่นผสมกับส่วนประกอบอื่นๆ ในอัตราส่วนที่เหมาะสม เพื่อเตรียมเป็นสูตรแป้งพิมพ์สีธรรมชาติในเฉดสีต่างๆ พร้อมกับทดลองนำมาใช้พิมพ์ลงบนผ้าและทดสอบสมบัติที่เกี่ยวข้อง
แป้งพิมพ์สีธรรมชาติที่พัฒนาขึ้น สามารถพิมพ์ลงบนผ้าได้หลากหลายชนิด เช่น ฝ้าย ไหม กัญชง ลินิน โดยใช้แม่พิมพ์ที่เป็นไม้แกะสลักหรือพืชผักผลไม้แกะสลัก (block printing) หรือใช้แม่พิมพ์ที่เตรียมจากกระดาษชุบพาราพิน (stencil printing) หรือใช้แม่พิมพ์ซิลค์สกรีนที่ถ่ายลายสำเร็จรูป (silk screen printing) ผนึกสีหลังการพิมพ์ลงบนผ้าด้วยการอบด้วยไอน้ำ หรือด้วยความร้อนโดยการนำผ้าไปรีดทับด้วยเตารีดหรือเครื่องรีดร้อน (heat press) จึงเหมาะกับกลุ่มผู้ประกอบการสิ่งทอ SMEs และกลุ่มวิสาหกิจชุมชน
คุณสมบัติและจุดเด่นของเทคโนโลยี
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ความลับทางการค้า เรื่อง การเตรียมสกัดสีธรรมชาติให้อยู่ในรูปแบบน้ำสีเข้มข้นและผงพร้อมใช้
สถานภาพของผลงานวิจัย
ต้นแบบระดับ pilot scale และทดสอบในสภาวะการทำงานจริง
ความร่วมมือที่เสาะหา
เสาะหาผู้รับอนุญาตใช้สิทธิ ผู้ร่วมทดสอบการผลิตในระดับ SME และระดับอุตสาหกรรม กลุ่มผู้ผลิตผงสีจากธรรมชาติ และผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ผ้าพิมพ์ลายด้วยเครื่องรีดร้อน (heat press)
นักวิจัย
ดร.มณฑล นาคปฐม และคณะ
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (MTEC)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
ขนิษฐา สิริจามร
สำนักงานจัดการสิทธิเทคโนโลยี (TLO)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
สวทช. สนับสนุนผู้ประกอบการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม สามารถเข้าถึงเทคโนโลยีได้ง่ายขึ้น ลดความเสี่ยงของการลงทุนวิจัยพัฒนา และเข้าใจการทาธุรกิจเทคโนโลยีดียิ่งขึ้น
ฝ่ายธุรกิจสัมพันธ์: E-mail: brc@nstda.or.th
Call center: 02 564 8000
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถนนพหลโยธิน
ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี
12120
111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย
ถนนพหลโยธิน ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120
© 2021 สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติสงวนสิทธิ์ทุกประการ