Archive for category Press conference

สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร นำงานวิจัยพัฒนาที่ทำโดยภาครัฐและเอกชนไปสู่เชิงพาณิชย์

เรื่อง    สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร  นำงานวิจัยพัฒนาที่ทำโดยภาครัฐและเอกชนไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อจัดทำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล พร้อมรับชมผลงานวิจัยพัฒนาที่พร้อมถ่ายทอดเชิงพาณิชย์กว่า 400 รายการ

 

เรียน    บรรณาธิการข่าว/ผู้สื่อข่าว

 

ด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานแถลงข่าว “การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : จากหิ้งสู่ห้าง” เป็นการสรุปปัญหา อุปสรรค ในการนำงานวิจัยพัฒนาที่ทำโดยภาครัฐและเอกชนไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อจัดทำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล พร้อมรับชมผลงานวิจัยพัฒนาที่พร้อมถ่ายทอดเชิงพาณิชย์กว่า 400 รายการในวันอังคารที่  31 สิงหาคม  2553 เวลา  10.00 น.          ณ  ห้อง 3701 ชั้น 7 อาคารรัฐสภา 3   

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-644-8150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-668-1064,  081-988-6614,        084-529-0006  และ 084-910-0850

สวทช. คัดสรรผลงานวิจัยเด่น ให้นักลงทุนจับจ่ายเลือกซื้อ หวังให้วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์เชิงศก.และสังคม

เรื่อง   สวทช. คัดสรรผลงานวิจัยเด่น ให้นักลงทุนจับจ่ายเลือกซื้อ  หวังให้วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์เชิงศก.และสังคม

 

เรียน   บรรณาธิการข่าว

ด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกำหนดการจัดงาน “ของดีสำหรับนักลงทุน”หรือ NSTDA Investors Day โดยนำผลงานวิจัยเด่นของสวทช. ที่ผ่านการคัดสรรแล้วว่ามีศักยภาพสูงในการลงทุนไปผลิตเป็นสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนเป้าหมายได้มีโอกาสมาเลือกซื้อผลงานวิจัยและเทคโนโลยี เพื่อเป็นการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับภาคอุตสาหกรรม การเงินและการลงทุน

ใน วันจันทร์ที่  30 สิงหาคม  2553 เวลา  13.00 น.  ณ  ห้องกมลฤดี  ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้    ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  ผู้อำนวยการสวทช. ให้เกียรติเป็นประธานงานแถลงข่าว ของดีสำหรับนักลงทุนหรือ NSTDA Investors Day เพื่อเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เข้ากับภาคอุตสาหกรรม การเงินและการลงทุน พร้อมนำเสนอผลงานเด่นที่ผ่านการคัดสรรแล้ว ของสวทช.มาร่วมแสดงด้วย อาทิ

  • ทางเลือกใหม่ของระบบหมุนเวียนน้ำสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล

ซึ่งมีต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพสูง เปลี่ยนถ่ายน้ำปีละครั้งหรือนานกว่านั้น ได้รับการจดสิทธิบัตรและใช้งานได้จริง

  • มิติใหม่ของการจัดฟัน เสริมภาพลักษณ์การให้บริการจัดฟันที่เหนือกว่าคู่แข่ง

โดยการใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า ลดเวลาการจัดฟัน ทำให้สามารถเห็นภาพจำลองใบหน้าหลังการจัดฟันทันที

  • คอนกรีตมวลเบาอัจฉริยะ

เป็นนวัตกรรมการผลิตมวลเบาสังเคราะห์จากวัสดุของเสีย มีความแข็งแรงเทียบเท่าคอนกรีตผสมแบบดั้งเดิม ทำให้ลดต้นทุนมีการให้บริการและคำปรึกษาขั้นตอนการผลิตและออกแบบเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต

  • น้ำยานาโนเพื่อธุรกิจไหมไทย

ใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้เสื้อผ้านุ่ม ลื่น ลดการย่นยับขณะสวมใส่   พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาการออกแบบและติดตั้งเครื่องผลิตน้ำยา

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

หน่วยงานห้องสมุด และภาควิชาสารสนเทศ/บรรณารักษศาสตร์จาก 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ สวทช. สร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ช่วยประหยัดงบร่วมล้านบาท

เรื่อง  หน่วยงานห้องสมุด และภาควิชาสารสนเทศ/บรรณารักษศาสตร์จาก 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ สวทช.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ช่วยประหยัดงบร่วมล้านบาท

               

เรียน   บรรณาธิการข่าว

6 มหาวิทยาลัย อาทิ ม.เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, และม.หอการค้าไทย นำร่องใช้โปรแกรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ในการสร้างมิติใหม่ของวงการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ พัฒนาคลังความรู้ ระบบบริหารจัดการห้องสมุด การจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้ ในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือร่วมกันศึกษา พัฒนา และส่งเสริมการใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งสามารถช่วยประหยัดงบประมาณ ร่วมล้านบาท และเปิดโอกาสการเรียนรู้ของนิสิต นักศึกษา ทั้งนี้จะมีการนำเสนอผลจากเครือข่ายความร่วมมือในงานประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือโอเพนซอร์ส เพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด โดยมีประเด็นและวิทยากรที่น่าสนใจดังนี้

- แนะนำผลงานวิจัยโดยนักวิจัยเนคเทค Vaja, ABDUL, Citation Thailand เพื่อการพัฒนาบริการทรัพยากรสารสนเทศ

- OSS กับการจัดการห้องสมุด , การจัดการเรียนการสอน

- แนวทางการพัฒนากำลังคนด้านไอซีทีอย่างรู้เท่าทันตามแผนแม่บทไอซีทีฯ

- การพัฒนาคลังความรู้ระบบเปิดของเครือข่ายสารสนเทศเกษตรไทย

-แนวทางการพัฒนาบุคลากรไอซีทีโดยส่งเสริมการเรียนการสอนการอบรมด้วย  OSS

- รวมมิตรซอฟต์แวร์การจัดทำคลังความรู้ระบบเปิด เป็นต้น

 

จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว ประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือโอเพนซอร์ส เพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด  ในวันพฤหัสบดีที่ 26 – 27  สิงหาคม  2553 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตึกเก่า ที่มีบันไดพญานาค) เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณสรินยา 081-988-6614, คุณโกเมศ 081-664-8150, คุณปริเยศ 084-910-0850 คุณกัญรินทร์ 084-5290006

นาโนเทคแถลงผลสำเร็จ มุ้งนาโนที่กำจัดยุงได้ภายใน 6 วินาที เตรียมรับมือโรคไข้เลือดออกที่แพร่ระบาดในตอนนี้

เรื่อง  นาโนเทคแถลงผลสำเร็จ มุ้งนาโนที่กำจัดยุงได้ภายใน 6 วินาที  เตรียมรับมือโรคไข้เลือดออกที่แพร่ระบาดในตอนนี้

 

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) แถลงผลสำเร็จในการพัฒนามุ้งนาโนที่มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันยุงและสามารถกำจัดยุงได้ภายใน 6 วินาที โดยอาศัยกระบวนการนาโนเทคโนโลยีในการเคลือบเส้นใยก่อนจะนำมาทำเป็นมุ้ง กระบวนการดังกล่าวจะทำให้สารเคลือบติดทนนานยิ่งขึ้น สำหรับสารออกฤทธิ์ที่นำมาใช้มีทั้งพืชสมุนไพร และสารเคมีบางชนิด ซึ่งมีปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และมีขนาดที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย โดยเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกและรองรับการทำงานให้กับตำรวจและทหารชายแดน  และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปต่อยอดเพิ่มมูลในการส่งออกได้อีกด้วย

ในวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553  เวลา  13.30 น.  ณ   ห้องประชุม  406    ชั้น 4    อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี   ซึ่งการนี้  ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็นประธานในพิธีดังกล่าว  โดยภายในงานจัดให้มีการสาธิตและทดสอบประสิทธิภาพของมุ้งนาโนด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

 

หมายเหตุ      มีรถบริการรับ-ส่ง สื่อมวลชน จอดด้านหน้ากระทรวงวิทยาศาสตร์ อาคารพระจอมเกล้า   รถออกเวลา  11.30 น. (ล้อหมุน)

สวทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายการ์ตูน จัดเสวนา การ์ตูนสร้างคนสร้างชาติ เปิดโอกาสให้เยาวชน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2

เรื่อง  สวทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายการ์ตูน จัดเสวนา การ์ตูนสร้างคนสร้างชาติ เปิดโอกาสให้เยาวชน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2  พร้อมฟังเคล็ดลับจากนักเขียนการ์ตูนชื่อดังที่มีผลงานตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น และผู้คร่ำหวอดในวงการ

    

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมากล สถาบันการ์ตูนไทย – มูลนิธิเด็ก และสมาคมการ์ตูนไทย  ร่วมจัดงานเสวนาการ์ตูนช่วยสรรค์สร้างคนและสร้างชาติ ในโครงการประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2  เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ที่สนใจและมีความสามารถในการเขียนการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ ส่งผลงานการเขียนการ์ตูนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์หรือไซไฟ โดยใช้จินตนาการและความเข้าใจเป็นสื่อผ่านตัวการ์ตูน เข้าร่วมประกวดในโครงการดังกล่าว 

ในงานพบกับนักเขียนการ์ตูนชื่อดังที่มีผลงานตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นมากมาย  และผู้ผลิตและจำหน่ายการ์ตูนลำดับต้นๆ ของเมืองไทย พร้อมบุคคลที่มีชื่อดังและคร่ำหวอดในวงการการ์ตูนของไทย อีกหลายท่าน

ในวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม   2553  เวลา 13.00 น. ณ ห้อง S-CLUB ชั้น 4 (ตรงข้ามร้านซิสเลอร์)  ห้างสรรพสินค้าสยามเซ็นเตอร์

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา,  คุณกัญรินทร์     และ

คุณปริเยศ   เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์

02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

วท.เชิญชวนเด็กเก่งวิทย์ฯ คณิตฯ เข้าศึกษาต่อมัธยมปลาย ในโรงเรียนวิทยาศาสตร์ชั้นนำ กว่า 7 แห่ง โดยใช้แนวทางการเรียน/สอน ร.ร.มหิดลวิทยานุสรณ์เป็นต้นแบบ พร้อมสนับสนุนค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

2 สิงหาคม 2553 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่การกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ขอเชิญชวนนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หรือเทียบเท่า ที่มีความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เพื่อสอบคัดเลือกศึกษาต่อในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ในโครงการสนับสนุนการจัดตั้งห้องเรียนวิทยาศาสตร์ในโรงเรียน โดยการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัย หรือ โครงการ วมว. เพื่อคัดเลือกเข้าเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ประจำปีการศึกษา 2554 ในโรงเรียนชั้นนำกว่า 7แห่ง ทั่วประเทศ ที่อยู่ในกำกับการดูแลของมหาวิทยาลัยที่เข้าร่วมโครงการ อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่) ,มหาวิทยาลัยสงขลานคริทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์),มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี(โรงเรียนดรุณสิกขาลัย),มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย),มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี (โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาสงขลานครินทร์),มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน (โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน) และมหาวิทยาลัยขอนแก่น (โรงรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ศึกษาศาสตร์) เป็นต้น ซึ่งโรงเรียนแต่ละแห่งนั้น สามารถรับนักเรียนเข้าเรียนได้แห่งละ 30 คน รวม 210 คน ทั้งนี้นักเรียนที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับทุนสนับสนุนค่าใช้จ่ายในการเรียนเช่น อุปกรณ์การเรียน,เสื้อผ้า,ที่พัก และค่าใช้จ่ายส่วนตัวบางส่วน ตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จนสำเร็จการศึกษามัธยมศึกษาปีที่ 6 และถ้าหากจบการศึกษาแล้ว จะมีโอกาสได้รับการพิจารณาให้ศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในคณะวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยของรัฐ 24 แห่ง อีกด้วย

ดร.วีระชัย รมว.วท. กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกลไกสนับสนุนการพัฒนานักวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจากผู้มีความสามารถพิเศษให้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเป็นกำลังสำคัญในการเพิ่มผลิตภาพ สร้างนวัตกรรมในภาคการผลิตและบริการต่อไปในอนาคต นอกจากนี้ยังเป็นการสนับสนุนและขยายฐานการศึกษา สร้างฐานกำลังนักเรียนผู้มีศักยภาพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ออกไปยังภูมิภาคต่างๆ ทั้งนี้หลักสูตรห้องเรียนวิทยาศาสตร์ โครงการ วมว. จะใช้หลักสูตรของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์เป็นแนวทางในการจัดการเรียนการสอน และจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน โดยมีครูพี่เลี้ยงดูแลอย่างใกล้ชิด สำหรับในปีการศึกษา 2554 โครงการ วมว. จะเปิดรับสมัครในช่วงระหว่างวันที่ 1-31 สิงหาคม 2553  กระวิทยาศาสตร์ฯ ได้มอบหมายให้โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ เป็นผู้ดำเนินการรับสมัคร และคัดเลือกนักเรียนรอบแรก จากนักเรียนทั่วประเทศที่ความสามารถพิเศษด้านคณิตศาสาตร์และวิทยาศาสตร์ โดยดำเนินการสอบคัดเลือกพร้อมกับการคัดเลือกนักเรียนของโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ และนักเรียนห้องวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยทั้ง 12 แห่ง โดยใช้ข้อสอบเดียวกัน  สามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มได้ที่ Call Center 1313 หรือ www.most.go.th

 

 

ผู้ส่งข่าว             ลัดดา หงส์ลดารมภ์

ผู้อำนวยการ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

สวทช. ผลักดันเทคโนโลยีเส้นใยเพื่อพัฒนา สิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ ให้กับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในประเทศไทย

อุตสาหกรรมสิ่งทอ และเครื่องนุ่งห่มได้พัฒนาไปมากในศตวรรษที่ผ่านมาและจากข้อตกลงการค้าเสรี การแข่งขันที่นับวันจะยิ่งรุนแรง เราไม่สามารถที่จะสู้กันด้วยเรื่องของราคาหรือแรงงานราคาถูกได้ต่อไป R&D วิจัยพัฒนาจะเป็นตัวสำคัญในการเข้าสู่เวทีการแข่งขันของโลก

อุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มและสิ่งทอเป็นอุตสาหกรรมหลักของไทย ซึ่งจำเป็นต้องมีการเร่งให้เกิดการขยายตัวได้อย่างยั่งยืน ทั้งหลายทั้งปวงซึ่งต้องพึ่งการวิจัยพัฒนาและนวัตกรรม สวทช. ซึ่งเล็งเห็นความจำเป็นนี้ จึงได้จัดตั้งโปรแกรมคลัสเตอร์ การทำงานด้านสิ่งทอขึ้น หนึ่งในนั้นคือการวิจัยทางด้านเส้นใย ไฟเบอร์ ซึ่งจะเป็นหนึ่งในเทคโนโลยี ที่สำคัญในอุตสาหกรรมด้านนี้ ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคือ ไต้หวันซึ่งได้มีการลงทุนในเรื่องเส้นใยไฟเบอร์เป็นอย่างมาก ได้ผลิตสินค้าสิ่งทอคุณสมบัติพิเศษต่าง ๆ รวมทั้งผลิตภัณฑ์ประเภทรักษาสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับการตอบรับอย่างมากในตลาดโลก

ทั้งนี้ สวทช.และ สถาบันวิจัยพัฒนาสิ่งทอของไต้หวัน Taiwan Textile Research Institute ( TTRI )และสถาบันสิ่งทอไทยได้ร่วมกันจัดสัมมนาเชิงปฎิบัติการ Fiber Innovation Symposium and Workshop  เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนและถ่ายทอดเทคโนโลยี ตลอดจนการแลกเปลี่ยนบุคลากรรวมทั้งการฝึกอบรมเพื่อยกระดับการพัฒนาอุตสาหกรรมด้านนี้ของไทย  จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว FIBER INNOVATION และชมผลงานวิจัยผลิตภัณฑ์สิ่งทอ ในวันที่ 5-6 สิงหาคม 2553 เวลา 9.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์บอลรูม รร. สยามซิตี้ กรุงเทพ

 

 

โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,712,212  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006 และ 084-9100850

ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงานมอบรางวัลสิปปนนท์ วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2553 เวลา 13.30 – 16.30 น. ณ วังสวนผักกาด พญาไท กรุงเทพ

เนื่องด้วย กองทุนศาสตราจารย์ ดร.สิปปนนท์ เกตุทัต สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน, สทศ.) ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยใน           พระบรมราชูปถัมภ์   มูลนิธิจุมภฏ-พันธุ์ทิพย์  และมูลนิธิบัณฑิตยสภาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (บวท.) ได้ร่วมกันจัดงานเพื่อมอบ “รางวัลสิปปนนท์” ให้แก่ผู้ที่ทำคะแนนสูงของประเทศในการทดสอบ O-NET สาขาวิทยาศาสตร์เพื่อกระตุ้นให้เกิดความตื่นตัวในการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการเสริมสร้างรากฐานและความก้าวหน้าให้กับแวดวงการศึกษาและวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยโดยเป็นไปตามปณิธานของ                         ศาสตราจารย์ ดร. สิปปนนท์  เกตุทัต ขอเชิญสื่อมวลชนร่วมงาน มอบรางวัลสิปปนนท์ โดย ดร. อำพน  กิตติอำพน  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ให้เกียรติเป็นประธานในการมอบรางวัลและกล่าวปาฐกถาเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”

 

กำหนดการงานมอบรางวัลสิปปนนท์  และปาฐกถา เรื่อง การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน

วันเสาร์ที่ 10 กรกฎาคม 2553 เวลา 13.30 – 16.30 น.

ณ วังสวนผักกาด พญาไท กรุงเทพ

 

13.30 น.               ลงทะเบียน

14.00 น.                 ผู้ดำเนินรายการเชิญคุณเอมิลี่ เกตุทัต กล่าวเปิดงาน ผู้ดำเนินรายการเชิญ ดร. อำพน  กิตติอำพน มอบรางวัล  

14.30 – 15.30 น.   ปาฐกถาเรื่อง “การพัฒนาเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน”โดย       ดร. อำพน  กิตติอำพน  เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ

15.30 – 16.30 น.   เชิญร่วมรับประทานอาหารว่าง

สวทช. นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการ iTAP เครือข่ายม.สุรนารี ชมโครงการเกษตรอินทรีย์ การปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อย ฯลฯ

เรื่อง  สวทช. นำคณะสื่อมวลชนเยี่ยมชมความก้าวหน้าโครงการ iTAP เครือข่ายม.สุรนารี ชมโครงการเกษตรอินทรีย์ การปลูกข้าวที่ใช้น้ำน้อย ฯลฯ ในระหว่างวันที่ 20-21 ก.ค.53 เวลา 09.00 น.  จ. นครราชสีมา

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

            ด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความประสงค์จะนำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมความก้าวหน้าของโครงการสนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยีของอุตสาหกรรมไทย (iTAP) หน่วยงานภายใต้ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC ) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ณ อำเภอ ปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ระหว่างวันที่ 20-21 กรกฎาคม 2553

สำหรับโครงการที่ สวทช.ให้การสนับสนุน เช่น โครงการสหกรณ์การเกษตรลำพระเพลิง ที่ อ.ปักธงชัย เป็นโครงการที่ทำการเกษตรอินทรีย์ ที่มีการปลูกข้าวที่ใช้น้ำปริมาณน้อย,โครงการเกษตรอินทรีย์ ที่มีการนำมูลสัตว์เลี้ยงมาทำปุ๋ยอินทรีย์ไว้ใช้เอง ,โครงการพัฒนาโรงสีข้าวเบญจวรรณ ที่ ต.กุดจิก เป็นโรงสีข้าวที่ได้รับการปรับปรุงให้การสีข้าวอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และเยี่ยมชมกระบวนการผลิตสาหร่ายเส้นแก้ว ฯลฯ

การนี้ คุณสันติ สาทิพย์พงษ์ ที่ปรึกษา รมว.วท.พร้อมคณะทำงาน รมว.วท.ร่วมเดินทางลงพื้นที่เยี่ยมชมโครงการดังกล่าวด้วย

ทั้งนี้ สวทช. จึงใคร่ขอเรียนเชิญสื่อมวลชนทุกท่านเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย  จักขอบพระคุณยิ่ง    สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่   คุณโกเมศ,  คุณสรินยา,  คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

 

หมายเหตุ :สวทช.มีรถบริการรับ-ส่ง สื่อมวลชนทุกท่าน จอดบริเวณด้านหน้า อาคาร สวทช. โยธี  ออกเวลา 09.00 น.(ล้อหมุน)

สมเด็จพระเทพรัตนฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นองค์ประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกMOU ณ เมืองลินเดา

[singlepic id=181 w=320 h=240 float=]
สมเด็จพระเทพรัตนฯทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯเป็นองค์ประธานสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกMOUระหว่างสวทชโดย ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูลและมูลนิธิการประชุมผู้ได้รับรางวัลโนเบลที่เมืองลินเดา