กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2553 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล เปิดเผยว่า ปัจจุบันภัยแล้งเป็นปัญหาสำคัญของพื้นที่การเกษตรที่อาศัยน้ำฝนโดยเฉพาะพื้นที่ปลูกข้าวในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งแต่ละปีมักประสบปัญหาความไม่แน่นอนของปริมาณและการกระจายตัวของฝนจึงเกิดสภาพ แล้งและน้ำท่วมเป็นประจำ ความแห้งแล้งจะเกิดได้ทุกระยะการปลูก คือ ต้นฤดูฝน กลางฤดู หรือปลายฤดูฝน ถ้าปีไหนแล้งจัดก็อาจจะแห้งแล้งทั้งต้นและปลายฤดูปลูก เป็นต้น ซึ่งการเกิดสภาพแล้งในระยะที่ข้าวกำลังออกรวงนั้นทำให้ผลผลิตข้าวลดลงอย่างมาก ซึ่งในปีที่แล้งจัดเกษตรกรอาจจะไม่ได้ผลผลิตข้าวเลย ทั้งนี้ ได้เร่งให้ สวทช.ซึ่งมีองค์ความรู้เรื่องพันธุกรรมข้าวหลายด้านเร่งเสนอมาตรการและแนวทางที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผู้ปลูกข้าว โดยขณะนี้ สวทช.โดยศูนย์ไบโอเทคได้ร่วมมือกับ สำนักวิจัยและพัฒนาข้าว กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พัฒนาข้าวพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข6 ให้ทนแล้งได้สำเร็จโดยยังคงคุณภาพเหมือน กข6 และพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม โดยใช้วิธีปรับปรุงพันธุ์แบบมาตรฐาน (conventional breeding) และใช้ดีเอ็นเอเครื่องหมายที่เกี่ยวข้องกับลักษณะทนแล้งและคุณภาพหุงต้มช่วยในการคัดเลือก ซึ่งการปรับปรุงพันธุ์ให้ทนแล้งอาจจะยากกว่าในลักษณะอื่นๆ เนื่องจากความทนแล้งมีระยะเวลาแตกต่างไม่เหมือนกัน เช่น ภาวะแล้งอาจจะมาในระยะต้น ระยะกลางหรือในระยะปลาย ซึ่งลักษณะข้าวที่จะทนแล้งแต่ละระยะที่จะพัฒนาก็จะไม่เหมือนกัน คณะนักวิจัยจึงเน้นพัฒนาพันธุ์ข้าวทนแล้งที่ระยะออกดอกให้ผลผลิตเนื่องจากเป็นระยะที่มีผลมากสุด โดยคณะนักวิจัยได้ทำการสืบหาตำแหน่งของยีน และพัฒนาเป็นดีเอ็นเอเครื่องหมาย เพื่อนำมาใช้ในการคัดเลือกพันธุ์ข้าวทนแล้ง ปัจจุบันสามารถพัฒนาสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนแล้ง ที่ยังคงคุณภาพการหุงตุ้มใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม จากการปลูกประเมินในสภาพแล้ง สามารถคัดเลือกสายพันธุ์ข้าวที่ปลูกในสภาพแล้งที่ให้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 เดิม ซึ่งจะนำไปปลูกทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกรต่อไป และได้พัฒนาสายพันธุ์กข6 ทนแล้ง ที่ยังคงคุณภาพการหุงตุ้มใกล้เคียงกับพันธุ์ กข6 เดิม ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปลูกทดสอบผลผลิตระหว่างสถานี นอกจากนี้ ยังได้พัฒนาข้าวพันธุ์ไม่ไวต่อช่วงแสงที่มีความสามารถในการทนน้ำท่วมและทนแล้ง ขณะนี้ อยู่ระหว่างการปลูกทดสอบผลผลิตระหว่างสถานี และจะปลูกทดสอบด้านผลผลิตและการปรับตัวในแปลงเกษตรกรต่อไป ทั้งนี้จะได้นำเข้ารายงานที่ประชุม ครม.เพื่อหาแนวทางขยายผลต่อไป ดร.วีระชัยกล่าว
Archive for category Press conference
งานแถลงข่าว : โครงการ การทำเกษตรกรรมเชิงการค้าเกี่ยวกับวัตถุดิบการผลิตอาหาร ที่เกี่ยวเนื่องกับ GM (Genetically Modified) ที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรงทั้งทางด้านคุณภาพสิ่งแวดล้อมทรัพยากรธรรมชาติและสุขภาพ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 67 วรรค 2 ในวันพุธ ที่ 31 มีนาคม 2553 เวลา 10.00 -12.00 น. ณ ห้องนนทรี2 ชั้น 4 KU HOME ภายในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ จตุจักร กรุงเทพฯ
เรื่อง สวทช.ร่วมกับเครือข่ายการ์ตูนไทยประกาศผลรางวัลชนะเลิศการประกวดการ์ตูนไทยไซไฟ รับเงินรางวัล พร้อมผลงานตีพิมพ์โชว์สัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38 นี้ด้วย
เรียน บรรณาธิการข่าว
สืบเนื่องจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมากล สถาบันการ์ตูนไทย มูลนิธิเด็ก และสมาคมการ์ตูนไทย และเครือข่ายการ์ตูนไทยสร้างสรรค์สังคม ได้ร่วมจัด โครงการประกวด การ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งแรก เพื่อให้เยาวชน ที่มีความสามารถและสนใจในเชิงสร้างสรรค์ ส่งผลงานการเขียนการ์ตูนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์หรือไซไฟ เพื่อเป็นสื่อที่ใช้จินตนาการและความเข้าใจทางวิทยาศาสตร์ เข้าร่วมประกวด ครั้งนั้นมีผลงานที่ส่งเข้าร่วมประกวดกว่า 150 ผลงาน
การนี้ สวทช. จึงได้มีการประกาศผลงานชนะเลิศ ที่ได้รับเงินรางวัล 15,000 บาท และรางวัลอื่นๆ โดยผลงานทั้งหมดที่ได้รับรางวัลจะได้รับการตีพิมพ์เป็นหนังสือ และเปิดตัวครั้งแรกในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ณ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ครั้งนี้ด้วย
ในวันจันทร์ที่ 29 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น. ณ เวทีกลาง งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ ครั้งที่ 38 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ การนี้ ศ.ดร.ยงยุทธ ยุทธวงศ์ นักวิจัยอาวุโส ให้เกียรติเป็นประธานและมอบรางวัลครั้งนี้ด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทรศัพท์ 02-6448150-89 ต่อ 217,237,212,712 หรือ 081-6681064, 081-9886614, 084-5290006 และ 084-9100850
เรื่อง สวทช. /ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ สำนักระบาดวิทยา และสวนดุสิตโพล แถลงผลสำรวจ
และสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไข้หวัดใหญ่ 2009 พบอัตราเฉลี่ยเพิ่มมากขึ้น
เรียน บรรณาธิการข่าว
จากสภาวการณ์ปัจจุบัน โรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ชนิด A H1N1 ในประเทศไทยยังมีการแพร่ระบาดไปในวงกว้าง นับตั้งแต่เดือนเมษายน 2552 พบว่ามีผู้ป่วยเป็นโรคไข้หวัดใหญ่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะตามแหล่งชุมชน ซึ่งได้รับการดูแลรักษาค่อนข้างน้อย ดังนั้น สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ร่วมกับสำนักงานระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค รพ.ศิริราช และสวนดุสิตโพล จัดการแถลงข่าว โครงการวิจัยการสำรวจอัตราป่วยและแนวโน้มการแพร่ระบาดของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ 2009 ชนิด A(H1N1) ที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ในประเทศไทย ขึ้น เพื่อสำรวจและค้นหาผู้ที่มีอาการป่วยคล้ายไข้หวัดใหญ่ ที่อยู่ในชุมชนและไม่ได้รับการรักษา โดยการสำรวจจะออกแบบควบคู่ไปกับการเจาะเลือด ตรวจวัดระดับภูมิคุ้มกันต่อไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ H1N1 2009 ซึ่งจะทำให้ทราบถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดที่แท้จริงในพื้นที่ประเทศไทย โดยผลการสำรวจ หวังจะสามารถนำไปสู่ระบบการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ใหม่ ต่อไปในอนาคต
ในวันอังคารที่ 23 มีนาคม 2553 เวลา 10.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ถ.พระรามที่ 6 กทม. การนี้ร่วมรับฟังการเสวนาจาก รศ.นพ.ประสิทธิ์ ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการ สวทช. ผอ.จากสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ฯลฯ ด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทรศัพท์ 02-6448150-89 ต่อ 217,237,212,712 หรือ 081-6681064, 081-9886614, 084-5290006 และ 084-9100850
สวทช. เปิดงาน การประชุมวิชาการประจำปี 2553 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อสังคมและโลก นำผลงานเทคโนโลยี CAR Talk , จมูกอิเล็กทรอนิกส์ ไร้สาย และระบบ จักรยานไฟฟ้าครบวงจร ฯลฯ โชว์ศักยภาพผลงานนักวิจัยไทย
ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก กำลังประสบปัญหาวิกฤตพลังงานและสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้พลังงาน ซึ่งทำให้เกิดผลกระทบ ที่เป็นปัญหาทั้วโลกคือ การเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ ประเทศไทย ก็เป็นประเทศที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกติดอันดับ 24 ของโลก ซึ่งเราคงจะนิ่งเฉยกับผลสำรวจดังกล่าวไม่ได้ ควรหันมาช่วยปลุกจิต รณรงค์ให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในชีวิตประจำวัน เช่น การใช้ การกิน การอยู่ เพื่อช่วยกันลดการใช้พลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยกันลดภาวะโลกร้อน
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้จัดงานแถลงข่าว การประชุมวิชาการประจำปี 2553 วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อสังคมและโลก โดยได้นำไฮไลต์ ผลงานมาโชว์ดังนี้
- CAR Talk ระบบสื่อสารระหว่างยานพาหนะ
- ระบบจักรยานไฟฟ้าครบวงจร
- จมูกอิเล็กทรอนิกส์ไร้สาย
- ข้อเข่าเทียม ที่สามารถหมุนได้รอบ เพื่อช่วยเหลือ คนพิการ
- ระบบบริการอ่านข่าวอัตโนมัติ
- ฟิล์มเปลี่ยนสีตามอุณหภูมิ
- สเกนกระบือ ในการวัดสัดส่วนมาตรฐาน กระบือไทย
- การออกแบบพัฒนาต้นแบบรถโดยสารไฟฟ้าขนาดเล็ก
- เบาะติดแอร์ ส่วนตัว
- เพิ่มมูลค่า การประยุกต์ใช้นาโนเทคโนโลยีกับการจัดการกากอุตสาหกรรมในประเทศไทย
จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว ในวันที่ 22 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น. ณ ห้องโถงกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สนใจติดต่อสอบถามได้ที่ คุณสรินยา 081-988-6614 , คุณโกเมศ 081-664-8150 , คุณปริเยศ 084-910-0850 คุณกัญรินทร์ 084-5290006
การประชุมวิชาการ “พหุสัมพันธ์ระหว่างไก่กับคน” (Human-Chicken Multi- Relationships Research Project)
Mar 19
[singlepic id=158 w=320 h=240 float=]
18 มีนาคม 2553 ณ สยามสมาคมในพระบรมราชูประถัมภ์ กรุงเทพฯ : สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จเป็นองค์ประธานเปิดการประชุมวิชาการ “พหุสัมพันธ์ระหว่างไก่กับคน” (Human-Chicken Multi- Relationships Research Project) พร้อมพระราชทานของที่ระลึกแก่นักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิ จากทั้งประเทศไทย และญี่ปุ่น ที่มีส่วนร่วมทำวิจัยฯ จนสำเร็จ จำนวน 45 ท่าน ทั้งนี้ โครงการพหุสัมพันธ์ระหว่างคนกับไก่ เป็นผลการดำเนินงานการศึกษาวิจัยร่วมกันระหว่างประเทศไทยและญี่ปุ่น โดยได้รับมหากรุณาธิคุณจาก สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และเจ้าชายอากิฌิโน ทรงเป็นองค์อุปถัมภ์ในการศึกษาวิจัยฯ ซึ่งได้กำหนดแนวทางของโครงการร่วมวิจัยครั้งนี้ ออกเป็น 4 ด้าน กล่าวคือ มนุษยศาสตร์ ชีววิทยาและนิเวศวิทยา เศรษฐศาสตร์ และภูมิสารสนเทศ การนี้ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้นักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิในสาขาต่างๆ ของประเทศเข้าร่วมศึกษาวิจัยและรับผิดชอบ โดยมีหน่วยงานต่างๆ ร่วมวิจัยดังนี้ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กรมปศุสัตว์ เป็นต้น
[singlepic id=159 w=320 h=240 float=]
ทั้งนี้ ภายใต้การดำเนินการวิจัยนั้น การบริหารจัดการโครงการวิจัยเรื่องดังกล่าวนั้น ฝ่ายไทยอยู่ในความดูแลของ ศ.ดร. ไพรัช ธัชพงษ์ (โดยมี ดร. ธนิต ชังถาวร และ นางสาวปริญ์ญภรณ์ เต็งประเสริฐ จากศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เป็นผู้ช่วย) และฝ่ายญี่ปุ่นอยู่ภายใต้การดูแลของ ศ. อากางิ โอซามุ โดยมีการวางระเบียบการวิจัยไว้ดังนี้ 1. ขอบเขตและรายละเอียดการศึกษาใดๆ ต้องได้รับการตกลงจากทั้งสองฝ่าย
2. งานวิจัยทุกเรื่องภายใต้ HCMR ต้องเป็นงานวิจัยร่วมระหว่างนักวิจัยไทยและญี่ปุ่น
3. การเคลื่อนย้ายวัสดุทางชีวภาพใดๆ ภายใต้โครงการนี้ต้องเป็นไปตามกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 4.นักวิจัยต้องเปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับงานวิจัยแก่ผู้ดูแลโครงการทั้งฝ่ายไทยและญี่ปุ่น
5. ข้อมูลจะถูกเก็บและบริหารใน www.biotec.or.th/hcmr ซึ่งอยู้ภายใต้การดูแลของศูนย์พันธุ วิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ
6. นักวิจัย HCMR สามารถใช้ข้อมูลจากโครงการได้โดยมีการแจ้งให้ดูแลดครงการทราบเป็นการล่วงหน้า
7. การตีพิมพ์ข้อมูลใดๆ จากโครงการต้องมีการอ้างอิงว่าข้อมูลดังกล่าวมาจาก “Haman-Chicken Multi-Relationships Research Project – H.I.H. Prince Akishino’s Research under the Royal Patronage of H.R.H. Princess Maha Chakri Sirindhorn “
[singlepic id=160 w=320 h=240 float=]
ตลอดระยะเวลาของการทำวิจัย นักวิจัยทั้งไทยและญี่ปุ่น ได้ดำเนินการศึกษาวิจัยร่วมกัน โดยมีการดำเนินการศึกษาในภาคสนามในพื้นที่จังหวัดเชียงรายอย่างน้อย 5 ครั้ง และยังมีการร่วมกันศึกษาวิจัยในสถาบันร่วมวิจัย HCMR เช่น คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อีกหลายครั้ง ซึ่งผลงานวิจัยนั้นได้ถูกนำไปเผยแพร่ในงาน HCMR congress ซึ่งได้จัดกันมาต่อเนื่อง 3 ครั้ง (พ.ศ. 2548 พ.ศ. 2549 และ พ.ศ.2550) ทั้งในประเทศไทย และ ญี่ปุ่น นอกจากนี้นักวิจัยญี่ปุ่นเองก็ได้มาเป็นวิทยากรฝึกอบรมนักวิจัยไทยภายใต้หัวข้อต่างๆ เช่น Three Dimensional Analysis on Skull of Japanese Native Chicken Fowls เป็นต้น ซึ่งจนถึงปัจจุบันนักวิจัยทั้งสองฝ่ายได้ดำเนินการวิจัยจนสำเร็จตามวัตถุประสงค์ของโครงการ และได้คัดเลือกผลงานดีเด่นตีพิมพืในหนังสือ“Chickens and Humans in Thailand: Their Multiple Relationships and Domestication ” ซึ่งการตีพิมพ์หนังสือดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากสยามสมาคมในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งกำหนดว่าจะตีพิมพ์ให้แล้วเสร็จภายในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 โดยพิมพ์จำนวน 2,000 เล่ม นอกจาก ความสำเร็จของการทำวิจัยร่วมกันระหว่างสองประเทศแล้ว ยังได้พัฒนาบุคลากรของฝ่ายไทยด้วย โดยนักวิจัย HCMR จากฝ่ายไทย (นายไสว วังหงษา กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช) ได้ศึกษาต่อในระดับปริญญาเอก ภายใต้การสนับสนุนทุนการศึกษาของรัฐบาลญี่ปุ่น หัวข้อวิจัย เรื่อง นิเวศวิทยาของไก่ป่าในประเทศไทย ภายใต้การดูแลของนักวัยอาวุโส HCMR จากประเทศญี่ปุ่น ซึ่งคาดว่าจะสำเร็จการศึกษาในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2553 อีกด้วย
เรื่อง สวทช. /ก.วิทย์ฯ แถลงเชิดชูผลงาน 2 นักวิจัยพร้อมมอบทุน 20 ล้าน เพื่อสานต่องานวิจัย ด้วยผลงาน การพัฒนากระบวนการอบแห้งขั้นสูงสำหรับอาหารและวัสดุชีวภาพ และระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพภาคใต้
เรียน บรรณาธิการข่าว
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เล็งเห็นความจำเป็นในการสนับสนุนให้นักวิทยาศาสตร์ที่มีศักยภาพของประเทศ ให้มีโอกาสดำเนินงานวิจัยได้อย่างราบรื่น รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ จึงได้จัดตั้งโครงการทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ เป็นจำนวนเงิน 20 ล้านบาท ให้แก่กลุ่มวิจัยที่ทำงานในขอบเขตเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีระยะเวลาการดำเนินงานของโครงการ 5 ปี และทุกโครงการได้ผ่านการพิจารณาอย่างเข้มงวด จากผู้เชี่ยวชาญและคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งในปีนี้มีนักวิจัยที่ได้ผ่านการคัดเลือกแล้ว 2 ท่าน จากผลงาน การพัฒนากระบวนการอบแห้งขั้นสูงสำหรับอาหารและวัสดุชีวภาพ และ ระบาดวิทยาเพื่อแก้ปัญหาสุขภาพภาคใต้
ดังนั้น ในวันศุกร์ที่ 19 มีนาคม 2553 เวลา 13.00 น. ณ ห้องกมลทิพย์ 1 โรงแรมสยามซิตี้ ถ. ศรีอยุธยา เขตพญาไท สวทช. จึงได้มีการแถลงข่าวเชิดชูผลงานพร้อมมอบทุนนักวิจัยแกนนำ แก่ทั้ง 2 นักวิจัยที่สร้างผลงานและคุณประโยชน์ให้กับประเทศชาติ การนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมว.กระทรวงวิทย์ฯ และรศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสวทช. ให้เกียรติร่วมเป็นประธานในงานดังกล่าวด้วย
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทรศัพท์ 02-6448150-89 ต่อ 217,237,212,712 หรือ 081-6681064, 081-9886614, 084-5290006 และ 084-9100850
เรื่อง สวทช. /กระทรวงวิทย์ พัฒนามาตรฐานการใช้ภาษาไทยใน QR Code หวังยกระดับการบริหารจัดการหน่วยงานภาครัฐและเอกชน เช่น เพิ่มความแม่นยำในกระบวนการตรวจคนเข้าเมือง, การออกใบสั่งยาของโรงพยาบาล และกระบวนการ
โลจิสติกส์ เป็นต้น
เรียน บรรณาธิการข่าว
ด้วย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานสัมมนาเทคโนโลยีแท่งสองมิติกับมาตรฐานภาษาไทย วันศุกร์ที่ 5 มีนาคม 2553 เวลา 09.00 -12.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 3 อาคารสวทช. โยธี กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เนื่องจาก International Organization for Standardization (ISO) และ International Electrotechnical Commission (IEC) ได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีรหัสแท่งสองมิติ ซึ่งมีคุณสมบัติที่เหนือกว่ารหัสแท่งในปัจจุบันหลายด้าน เช่น สามารถบันทึกข้อมูลได้ปริมาณมาก และสามารถอ่านข้อมูลจากรหัสแท่งสองมิติที่ไม่สมบูรณ์ได้ และการใช้รหัสแท่งสองมิตินี้กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำไปประยุกต์ใช้ด้านการจัดการโลจิสติกส์ จากมูลเหตุสำคัญข้างต้น กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเห็นว่าการพัฒนามาตรฐานการใช้ภาษาไทยกับ QR Code มีประสิทธิภาพมากขึ้น และจะเป็นเครื่องมือทางเทคโนโลยีที่สำคัญในสร้างสรรนวัตกรรมการบริหารจัดการและการให้บริการของหน่วยงานภาครัฐและเอกชน จึงมีการพัฒนามาตรฐานรหัสอักขระไทยขึ้น ภายใต้ความร่วมมือระหว่างศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) สวทช. กับ Center of the International ประเทศญี่ปุ่น
การนี้ งานสัมมนาดังกล่าวได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันและเวลาดังกล่าว สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทรศัพท์ 02-6448150-89 ต่อ 217,237,212,712 หรือ 081-6681064, 081-9886614, 084-5290006 และ 084-9100850
[singlepic id=155 w=320 h=240 float=]
เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ณ ห้องประชุมราชสนีย์พิทักษ์ ชั้น 10 อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม ถ. แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ สถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) (สทป.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกัน เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างมีศักยภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ
[singlepic id=156 w=320 h=240 float=]
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว เป็นความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐ 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) โดยที่ สวทช. มีบทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบในการพัฒนาและสนับสนุนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัย พัฒนาและวิศวกรรมของภาครัฐบาล ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา รวมทั้ง มุ่งผลักดันให้ประเทศไทยแข็งแกร่งและเจริญรุ่งเรืองบนเวทีเศรษฐกิจระดับโลก โดยการนำความสามารถอันเหนือชั้นด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศ อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีป้องกันประเทศสามารถประยุกต์ใช้ได้ทั้งในด้านทางการทหารและไม่ใช่ด้านการทหาร มีลักษณะเป็น Dual-Use Technology เช่น เทคโนโลยีนิวเคลียร์ เทคโนโลยีเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือดาวเทียม เป็นต้น จึงถือได้ว่าการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีป้องกันประเทศมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ รวมทั้งสร้างความมั่นคงให้กับประเทศ
[singlepic id=157 w=320 h=240 float=]
รศ.ดร.ศักรินทร์ กล่าวอีกว่า ปัจจุบันรัฐบาลตระหนักถึงความสำคัญของการวิจัยและพัฒนาเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศในเวทีการค้าโลก รวมทั้งลดการพึ่งพาและการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ มุ่งเน้นที่จะพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีภายในประเทศ การเป็นเจ้าของในองค์ความรู้และเทคโนโลยีมีความสำคัญต่อการประยุกต์ใช้ และการต่อยอดเทคโนโลยี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีป้องกันประเทศที่มีความสำคัญต่อความมั่นคงของประเทศ การพัฒนาศักยภาพด้านอุตสาหกรรมป้องกันประเทศเพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้ตามปริมาณ คุณภาพ และเวลาที่ต้องการจะส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ตัวอย่างผลงานสำคัญที่ผ่านมาของ สวทช. ที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีป้องกันประเทศ เช่น เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือขนาด 15 วัตต์ (T-Box), เสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูง โดยใช้วัตถุดิบและเทคโนโลยีในประเทศ, การพัฒนาระบบต้นแบบสำหรับการสำรวจระยะไกลจากเครื่องบินขนาดเล็กแบบอัตโนมัติ, การพัฒนาหุ่นยนต์กู้ภัยและเก็บกู้วัตถุระเบิด เป็นต้น
ด้าน พลโท ฐิตินันท์ ธัญญสิริ ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ (องค์การมหาชน) (สทป.) กล่าวว่า การประสานความร่วมมือด้านบุคลากรและเทคโนโลยีกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เป็นอีกก้าวหนึ่งในการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนา อันเป็นหนึ่งในพันธกิจของ สทป. ทั้งนี้ด้วยภารกิจหลักของ สทป. ที่มุ่งการวิจัยและพัฒนายุทโธปกรณ์ด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย อันนำไปสู่อุตสาหกรรมป้องกันประเทศที่เข้มแข็ง เพื่อการพึ่งพาตนเองด้านความมั่นคงของชาติอย่างยั่งยืน ด้วยวิสัยทัศน์ “เป็นผู้นำด้านเทคโนโลยีป้องกันประเทศในภูมิภาค ตอบสนองความต้องการของกองทัพไทยและพันธมิตรอาเซียน”
นอกจากนี้ รศ.ดร.ศักริทร์ ฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สวทช. และ สทป. ตกลงร่วมมือกันดำเนินการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ อย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นที่จะร่วมกันทำโครงการวิจัยและพัฒนาในเทคโนโลยีป้องกันประเทศ ร่วมกันจัดหาและสนับสนุนทรัพยากร เช่น บุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ สำหรับใช้ในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาภายใต้ความร่วมมือนี้ ร่วมกันสนับสนุนและส่งเสริมการนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ หรือเชิงสาธารณะประโยชน์ และร่วมกันจัดทำและพัฒนาฐานข้อมูลด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน เช่น ฐานข้อมูลโครงการวิจัยและพัฒนา รายชื่อบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา เป็นต้น