Archive for category Press release

กระทรวงวิทย์ฯผนึกพลังอมตะตั้งเมืองวิทยาศาสตร์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทย

[singlepic id=142 w=320 h=240 float=]

20 มกราคม 2553 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินหน้าโครงการเมืองวิทยาศาสตร์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่กว่า 1000 ไร่ ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและวิจัยระดับสากล หลังพบโมเดลอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ที่ สวทช.กระทรวงวิทย์ฯ ริเริ่มมาประสบความสำเร็จอย่างสูง  ต้องขยายพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเต็มพื้นที่ที่รังสิตแล้ว เผยมั่นใจในความพร้อมของกลุ่มอมตะ หลังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพร้อมกับมหาวิทยาลัยอีก 8 แห่ง เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา  โดยอมตะฯ เป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด  ส่วนภาครัฐจะสนับสนุนในเชิงมาตรการส่งเสริมการลงทุน พร้อมสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการก่อตั้งโครงการเสริมต่างๆ อาทิ โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจผู้ประกอบการ โครงสร้างภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและภายในประเทศ รวมไปถึงโครงสร้างภาษีรายได้บริษัทที่สามารถเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาภายในภูมิภาคพร้อมย้ำเปิดรับเอกชนรายอื่นๆที่สนใจขยายการลงทุนในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันและเพิ่มสมรรถนะของประเทศไทยจากการเป็นฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย ตั้งเป้าให้ผลงานสำเร็จลุล่วงโดยเร็ว รวมทั้งจะแจ้งความก้าวหน้าต่อ ครม.ทุก 3 เดือน โดยคุณหญิงกัลยาเปิดเผยในรายละเอียดว่า

 

“ตามที่คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้มีนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว รวมทั้ง ครม.ยังได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือ กรอ.วท. ขึ้นโดยมีเป้าหมายให้เป็นกลไกในการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับภาคเอกชน ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการต่างๆ สำหรับเมืองวิทยาศาสตร์อมตะที่ถือว่าเป็นเมืองวิทยาศาสตร์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทยนี้เกิดขึ้นภายใต้การผลักดันของ กรอ.วท.ที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งเพื่อเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับภาคเอกชน โดยบริษัทอมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรของเอกชนและภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนให้มีการจ้างงานและพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานเฉพาะทาง และเพิ่มสมรรถนะประเทศไทยจากการเป็นฐานการผลิต ไปสู่ประเทศที่เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย  โดยหลังจากที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันพร้อมกับมหาวิทยาลัยอีก 8 แห่ง เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาแล้ว ขณะนี้แผนการดำเนินงานได้คืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อเสนอร่างรายงานนโยบายรัฐและประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสม คาดว่ารายงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2553 หลังจากนั้นจะเริ่มก่อสร้างสาธารณูปโภคส่วนกลางภายในพื้นที่เมืองวิทยาศาสตร์อมตะต่อไป โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญกับโครงการดังกล่าวมาก และจะติดตามผลงานให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว รวมทั้งจะมีการแจ้งความก้าวหน้าให้ ครม.ทราบทุก 3 เดือน”

[singlepic id=141 w=320 h=240 float=]

นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้ทางกลุ่มอมตะฯ และทางภาครัฐ ได้มีการวางแผนเดินหน้าเริ่มต้นโครงการ “เมืองวิทยาศาสตร์อมตะ”  อย่างเต็มรูปแบบแล้วหลังจากที่ ทางกลุ่มอมตะฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ กันไปทั้งนี้คาดว่ามูลค่าโครงการฯ จะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ในการก่อสร้างโครงการ พร้อมทั้งแสดงความมั่นใจว่านิคมอุตสาหกรรมอมตะมีความพร้อมทุกด้านในการก่อสร้างโครงการ เนื่องจากเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตที่มีเทคโนโลยีทันสมัยกว่า 700 โรงงาน มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกมีถนนหนทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพและโครงการฯ กว่า 30 เลนโดยอยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 30 นาทีและห่างจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังเพียง 35 นาที ทั้งยังมีความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค และสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตได้กว่า 6,000 ไร่ ซึ่งหลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว โครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ จะมีศักยภาพเทียบเท่าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสากล

[singlepic id=143 w=320 h=240 float=]

สวทช. กระทรวงวิทย์ ดันผลงานคับแก้ว จากหิ้ง…สู่ห้าง ไว้กลางกรุงจัดงาน ตลาดนัดชาววิทย์..ชิดชาวบ้าน หวังยกระดับสินค้าไทย ทัดเทียมนานาชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานตลาดนัดชาววิทย์ ชิดชาวบ้าน ระหว่างวันที่ 12-19 มกราคม 2553 ณ ลาน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ C และ D หวังยกระดับสินค้าไทย ทัดเทียมนานาชาติ มีร้านค้า ผู้ประกอบการจากภาคเอกชน หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่างๆ ร่วมงานกว่า 100 ร้าน

[singlepic id=137 w=320 h=240 float=]

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า กระทรวงวิทย์ฯ มีนโยบายอย่างชัดเจน ที่ต้องการเห็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย มีส่วนช่วยในการนำเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่เหมาะสมไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีอยู่หลายกลไก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากรในการผลิตและการบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางสมองให้มีความคิดสร้างสรรค์ มิใช่เพียงใช้แรงงานและฝีมือ รวมไปถึงการใช้องค์ความรู้ซึ่งได้จากการวิจัยและพัฒนาจากสมองของคนไทย ที่สามารถนำไปถ่ายทอดหรือประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยโดยรวม

[singlepic id=138 w=320 h=240 float=]

ดังนั้น การจัดงาน “ตลาดนัด ชาววิทย์ ชิดชาวบ้าน” จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ หน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนและสร้างรายได้ ให้กับชุมชนชนบทต่างๆ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ได้มีโอกาสจัดเสดงและจำหน่ายสินค้า ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการนำเทคโนโลยี ตลอดจนนวัตกรรมที่เหมาะสมไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำออกจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ จึงเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและภาคการผลิตของไทยอันจะเป็นการขยายผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงการสร้างการผลิตและบริการที่เน้นการใช้ความรู้เข้มข้นและยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

[singlepic id=139 w=320 h=240 float=]

ทั้งนี้งานดังกล่าว มีสินค้าจัดจำหน่ายต่างๆ มากมาย ทั้งกินและช้อปกว่า 100 บูธ จากชุมชนชนบท 37 ชุมชน และกลุ่มบริษัทเอกชนมากกว่า 63 บริษัท ที่ มีทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ แมคคาเดเมียนัท สตรอเบอรี่สดและแห้ง เม็ดมะม่วงหิมมานต์ ผลิตภัณฑ์จากงา ข้าวอินทรีย์ ผักอินทรีย์ ผลิตผลทางการเกษตรฯลฯ ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และย้อมคราม ไหมขัดฟัน สเปรย์นาโนสมุนไพรกำจัดไรฝุ่น ผ้าห่มกันยุงนาโน ผ้าปูเตียงนาโนกันตัวเลือด แผ่นมาร์กหน้าและใต้ตาเซลลูโลสชีวภาพนาโน กล้วยไม้ ดอกดาหลา ชาดาหลาและผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากไม้ อุปกรณ์เพื่อการประหยัดน้ำมันดีเซลและเบนซิน ตลอดจนผลิตภัณฑ์รีไซเคิลและช่วยลดโลกร้อน และอื่นๆอีกมากมาย คุณหญิงกัลยาฯ กล่าว.

[singlepic id=140 w=320 h=240 float=]

2 องค์กรแนวหน้าผนึกกำลัง พัฒนาวิจัยวิทยาศาสตร์ฯ หวังยกระดับด้านวิจัยทัดเทียมนานาชาติ…

เมื่อวันที่  23 พฤศจิกายน 2552 ณ ห้องอยุธยา โรงแรมเซ็นจูรี่ กรุงเทพฯ : สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.)กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย(สกว.) ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกัน  เพื่อส่งเสริมให้เกิดการวิจัยและพัฒนาอย่างมีศักยภาพ และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อการพัฒนาประเทศ

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) กล่าวว่า ความร่วมมือดังกล่าว มุ่งเน้นไปที่การพัฒนาระบบวิจัย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการผลิตและการค้าโดยมีเป้าหมายที่จะการยกระดับขีดความสามารถด้านเทคโนโลยีของภาคเอกชนไทยอันเป็นการเพิ่มมูลค่าเพิ่มให้กับสินค้าไทย โดยสนับสนุนให้มีการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาของคนไทยและใช้ภูมิปัญญาในการสร้างสรรค์สินค้าและบริการใหม่ๆ ให้เป็นที่ต้องการแก่ผู้บริโภค ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของ สวทช. และ สกว.  ในการร่วมกันส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาที่สามารถนำผลไปสู่การพัฒนาประเทศได้จริงโดยเปลี่ยนวิทยาศาสตร์ให้เป็นเทคโนโลยี  และ เปลี่ยนเทคโนโลยีให้เป็นนวัตกรรม อันเป็นปัจจัยสำคัญในการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการผลิตในภาคอุตสาหกรรมอันจะนำไปสู่การสร้างผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยี และบริการใหม่ เพื่อสร้างความแตกต่างให้กับสินค้าและผลิตภัณฑ์นั้นๆ ในการที่จะทำให้เกิดมูลค่าเพิ่มอย่างแท้จริง

นายสวัสดิ์ ตันตระรัตน์ ผู้อำนวยการ  สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) กล่าวว่า สกว. และ สวทช. มีความมุ่งมั่นที่จะสานต่อโครงการที่ร่วมมือกันอยู่ ให้มีความก้าวหน้ายิ่งๆ ขึ้นไป  และจะร่วมมือกันพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีที่ตรงกับนโยบายของประเทศ  และตรงกับความต้องการของทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านสิ่งแวดล้อม พลังงาน อาหาร เกษตร และอุตสาหกรรม  โดยจะร่วมกันสนับสนุนทุนวิจัย  และส่งเสริมการนำผลงานวิจัยไปสู่การใช้ประโยชน์ทั้งในเชิงพาณิชย์  เชิงนโยบาย  เชิงสาธารณะ  และเชิงวิชาการ   รวมทั้งร่วมมือกัน รวมทั้งการพัฒนาฐานข้อมูลให้ครอบคลุมข้อมูลด้านอื่น ๆ  เช่น  ข้อมูลนักวิจัย  ข้อมูลการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย  และเผยแพร่ข้อมูลเหล่านี้ให้เป็นที่รู้จัก และใช้ประโยชน์กันมากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ รศ.ดร.ศักรินทร์ฯ กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า สำหรับในปีที่ผ่านๆ มา สวทช.และ สกว. ได้มีโอกาสทำงานมาบ้างแล้ว ซึ่งผลงานที่ผ่านๆ มา ก็มีหลากหลายด้วยกัน เช่น  โครงการปริญญาเอกกาญจนาภิเษก (คปก.)      โครงการพัฒนาองค์ความรู้และศึกษานโยบายการจัดการทรัพยากร-ชีวภาพในประเทศไทย (BRT) และฐานข้อมูลวิจัยไทย เป็นต้น แต่อย่างไรก็ตามหลังจากที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้ ความร่วมมือทั้งในอดีต ปัจจุบันและที่จะเกิดขึ้นต่อไปในอนาคตจะมีความชัดเจนในเรื่องของกลไกความร่วมมือและกิจกรรมต่างๆ ที่จะทำร่วมกันมากยิ่งขึ้น  รศ.ดร.ศักรินทร์กล่าวฯ

สวทช. ร่วมทุนเอกชนตั้งโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรมเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

สวทช. ร่วมทุนเอกชนตั้งโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรมเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

  • บุกเบิกการจัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์ในระดับอุตสาหกรรม (Fermentation Plant) ที่ใช้เทคโนโลยีของไทยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย
  • ลดการนำเข้าเชื้อจุลินทรีย์จากต่างประเทศ เป็นมูลค่ากว่า 1,000  ล้านบาท ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงาน
  • ช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตสุกรขุนได้กว่า 130 บาทต่อตัว ในขณะที่มีการลงทุนเพิ่มเพียง 30 บาทต่อตัว

 

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2552 ณ อาคารพระจอมเกล้า กรุงเทพฯ : ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามในสัญญาร่วมทุนระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.  ภายใต้กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับกลุ่มนิติกาญจนา ซึ่งเป็นผู้ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับฟาร์มเลี้ยงสุกรและโรงงานผลิตอาหารสัตว์มาตั้งแต่ปี 2533 โดยมีขนาดธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรใหญ่เป็นอันดับ 3 ของประเทศไทยและมีโรงงานผลิตอาหารสัตว์ขนาดใหญ่ และมีกลุ่มนักวิจัยของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ซึ่งเป็นนักวิจัยที่ทดลองขยายการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ของ สวทช. เข้าร่วมลงทุนด้วย เพื่อลงทุนในบริษัท เอส พี เอ็ม ไซเอ็นซ จำกัด ซึ่งจะดำเนินธุรกิจโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์และอาหารสัตว์หมักชีวภาพในระดับอุตสาหกรรมขึ้นเป็นแห่งแรกในประเทศไทย

ปัจจุบันความต้องการอาหารปลอดสารพิษที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น จึงทำให้เกิดความต้องการของผู้ผลิต เพื่อสนองตลาดที่มีแนวโน้มบริโภคเนื้อสัตว์ปลอดสารพิษมากขึ้น อย่างไรก็ตามการผลิตเนื้อสัตว์ปลอดสารเคมีและสารตกค้างจากการใช้สารเคมีและยาปฏิชีวนะในไทยนั้น ยังขาดการพัฒนาและการให้ความสนใจจากเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์และผลิตเนื้อสัตว์อีกมาก  เนื่องจากความจำเป็นและข้อจำกัดของการรักษาโรคในสัตว์ การเพิ่มผลผลิต และต้นทุนการเลี้ยงสัตว์แบบปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีที่ค่อนข้างสูง รวมทั้งการที่ผู้ผลิตเนื้อสัตว์และเกษตรกรยังมีทางเลือกไม่มากนัก ส่งผลให้ผู้บริโภคเนื้อสัตว์ซึ่งถือได้ว่าเป็นอาหารหลักชนิดหนึ่งของคนไทย ต้องเผชิญกับสภาวะเสี่ยงดังกล่าวอย่างไม่มีทางเลือก ปัญหาดังกล่าวไม่เพียงส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคภายในประเทศเท่านั้น แต่ยังส่งผลต่อปัญหาการกีดกันการส่งออกเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์แปรรูปของไทยไปยังตลาดต่างประเทศอีกด้วย  แม้ว่าผู้ผลิตเนื้อสัตว์และเกษตรกรจะได้รับแรงกดดันจากทั้งภาครัฐบาลและความต้องการอาหารปลอดสารพิษของผู้บริโภคชาวไทยที่เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ แต่เกษตรกรยังไม่สามารถสนองตอบต่อความต้องการดังกล่าวได้ เนื่องจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพ เช่น อาหารหมักเชื้อจุลินทรีย์มาเป็น Pro-biotic เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะและสารเคมีนั้นยังมีต้นทุนที่สูง และยังต้องพึ่งพิงสินค้านำเข้าเป็นส่วนใหญ่ ทั้งนี้เพื่อเป็นการเพิ่มขีดความสามารถให้กับอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ และสามารถลดการนำเข้าเชื้อจุลินทรีย์และอาหารเสริมชีวภาพจากต่างประเทศได้  ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาการผลิตเชื้อจุลินทรีย์และอาหารสัตว์หมักชีวภาพขึ้นเองในระดับอุตสาหกรรม ซึ่งกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สวทช. ได้ตระหนักถึงและสนับสนุนงานวิจัยการผลิตเชื้อจุลินทรีย์เพื่อผลิตอาหารเสริมชีวภาพมาโดยตลอด

การร่วมทุนในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีจาก สวทช. เพื่อบุกเบิกการผลิตเชื้อจุลินทรีย์และอาหารสัตว์หมักชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม โดยอาศัยกลไกการร่วมลงทุนของศูนย์ลงทุน สวทช. ในการลงทุนร่วมทุนกับภาคเอกชนเพื่อประโยชน์ต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ และต่อยอดงานวิจัยให้เข้าสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ ซึ่งเป็นการจัดตั้งโรงงานผลิตเชื้อจุลินทรีย์และอาหารสัตว์หมักชีวภาพในระดับอุตสาหกรรม (Fermentation Plant) ที่ใช้เทคโนโลยีของไทยเป็นแห่งแรกในประเทศไทย โดยใช้เชื้อจุลินทรีย์ Bacillus subtilis ของ สวทช. เป็นหัวเชื้อตั้งต้นในการผลิต ทั้งนี้สามารถช่วยลดการนำเข้าเชื้อจุลินทรีย์จากต่างประเทศ ในช่วง 5 ปีแรกของการดำเนินงาน คิดเป็นมูลค่ากว่า 1,000 ล้านบาท และช่วยให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้อย่างมาก โดยสามารถลดต้นทุนการผลิตสุกรขุนได้กว่า 130 บาทต่อตัว ในขณะที่มีการลงทุนเพิ่มเพียง 30 บาทต่อตัว นอกจากนี้ยังสามารถต่อยอดจากองค์ความรู้ในเรื่องการเพาะเลี้ยงเชื้อจุลินทรีย์ Bacillus subtilis ไปสู่เชื้อจุลินทรีย์ประเภทอื่น เช่น แบคทีเรีย ยีสต์ และรา เป็นต้น และนำไปสู่การพัฒนาและใช้เทคโนโลยีชีวภาพในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร อุตสาหกรรมปุ๋ยชีวภาพ และอุตสาหกรรมยา

บริษัท เอส พี เอ็ม ไซเอ็นซ จำกัด จะมีทุนจดทะเบียนบริษัท 100 ล้านบาท โดย สวทช. จะร่วมลงทุน 49 ล้านบาท กลุ่มนิติกาญจนา 49 ล้านบาท และกลุ่มนักวิจัย  2 ล้านบาท โดยโรงงานของบริษัทฯ จะตั้งอยู่ที่จังหวัดราชบุรี และพร้อมเปิดดำเนินงานเชิงพาณิชย์ได้ภายในเดือนธันวาคม 2552  บริษัทฯ คาดว่าจะมีรายได้ประมาณ 100 – 200 ล้านบาทต่อปี จากมูลค่าตลาดเชื้อจุลินทรีย์และสารเสริมชีวภาพประมาณ 900 ล้านบาทต่อปี โดยบริษัทฯ จะมีส่วนแบ่งตลาดประมาณ 10-20% ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ มี 3 ลักษณะ แบ่งตามความเหมาะสมในการใช้งานของลูกค้า ประกอบด้วย 1) อาหารสัตว์หมักชีวภาพแบบแห้ง (Dry Supplement) มีลักษณะเป็นผง เหมาะสำหรับโรงงานผลิตอาหารสัตว์และฟาร์มเลี้ยงสุกร 2) เชื้อจุลินทรีย์แบบเหลว (Wet Bacteria) มีลักษณะเป็นน้ำ เหมาะสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ และ 3) เชื้อจุลินทรีย์แบบแห้ง (Dry Bacteria) ที่เป็นกากถั่วเหลืองที่ได้รับการฉีดพ่นละอองเชื้อจุลินทรีย์ เหมาะสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์และบริษัทขายยาสัตว์

ผลิตภัณฑ์ของบริษัทฯ จะมีคุณสมบัติพิเศษ คือ เพิ่มอัตราการย่อยอาหารให้สูงขึ้น มีปริมาณสารยับยั้งการเติบโตในสัตว์และสารแปลกปลอมต่ำ มีจุลินทรีย์ที่สามารถใช้เป็น Pro-biotic ในสัตว์ และมีเอ็นไซม์ที่สำคัญซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการย่อยพันธะของแป้ง ไฟเบอร์ น้ำตาล และโปรตีน ทำให้สุกรที่ได้รับอาหารที่ผสมเชื้อจุลินทรีย์หรืออาหารสัตว์หมักชีวภาพของบริษัทฯ โตเร็ว แข็งแรง ทำให้ประหยัดต้นทุนในการผลิต

สวทช. จับมือ บางจากฯ ร่วมพัฒนาวิจัยพลังงานทดแทน

เมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2552 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบและการวิจัยพัฒนาด้านพลังงานทดแทน ระหว่างบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ณ โรงแรมสยามซิตี้ กรุงเทพฯ
ชี้รัฐสนับสนุนพลังงานทดแทนช่วยชาติประหยัดเงินจากการนำเข้าน้ำมัน ประมาณ 80,000 ล้านบาท
ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีกล่าวว่า ตลอดระยะเวลากว่า 3 ปี สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย กรมอู่ทหารเรือ กรมส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กลุ่มบริษัท สามมิตรมอเตอร์แมนูแฟคเจอริ่ง จำกัด (มหาชน) บริษัท ชุมพรอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม จำกัด (มหาชน) สมาคมเครื่องจักรกลไทย และบริษัท เกรทอะโกร จำกัด เป็นต้น ได้เข้ามามีส่วนแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวในพื้นที่ทุ่งหลวงรังสิตตอนบน ที่ครอบคลุมอาณาเขตถึง 5 จังหวัด ประกอบด้วย กรุงเทพฯ
ตอนเหนือ ปทุมธานี สระบุรี นครนายก ฉะเชิงเทรา โดยการนำเอาพืชพลังงานมาปลูกในพื้นที่ การจัดตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพื่อแปรรูปผลผลิตพลังงานเหล่านั้น เช่น น้ำมันปาล์มเป็นไบโอดีเซลในกลุ่มเกษตรกร ซึ่งถือเป็นก้าวสำคัญที่ทุกฝ่ายร่วมกันทำงาน โดยใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาช่วยกันแก้ไขปัญหาให้กับเกษตรกรได้ การทดสอบการปลูกปาล์มและสบู่ดำ ปรากฎว่า สามารถแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวเหล่านั้นได้อย่างยั่งยืน และสามารถสร้างรายได้ให้กับเกษตรกร ไม่ต่ำกว่า 20,000 บาทต่อไร่ต่อปี
นอกจากนี้ การลงนามความร่วมมือระหว่าง บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด สวทช. และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ถือเป็นก้าวสำคัญอีกก้าวหนึ่ง ด้วยบริษัทน้ำมันของชาติจะเข้ามามีส่วนร่วมในการรับซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อนำมาผลิตเป็นไบโอดีเซล ณ ศูนย์ผลิตไบโอดีเซล อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งเป็นพื้นที่ต่อเนื่องกับทุ่งหลวงรังสิตอยู่แล้ว และจะเป็นส่วนสำคัญที่ให้ผู้ประกอบการ ผู้ปลูกพืชน้ำมันในทุ่งหลวงรังสิตและพื้นที่ภาคกลางทั้งหลาย มีทางออกในการส่งผลผลิตเหล่านั้นเข้ามาแปรรูป มีตลาดที่ยั่งยืนและมั่นคงต่อไป
รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของเอ็มเทค/สวทช. มีนโยบายสนับสนุนการใช้ไบโอดีเซล ดังนั้น การร่วมมือในครั้งนี้กับบริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด จึงเป็นข่าวดีที่ทั้ง 2 หน่วยงานได้มีโอกาสทำงานร่วมกันในด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนและการผลิตไบโอดีเซล ตลอดจนมีความประสงค์จะร่วมมือกันในการซื้อขายปาล์มน้ำมันดิบ จากเกษตกรในโครงการโรงงานสาธิตการผลิตไบโอดีเซลสำหรับชุมชนแบบครบวงจรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี ที่ทางเอ็มเทค/สวทช.ได้จัดทำขึ้นจนสามารถสร้างงานสร้างรายได้ให้กับชุมชนที่เข้าร่วมโครงการ ทั้งนี้ กรอบความร่วมมือดังกล่าว สวทช. จะเป็นผู้ประสานงานการดำเนินงานโครงการการรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ ระหว่าง บริษัท บางจากไบโอฟูเอล กับวิสาหกิจชุมชนที่เข้าร่วมโครงการกับเอ็มเทค เพื่อเแปรรูปเป็นน้ำมันปาล์มดิบและน้ำมันไบโอดีเซลในปริมาณ 60 ตันต่อเดือน หรือประมาณ 2 ตันต่อวัน เป็นระยะเวลา 5 ปี รศ.ดร.ศักรินทร์ฯ กล่าว
ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัท บางจากไบโอฟูเอล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) จะรับซื้อน้ำมันปาล์มดิบ จากวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม ที่ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ ช่วยวิจัยพัฒนาด้านเมล็ดพันธุ์ปาล์มซึ่งจะให้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ประสบการณ์และร่วมกันวิจัยและพัฒนาสร้างนวัตกรรมพลังงานทดแทนในอนาคต เพื่อให้สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงพลังงานที่ส่งเสริมให้มีการใช้น้ำมันไบโอดีเซล ทดแทนการใช้น้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันร้อยละ 5 ภายในปี 2554 โดยนำไบโอดีเซล B100 ไปใช้ผสมกับน้ำมันดีเซลเพิ่มขึ้นจาก 1.35 ล้านลิตรต่อวัน เป็น 2.5 ล้านลิตรต่อวัน พร้อมกำหนดเป้าหมายให้มีการจำหน่ายน้ำมันไบโอดีเซล B5 ทั่วประเทศ และ B10 ในบางพื้นที่ ระหว่างปี 2554-2565 ซึ่งการที่จะขับเคลื่อนพลังงานทดแทนไบโอดีเซลให้เป็นไปตามเป้าหมายของภาครัฐได้นั้น ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งต้นน้ำซึ่งเป็นวัตถุดิบโดยเฉพาะน้ำมันปาล์มดิบ และปลายน้ำที่เป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายถึงมือผู้ใช้อย่างกว้างขวางและทั่วถึง “ปัจจุบันปาล์มเป็นพืชพลังงานหลักที่เป็นวัตุดิบในการผลิตไบโอดีเซล การวิจัยและพัฒนาพันธุ์ปาล์มให้ได้ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้นเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญ ปัจจุบันมีผลผลิตต่อไร่ประมาณ 2.8 ตันต่อไร่ต่อปี ในอนาคตต้องพัฒนาให้ได้มากกว่า 3.2 ตันต่อไร่ต่อปี ซึ่งจะส่งผลให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น อีกทั้งยังช่วยส่งเสริมอุตสาหกรรมโรงสกัดน้ำมันปาล์มในประเทศ และลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันจากต่างประเทศได้ปีละประมาณ 80,000 ล้านบาท” ดร.อนุสรณ์ กล่าว

[singlepic id=131 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=129 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=130 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=132 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=133 w=320 h=240 float=]

Tags: , ,

สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ ลงนามร่วมสถานฑูตอังกฤษ ร่วมวิจัย พร้อมแก้วิกฤต 4 ด้าน ได้แก่ รับมือโรคอุบัติใหม่,ค้นหาแหล่งพลังงานใหม่จากพลังงานชีวมวลนาโนเทคโนโลยีและวิจัยไบโออิเล็กทรอนิกส์

[singlepic id=128 w=320 h=240 float=] 

รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ด้านวิทยาศาสตร์ วิศวกรรมและเทคโนโลยี ระหว่าง สวทช./กระทรวงวิทย์ฯ กับสถานฑูตอังกฤษประจำประเทศไทย เพื่อพัฒนาความร่วมมือแลกเปลี่ยนบุคลากรและทำงานวิจัยร่วมกันภายใต้โครงการ UK-Thailand Partners in Science ทั้งนี้กรอบการทำงานร่วมกัน กำหนดขึ้นจากประเด็นปัญหาที่ทั้ง 2 ประเทศประสบอยู่ในขณะนี้ ซึ่งครอบคลุม 4 ด้าน ได้แก่ งานวิจัยแก้ปัญหาสุขภาพชีววิทยาศาสตร์โรคอุบัติใหม่,ไบโออิเล็กทรอนิกส์,นาโนเทคโนโลยี และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก เพื่อมองหาพลังานทางเลือกจากชีวมวล  เป็นต้น คาดว่า ราวเดือนพฤศจิกายน จะมีการจัดการประชุมหารือถึงหัวข้อวิจัยที่จะทำร่วมกันอีกครั้งหนึ่ง

สวทช./วท.นำคณะบุคลากรนักวิจัยและเยาวชนที่ได้รับรางวัลดีเด่นด้านวิทยาศาสตร์เข้าเฝ้าสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อรับพระราชทานโล่รางวัล

เมื่อเร็วนี้ คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อม รศ.ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) นำคณะบุคลากรนักวิจัยและเยาวชนที่ได้รับรางวัลดีเด่นในสาขาต่างๆทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เข้าเฝ้าทูลละอองพระบาทและเข้ารับโล่และถ้วยพระราชทาน จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เพื่อเป็นสิริสวัสดิ์พิพัฒน์มงคล ตลอดจนเป็นขวัญและกำลังใจในการพัฒนาศักยภาพของตนเองเพื่อสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศไทยต่อไป ซึ่งในปี 2552 สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพบุคลากรทางการวิจัยที่สำคัญ 3 โครงการ อันได้แก่ โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ และทุน NSTDA Chair Professor   และโครงการการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11 และโครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 โดยมีรายละเอียดผู้ได้รับรางวัลในประเภทต่างๆ ดังนี้

[singlepic id=117 w=320 h=240 float=]           

โครงการทุนนักวิจัยแกนนำ ศ.ดร.วัชระ กสินฤกษ์ ผศ.ดร.ขจรศักดิ์  ตระกูลพัว  ดร.ณัฐจีรา อินต๊ะใส มหาวิทยาลัยเชียงใหม่     โครงการวิจัยและพัฒนาและจัดการองค์ความรู้ทางวิทยาภูมิคุ้มกันและเทคโนโลยีชีวภาพระดับโมเลกุลเพื่อการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยและการรักษาโรค

[singlepic id=118 w=320 h=240 float=]

โครงการทุน NSTDA Chair Professor  ศ.ดร.จำรัส ลิ้มตระกูล รศ. ดร.เมตตา เจริญพานิช  ดร.อำพร เสน่ห์ ดร.รังรอง ยกส้าน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โครงการออกแบบและการผลิตวัสดุนาโนที่เป็นประโยชน์อย่างสูงต่ออุตสาหกรรม

โครงการแข่งขันพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์แห่งประเทศไทย ครั้งที่ 11

รางวัลชนะเลิศ ระดับนิสิต นักศึกษา แบ่งเป็น 4 ประเภท

[singlepic id=119 w=320 h=240 float=]

  • ประเภท โปรแกรมเพื่อความบันเทิง

โครงการ “เกมรามยุทธ์” ผู้พัฒนา ได้แก่ นายอานนท์ ตั้งสถิตพร, นายจักรพงศ์ นาคเดช, นายขัตติพงศ์ เห็นสุข และอาจารย์ที่ปรึกษา  นายวิษณุ โคตรจรัส จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย   

[singlepic id=120 w=320 h=240 float=]

  • ·       ประเภทโปรแกรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้
  • โครงการ “สร้างสรรค์โลกสามมิติด้วยจาวา” ผู้พัฒนา ได้แก่ นายกีรติพงศ์ อุกะโชค, นายธนากร จิวารุ่งเรือง, นายฐณวัฒน์ รอดสมบุญ และอาจารย์ที่ปรึกษา  นางสาวฐิติวรรณ ศรีนาค จาก มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

    [singlepic id=121 w=320 h=240 float=]

    • ประเภทโปรแกรมเพื่อช่วยคนพิการ

    โครงการ “ไบรท์ไซต์” (Bright  Sight) ผู้พัฒนา ได้แก่ นางสาวรพีพร พิมพ์อูบ  

    นางสาวภคภร ทิสยากร   และอาจารย์ที่ปรึกษา นายบุญเสริม กิจศิริกุล จาก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

    [singlepic id=122 w=320 h=240 float=]

    • ประเภทโปรแกรมเพื่อการประยุกต์ใช้งานสำหรับลินุกซ์ 

    โครงการ “ลีนุกซ์บ้านอัจฉริยะ” ผู้พัฒนา ได้แก่ นายฤทธิชัย จิตภักดีบดินทร์ ,นายอภิวัฒน์ ยมนา,นายธีรพงศ์ แซ่ตั้ง  และอาจารย์ที่ปรึกษา  นายวีรพันธ์ มุสิกสาร  จาก มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์  วิทยาเขตหาดใหญ่

    รางวัลชนะเลิศระดับนักเรียน

    [singlepic id=123 w=320 h=240 float=]

  • ·       ประเภทโปรแกรมเพื่อความบันเทิง 
  • โครงการ “ผลึกผนึกมาร” ผู้พัฒนา ได้แก่นายธนานนท์  ปฏิญญาศักดิกุล 

    นายภัทรวุฒิ  มาลีหวล,นายพรสิงห์  นิลผาย  และอาจารย์ที่ปรึกษา  นายนิพนธ์  สมัครค้า จาก โรงเรียนราชสีมาวิทยาลัย จังหวัดนครราชสีมา

  • โครงการประกวดออกแบบผลิตภัณฑ์เชิงนิเวศเศรษฐกิจแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 2 ประกอบด้วย
    • รางวัลชนะเลิศประเภทที่ ๑ นักเรียนระดับมัธยมศึกษา มีผู้ได้รับรางวัลนี้จำนวน ๒ คณะ ได้แก่

    [singlepic id=124 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน ด้ามตะเกียบ : นายทรงสิทธิ์ สีสุธรรม/นายสิทธิศักดิ์ สีสุธรรม/ นายปริวรรต แก้วระดี โรงเรียนปลาปากวิทยา  จังหวัดนครพนม อาจารย์ที่ปรึกษา  นายสิทธิชัย ยางธิสาร

     [singlepic id=125 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน ระบบเก็บแก๊ส ชีวภาพ : นายศจิษฐ์ โปธาตุ/ นายอติศักดิ์ ศรีตำแย/นายอลงกรณ์ ตั้งสมบัติสันติ โรงเรียนชุมพลโพนพิสัย จังหวัดหนองคาย อาจารย์ที่ปรึกษา นายธนภณ  อุ่นวิเศษ 

    • รางวัลชนะเลิศประเภทที่ 2 นักศึกษาระดับอนุปริญญาและปริญญาตรี

    [singlepic id=126 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน กบเหลาดินสอเเละกระถางต้นไม้ตกเเต่ง (Plantcil sharpener) : นางสาวพิมพิพัฒน์ ห้องดุลย์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อาจารย์ที่ปรึกษา  นายมาร์ก รุกขมธุร์

    • รางวัลชนะเลิศประเภทที่ 4 ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม

    [singlepic id=127 w=320 h=240 float=]

    ผลงาน  กระถางย่อยสลายได้สำหรับ ปลูกต้นกระดาษ : ดร. ชินรัฐ บุญชู/ ดร.เฉิดฉัน ปุกหุต/ ดร. สกุณณี บวรสมบัติ  บริษัท ดี. เอ. รีเซิร์ช เซ็นเตอร์ จำกัด/มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

    คุณหญิงกัลยาฯ ประกาศหนุนวิทยาศาสตร์ฯ แก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ พร้อมรับน้องหม่อง ที่สุวรรณภูมิ

    [singlepic id=114 w=320 h=240 float=] [singlepic id=116 w=320 h=240 float=]    

     21 กันยายน 2552 สุวรรณภูมิ ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และคณะฯ ได้เดินทางมารับ ด.ช.หม่อง ทองดี และคณะผู้ชนะการแข่งขันเครื่องบินกระดาษพับ ซึ่งเป็นกิจกรรมการแข่งขันเพื่อสร้างเสริมแนวคิดเชิงวิทยาศาสตร์ ตั้งแต่ฟิสิกส์เบื้องต้นไปจนถึงเรื่อง อากาศ และพลศาสตร์อย่างสนุกสนานและเข้าใจง่าย โดยใช้ความคิดในการออกแบบและพัฒนาเครื่องบินกระดาษด้วยหลักการเชิงวิทยาศาสตร์ซึ่งมีเครื่องบินกระดาษเป็นสื่อ  โดยกิจกรรมดังกล่าวจัดขึ้น ที่จังหวัดชิบะ ประเทศญี่ปุ่น  โดยสมาคมกระดาษพับแห่งประเทศญี่ปุ่น ซึ่งมีความร่วมมือกับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ประเทศไทย โดย นอกเหนือจาก ด.ช.หม่อง ทองดี แล้ว ยังมีตัวแทนประเทศไทยที่ได้รับรางวัลอีกสามประเภทคือ ประเภทบุคคลทั่วไป ได้รับรางวัลชนะเลิศอันดับที่สองและที่สาม ได้แก่ ดร.ประเสริฐ เฉลิมการนนท์,นายสุรินทร์ อินทรโชติ และประเภทบุคคลทั่วไปหญิง นางสาวฝอยฝน ศรีสวัสดิ์

    ทั้งนี้ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ได้กล่าวแสดงความยินดี และมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กชายหม่องด้วย นอกเหนือจากกิจกรรมดังกล่าวนี้ ดร.คุณหญิงกัลยายังกล่าวเสริมว่า  สวทช. กระทรวงวิทย์ฯ ยังมีโครงการส่งเสริมและสร้างกระแสความนิยมกิจกรรมทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเด็กและเยาวชนในโอกาสต่อไป รวมทั้งในช่วงปิดเทอมนี้ด้วย เพื่อแก้ปัญหาเด็กติดเกมส์ หรือรวมกลุ่มทำพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม  ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ซึ่งเป็นค่ายวิทยาศาสตร์ถาวรซึ่งเปิดกิจกรรมที่น่าสนใจต่างๆมากมาย สนใจติดต่อสอบถามที่ Call center สวทช.025648000

    เปิดคลิปประวัติศาสตร์…พระพิฆเนศพระราชทาน

    22 มิถุนายน 2552 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.คุณหญิง กัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ดร.ศักรินทร์ ภูมิรัตน ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช. ) และมิสเตอร์ ชินนิจิ มิตซูโมโต ผู้อำนวยการองค์กรอวกาศญี่ปุ่น Japan Aerospace Exploration Agency ร่วม กันแถลงข่าวเปิดให้สื่อมวลชนชมคลิปวิดิโอภาพของที่ระลึกจากประเทศไทย ซึ่งเป็นพระพิฆเนศพระราชทานจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี และต้มยำกุ้ง อาหารหลักของไทยที่ ด็อกเตอร์โคอิจิ วากาตะ นักบินอวกาศชาวญี่ปุ่นประจำ NASA Johnson Space Center นำ ติดตัวขึ้นไปปฏิบัติงานในอวกาศ พร้อมเผยรายละเอียดโครงการร่วมในอนาคตซึ่งเป็นการประกวดหาโครงงานวิจัยเพื่อ นำขึ้นไปทดลองบน สถานีอวกาศนานาชาติ และโครงการวิจัยที่จะทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลาที่ ประเทศญี่ปุ่น ทั้งนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเปิดเผยในรายละเอียดว่า“สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ปลาบปลื้มในพระมหากรุณาธิคุณในองค์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ที่ทรงมีต่อวงการวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งยังความซาบซึ้งประทับใจให้กับทุกคนที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะทั้งคนไทยและชาวต่างชาติ และยังเป็นการจุด ประกายและสร้างโอกาสให้เยาวชนคนรุ่นใหม่และสังคมไทย ได้สนใจและศึกษาวิจัย และร่วมทำการทดลองทางอวกาศในระดับสากลด้วย ทั้งนี้ ประเทศไทย มีการศึกษาวิจัยวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีมากมายหลายแขนง มีนัก วิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญและมีผลงานโดดเด่นจำนวนไม่น้อยทางด้าน ชีวภาพ การเกษตร หรือการแพทย์ เป็นต้น ผลงานที่โดดเด่นเหล่านั้น มีทั้งที่เป็นผลงานวิจัยพื้นฐานต่อยอดองค์ความรู้ และผลงานวิจัยแบบประยุกต์เพื่อถ่ายทอดลงสู่ภาคการผลิตของประเทศ และมีความคาดหวังว่าในอนาคต ประเทศไทยและนักวิจัยไทยจะมีโอกาสได้ประยุกต์และต่อยอดงานวิจัยในด้านอวกาศ มากขึ้น” คุณหญิงกัลยากล่าว ด้าน ดร.ศักรินทร์เปิดเผยเพิ่มเติมในรายละเอียดว่าโครงการที่ สวทช.และ JAXA จะร่วมกันต่อไปในอนาคตมีจำนวน 2 โครงการคือ โครงการ Research Proposal for KIBO ซึ่งเป็นการประกวดหาโครงงานวิจัยเพื่อนำขึ้นไปทดลองบน สถานีอวกาศนานาชาติในส่วนของประเทศญี่ปุ่นคือ ยาน KIBO หรือ JEM โดย JAXA และ สวทช.จะคัดเลือกโครงงานวิจัยที่ช่วยให้เกิดการก้าวกระโดดทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งเป็นงานวิจัยที่ดำเนินการวิจัยเบ็ดเสร็จได้ด้วยอุปกรณ์ที่นำขึ้นไปติดตั้งและทดลองได้บนยาน KIBO ได้ มีระยะเวลาพัฒนาโครงการวิจัย 2-4 ปี โดย สวทช.และ JAXA สนับสนุนค่าใช้จ่ายและให้ความช่วยเหลือในการพัฒนาโครงการ และโครงการที่ 2 The Student Zero-gravity Flight Experiment Contest คือโครงการวิจัยที่จะทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลาที่ประเทศญี่ปุ่น ในช่วงเดือนธันวาคม 2552 นี้ โดย สวทช.สนับสนุนทุนในการพัฒนาชุดการทดลอง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่นด้วย

    Tags: , , , , , ,