สวทช.จับมือกรมการข้าว พัฒนา “พันธุ์ข้าวต้านโรคทนสภาพแวดล้อม” พร้อมเตรียมยื่นขอรับรอง 3 พันธุ์ข้าวชนิดใหม่

[singlepic id=149 w=320 h=240 float=]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 15.00 น. ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามความร่วมมือสนับสนุนด้านงบประมาณรวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลงและสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หลังจากที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการร่วมกันและพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ พร้อมชมสายพันธุ์ข้าวตัวอย่าง ที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือที่เตรียมเสนอเป็นพันธุ์รับรอง

[singlepic id=150 w=320 h=240 float=]

                นายยุคล ลิ้มแหลมทอง   ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ได้เล็งถึงความสำคัญของข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอันดับหนึ่งของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาสินค้าข้าวให้บังเกิดประสิทธิผลเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และการตลาดข้าวโดยส่วนรวม โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ขึ้น เพื่อช่วยกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และส่งเสริมการวิจัยทางด้านการผลิตและการตลาดข้าวของประเทศ นอกจากนี้กรมการข้าวซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตข้าว และส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกร ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทยระหว่างปี พ.ศ. 2550-2554 ขึ้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐาน การสนับสนุนความปลอดภัยด้านอาหาร และการส่งออกข้าว ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าว และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

[singlepic id=151 w=320 h=240 float=]

นายประเสริฐ โกศัลวิตร  อธิบดีกรมการข้าว  กล่าวว่า “งานวิจัยหลักที่สำคัญในพัฒนาการผลิตข้าว คือ งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ที่ผ่านมากรมการข้าวซึ่งหน่วยงานหลักที่ดำเนินการวิจัย ด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวประสบผลสำเร็จมาจากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีปกติ หรือ Conventional breeding ในระหว่างปี พ.ศ. 2549-2552 กรมการข้าว และ สวทช. ก็ได้มีการร่วมมือทำงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ และอยู่ระหว่างเสนอขอการรับรองพันธุ์ ซึ่งได้นำข้าวสายพันธุ์ใหม่มาแสดงในวันนี้ด้วย

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวอีกว่า “การร่วมมือกันครั้งนี้ กรมการข้าว และ สวทช. ต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน  ซึ่งถ้าร่วมมือกันดำเนินการวิจัยโดยประสานจุดเด่นเข้าด้วยกันจะเป็นการลดจุดด้อยของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งจะสามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาข้าวได้ยิ่งขึ้น กล่าวคือ กรมการข้าว มีจุดเด่นในด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรเพื่อรองรับการวิจัยในสภาพแปลงทดลอง รวมทั้งเครือข่ายเกษตรกรที่มีส่วนร่วมในการวิจัย แต่มีความไม่พร้อมเกี่ยวกับเครื่องมือและความเชี่ยวชาญ รวมทั้งบุคลากรในการวิจัยพื้นฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์  ในขณะที่ สวทช. มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับการสืบค้นหายีน และการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA molecular markers) ที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น แต่ “สวทช” ก็อาจมีจุดด้อยในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการทดสอบหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแปลงทดลองและในนาเกษตรกร ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่างสองหน่วยงานเพื่อการวิจัยและพัฒนาข้าว จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบ”

ดร.สุจินดา โชติพานิช  ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ได้มีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้ร่วมพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ กข6 ที่มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และ ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 6 เดิม ซึ่งบางสายพันธุ์ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าวและในแปลงเกษตรกรแล้ว และอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว ได้แก่ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ และเพื่อให้เกิดกรอบความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาข้าวเชิงบูรณาการอย่างชัดเจนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของกรมการข้าวและบุคลากรของ สวทช. ทั้งสองหน่วยงานจึงเห็นร่วมกันว่าควรมีการจัดทำกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวร่วมกัน ในระยะที่ 2 

ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า “ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยของทั้ง 2 หน่วยงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงเห็นร่วมกันว่า ควรจะใช้จุดแข็งของทั้งสองหน่วยงานที่มีมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร โดยความร่วมมือครั้งนี้ จะมีการสนับสนุนด้านบุคลากร ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์และงบประมาณ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย การถ่ายทอดผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญ ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศและจะนำไปสู่การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไป “

สวทช. เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมท่องอวกาศ กับสถานีอวกาศนานาชาติ JAXA พร้อมส่งทดลอง ในเดือน มี.ค. ศกนี้

             [singlepic id=148 w=320 h=240 float=]

เมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 ณ อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กรุงเทพฯ :  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดงานแถลงข่าว  เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมท่องอวกาศ กับสถานีอวกาศนานาชาติ JAXA ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  และ  Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA)  ประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการ Thailand Zero-Gravity Experiment  ซึ่งเริ่มต้นตั้งแต่ปี 2549  มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัย นักเรียน และนักศึกษา  ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศของไทย  โดยเปิดโอกาสให้ร่วมส่งงานวิจัยขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ   และขึ้นทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก

[singlepic id=147 w=320 h=240 float=]

ดร.สุจินดา โชติพานิช ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า โครงการดังกล่าว เป็นมิติใหม่ของวงการวิทยาศาสตร์ ที่เปิดโอกาสให้เยาวชน นักวิจัยไทย  มีส่วนร่วมทำกิจกรรมทดลองวิจัย ในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำ ในยานอวกาศ “คิโบ” ขององค์กรสำรวจอวกาศของญี่ปุ่น (JAXA) ซึ่งเป็นองค์กรชั้นนำระดับประเทศ ในการพัฒนาขีดความสามารถด้านการสังเกตการณ์ทางดาราศาสตร์และจักรวาลวิทยา, ศาสตร์เกี่ยวกับสภาวะไร้น้ำหนัก, ธรณีวิทยาและการสังเกตโลก, Life Science, เทคโนโลยีอวกาศที่มีมนุษย์เข้าร่วม เป็นต้น

ศ.ดร.มรกต ตันติเจริญ รองผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช..) กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการดังกล่าว ทาง สวทช.ได้ร่วมกับองค์กรสำรวจอวกาศ (JAXA) เป็นระยะเวลากว่า 4 ปี ซึ่งที่ผ่านมา มีโครงการวิจัยต่างๆ เข้าร่วมทดลองมากมาย อาทิ  โครงการศึกษาสภาวะแวดล้อมในสภาพอวกาศจำลองต่อการเจริญและพัฒนาของข้าวพันธุ์ไทยภายใต้ระบบการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช  ขณะนี้อยู่ในขั้นการศึกษาสภาวะปกติบนพื้นโลก ,โครงการ Medical drug dispersion under microgravit y,โครงการ A study of water flow by heating under microgravity condition  และโครงการ Spaceflight results in reflective of body-wall muscle in paramyosin mutant of Caenorhabditis elegans เป็นต้น

และใน ปี 2552 ที่ผ่านมา โครงการที่ได้รับคัดเลือก เพื่อไปร่วมทดลองบนเที่ยวบินพาราโบลิกเป็นโครงการของเยาวชนไทยจาก ผลงานเรื่อง A Study of Water Drops Spreading in Textiles Under Microgravity Condition โดย นายวเรศ จันทร์เจริญ นายจักรภพ วงศ์วิวัฒน์ จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี และนายวศิน ตู้จินดา จากโรงเรียนดรุณสิกขาลัย ซึ่ง ทีมเยาวชนที่ผ่านการคัดเลือก จะได้รับการสนับสนุนทุนในการพัฒนาชุดการทดลอง และค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปทำการทดลองที่ประเทศญี่ปุ่นจาก สวทช. อีกด้วย

นอกจากนี้ สวทช. จะเปิดรับสมัครนักเรียน นักศึกษาที่สนใจส่งข้อเสนอโครงการเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมการทดลอง ในปี 2553 ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 5 นี้  ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2553  เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกโครงการที่เหมาะสมเพียง 1 โครงการ  โดยผู้ร่วมโครงการจะได้ขึ้นทำการทดลองบนเครื่องบินที่ทำการบินแบบพาลาโบลา  ที่ประเทศญี่ปุ่นในเดือนธันวาคม 2553 หรือมีนาคม 2554  ผู้ที่สนใจ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ฝ่ายสร้างความตระหนักทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี    สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์  0 2564 7000 ต่อ 1400,1403  ศ.ดร.มรกตฯ กล่าว.

สวทช. เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมท่องอวกาศ กับสถานีอวกาศนานาชาติ JAXA ในวันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09.30 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรื่อง   สวทช. เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมท่องอวกาศ กับสถานีอวกาศนานาชาติ JAXA ในวันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553   เวลา 09.30 น.   ณ ห้องโถง  ชั้น 1   กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรียน  บรรณาธิการข่าว

 

             ด้วย โครงการ Thailand Zero-Gravity Experiment เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ  Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA)  ประเทศญี่ปุ่น   ทั้งนี้  โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัย นักเรียน และนักศึกษา  ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศของไทย  โดยเปิดโอกาสให้ร่วมส่งงานวิจัยขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ   และขึ้นทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก   ซึ่ง สวทช. เป็นผู้ให้การสนับสนุนชุดวิจัยทดลองและค่าใช้จ่ายสำหรับเพื่อใช้เดินทาง ณ ประเทศญี่ปุ่น

                ทั้งนี้ งานแถลงข่าวความสำเร็จของทีมเยาวชนไทยที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานีอวกาศนานาชาติ  JAXA ให้ร่วมทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก ณ  ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม 2553 นี้ ได้แก่ ผลงานเรื่อง A Study of  Water Drops Spreading in Textiles Under Microgravity Condition  

            การนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ คุณหญิงกลัยา ดสภณพนิช รับมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09.30 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาหาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ,คุณสรินยา,คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,712 หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006 , 084-9100850

สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ กรมการข้าว สนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าวไทย อันนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ให้มีความ ต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ในระยะที่ 2

เรื่อง   สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ กรมการข้าว สนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าวไทย อันนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ให้มีความ ต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ในระยะที่ 2

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามความร่วมมือสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

พันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ในระยะที่ 2 ซึ่งจากการดำเนินงานมาในระยะที่ 1 ที่ผ่านมา ได้ข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็มและสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ พร้อมชมสายพันธุ์ข้าวตัวอย่าง ที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือที่เตรียมเสนอเป็นพันธุ์รับรอง

           

ในวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553  เวลา 15.00 น. ณ ห้องโถง อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การนี้ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานร่วมในงานดังกล่าวด้วย

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย  จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

สวทช. นำวิทย์ ฯ เทคโน บูรณาการงานวิจัยพันธุกรรมนกเงือกสำเร็จ พร้อมขยายผลสู่โครงการต่างๆ/ชุมชนท้องถิ่น หวังอนุรักษ์นกเงือกอย่างยั่งยืน

[singlepic id=144 w=320 h=240 float=]

          22 มกราคม 2552 ณ ห้องโถง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในงานแถลงข่าว “นกเงือกจะสูญพันธุ์หรือไม่ งานวิจัยพันธุกรรมนกเงือก จะมีส่วนช่วยอนุรักษ์นกเงือกได้อย่างไร” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ให้การสนับสนุน ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ประจำปี 2545” เรื่อง “ลักษณะพันธุกรรมประชากร และสถานภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่า และหย่อมป่าในประเทศไทย” ซึ่งมี ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ มหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ

[singlepic id=146 w=320 h=240 float=]

          คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า เป็นที่น่ายิ่งดีอย่างยิ่ง ที่มีนักวิทยาศาสตร์เห็นถึงความสำคัญในการศึกษาโครงสร้างทางพันธุกรรมและสภาพทางนิเวศถิ่นอาศัยของประชากรนกเงือก เนื่องจากว่า นกเงือกเป็นสัตว์ ที่มีบทบาทเด่นเป็นอย่างมากในระบบนิเวศป่า คือ เป็นตัวช่วยกระจายพันธุ์ไม้ (Seed disperser) ที่ช่วยรักษาความหลากหลายของพืช และได้นำเอาวิทยาศาสตร์เข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนการพัฒนางานวิจัยด้านความหลากหลายของทรัพยากรชีวภาพ ไม่เพียงแต่นกเงือกเท่านั้น ยังรวมไปถึง พืช สัตว์ และจุลินทรีย์ชนิดต่างๆ ข้อมูลเหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานสำคัญต่อการต่อยอดงานวิจัยเพื่อนำประโยชน์จากทรัพยากรดังกล่าวมาใช้ ตลอดจนการจัดการ และการฟื้นฟูทรัพยากร เป็นต้น 

[singlepic id=145 w=320 h=240 float=]

          นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังนำความรู้ที่ได้มาร่วมคิดร่วมทำกับชุมชนท้องถิ่น เพื่อก่อให้เกิด กลุ่มร่วมอนุรักษ์นกเงือกในชุมชน อีกทั้งยังได้เปิดโอกาสให้คนเมืองที่อยู่ห่างไกลป่า มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์นกเงือก ภายใต้ “โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก” อีกด้วย ผลจากงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัยนี้ ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับโครงการวิจัยอื่นๆ  ตลอดจนใช้เป็นเครื่องมือในการรณรงค์เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติได้เป็นอย่างดี คุณหญิงกัลยาฯ กล่าว

          รศ.นพ.ประสิทธิ์  ผลิตผลการพิมพ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กล่าวว่า สวทช. ได้ให้การสนับสนุนสนับงานวิจัยดังกล่าว ภายใต้ทุนสนับสนุน “ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ประจำปี 2545” มีระยะเวลา 5 ปี ด้วยงบประมาณสนับสนุนกว่า 15ล้านบาท ซึ่งมี ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ  ทั้งนี้งานวิจัยได้นำเทคโนโลยีการศึกษาวิจัยทรัพยากรชีวภาพทั้งในด้านพันธุกรรม  นิเวศวิทยา  การสำรวจระยะไกล  และระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ มาบูรณาการในการ ศึกษานกเงือกในถิ่นอาศัยหลักที่มีสภาพเป็นผืนป่า และหย่อมป่าทั่วประเทศ จนสามารถสร้างความเข้าใจของสถานภาพและอนาคตของนกเงือกในประเทศไทย ตั้งแต่ระดับพันธุกรรม  ประชากร  จนกระทั่งถึงระดับระบบนิเวศ อาทิ การเปรียบเทียบความสัมพันธ์ทางพันธุกรรมของนกเงือก การสร้างเครื่องหมายโมเลกุลของนกเงือกเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และการวางระบบนับนกเงือกอย่างจริงจัง เพื่อใช้ทำนายสถานภาพถิ่นที่อยู่อาศัย และความเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ เป็นต้น

          ทั้งนี้ จากการบูรณาการของโครงการวิจัย ตั้งแต่การนำเทคนิคหรือเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์ มาวิเคราะห์จนก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ไปสู่การฝึกอบรมชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ และคณะ ได้ขยายผลให้เกิดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกเงือก อีกหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก ซึ่งจะนำไปสู่การอนุรักษ์  ฟื้นฟู นกเงือกและถิ่นอาศัยอย่างเป็นระบบต่อไป 

o————————————————-o

งานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรื่อง     งานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก สวทช.ให้การสนับสนุน  “ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ประจำปี 2545” เรื่อง “ลักษณะพันธุกรรมประชากร และสถานภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่า และหย่อมป่าในประเทศไทย” ซึ่งมี ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ม.มหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ โครงการวิจัยได้มีการบูรณาการ ตั้งแต่งานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการที่มีการนำเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์จนก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ไปสู่การฝึกอบรมชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ ซึ่งได้ขยายผลให้เกิดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกเงือกอีกหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก เป็นต้น

 

การนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2553 เวลา 10.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

กระทรวงวิทย์ฯผนึกพลังอมตะตั้งเมืองวิทยาศาสตร์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทย

[singlepic id=142 w=320 h=240 float=]

20 มกราคม 2553 ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เดินหน้าโครงการเมืองวิทยาศาสตร์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทย ในพื้นที่กว่า 1000 ไร่ ตั้งเป้าหมายเป็นศูนย์กลางการพัฒนาและวิจัยระดับสากล หลังพบโมเดลอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ ที่ สวทช.กระทรวงวิทย์ฯ ริเริ่มมาประสบความสำเร็จอย่างสูง  ต้องขยายพื้นที่ศูนย์บ่มเพาะเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง จนปัจจุบันเต็มพื้นที่ที่รังสิตแล้ว เผยมั่นใจในความพร้อมของกลุ่มอมตะ หลังร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพร้อมกับมหาวิทยาลัยอีก 8 แห่ง เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมา  โดยอมตะฯ เป็นผู้ลงทุนโครงการทั้งหมด  ส่วนภาครัฐจะสนับสนุนในเชิงมาตรการส่งเสริมการลงทุน พร้อมสนับสนุนเงินช่วยเหลือในการก่อตั้งโครงการเสริมต่างๆ อาทิ โครงการบ่มเพาะวิสาหกิจผู้ประกอบการ โครงสร้างภาษีรายได้ส่วนบุคคลที่เหมาะสมสำหรับผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศและภายในประเทศ รวมไปถึงโครงสร้างภาษีรายได้บริษัทที่สามารถเป็นศูนย์กลางวิจัยและพัฒนาภายในภูมิภาคพร้อมย้ำเปิดรับเอกชนรายอื่นๆที่สนใจขยายการลงทุนในเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เพื่อผลักดันและเพิ่มสมรรถนะของประเทศไทยจากการเป็นฐานการผลิตไปสู่ประเทศที่เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย ตั้งเป้าให้ผลงานสำเร็จลุล่วงโดยเร็ว รวมทั้งจะแจ้งความก้าวหน้าต่อ ครม.ทุก 3 เดือน โดยคุณหญิงกัลยาเปิดเผยในรายละเอียดว่า

 

“ตามที่คณะรัฐมนตรีได้กำหนดให้มีนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม ที่ได้แถลงต่อรัฐสภาไปแล้ว รวมทั้ง ครม.ยังได้อนุมัติให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เข้าไปเป็นหนึ่งในคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชน(กรอ.) ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน เพื่อเป็นการเชื่อมโยงสังคมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับภาคเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการตั้งคณะกรรมการร่วมภาครัฐและเอกชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีหรือ กรอ.วท. ขึ้นโดยมีเป้าหมายให้เป็นกลไกในการเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กับภาคเอกชน ทั้งภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรม ผู้ประกอบการต่างๆ สำหรับเมืองวิทยาศาสตร์อมตะที่ถือว่าเป็นเมืองวิทยาศาสตร์เอกชนแห่งแรกในประเทศไทยนี้เกิดขึ้นภายใต้การผลักดันของ กรอ.วท.ที่ต้องการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งงานวิจัยพื้นฐานและงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้งเพื่อเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ จึงได้มอบหมายให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ร่วมกับภาคเอกชน โดยบริษัทอมตะคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) จัดทำโครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรของเอกชนและภาครัฐให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนให้มีการจ้างงานและพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานเฉพาะทาง และเพิ่มสมรรถนะประเทศไทยจากการเป็นฐานการผลิต ไปสู่ประเทศที่เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย  โดยหลังจากที่ได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกันพร้อมกับมหาวิทยาลัยอีก 8 แห่ง เมื่อวันที่ 7 มกราคมที่ผ่านมาแล้ว ขณะนี้แผนการดำเนินงานได้คืบหน้าไปอย่างรวดเร็ว โดยปัจจุบันกำลังอยู่ในระหว่างกระบวนการแต่งตั้งที่ปรึกษาเพื่อเสนอร่างรายงานนโยบายรัฐและประเภทอุตสาหกรรมที่เหมาะสม คาดว่ารายงานดังกล่าวจะแล้วเสร็จในเดือนพฤษภาคม 2553 หลังจากนั้นจะเริ่มก่อสร้างสาธารณูปโภคส่วนกลางภายในพื้นที่เมืองวิทยาศาสตร์อมตะต่อไป โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ให้ความสำคัญกับโครงการดังกล่าวมาก และจะติดตามผลงานให้สำเร็จลุล่วงโดยเร็ว รวมทั้งจะมีการแจ้งความก้าวหน้าให้ ครม.ทราบทุก 3 เดือน”

[singlepic id=141 w=320 h=240 float=]

นางสมหะทัย พานิชชีวะ ประธานเจ้าหน้าที่พัฒนาธุรกิจ บริษัท อมตะคอร์ปอเรชัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่าขณะนี้ทางกลุ่มอมตะฯ และทางภาครัฐ ได้มีการวางแผนเดินหน้าเริ่มต้นโครงการ “เมืองวิทยาศาสตร์อมตะ”  อย่างเต็มรูปแบบแล้วหลังจากที่ ทางกลุ่มอมตะฯ ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือฯ กันไปทั้งนี้คาดว่ามูลค่าโครงการฯ จะอยู่ที่ 5,000 ล้านบาท ซึ่งจะใช้พื้นที่กว่า 1,000 ไร่ในการก่อสร้างโครงการ พร้อมทั้งแสดงความมั่นใจว่านิคมอุตสาหกรรมอมตะมีความพร้อมทุกด้านในการก่อสร้างโครงการ เนื่องจากเป็นนิคมอุตสาหกรรมที่มีฐานการผลิตที่มีเทคโนโลยีทันสมัยกว่า 700 โรงงาน มีการคมนาคมขนส่งที่สะดวกมีถนนหนทางเชื่อมต่อระหว่างกรุงเทพและโครงการฯ กว่า 30 เลนโดยอยู่ห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิเพียง 30 นาทีและห่างจากท่าเรือน้ำลึกแหลมฉบังเพียง 35 นาที ทั้งยังมีความพร้อมทางด้านสาธารณูปโภค และสามารถรองรับการขยายตัวในอนาคตได้กว่า 6,000 ไร่ ซึ่งหลังจากสร้างเสร็จสมบูรณ์แล้ว โครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ จะมีศักยภาพเทียบเท่าศูนย์วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับสากล

[singlepic id=143 w=320 h=240 float=]

สวทช. /กระทรวงวิทย์ ฯ ร่วมกับภาคเอกชน สร้างเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ หวัง เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย

เรียน       เชิญสื่อมวลชน เยี่ยมชมโครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ ในวันพุธที่  20 มกราคม 2553 เวลา 09.00 น. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี   สำหรับโครงการ ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้ง เพื่อเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) จึงได้ร่วมกับภาคเอกชน โดย บริษัท อมตะ  คอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน ) จัดทำโครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรของภาครัฐและภาคเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนให้มีการจ้างงานและพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานเฉพาะทางและเพิ่มสมรรถนะของประเทศไทยจากการเป็นฐานการผลิต ไปสู่ประเทศที่เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย โดยจะพัฒนากลุ่มองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการผลิต , การแพทย์ , ชีวภาพ ,ยานยนต์ ,เทคโนโลยีสารสนเทศ , พลังงานทดแทน , และภาษาศาสตร์

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสรินยา, คุณโกเมศ, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150  ต่อ 237,217,212,712  หรือ 081-9886614,  081-6681064, 084-5290006  และ 084-9100850

ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรื่อง     งานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก สวทช.ให้ทุนสนับสนุน  “ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ประจำปี 2545” เรื่อง “ลักษณะพันธุกรรมประชากร และสถานภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่า และหย่อมป่าในประเทศไทย” เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จากการบูรณาการของโโครงการวิจัย ที่ได้นำเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์จนก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ไปสู่การฝึกอบรมชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ และได้ขยายผลให้เกิดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกเงือกอีกหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก เป็นต้น

 

การนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2553 เวลา 10.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

สวทช. กระทรวงวิทย์ ดันผลงานคับแก้ว จากหิ้ง…สู่ห้าง ไว้กลางกรุงจัดงาน ตลาดนัดชาววิทย์..ชิดชาวบ้าน หวังยกระดับสินค้าไทย ทัดเทียมนานาชาติ

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานตลาดนัดชาววิทย์ ชิดชาวบ้าน ระหว่างวันที่ 12-19 มกราคม 2553 ณ ลาน ศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ C และ D หวังยกระดับสินค้าไทย ทัดเทียมนานาชาติ มีร้านค้า ผู้ประกอบการจากภาคเอกชน หมู่บ้านวิทยาศาสตร์ภูมิภาคต่างๆ ร่วมงานกว่า 100 ร้าน

[singlepic id=137 w=320 h=240 float=]

คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวถึงการจัดงานในครั้งนี้ว่า กระทรวงวิทย์ฯ มีนโยบายอย่างชัดเจน ที่ต้องการเห็นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทย มีส่วนช่วยในการนำเทคโนโลยีตลอดจนนวัตกรรมที่เหมาะสมไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชนและผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ซึ่งการดำเนินงานดังกล่าวมีอยู่หลายกลไก ไม่ว่าจะเป็นการสร้างและเพิ่มพูนความสามารถของบุคลากรในการผลิตและการบริการ เพื่อเพิ่มศักยภาพทางสมองให้มีความคิดสร้างสรรค์ มิใช่เพียงใช้แรงงานและฝีมือ รวมไปถึงการใช้องค์ความรู้ซึ่งได้จากการวิจัยและพัฒนาจากสมองของคนไทย ที่สามารถนำไปถ่ายทอดหรือประยุกต์ใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการผลิตสินค้าซึ่งเป็นการยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนชาวไทยโดยรวม

[singlepic id=138 w=320 h=240 float=]

ดังนั้น การจัดงาน “ตลาดนัด ชาววิทย์ ชิดชาวบ้าน” จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี ที่ หน่วยงานภาครัฐเข้ามามีส่วนช่วยสนับสนุนและสร้างรายได้ ให้กับชุมชนชนบทต่างๆ และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม ได้มีโอกาสจัดเสดงและจำหน่ายสินค้า ที่ได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในการนำเทคโนโลยี ตลอดจนนวัตกรรมที่เหมาะสมไปเพิ่มขีดความสามารถของชุมชน และผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม จนได้เป็นผลิตภัณฑ์ที่นำออกจำหน่ายได้ในเชิงพาณิชย์ จึงเป็นต้นแบบของความสำเร็จในการพัฒนาเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในการนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไปสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและภาคการผลิตของไทยอันจะเป็นการขยายผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนโครงการสร้างการผลิตและบริการที่เน้นการใช้ความรู้เข้มข้นและยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยให้อยู่ในระดับที่สูงขึ้นต่อไป

[singlepic id=139 w=320 h=240 float=]

ทั้งนี้งานดังกล่าว มีสินค้าจัดจำหน่ายต่างๆ มากมาย ทั้งกินและช้อปกว่า 100 บูธ จากชุมชนชนบท 37 ชุมชน และกลุ่มบริษัทเอกชนมากกว่า 63 บริษัท ที่ มีทั้งสินค้าอุปโภคบริโภค อาทิ แมคคาเดเมียนัท สตรอเบอรี่สดและแห้ง เม็ดมะม่วงหิมมานต์ ผลิตภัณฑ์จากงา ข้าวอินทรีย์ ผักอินทรีย์ ผลิตผลทางการเกษตรฯลฯ ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และย้อมคราม ไหมขัดฟัน สเปรย์นาโนสมุนไพรกำจัดไรฝุ่น ผ้าห่มกันยุงนาโน ผ้าปูเตียงนาโนกันตัวเลือด แผ่นมาร์กหน้าและใต้ตาเซลลูโลสชีวภาพนาโน กล้วยไม้ ดอกดาหลา ชาดาหลาและผลิตภัณฑ์แปรรูปอื่นๆ ผลิตภัณฑ์จากไม้ อุปกรณ์เพื่อการประหยัดน้ำมันดีเซลและเบนซิน ตลอดจนผลิตภัณฑ์รีไซเคิลและช่วยลดโลกร้อน และอื่นๆอีกมากมาย คุณหญิงกัลยาฯ กล่าว.

[singlepic id=140 w=320 h=240 float=]