ทรูไอดีซี ผนึก ซอฟต์แวร์พาร์ค ประกาศผลโครงการ “ทรู คลาวด์ วินเนอร์”

ทรูไอดีซี ผนึก ซอฟต์แวร์พาร์ค  ประกาศผลโครงการ “ทรู คลาวด์ วินเนอร์”เผยโฉมนักพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ คอมพิวติ้งรายแรกในไทย พร้อมต่อยอดซอฟต์แวร์สู่ธุรกิจคลาวด์ คอมพิวติ้งเต็มรูปแบบ

[singlepic id=589 w=320 h=240 float=]

กรุงเทพฯ 6 กันยายน 2554 – ทรูไอดีซี ร่วมกับ ซอฟต์แวร์พาร์ค ประกาศผลโครงการ “ทรู คลาวด์ วินเนอร์” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อส่งเสริมการพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ทำงานบนระบบคลาวด์ คอมพิวติ้งให้หลากหลายมากขึ้น เฟ้นหานักพัฒนาซอฟต์แวร์บนคลาวด์ คอมพิวติ้งรายแรกในไทย เดินหน้าเพิ่มศักยภาพนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยเติบโตสู่ตลาดโลก ปั้นซอฟต์แวร์สู่ธุรกิจคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างเป็นรูปธรรม

รองศาสตราจารย์ ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย กล่าวว่า “ความร่วมมือกับทรูไอดีซีในโครงการ ทรู คลาวด์ วินเนอร์ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้มีการรวมตัวกันของผู้ให้บริการคลาวด์ทุกภาคส่วน ทั้งผู้ให้บริการคลาวด์ ผู้ประกอบการด้านการพัฒนาซอฟต์แวร์ และนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย และยังเป็นการกระตุ้นให้อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยตระหนักถึงการพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีคลาวด์ เพื่อสนับสนุนให้เกิดบริการบนเทคโนโลยีคลาวด์อย่างเต็มรูปแบบ  ซึ่งซอฟต์แวร์พาร์คทำหน้าที่หลักในการเป็นสื่อกลางให้ความรู้ แนวคิดเกี่ยวกับเทคโนโลยีคลาวด์ โดยเป็นสื่อกลางระหว่างผู้เชี่ยวชาญทุกด้านที่เกี่ยวข้อง ที่สำคัญ ซอฟต์แวร์ที่เข้าร่วมโครงการนี้ ต้องมีการออกแบบการดำเนินธุรกิจตามแนวทางของคลาวด์ คอมพิวติ้งอย่างแท้จริง จึงมีส่วนสำคัญในการผลักดันให้นักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยปรับเปลี่ยนการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบเดิม มาพัฒนาบนคลาวด์เทคโนโลยี  และเพิ่มศักยภาพให้สามารถแข่งขันในตลาดโลกได้”

[singlepic id=592 w=320 h=240 float=]

นายเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด กล่าวว่า “ทรูไอดีซี ยินดีกับนักพัฒนาซอฟต์แวร์ที่ได้รับคัดเลือกในโครงการ ทรู คลาวด์ วินเนอร์ ซึ่งทุกผลงานแสดงศักยภาพของนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทยที่มีความคิดสร้างสรรค์ สามารถออกแบบซอฟต์แวร์ที่เป็นประโยชน์และนำไปใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยโครงการนี้ เป็นการต่อยอดความร่วมมือระหว่างทรูไอดีซีและซอฟต์แวร์พาร์ค เพื่อสนับสนุนนักพัฒนาซอฟต์แวร์ไทย ให้มีการพัฒนาซอฟต์แวร์ในรูปแบบ Software as a Service (SaaS) บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง อีกทั้งยังส่งเสริมและผลักดันให้ธุรกิจซอฟต์แวร์ของไทยสามารถแข่งขันได้อย่างมีประสิทธิภาพในตลาดไอทียุคใหม่ ที่เทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้งมีการเติบโตอย่างต่อเนื่อง”

โครงการทรู คลาวด์ วินเนอร์ มีนักพัฒนาซอฟต์แวร์ส่งผลงานเข้าร่วมโครงการกว่า 30 ราย โดยคณะกรรมการตัดสินประกอบด้วยตัวแทนผู้เชี่ยวชาญจากทรูไอดีซีและซอฟต์แวร์พาร์ค  กำหนดหลักเกณฑ์การตัดสินผลงานจากเงื่อนไขที่ต้องตรงกับรูปแบบของ SaaS อย่างแท้จริง อาทิ  ต้องสามารถทำงานผ่านระบบอินเทอร์เน็ต โดยใช้งานผ่านเว็บเบราเซอร์หลากหลายแพลตฟอร์ม ผู้ใช้บริการต้องสามารถบริหาร จัดการ ตรวจสอบโปรแกรมเฉพาะในส่วนที่ตนเองเลือกใช้บริการได้ ผู้ให้บริการต้องสามารถปรับปรุงเวอร์ชั่นซอฟต์แวร์ได้โดยที่ผู้ใช้บริการไม่ต้องดำเนินการใดๆ  และโปรแกรมต้องสามารถคิดค่าบริการตามการใช้งานจริงได้ (On Demand) สามารถคิดค่าบริการเป็นรายวันหรือรายเดือนได้ โดยไม่ต้องมีข้อผูกมัดใดๆ  และผู้ใช้บริการไม่จำเป็นต้องลงทุนหรือจัดซื้ออุปกรณ์เอง  โดยประกาศผลงานที่ผ่านหลักเกณฑ์และได้รับรางวัลดังนี้

[singlepic id=595 w=320 h=240 float=]

รางวัลชนะเลิศ :

ซอฟต์แวร์ ERP Modules Working on SaaS Model

พัฒนาโดย บริษัท Absolute Management Solutions Co., Ltd.

ซอฟต์แวร์ ERP Modules Working on SaaS Model เป็นระบบบริหารธุรกิจภายในองค์กร มีบริการฟังก์ชั่นการทำงานของประเภทธุรกิจซื้อมาขายมา คือระบบบริหาร Stock ,Inventory, Procument, Retail, Whosales และ Finance  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.absolute.co.th

รางวัลรองชนะเสิศ 3 รางวัล

  • ซอฟต์แวร์ iFakeproof (CRM on Demand)    พัฒนาโดย บริษัท Open Enterprise Systems Co.,Ltd

ซอฟต์แวร์ iFakeproof (CRM on Demand)  เป็นระบบตรวจสอบการปลอมแปลงสินค้า ที่สร้างขึ้นเพื่อให้เจ้าของสินค้านำรหัส iFakeProof ที่สร้างขึ้นจากการเข้ารหัสความปลอดภัยไปติดอยู่บนสินค้าของตนเอง เพื่อผู้บริโภคสามารถตรวจสอบได้ในขณะที่ซื้อสินค้าว่าเป็นสินค้าแท้จากเจ้าของผลิตภัณฑ์หรือไม่ ผ่าน SMS ,อินเทอร์เน็ต และ ผ่านอินเทอร์เน็ต เบราเซอร์บนเครื่องคอมพิวเตอร์และสมาร์ทโฟน เป็นต้น โดยรหัสดังกล่าวจะไม่ซ้ำกันเลยในแต่ละกล่อง/ชิ้น ไม่มีการเก็บรหัสดังกล่าวในฐานข้อมูลและใช้ตรวจสอบได้เพียงครั้งเดียว สามารถป้องกันการปลอมแปลงตัวรหัส ซึ่งทำให้ป้องกันการแอบอ้างชื่อสินค้าไปปลอมแปลงและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคในการใช้สินค้า ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.ifakeproof.com

  • ซอฟต์แวร์ ICON Customer Relationship Management (ICON CRM)  พัฒนาโดย บริษัท Trinity Solution Provider Co., Ltd.

ICON CRM เป็นระบบบริหารจัดการลูกค้าสัมพันธ์ ซึ่งจะช่วยสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับลูกค้า เรียนรู้ความต้องการที่แตกต่างกันของลูกค้า และตอบสนองความต้องการของลูกค้าด้วยสินค้า หรือบริการที่เหมาะสมกับลูกค้าแต่ละคน ICON CRM ยังรองรับการสร้างโปรโมชั่นหรือแคมเปญ โดยสามารถกำหนดการส่งเสริมการขาย และกลยุทธ์ทางการตลาดไปยังกลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมได้ผ่านช่องทาง ทั้งทางอีเมล์, SMS หรือจดหมาย (Label)  รวมถึงการติดตามการขายของพนักงานขายและกิจกรรมต่างๆที่เกิดขึ้นระหว่างพนักงานขายกับลูกค้า และรองรับการติดตามในเรื่องต่างๆที่เกิดขึ้นภายหลังการขายอาทิ การบริการหลังการขาย การบันทึกนัดหมายแจ้งเตือนการบริการ และคำแนะนำติชมต่างๆ เป็นต้น  ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.iconcrm.com

  • ซอฟต์แวร์ Vtiger CRM Cloud   พัฒนาโดย บริษัท Infotronics Co.,Ltd.

ระบบบริหารลูกค้าสัมพันธ์  Customer Relationship Management  ควบคุมกระบวนการตั้งแต่ทำการตลาด, การขาย บริการลูกค้าหลังการขาย (life circle) จนกระทั่งปิดการขาย จัดโปรโมชั่น สามารถใช้งานบนโทรศัพท์เคลื่อนที่ Android, iPad และ iPhone ได้ โดยระบบนี้จะช่วยให้ธุรกิจทุกขนาดสามารถดูแลลูกค้าได้มากขึ้น ลดความผิดพลาดของพนักงานขาย ลดเวลาในการขาย ได้เงินเร็วขึ้น ทั้งยังใช้งานง่ายในรูปแบบของแอพพลิเคชั่นที่ทำงานบน iphone หรือ android ได้อย่างลงตัว   ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  www.ecitcrm.com

ทั้งนี้ ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศในโครงการทรู คลาวด์ วินเนอร์ จะได้รับรางวัล iPad และผู้ได้รับรางวัลทุกรายจะได้รับการขยายอายุบัญชีการใช้บริการทรู คลาวด์ โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเพิ่มอีก 6 เดือน (สิ้นสุด 31 มกราคม 2555)
การให้คำปรึกษาด้านเทคนิคและด้านสินค้าและบริการ รวมถึงความช่วยเหลือพิเศษด้าน Infrastructure as a Services (IaaS) และการสนับสนุนการขาย SaaS ของลูกค้าบนบริการทรูคลาวด์

สำหรับผู้พัฒนาซอฟต์แวร์ที่สนใจพัฒนาซอฟต์แวร์บนเทคโนโลยีคลาวด์ คอมพิวติ้ง หรือต้องการทดลองใช้บริการทรูคลาวด์ ทรูไอดีซีจัดโปรโมชั่นพิเศษให้ทดลองใช้บริการฟรีเป็นเวลา 1 เดือน ผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ โทร 02 699 1400 หรือ อีเมล์ cloud@trueidc.co.th

ข้อมูล บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ จำกัด

ทรู อินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ (ทรู ไอดีซี) ก่อตั้งขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2547 เป็นบริษัทร่วมทุนแห่งแรกภายใต้แบรนด์ทรู จากการร่วมทุนของ 2 องค์กรระดับประเทศจากประเทศไทยและประเทศเกาหลี ได้แก่ บริษัท ทรู อินเทอร์เน็ต จำกัด ในเครือทรู และ LG U Plus  องค์กรเทคโนโลยีการสื่อสารจากเกาหลี ซึ่งมีเครือข่ายอินเทอร์เน็ตขนาดใหญ่ มีบริการเชื่อมต่อทั่วโลก และมีอินเทอร์เน็ต ดาต้า เซ็นเตอร์ ที่ใหญ่ที่สุดในเอเชีย ทรู ไอดีซี ให้บริการดาต้าเซ็นเตอร์ครบวงจร ด้วยศูนย์ดาต้า เซ็นเตอร์ 2 แห่ง คือ ศูนย์ทรู ทาวเวอร์ และศูนย์เมืองทองธานีที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ISO/IEC 20000  และ ISO/IEC 27001 พร้อมให้บริการโซลูชั่นด้านการสื่อสารต่างๆ สำหรับลูกค้ากลุ่มองค์กรขนาดเล็ก ธุรกิจ SMEs และองค์กรขนาดใหญ่ ในทุกประเภทธุรกิจ และทุกภาคอุตสาหกรรม ข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่  www.trueidc.co.th

สำหรับสื่อมวลชน สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่: อ้างอิง (134) 06/09/2554
สายงานสื่อสารองค์กรและประชาสัมพันธ์การตลาด กลุ่มทรู อีเมล์ pr@truecorp.co.th

สวทช. ขานรับ นโยบาย รมว.วท. เร่งผลักดันนโยบายด้าน ว & ท สู่ภาคเอกชน

[singlepic id=574 w=320 h=240 float=]
สวทช. ขานรับ นโยบาย รมว.วท. เร่งผลักดันนโยบายด้าน ว & ท สู่ภาคเอกชน หวังขยายตลาดทุนในอนาคต พร้อมเตรียมพื้นที่วิจัยรองรับแก่เอกชน กว่า 124,000 ตารางเมตร ในอุทยานวิทยาศาสตร์ฯ

[singlepic id=577 w=320 h=240 float=]

5 กันยายน 2554 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี : ดร. ปลอดประสพ สุรัสวดี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานร่วมประชุมหารือกับภาคธุรกิจเอกชน ผู้เช่าสถานที่ในอุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย กว่า 40 ราย เพื่อรับฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นแนวทางการพัฒนาปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานและบริการต่างๆที่จะรองรับความต้องการและสนับสนุนภาคเอกชน  เพื่อเร่งสร้างและพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ ออกสู่สังคม

[singlepic id=580 w=320 h=240 float=]

ดร.ปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วท กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลภายใต้การนำของนายกรัฐมนตรี   ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ได้แถลงนโยบายการบริหารราชการแผ่นดินต่อรัฐสภา เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2554 หนึ่งในนโยบายหลักทั้งแปด คือ นโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การวิจัยและนวัตกรรม โดยมีนโยบายที่สำคัญอยู่หนึ่งข้อ คือ การสนับสนุนและส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและความร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชน รวมทั้งสร้างแหล่งงานเพื่อรองรับบุคลากรด้านการวิจัยและพัฒนา ดังนั้น เพื่อเป็นการเร่งผลักดันนโยบายดังกล่าวสู่เชิงปฏิบัติและสร้างบรรยากาศการลงทุนและเพิ่มกำลังแข่งขันของธุรกิจใหม่ๆ ที่ใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและนวัตกรรมเป็นฐานที่จะก้าวสู่ตลาดทุนในอนาคต กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดย สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ซึ่ง มีหน้าที่สร้างคุณค่าให้แก่เศรษฐกิจและสังคมของประเทศโดยอาศัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นฐาน ด้วยการนำองค์ความรู้ใหม่ที่ได้จากการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ มาถ่ายทอดสนับสนุนให้ภาคเอกชนได้ใช้ประโยชน์จากผลงานวิจัยและเทคโนโลยี เพื่อให้เกิดการนำไปต่อยอดเชิงธุรกิจ เกิดมูลค่าเพิ่มและสร้างโอกาสใหม่ ๆ ทางธุรกิจ รวมทั้งการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีใหม่ที่มีขีดความสามารถในการแข่งขันสูง อันจะนำไปสู่การเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของภาคการผลิตและบริการรวมถึงการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศให้เข้มแข็งอย่างยั่งยืน

[singlepic id=586 w=320 h=240 float=]

นอกจากนี้  กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังให้ความสำคัญอย่างยิ่งกับการจัดเตรียมโครงสร้างพื้นฐานสำหรับเอกชนเพื่อทำการวิจัย หรือร่วมวิจัยกับภาครัฐ โดย อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย(Thailand Science Park) ซึ่งถือเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยมุ่งหวังให้เป็นศูนย์รวมการขับเคลื่อนการวิจัยพัฒนาด้าน ว และ ท ที่ครบวงจร เชื่อมโยงกิจกรรมวิจัยพัฒนาให้เกิดการขยายผลในเชิงพาณิชย์และเกิดประโยชน์ต่อชุมชน ต่อพื้นที่ ตลอดจนเป็นแหล่งพัฒนากำลังคนและสร้างมวลรวม (Critical Mass) ด้านวิจัยพัฒนา ให้กับประเทศ และกระตุ้นจูงใจให้เอกชนมีการลงทุนด้านธุรกิจเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น โดยปัจจุบันได้ขยายการดำเนินงานในระยะที่ 2 โดยอยู่ระหว่างการก่อสร้างอาคารนวัตกรรม 2 ซึ่งจะมีขนาดพื้นที่อาคารเพิ่มขึ้นอีก 124,000 ตารางเมตร จะเปิดดำเนินการได้ในปี 2556 ในช่วง 2 ปีต่อจากนี้

ดร.ปลอดประสพฯ รมว.วท. กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ โดย สวทช. คงจะเน้นหนักในเรื่องการเตรียมความพร้อมที่จะรองรับ phase 2 และเติมเต็มสิ่งที่ขาด เพื่อให้บริการแก่ผู้ประกอบการเทคโนโลยีเพิ่มเติมจากระยะที่ 1 ที่ให้บริการเต็มพื้นที่แล้ว ซึ่ง สวทช. ได้ลงทุนเพิ่มเติมในส่วนห้องปฏิบัติการวิจัยของภาครัฐเพื่อรองรับความจำเป็นเร่งด่วนด้าน ว และ ท ของประเทศ คาดว่าเมื่อเปิดดำเนินการเต็มรูปแบบแล้วจะมีผู้ประกอบการเทคโนโลยีเช่าพื้นที่ประมาณ 200 ราย เกิดการจ้างงานประมาณ 2,000 คน และจะทำให้ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย(Thailand Science Park)  เป็นแกนกลางในการเหนี่ยวนำให้เกิดการลงทุนด้านวิจัยและพัฒนาทั้งจากนักลงทุนไทยและต่างประเทศได้อย่างเต็มศักยภาพ

[singlepic id=583 w=320 h=240 float=]

ด้านดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สวทช.กล่าวเพิ่มเติมว่า ผู้ประกอบการทั้งหมดที่เช่าใช้พื้นที่Thailand Science Park ใน Phrase 1เพื่อทำวิจัยพัฒนาปัจจุบันมีอยู่ทั้งสิ้น 115 บริษัท แบ่งเป็นประเภทของธุรกิจ เช่น ด้านอาหาร การเกษตร และการแพทย์   ยานยนต์และชิ้นส่วนประกอบ พลังงานและสิ่งแวดล้อม คอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์และเทคโนโลยีสารสนเทศ และ Business Support โดยที่ผ่านมาผู้ประกอบการมีความพึงพอใจและได้รับประโยชน์ในการใช้โครงสร้างพื้นฐานต่างๆเพื่อทำการวิจัยพัฒนา อาทิ เครือเบทาโกร ซึ่งได้มาจัดตั้ง Betagro Science Center เพื่อเป็นศูนย์วิจัยพัฒนาของเครือเบทาโกร และให้บริการตรวจวิเคราะห์และเป็นห้องปฏิบัติการกลางเพื่อการทดสอบอาหารสัตว์ การเฝ้าระวังสุขภาพและวินิจฉัยโรคสัตว์ และผลิตภัณฑ์เนื้อสัตว์เพื่อการบริโภค หรือบริษัท ไฮกริม เอนไวรอลเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด ซึ่งร่วมทุนวิจัยกับไบโอเทค สวทช.วิจัยและผลิตสารชีวบำบัดจากจุลินทรีย์ เพื่อขจัดและบำบัดน้ำมัน น้ำเสีย ในโรงงานอุตสาหกรรม และปั๊มน้ำมัน และยังเป็นการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมและเป็นกลยุทธ์การสร้างความสามารถทางการแข่งขันใหม่ (Green Strategy) ซึ่งเป็นเรื่องที่คนทั่วโลกให้ความสนใจ และบริษัท แอร์ โพรดักส์ เอเชีย (เทคโนโลยีเซ็นเซอร์) จำกัด ซึ่งเป็นผู้นำระดับโลกในเรื่องเทคโนโลยีการแปรรูปอาหาร ที่ตัดสินใจตั้งศูนย์เทคโนโลยีอาหารแห่งใหม่ในเอเชีย เพื่อที่จะนำเอาเทคโนโลยีการแช่เย็น และระบบบรรจุภัณฑ์แบบใหม่มาสู่ลูกค้าในเอเชีย ก็ตัดสินใจเข้ามาทำงานในอุทยานวิทยาศาสตร์เนื่องจากเล็งเห็นความพร้อมในเรื่องเครื่องไม้เครื่องมือและอุปกรณ์ตลอดจนห้องปฏิบัติการทางจุลวิทยาที่จำเป็นที่อยู่ที่ศูนย์ไบโอเทค สิ่งนี้ได้ช่วยทำให้สร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันได้ ฯลฯ

สวทช. และ เมอร์ค ร่วมวิจัยพัฒนาพลาสติกเพื่อการเกษตรลดความร้อนภายในโรงเรือนด้วยผงสีโซล่าร์แฟลร์®

[singlepic id=556 w=320 h=240 float=]

Thai International Plastics and Rubber Exhibition 2011

ห้องสัมมนา  ไบเทค บางนา

วันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2554

บริษัท เมอร์ค จำกัด สาขาของบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ ประเทศเยอรมนี ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลกทางด้านเคมีภัณฑ์และเวชภัณฑ์ ได้พัฒนาสารเติมแต่งชนิดพิเศษ โซล่าร์แฟลร์® ที่สามารถกรองรังสีความร้อนช่วงใกล้จากดวงอาทิตย์  ได้เล็งเห็นความสำคัญของการพัฒนาแผ่นฟิล์มพลาสติกคลุมโรงเรือนเพาะปลูกสำหรับลดความร้อนแรงของแสงแดดภายในโรงเรือน จึงได้ร่วมดำเนินงานวิจัยภายใต้โครงการวิจัย Development of SolarFlair® filled plastic films covered Greenhouse for solar heat reduction กับสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดย ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โดยมีวัตถุประสงค์ในการพัฒนาแผ่นฟิล์มพลาสติกคลุมโรงเรือนที่สามารถลดการส่องผ่านของรังสีความร้อนช่วงใกล้จากดวงอาทิตย์ เพื่อพัฒนาคุณภาพของพืชผลทางการเกษตรขณะเติบโต ให้ผลิตผลทางการเกษตรที่มีคุณภาพสูงได้มาตรฐาน  อันจะเป็นประโยชน์และช่วยเร่งให้เกิดการก้าวกระโดดแห่งนวัตกรรมในประเทศไทย และจะช่วยเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับเศรษฐกิจของประเทศ ซึ่งโครงการความร่วมมือดังกล่าวยังสอดคล้องกับนโยบายของเมอร์คที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสังคมและการพัฒนาชุมชนอย่างยั่งยืน

มร. อมันน์ บัตทาจาร์จี กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมอร์ค จำกัด กล่าวว่า “การร่วมมือวิจัยในครั้งนี้ถือเป็นการร่วมวิจัยครั้งแรกในแถบเอเซีย ซึ่งนับได้ว่ามีความสำคัญและเป็นประโยชน์ในการพัฒนาด้านการเกษตร เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวนในปัจจุบัน ส่งผลให้เทคโนโลยีโรงเรือนเพาะปลูกมีความสำคัญและเป็นที่แพร่หลายมากขึ้น  เพราะเทคโนโลยีนี้สามารถช่วยประหยัดพลังงาน  และลดการสูญเสียผลผลิตจากสภาวะโลกร้อน”

[singlepic id=559 w=320 h=240 float=]

ด้าน สวทช. มีความเห็นว่า การเผยแพร่ผลงานวิจัยในครั้งนี้ นับเป็นอีกตัวอย่างหนึ่งของการดำเนินงานร่วมกันระหว่างภาครัฐ และภาคเอกชน  ที่มีความร่วมมือกันอย่างใกล้ชิดและได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์ทางด้านการวิจัยและพัฒนาร่วมกัน ในการที่จะพัฒนาเทคโนโลยีและผลิตภัณฑ์ให้เป็นที่ต้องการของผู้ใช้งานและหวังว่าจะเป็นการสร้างจุดเปลี่ยนให้เทคโนโลยีโรงเรือนมีการนำไปใช้แพร่หลายมากขึ้น

ผงโซล่าร์แฟลร์® เป็นผงโปร่งแสง ที่มีคุณสมบัติสะท้อนรังสีความร้อน ลดการส่องผ่านของรังสีความร้อนช่วง 780 – 1400 นาโนเมตร และหากผสมลงในพลาสติกใสในปริมาณที่เหมาะสม ทำให้แสงช่วงที่ตามองเห็น ซึ่งเป็นช่วงแสงที่เหมาะต่อการสังเคราะห์แสงและการเจริญเติบโตของพืช ส่องผ่านได้ในระดับที่เพียงพอต่อความต้องการนำไปใช้เป็นพลังงานของพืช ด้วยคุณสมบัตินี้จึงสามารถนำไปใช้ในการพัฒนาแผ่นฟิล์มพลาสติกคลุมโรงเรือนลดความเข้มของรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ที่สูงเกินไปของระบบการเพาะปลูกในโรงเรือน

[singlepic id=562 w=320 h=240 float=]

ในการศึกษาครั้งนี้ได้เลือกใช้โรงเรือนผักไฮโดรโพนิกมาเป็นต้นแบบ ซึ่งผลการทดสอบพบว่าผักไฮโดรโพนิกที่ปลูกภายใต้โรงเรือนที่คลุมด้วยพลาสติกที่มีผงสีโซล่าร์แฟลร์® เป็นส่วนประกอบ  มีปริมาณและคุณภาพของผลผลิตดีกว่าผักไฮโดรโพนิกภายใต้โรงเรือนที่คลุมด้วยพลาสติกที่มีขายในท้องตลาด   ผลการทดสอบนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจน     สำหรับการทดสอบในภูมิภาคตะวันออกเฉียง-เหนือ

จากผลความสำเร็จของการวิจัยครั้งนี้ บริษัท เมอร์ค จำกัด  ร่วมกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดย  ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) ได้จัดสัมมนาเชิงวิชาการเพื่อเผยแพร่ความรู้ในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการลดความร้อนภายในโรงเรือนด้วยฟิล์มผสมผงสี โซล่าร์แฟลร์® ในวันศุกร์ที่ 2 กันยายน 2554 ณ ห้องสัมมนา MR219 ภายในงาน Thai International Plastics and Rubber Exhibition 2011

[singlepic id=565 w=320 h=240 float=]

ในงานสัมมนาครั้งนี้ นอกจากผู้เข้าร่วมงานจะได้รับความรู้และเปิดโลกทัศน์ด้านงานวิจัยแล้ว ภายในงานสัมมนายังเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนที่สนใจในงานวิจัย และผลิตภัณฑ์ ทำการเจรจาธุรกิจเพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ออกสู่ภาคการตลาด ซึ่งจะได้รับสิทธิพิเศษ ในการรับโปรโมชั่นจากทางคณะผู้จัดงานในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผงโซล่าร์แฟลร์® อีกด้วย

ข้อมูลเกี่ยวกับ สวทช.

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีหน้าที่ในการดำเนินการวิจัยพัฒนาและวิศวกรรม ให้บริการทางเทคนิค และวางรากฐานการพัฒนากำลังคนให้ตรงกับความต้องการของประเทศ เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในตลาดโลก อีกทั้งยังให้การสนับสนุนการวิจัย พัฒนาและวิศวกรรม และด้านอื่นๆ ที่นำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแก่องค์กรของรัฐและเอกชน ลงทุนและให้การสนับสนุนในกิจการ ซึ่งนำไปสู่การพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประกอบด้วย 5 หน่วยงานหลัก ได้แก่ ศูนย์บริหารจัดการเทคโนโลยี (TMC) และศูนย์แห่งชาติอีก 4 ศูนย์ ได้แก่ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (BIOTEC) ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุ (MTEC) ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (NANOTEC) ทั้งนี้สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th

ข้อมูลเกี่ยวกับ บริษัท เมอร์ค จำกัด

บริษัท เมอร์ค จำกัด ก่อตั้งขึ้นในประเทศไทยเมื่อปีพ.ศ. 2534 โดยเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่างบริษัท เมอร์ค เคจีเอเอ ประเทศเยอรมนี และบริษัท บี. กริม (ประเทศไทย) ถือเป็นการขยายกิจการของกลุ่มบริษัท เมอร์ค ซึ่งเป็นบริษัทชั้นนำในประเทศเยอรมนี ที่มียอดขายถึง 9.3 พันล้านยูโรในปี 2553 และมีประวัติยาวนานกว่า 340 ปี มีพนักงานประมาณ 40,000 คน ใน 67 ประเทศทั่วโลก เมอร์ค ประเทศไทย เป็นผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ และเวชภัณฑ์ เพื่อจัดจำหน่ายให้กับโรงพยาบาล สถาบันการศึกษา และอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศไทย โดยผงสีโซล่าร์แฟลร์อยู่ในส่วนผู้จัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ผงสีมุกในอุตสาหกรรมต่างๆ ได้แก่ สิ่งพิมพ์ พลาสติก การเคลือบ ยานยนต์ และผงสีมุกสำหรับเครื่องสำอางค์ นอกจากนี้ เมอร์คยังมีเคมีภัณฑ์เพื่อตอบสนองความก้าวหน้าของเทคโนโลยี อาทิ Liquid Crystal สำหรับจอทีวี น้ำยาเคลือบเลนส์  สารเรืองแสงสำหรับหลอดไฟ LED และสารเคลือบทำแผงโซล่าเซลล์ สามารถหาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับเมอร์ค ประเทศไทยได้ที่ www.merck.co.th และข้อมูลเกี่ยวกับเมอร์ค เคจีเอเอได้ที่  www.merck.de

ซอฟต์แวร์พาร์ค ผลักดันไอทีไทยเตรียมพร้อมเดินหน้าสู่ AEC2015 ในงาน Software Park Annual Conference 2011

[singlepic id=544 w=320 h=240 float=]

เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย(Software Park Thailand) ร่วมกับ ผู้ประกอบการ อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์เตรียมจัดงานสัมมนาวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ Software Park Annual Conference 2011 ภายใต้หัวข้อ “การเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีอาเซียนในปี 2015” หวังยกระดับความรู้ ทักษะ เสริมสร้างเครือข่าย พร้อมเผยแพร่ผลงาน ศักยภาพผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย สู่เวทีนานาชาติ ในวันที่ 13 กันยายน 2554 นี้ ณ ห้องบอลรูม ศูนย์ประชุมแห่งชาติสิริกิติ์


รศ.ดร.ธนชาติ นุ่มนนท์ ผู้อำนวยการเขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (ซอฟต์แวร์พาร์ค) เปิดเผยว่า ในฐานะที่ซอฟต์แวร์พาร์คเป็นหน่วยงานภายใต้สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  มีบทบาทในการสนับสนุนและส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ของประเทศ พร้อมทั้งมุ่งพัฒนาศักยภาพและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย เพื่อสร้างอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ให้มีความเข้มแข็ง และเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศอย่างต่อเนื่อง งานสัมมนาวิชาการประจำปีของซอฟต์แวร์พาร์คปีนี้ หรือ Software Park Annual Conference 2011 จึงถูกสร้างสรรค์ขึ้นภายใต้แนวคิด “การเตรียมความพร้อมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยสู่เวทีอาเซียนในปี 2015” เพื่อมุ่งเน้นส่งเสริมให้ทั้งภาคธุรกิจและบุคลากรในวงการไอทีตระหนักถึงผลกระทบที่จะเกิดขึ้น เพื่อเตรียมความพร้อมในการปรับตัวเข้าสู่เวที AEC2015

ทั้งนี้ อาจกล่าวได้ว่า  หากขาดการเตรียมพร้อมและการปรับตัวที่ดี อุตสาหกรรมจะได้รับผลกระทบเชิงลบค่อนข้างรุนแรง โดยเฉพาะในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงาน  แรงงานที่มีความสามารถอาจเคลื่อนไปสู่องค์กรขนาดใหญ่ในอาเซียนที่ให้ผลตอบแทนสูงกว่า ในทางกลับกัน ช่วง 3 ปีครึ่งจากนี้ หากอุตสาหกรรมไอทีไทยร่วมมือกันวางแผน และปรับตัวอย่างมีประสิทธิภาพ ก็เชื่อว่า AEC2015 จะกลายเป็นโอกาสทางการตลาดและเศรษฐกิจของอุตสาหกรรมไอทีไทยอย่างแท้จริง

กิจกรรมในงานจะประกอบไปด้วย ส่วนนิทรรศการ บูธแสดงสินค้าและบริการของเจ้าของเทคโนโลยีชั้นนำ ผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ไทย ศูนย์ฝึกอบรมด้านไอที  และอื่นๆ การสัมมนาเชิงวิชาการ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชน รวมถึง หอเกียรติยศ Software Park Thailand: Hall of Fame 2011 ซึ่งเป็นการประกาศเกียรติคุณผู้ทำประโยชน์ให้แก่อุตสาหกรรมไอทีในระดับประเทศ

[singlepic id=553 w=320 h=240 float=]

ดร.ประสบโชค ประมงกิจ ผู้อำนวยการฝ่ายเทคโนโลยี บริษัท ไมโครซอฟท์(ประเทศไทย)จำกัด เปิดเผยว่า AEC 2015 เป็นโอกาสที่ดีที่ประเทศไทยจะปักธงในอาเซียน และเป็นการส่งสัญญาณไปสู่ประชาคมโลก โดยในการสร้างความแข็งแกร่งของผู้ประกอบการมีปัจจัยหลัก 3 ประการคือ 1.คน.2.ตลาด 3.ไอซีที ซึ่งการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยนั้นมองว่า เป็นวาระแห่งชาติที่การผลักดันเป็นภารกิจของประเทศซึ่งทั้งภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกัน โดยต้องพัฒนาคนให้เก่ง ทำตลาดให้กว้าง และพัฒนาเทคโนโลยีให้ก้าวไกล ทั้งนี้ต้องมีการสนับสนุนอย่างจริงจัง อาจทำเป็นรูปแบบคลัสเตอร์ในแต่ละSolution หรือการสร้างมูลค่าตลาดให้มากขึ้น

คุณเจนวิทย์ คราประยูร ผู้จัดการทั่วไป True Internet Data Center Co.,Ltd. (True IDC) เปิดเผยว่า สิ่งที่ Technology vendor ต้องเตรียมรับมือกับ AEC2015 ที่กำลังจะมาถึงคือ การเป็นตลาดและฐานการผลิตเดียวกัน เพราะเมื่ออาเซียนเป็นตลาดเดียวกันแล้วก็จะทำให้ตลาดด้านเทคโนโลยีมีขนาดใหญ่ขึ้นตามไปด้วย สินค้า บริการ ทุนและแรงงานวิชาชีพที่มีฝีมือจะสามารถเคลื่อนไหวไปมาได้อย่างอิสระทั่วภูมิภาคซึ่งอาจส่งผลให้แรงงานวิชาชีพสำคัญของไทยอาจเลือกไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านที่มีผลตอบแทนสูง นอกจากนี้ประเทศไทยอาจเสียประโยชน์ประเทศอื่นๆในอาเซียนเพราะมีข้อจำกัดด้านเทคโนโลยี กฏหมาย และขีดความสามารถของบุคลากร รวมทั้งมีโอกาสได้รับผลกระทบจากากรเปิดโอกาสให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาถือหุ้นในไทยมากขึ้น จากปกติที่มีสัดส่วนการถือหุ้นของนักลงทุนต่างชาติมากอยู่แล้ว ซึ่งจะส่งผลให้ธุรกิจเกิดการแข่งขันรุนแรงมากยิ่งขึ้น ดังนั้นนอกจาก Technology vendor ทั้งหลายต้องพยายามรักษาบุคลากรแรงงานที่มีฝีมือในบริษัทของตนแล้ว ขณะเดียวกันยังมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งพัฒนาศักยภาพของบุคลากรเหล่านั้นควบคู่ไปด้วย เพื่อให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นได้ ในขณะเดียวกันก็ควรดำเนินการตลาดแบบเชิงรุกกลับคู่แข่งเช่นกัน อาทิ การสนับสนุนให้เมืองไทยเป็นศูนย์กลางของ network ในภูมิภาค โดยจูงใจให้ผู้ให้บริการเครือข่ายระหว่างประเทศเข้ามาตั้ง node ในประเทศไทย และทำให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง Content ในภูมิภาค

นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SSC Solution Co.,Ltd. และกรรมการกิจการอาเซียนสภาหอการค้าไทย เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทยต้องเตรียมปักธงว่าจะมีความโดดเด่นด้านไหนหากเปิดตลาดอาเซียน การเตรียมตัวที่จะเป็นอันดับหนึ่งของตลาดนอกจากผู้ประกอบการที่ต้องเตรียมพร้อมแล้วต้องได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐและต้องทำงานร่วมกันกับสมาคมหรือองค์กรที่เกี่ยวข้องด้วยเพื่อให้อุตสาหกรรมไทยพร้อมที่จะแข่งขันได้อย่างมีศักยภาพ

[singlepic id=547 w=320 h=240 float=]

นายปริญญา หอมเอนก ประธานและผู้ก่อตั้ง ACIS Professional Center Co., Ltd. เปิดเผยว่า สิ่งสำคัญคือภาครัฐควรสนับสนุนการสอบใบรับรองความสามารถของบุคลากรไอทีของไทย โดยเฉพาะในเรื่องงบประมาณบางส่วนเพื่อเป็นแรงจูงใจให้มีการวัดความรู้ความสามารถของบุคลากรทั้งในระดับประเทศและในระดับสากล ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลของประเทศอาเซียนมีการตื่นตัวและพัฒนาบุคลากรด้านไอทีกันแล้ว จึงมีความจำเป็นที่ประเทศไทยต้องเร่งผลักดันให้มีการวัดระดับความสามารถบุคลากรไทยเพื่อให้แข่งขันได้ในเวทีนานาชาติ

นายอดิเรก ปฏิทัศน์ นายกอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศไทย(ATCI) เปิดเผยว่า ภาครัฐควรช่วยให้ความรู้ด้านกฎระเบียบและข้อบังคับของแต่ละประเทศในกลุ่มอาเซียน รวมถึงสำรวจความต้องการของตลาด IT และ IT Services เพื่อเป็นข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการในการเตรียมความพร้อม รวมถึงการส่งเสริมและให้การฝึกอบรมในการใช้ภาษาอังกฤษ (Intensive English Program) เพื่อการปฏิบัติงาน นอกจากนี้ภาครัฐควรมีการจัดสัมมนา และเชิญผู้รู้ในอุตสาหกรรม IT และ IT Services มาร่วมให้ข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างต่อเนื่องเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบการเกิดความตื่นตัว และพร้อมที่จะแข่งขันในอีก 3 ปีข้างหน้า

นายสมพร มณีรัตนะกูล นายกสมาคมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ (ATSI) เปิดเผยว่า การเตรียมรับมือ AEC 2015 สำหรับอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย ATSI ได้เตรียมรับมือหลายรูปแบบ และได้จัดทำมาตรการรองรับในรูปของระเบียบ ข้อกำหนด เงื่อนไข การตรวจสอบ การรับรอง ฯลฯ ที่อยู่ในรูปแบบที่ปฏิบัติได้ รวมทั้งเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคซอฟต์แวร์ และผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย เช่น การออกใบรับรองคุณภาพ และความน่าเชื่อถือของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์ การกำหนดความสามารถ-คุณภาพของซอฟต์แวร์ในระดับต่างๆ การออกใบรับรองคุณภาพของผลิตภัณฑ์ซอฟต์แวร์ และที่สำคัญคือการรวมตัวของผู้ประกอบการซอฟต์แวร์เฉพาะด้านในการร่วมกันคิดและผลักดันนโยบายที่เป็นประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย

[singlepic id=550 w=320 h=240 float=]

ดร.พีรสัณห์ บุณยคุปต์ นายกสมาคมส่งเสริมการส่งออกอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ไทย(TSEP) เปิดเผยว่า AEC 2015 จะส่งผลต่ออุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ใน 2 เรื่องหลักคือ เงินลงทุนที่จะหมุนเวียนไหลเข้าและออก โดยจะมีเงินลงทุนเข้ามาในบริษัทไอทีของไทย ทั้งจากในประเทศกลุ่มอาเซียนและนอกกลุ่มอาเซียนมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งที่ทุกบริษัทต้องเตรียมรับมือ อีกเรื่องคือ บุคลากร จะมีการเคลื่อนย้ายไปยังประเทศหรือเมืองที่มีศักยภาพในการทำงาน มีค่าจ้างที่อยู่ได้ มีคุณภาพชีวิตที่ดีมากขึ้น ซึ่งประเทศไทยต้องมีการเตรียมรับมือที่จะทำให้ประเทศ หรือ บางพื้นที่ของประเทศไทยมีอินฟาสตรัคเจอร์ที่จะมารองรับและดึงดูดคนที่มีศักยภาพและประสบการณ์ ให้มาทำงาน เพราะเมื่อเปิดตลาดปรากฏการณ์สมองไหลก็จะเกิดขึ้น

พลาดไม่ได้กับงาน สัมมนาวิชาการครั้งยิ่งใหญ่ Software Industry towards ASEAN Economic Community-AEC 2015 อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์สู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน2015 ณ ห้องบอลรูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ วันที่ 13 กันยายน 2554 นี้  พร้อมพบกับ แบไต๋ไฮเทคทอล์คโชว์ ตอน App ไทยไป App โลก พบ หนุ่ย พงศ์สุข หิรัญพฤกษ์ จิ๊กโก๋ไอทีพี่หลาม อาจาร์ยศุภเดช ที่จะมาล้วงลึกวงการแอพตู้ที่ขัดขวางการเจริญเติบโตของการพัฒนาแอพลิเคชั่นไทยบน Smart Device ต่างๆ ร่วมหาแนวทางแก้ปัญหาแบบเจ็บๆคันๆมันส์ๆในสไตล์แบไต๋ไฮเทค 1ชม.เต็มอิ่มในงาน

สวทช.จับมือ 15 สถาบันการศึกษา และบริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพไอทีให้แก่บุคลากรไทยในภาคการผลิต และบริการ

[singlepic id=535 w=320 h=240 float=]

สวทช.จับมือ 15 สถาบันการศึกษา และบริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด สร้างเครือข่ายความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพไอทีให้แก่บุคลากรไทยในภาคการผลิต  และบริการ  เพื่อรับมือกับ AEC 2015  ในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรีในวิชาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์

24 สิงหาคม 2554: สถาบันวิทยาการ สวทช. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมมือกับ 15 สถาบันการศึกษาทั่วประเทศ และบริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด ในเครือทรู คอร์ปอเรชั่น ร่วมกันจัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือและพิธีแถลงข่าวการจัดตั้งเครือข่ายในโครงการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานวิชาชีพด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในภาคการผลิตและบริการ  โดยมี ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล   ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  เป็นประธาน

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล   ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ/ สวทช. กล่าวว่า  การสร้างเครือข่ายความร่วมมือในครั้งนี้  เป็นความร่วมมือและการสนับสนุนระหว่าง สวทช. และสถาบันการศึกษาต่างๆ ทั่วประเทศ รวมทั้งหน่วยงานหรือองค์กรจากภาคเอกชน  ในการผลักดันให้เกิดการพัฒนาและยกระดับขีดความสามารถด้านมาตรฐานวิชาชีพไอทีขั้นสูงของนักศึกษาและบุคลากรของไทย  ให้มีความรู้ ความสามารถและทักษะที่ได้มาตรฐานสากลอย่างแท้จริง เพื่อให้องค์กรสามารถนำมาตรฐานนี้ไปใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณา สรรหา คัดเลือก ปรับ/ เลื่อนตำแหน่ง บุคลากรกรสายไอที  ตลอดจนเป็นการกระตุ้นให้สถาบันการศึกษามีแนวทางในการปรับปรุงหลักสูตรให้สอดคล้องกับความต้องการของตลาดแรงงาน   การดำเนินการสอบวัดมาตรฐานทักษะความรู้ด้านไอที  จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้บุคลากรที่สอบผ่านได้รับใบรับรองในคุณภาพของความรู้และทักษะวิชาชีพด้านไอทีระดับมาตรฐานสากล เป็นเครื่องมือในการรับประกันคุณภาพและความเชื่อมั่นที่ดีแก่ผู้ประกอบการหรือตลาดแรงงานทั้งในและนอกประเทศ   และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในการเตรียมพร้อมของแรงงานไทยที่จะรับมือในเรื่องการเคลื่อนย้ายแรงงานเสรี ในสาชาวิฃาชีพด้านวิศวกรรมคอมพิวเตอร์  ของการเป็นภาคีหนึ่งในประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC 2015 ความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจำนวน 15 แห่งในครั้งนี้   เป็นรูปแบบที่สถาบันการศึกษาจะให้การสนับสนุนการจัดสอบมาตรฐานวิชาชีพไอทีในฐานะเป็นศูนย์สอบและศูนย์ติวสอบ  และสนับสนุนให้นักศึกษาและบุคลากรทั้งภายในและเครือข่ายภายนอกเข้าร่วมสอบ    โดยสถาบันการ ศึกษาที่เข้าร่วมโครงการครั้งนี้  ประกอบด้วย  มหาวิทยาลัยขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่,  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีมหานคร, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลกรุงเทพ,  มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี,  มหา วิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์,  มหาวิทยาลัยบูรพา, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาวิทยาลัยราชภัฏกาฬสินธุ์,   มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์,  มหาวิทยาลัยศิลปากร, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์,  มหาวิทยาลัยสยาม,มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์ และสถาบันการจัดการปัญญาวิภัฒน์

[singlepic id=538 w=320 h=240 float=]

ผศ.ดร.เมธี สรรพานิช รองอธิการบดีวิทยาเขตภูเก็ต มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในฐานะผู้แทนของสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมโครงการฯ  เปิดเผยว่า  การเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในอีก 4 ปีข้างหน้า ส่งผลให้สถาบันการศึกษาของไทยต้องปรับตัวทั้งในแง่ของหลักสูตร  การจัดการเรียนการสอน และการพัฒนาบัณฑิตออกสู่ตลาดแรงงาน   เพื่อให้สามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้น  การสอบวัดมาตรฐานความรู้วิชาชีพ ITPE  จึงเป็นอีกแนวทางหนึ่งในการพัฒนาและยกระดับมาตราฐานความรู้ของบัณฑิตไทยโดยเฉพาะในด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร   ซึ่งสถาบันการศึกษาที่เข้าร่วมเครือข่ายในวันนี้  ต่างได้เล็งเห็นถึงประโยชน์ที่นักศึกษาของตนจะได้รับจาก ITPE  ทั้งในแง่ของการยอมรับในความสามารถของบัณฑิตจากนานาประเทศ   โอกาสการได้งานทำทั้งในประเทศไทยและประเทศในกลุ่มอาเซียน  นอกจากนั้น การสอบมาตรฐานยังทำให้เกิดการผลักดันให้เกิดการยกระดับการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษาต่างๆ ของประเทศไทย ให้มีประสิทธิภาพและได้มาตรฐานมากยิ่งขึ้น

และพร้อมกันนี้  บริษัท ทรู อินฟอร์เมชั่น เทคโนโลยี จำกัด  ซึ่งเป็นหน่วยงานภาคเอกชนชั้นนำด้านไอทีได้ให้ความสำคัญและสนับสนุนโครงการนี้  โดยได้เล็งเห็นและตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนามาตรฐานบุคลากรด้านไอทีขององค์กร  และการสร้างกลยุทธ์ในการพัฒนาบุคลากรในสายงานที่เกี่ยวข้องกับไอที   จึงได้มีนโยบายที่ชัดเจนเกี่ยวกับการคัดเลือกบุคลากรเข้าทำงานที่ผ่านโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพ ITPE    มีการจัดส่งบุคลากรของบริษัทฯ เพื่อร่วมติวและร่วมสอบในโครงการฯ  อย่างต่อเนื่อง  ตลอดจนมีการสนับสนุนความร่วมมือในการแลกเปลี่ยนข้อมูลทางวิชาการ และแลกเปลี่ยนบุคลากรประสบการณ์เกี่ยวกับการทำงานด้านไอที   ในกรณีที่มีการประชุม–สัมมนาเชิงวิชาการ  การจัดอบรม และการเรียนการสอนในหัวข้อที่เกี่ยวข้องกับเรื่องไอที

[singlepic id=541 w=320 h=240 float=]

นอกจากนี้ ดร.ทวีศักดิ์ ผอ. สวทช. กล่าวเพิ่มเติมว่า ทาง สวทช. ได้มอบหมายให้สถาบันวิทยาการ สวทช. (NSTDA Academy) จัดทำโครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที (Information Technology Professional Examination-ITPE) ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ Information Technology Promotion Agency (IPA) ภายใต้การกำกับดูแลของ Minister of Economy, Trade and Industry (METI)   หรือ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของประเทศญี่ปุ่น เพื่อผลักดันให้มีการสอบมาตรฐานวิชาชีพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่ไม่อิงผลิตภัณฑ์ในประเทศขึ้น โดยร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น มาเลเซีย มองโกเลีย พม่า ฟิลิปปินส์ และเวียดนาม ภายใต้ชื่อ IT Professionals Engineer Examination Council (ITPEC)

โครงการสอบมาตรฐานวิชาชีพไอที จัดขึ้นครั้งแรกในปี 2549 และจัดต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 โดยมีวิชาเปิดสอบในปัจจุบันจำนวน 2 วิชา คือ Fundamental Information Technology Professional Examination (FE)  และ วิชา Information Technology Passport Examination (IP) และมีนักศึกษา และคนทำงานในสายวิชาชีพไอที สมัครเข้าร่วมในโครงการจำนวน 5,579 คน มีผู้เข้าสอบจำนวน 5,037 คน และมีผู้สอบผ่านจำนวน 493 คน  คิดเป็นเปอร์เซ็นต์เฉลี่ยของการสอบผ่าน 9.79 %  การดำเนินความร่วมมือเพื่อจัดตั้งเครือข่ายในครั้งนี้   จะผลักดันให้มีจำนวนผู้สมัครสอบโดยรวมของประเทศทั้งสิ้นมากกว่า 2,000 คนต่อปี

สำหรับการสอบในปี 2554 นี้ เปิดโอกาสให้ผู้สนใจเข้าสมัครสอบ โดยมีศูนย์ติวสอบทั่วประเทศ เพื่อเป็นอีกแนวทางในการเตรียมตัวสอบ พร้อมตัวอย่างข้อสอบเก่าที่ได้รวบรวมไว้ที่หน้าเว็บโครงการฯ สนใจติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ สถาบันวิทยาการ สวทช. โทร. 02-642-5001   โทรสาร 02-642-5014 หรือ http://www.nstdaacademy.com/ และ e-mail: mailto: itpe@nstda.or.th

ไบโอเทค สวทช. จับมือ ไฮกริม ผลักดันงานวิจัยใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์

[singlepic id=532 w=320 h=240 float=]

ไบ โอเทค สวทช. และ บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด ร่วมกันผลักดันให้มีการนำองค์ความรู้งานวิจัยไปใช้เชิงพาณิชย์ในอุตสาหกรรม ด้านสิ่งแวดล้อม โดยถือสิทธิความเป็นเจ้าของงานวิจัย ทรัพย์สินทางปัญญาและวิทยาการความรู้ที่เกิดขึ้นร่วมกัน

เมื่อวันจันทร์ที่ 11 กรกฎาคม 2554 ณ ห้องประชุม 513 ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการและจัดสรรประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้โครงการ “ผลิตแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าสำหรับกำจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ” ระหว่าง ไบโอเทค สวทช. กับ บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด ซึ่งเป็นการแสดงให้เห็นถึงกลไกการทำงานระหว่างหน่วยงานสังกัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับภาคเอกชน ในการผลักดันให้มีการนำองค์ความรู้ต่างๆทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพไปประยุกต์ใช้ในระดับอุตสาหกรรม เพื่อช่วยเสริมสร้างความแข็งแกร่งของภาคอุตสาหกรรมไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมทางด้านสิ่งแวดล้อม

ดร. กัญญวิมว์ กีรติกร ผู้อำนวยการศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ เปิดเผยว่า “สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อว่า สารชีวบำบัดภัณฑ์ KEEEN ของ บริษัท ไฮกริม เป็นตัวอย่างของการทำวิจัยร่วมกับภาคเอกชนตั้งแต่เริ่ม ซึ่งมีข้อดีคือเราได้โจทย์มาจากภาคเอกชน ซึ่งมีความเข้าใจความต้องการของตลาดเป็นอย่างดี แล้วเราสามารถเอาความเชี่ยวชาญทางเทคนิคเราเข้าไปแก้โจทย์วิจัยได้ ถือได้ว่า บริษัท ไฮกริม เป็นตัวกลางที่เชื่อมระหว่างความต้องการของอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีทางวิทยาศาสตร์ของไทยที่กำลังก้าวหน้าเทียบเท่าระดับโลก”

ด้าน นายวสันต์ อริยพุทธรัตน์ ผู้ก่อตั้ง และผู้บุกเบิกด้านอุตสาหกรรม ประธานผู้บริหารอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (Founder & Industry Pioneer and Chief Industrial Ecologist) บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด กล่าวว่า “บริษัท ไฮกริม ไม่สามารถที่จะค้นคว้าและวิจัยเพียงลำพังได้ เราจึงได้ร่วมมือกับ สวทช. ค้นคว้า วิจัย ทดลอง โดยการร่วมวิจัยกับ ไบโอเทค ในการคัดเลือกกลุ่มสายพันธุ์จุลินทรีย์หลายสายพันธุ์ (Synergistic Blends of Oil-degrading microbes) ซึ่งมีความสามารถพิเศษในการย่อยสลายโมเลกุลน้ำมันปิโตรเลียม รวมทั้งสารประกอบอินทรีย์ต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และด้วยประสบการณ์ทำงานของทีมงานของเรา บวกกับปัญหา หรือ ความต้องการของลูกค้าในอุตสาหกรรมที่หลากหลายต่างๆ ของเรา ร่วมกับ เทคโนโลยี โดยเราได้ทำงานร่วมกับทีมงานนักวิจัยที่มีความรอบรู้ และพิถีพิถันในการค้นคว้าวิจัย ทั้งหมดทำให้เกิดการขับเคลื่อนธุรกิจ และเกิดความร่วมมือในวันนี้”

สำหรับที่มาของความร่วมมือในครั้งนี้ เกิดจากการร่วมวิจัย ระหว่าง ไบโอเทค สวทช. และ บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด ในโครงการ “ผลิตแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้า สำหรับการกำจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ” โดยร่วมสนับสนุนงบประมาณ ให้ ดร. สมเกียรติ เตชกาญจนารักษ์ นักวิจัย ไบโอเทค จากศูนย์ความเป็นเลิศเฉพาะทางด้านการจัดการและ ใช้ประโยชน์ของเสียอุตสาหกรรมเกษตร ดร. วศิมน เรืองเล็ก ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีชีวภาพ (อดีตนักวิจัยไบโอเทค) ร่วมกับทีมงานจาก บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด ดำเนินโครงการสำเร็จ เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 โดยใช้เวลาในการดำเนินโครงการทั้งสิ้น 2.5 ปี

ทั้งนี้ นักวิจัยของไบโอเทค มีความเชี่ยวชาญในด้านจุลินทรีย์ในหลายๆแขนง  ตั้งแต่การคัดแยก การคัดเลือกเชื้อจุลินทรีย์จากธรรมชาติที่มีความสามารถในการย่อยสลายน้ำมัน จนถึงการหา สภาวะการเลี้ยงเพื่อเพิ่มขยายจำนวนจุลินทรีย์ให้มากเพียงพอที่จะทำเป็นผลิตภัณฑ์จำหน่าย

ในขณะที่ ไบโอเทค มีเครื่องมืออุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่ทันสมัยรองรับงานวิจัย บริษัท ไฮกริม เอ็นไวรอนเมนทอล แอนด์ รีเสิร์ช จำกัด มีความเชี่ยวชาญในการทดสอบประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาสูตรผลิตภัณฑ์ และทำการตลาด ซึ่งโครงการนี้มีการส่งเสริมความเชี่ยวชาญซึ่งกันและกัน ทำให้ประสบผลสำเร็จ และในวันนี้ถือเป็นโอกาสอันดีที่ทำให้เกิด พิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือการบริหารจัดการและจัดสรรประโยชน์ในทรัพย์สินทางปัญญาภายใต้โครงการ “ผลิตแบคทีเรียที่สามารถย่อยสลายน้ำมันปิโตรเลียมเพื่อใช้เป็นผลิตภัณฑ์ทางการค้าสำหรับกำจัดคราบน้ำมันทางชีวภาพ” เพื่อเป็นการนำผลงานวิจัยไปใช้ในเชิงพาณิชย์ โดยบันทึกข้อตกลงนี้จะมีระยะเวลา 6 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2554

สวทช.ร่วม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง ส่งเสริมแนวคิดลดของเสียให้เป็นศูนย์

[singlepic id=529 w=320 h=240 float=]
สวทช.ร่วม กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมเร่งพัฒนาศักยภาพบุคลากรด้านพลังงานและทรัพยากรสำหรับอุตสาหกรรมแป้งมันสำปะหลัง
ส่งเสริมแนวคิดลดของเสียให้เป็นศูนย์

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ
(สวทช.) (ขวามือ) ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือด้านการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังไทย
ร่วมกับ ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม ณ กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม (ซ้ายมือ) ถนนพระรามที่ 6
เมื่อจันทร์ที่ 11 ก.ค.2554 ที่ผ่านมา

สวทช. มุ่งมั่นสู่องค์กรสีเขียว

เมื่อเร็วๆ นี้  ดร.ทวีศักดิ์  กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. (ที่ 3 จากซ้าย) เป็นประธานเปิดงาน Green NSTDA และการเสวนาในหัวข้อ “ปลุก ปรับ เปลี่ยน องค์กรสีเขียวด้วยเทคโนโลยี” ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการประหยัดพลังงานและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมแก่บุคลากร สวทช. และบริษัทเอกชนผู้เช่าพื้นที่ในอุทยานฯ พร้อมมุ่งมั่นนำ สวทช. สู่การจัดทำคาร์บอนฟุตพริ้นท์ขององค์กร เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างมีประสิทธิภาพจากการดำเนินงาน

 [singlepic id=526 w=320 h=240 float=]

ในภาพ:  พลตำรวจตรี ดร.สุวิระ ทรงเมตตา (ที่ 2 จากขวา) ประธานที่ปรึกษา บริษัท แอ๊ดวานซ์ อาเชี่ยน จำกัด วิทยากรจากผู้เช่าพื้นที่อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ่ายภาพร่วมกับ ผู้อำนวยการ สวทช. คณะผู้บริหาร สวทช. และพนักงาน

Valeo Compressor (Thailand) Co., Ltd. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีแห่งชาติ

[singlepic id=523 w=320 h=240 float=]

(ที่ 4 จากซ้าย) Mr. Chin Weng Chow, National Director – ASEAN of Valeo Compressor (Thailand) Co., Ltd. (Valeo) ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. รศ. ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการ ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ. ดร. พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ นางสุวิภา วรรณสาธพ ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาธุรกิจ สวทช. Valeo Compressor (Thailand) Co., Ltd. ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือกับ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโยลีแห่งชาติ ในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Valeo โดยทั้งสองหน่วยงานจะร่วมกันจัดหาและสนับสนุนทรัพยากรที่ใช้ในการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาทั้งในด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ตลอดจนการแลกเปลี่ยนความรู้ ประสบการณ์ ข้อมูลทางวิชาการ และการร่วมกันพัฒนาบุคลากรประโยชน์ที่จะได้รับจากการร่วมมือวิจัยและพัฒนาภายใต้ MOU นี้ นอกจากการเพิ่มประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ของบริษัทแล้ว ยังสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ส่งผลดีให้กับอุตสาหกรรมยานยนต์ และโครงการ Eco-car ของประเทศ Valeo เป็นบริษัทที่ออกแบบและผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ที่มีบริษัทแม่อยู่ในประเทศฝรั่งเศส ประกอบด้วยโรงงาน 109 แห่ง ศูนย์วิจัย 20 แห่ง มีพนักงานรวมกว่า 60,900 คน ใน 27 ประเทศทั่วโลก

สวทช.กระทรวงวิทย์ฯ ส่งมอบรถบรรทุกอเนกประสงค์ “ไทยพัฒนา” มาตรฐานปลอดภัยสูง บรรทุกได้3 ตัน นำร่อง 10 อบต

[singlepic id=514 w=320 h=240 float=]

เมื่อ 2 พฤษภาคม 2011 เวลา 14:27 น. บันทึกการเปลี่ยนแปลงของคุณแล้ว 2 พฤษภาคม 2554 ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี : ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีมอบรถบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร มาตรฐานความปลอดภัยสูง รับน้ำหนักบรรทุกได้ 3-4 ตัน ใช้ไบโอดีเซลประหยัดน้ำมัน 12 กิโลลิตร เพื่อช่วยให้เกษตรกรลดต้นทุนในการขนย้ายผลิตผลทางการเกษตรไปยังแหล่งรับซื้อและจำหน่ายต่างๆ โดยเน้นการออกแบบโครงสร้างให้แข็งแรงมากขึ้น ทั้งระบบเบรค แชสซี ความสูงความตัวรถเพื่อให้สามารถลงคันนาได้ ตลอดจนอำนวยความสะดวกยิ่งขึ้นให้เกษตรกรด้วยการติดตั้งปั๊มน้ำ และกระบะด้านท้ายสามารถเปิดได้ทั้ง 3 ด้าน โดยได้นำไปทดสอบการใช้งานจริงในแปลงสวนปาล์มน้ำมัน พืชไร่ แล้วนำมาพัฒนาแก้ไขข้อบกพร่องต่าง ๆ ตามข้อมูลจากการทดสอบและข้อคิดเห็นของผู้ใช้จนสมบูรณ์ พร้อมส่งมอบให้ 10 อบต. ครอบคลุมพื้นที่ เหนือ อีสาน และใต้ โดยตัวแทนองค์การบริหารส่วนตำบลเป็นผู้รับมอบ ทั้งนี้ งบประมาณการจัดสร้าง รถบรรทุกอเนกประสงค์ “ไทยพัฒนา”ดังกล่าว โครงการวิจัยการออกแบบและสร้างโครงฐานรถอเนกประสงค์มาตรฐาน ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.) ได้รับการสนับสนุนนำร่องจากโครงการไทยเข้มแข็งจำนวน 4 ล้านบาท โดย ดร.วีระชัยเปิดเผยในรายละเอียดว่า

[singlepic id=517 w=320 h=240 float=]

“การที่นักวิจัยของ สวทช. ได้พัฒนารถบรรทุกอเนกประสงค์เพื่อการเกษตร แล้วนำมาส่งมอบเพื่อให้เกษตรกรได้นำไปทดลองใช้บรรทุกผลิตผลทางการเกษตรของตนแทนรถอีแต๋นนั้น สอดคล้องกับนโยบายที่ผมได้ประกาศเอาไว้ตั้งแต่วันแรกที่ได้รับตำแหน่งว่าจะเร่งนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีลงไปสู่ชุมชน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับพี่น้องประชาชน เพราะการพัฒนารถบรรทุกอเนกประสงค์ดังกล่าวขึ้นมาถือได้ว่าเป็นการตอบโจทย์ความต้องการของพี่น้องเกษตรกรคนส่วนใหญ่ของประเทศ และผลงานที่วิจัยพัฒนาขึ้นมาได้สำเร็จนี้ก็สามารถนำไปใช้ เพื่อประโยชน์ในการสร้างรายได้ ลดรายจ่ายของพี่น้องเกษตรกรได้จริง เนื่องจากรถอเนกประสงค์ดังกล่าว มีมาตรฐานความปลอดภัยสูง แต่มีราคาที่ประหยัดกว่ารถบรรทุกทั่วไป อีกทั้งยังช่วยประหยัดน้ำมัน และมีค่าบำรุงรักษาที่ต่ำ จึงเหมาะกับการใช้งานจริงของพี่น้องเกษตรกรทั้งในด้านประสิทธิภาพและต้นทุน ซึ่งรถบรรทุกอเนกประสงค์ที่ผลิตขึ้นยังสามารถขอจดทะเบียนรถได้ถูกต้องตามกฎหมาย สามารถวิ่งได้บนท้องถนนทั่วไป ”

[singlepic id=520 w=320 h=240 float=]

รศ.ดร. วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติเปิดเผยเพิ่มเติมว่า รถบรรทุกเพื่อการเกษตร หรือรถอีแต๋น ที่รู้จักโดยทั่วไปของเกษตรกรผู้ใช้งาน ส่วนใหญ่ ตัวรถจะถูกประกอบขึ้นจากชิ้นส่วนมือสองหรือชิ้นส่วนเก่าของรถยนต์ที่ปลดระวางแล้ว ทำให้รถอีแต๋นที่ใช้งานอยู่ในปัจจุบันมีปัญหาทางด้านมาตรฐาน คุณภาพ และความปลอดภัย เนื่องจากการประกอบรถ ไม่ได้ใช้หลักวิชาทางวิศวกรรมที่ถูกต้อง จึงทำให้รถอีแต๋นเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนสูงขึ้น และเป็นอันตรายต่อผู้ใช้รถใช้ถนนทั่วไปได้ง่าย อีกทั้งการใช้ชิ้นส่วนมือสองทำให้ต้องมีการดูแลบำรุงรักษาเป็นอย่างมาก ทำให้ค่าใช้จ่ายของผู้ใช้รถเพิ่มสูงตามไปด้วย ดังนั้น ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ หรือ เอ็มเทค สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงได้ดำเนินการวิจัยการออกแบบและสร้างโครงฐานรถอเนกประสงค์มาตรฐานขึ้น ทั้งนี้ รถบรรทุกอเนกประสงค์ รุ่น ไทยพัฒนา (Thai pattana) มีขนาดน้ำหนักตัวรถรวมบรรทุก 3 ตัน ใช้เครื่องยนต์ดีเซล 1 ลูกสูบ ขนาด 14 แรงม้าเป็นต้นกำลังขับเคลื่อนนอกจากนี้ ยังช่วยลดการนำเข้าชิ้นส่วนจากต่างประเทศและเป็นการยกระดับขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศในด้านอุตสาหกรรมยานยนต์เพื่อการเกษตรอีกทางหนึ่งด้วย

ดร. ฉัตรชัย จันทร์ เด่นดวง หัวหน้าโครงการ นักวิจัยเอ็มเทค กล่าวว่า “ผลงานการผลิตรถบรรทุกอเนกประสงค์ต้นแบบนี้เป็นการต่อยอดจากเทคโนโลยีการออกแบบชิ้นส่วนมาตรฐานตามหลักโครงฐานรถที่สำคัญ 5 ชิ้นส่วน ได้แก่ แชชซี ดุมล้อและระบบเบรก ระบบบังคับเลี้ยว เฟืองท้าย และระบบกันสะเทือน มาประกอบเป็นรถอเนกประสงค์ขึ้น โดยมีการคำนวณการออกแบบตามหลักวิศวกรรมที่ถูกต้อง เพื่อแก้ปัญหาชิ้นส่วนโครงฐานที่ไม่ได้มาตรฐานและเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งาน รวมทั้งได้พัฒนาโครงสร้างของตัวรถให้มีขนาดเล็กแต่มีความปลอดภัยเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับรถอีแต๋น นอกจากนี้ ยังได้มีการติดตั้งระบบปั๊มน้ำไว้ที่ตัวรถ เพื่อใช้สามารถใช้งานในพื้นที่ทำการเกษตรและในชุมชนได้อีกด้วย