Archive for category Press conference

สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมมือ สทป. วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หวังนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

เรื่อง     สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมมือ สทป. วิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หวังนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  (องค์การมหาชน) หรือ สทป.  จัดพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัย พัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  เพื่อส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆ รวมถึงการจัดหาและสนับสนุนทรัพยากรบุคลากร งบประมาณ และการแลกเปลี่ยนความรู้  ฯลฯ อันนำไปสู่การทำวิจัยร่วมกันและการนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ในเชิงพาณิชย์และสาธารณะประโยชน์ ลดการพึ่งพาและการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ

 

ทั้งนี้ งานดังกล่าว จัดให้มีขึ้น ใน  วันพฤหัสบดีที่ 4 มีนาคม 2553 เวลา  10.00 น.   ณ  ห้องประชุมราชสนีย์พิทักษ์   ชั้น 10   อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม  ถ.  แจ้งวัฒนะ จ.นนทบุรี              การนี้  รศ.ดร. ศักรินทร์  ภูมิรัตน     ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ     และ พลโท ดร.ฐิตินันท์   ธัญญสิริ    ผู้อำนวยการสถาบันเทคโนโลยีป้องกันประเทศ  (องค์การมหาชน)  ร่วมเป็นประธานในพิธีดังกล่าวด้วย

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

สวทช. จับมือ ญี่ปุ่น ร่วมลดภาวะก๊าซเรือนกระจก ระดมนักวิจัยพัฒนา นวัตกรรมในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร เริ่มพืชสบู่ดำเป็นวัตถุดิบหลัก

[singlepic id=153 w=320 h=240 float=]

วันที่ 25 กุมภาพันธ์  2553   ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   มีพิธีลงนามบันทึกการหารือ ระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กับ องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(Japan International Cooperation Agency : JICA) และความตกลงการทำวิจัยร่วม ระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.)  และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) กับ สำนักความร่วมมือระหว่างประเทศและวิเทศสัมพันธ์ของสถาบันวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมขั้นสูงแห่งญี่ปุ่น (National Institute of Advanced Industrial Science and Technology: AIST) และ Waseda University (WU) ประเทศญี่ปุ่น ในการร่วมงานวิจัยและพัฒนาภายใต้โครงการ “นวัตกรรมในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร และการใช้งานในยานยนต์ (INNOVATION ON PRODUCTION AND AUTOMOBILE UTILIZATION OF BIOFUELS FROM NON-FOOD BIOMASS)

[singlepic id=154 w=320 h=240 float=]

              สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย(วว.) ได้ร่วมมือกันในการทำโครงการวิจัยและพัฒนาไบโอดีเซลจากปาล์มน้ำมัน   โดยการพัฒนาเครื่องบีบน้ำมันปาล์ม และเครื่องอุปกรณ์ต้นแบบการผลิตไบโอดีเซลแบบ Batch และแบบต่อเนื่อง มีการสร้างโรงงานต้นแบบการผลิตไบโอดีเซล โดยร่วมกับกรมอู่ทหารเรือและภาคเอกชน ในปี พ.ศ. 2550 ในด้านความร่วมมือกับต่างประเทศนั้น  สวทช.  วว. และ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) ประเทศญี่ปุ่น ได้มีการลงนามความร่วมมือในการวิจัยพัฒนาในสาขาต่าง ๆ นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 เป็นต้นมา โดยได้เริ่มการวิจัยและพัฒนาโครงการวิจัยนำร่องเพื่อเพิ่มคุณภาพ ไบโอดีเซล และการร่วมกันจัดทำมาตรฐานไบโอดีเซลร่วมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกนับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2550 จนถึงปัจจุบัน

            ทั้งนี้ โครงการนวัตกรรมในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร และการใช้งานในยานยนต์ (INNOVATION ON PRODUCTION AND AUTOMOBILE UTILIZATION OF BIOFUELS FROM NON-FOOD BIOMASS)  ได้รับการสนับสนุนทุนวิจัยเป็นระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2553 – 2557  งบประมาณรวมประมาณ 220 ล้านบาท วัตถุประสงค์เพื่อให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตพลังงานเชื้อเพลิงยานยนต์จากวัตถุดิบชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร ซึ่งจะเริ่มต้นจากพืชสบู่ดำเป็นวัตถุดิบหลัก  โดยเป้าหมายสำคัญคือ โรงงานต้นแบบขนาดกำลังการผลิต 1 ตันต่อวัน  ที่สามารถผลิตน้ำมันไบโอดีเซลคุณภาพสูงจากสบู่ดำ และต้นแบบกระบวนการผลิตไบโอแก๊สโซลีนและดีเซลสังเคราะห์จากกากสบู่ดำหลังการสกัดน้ำมันออกแล้ว

ด้านรองผู้อำนวยการสวทช. นายประยูร เชี่ยววัฒนา กล่าวว่า  ความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่าง AIST  สวทช. และวว. ที่ยาวนานและแน่นแฟ้นตลอดมา  ได้มีการประชุมความร่วมมือด้านงานวิจัยระหว่างกันมาเป็นเวลา 5 ปีแล้ว โดยมีการจัดประชุมทุกๆ ปี สลับกันในประเทศไทยและญี่ปุ่น  เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และข้อมูล  และรายงานผลความคืบหน้าโครงการความร่วมมือต่างๆ ที่เกิดขึ้นระหว่างกัน  ซึ่งสิ่งนี้น่าจะเป็นปัจจัยหลักที่จะนำมาสู่ความสำเร็จในการได้รับทุนสนับสนุนจาก JICA และ  JST ในครั้งนี้

รองผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวอีกว่า พลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งในการพัฒนาอย่างยั่งยืนของโลก การนำเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าของประเทศญี่ปุ่นมาใช้พัฒนาทรัพยากรที่มีอยู่มากมายในเมืองไทย  โดยทีมนักวิจัยที่เชี่ยวชาญของทั้งสองประเทศ จะเกิดผลสำเร็จในการพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันสบู่ดำและน้ำมันสังเคราะห์จากกากสบู่ดำในอนาคตอันใกล้นี้  สวทช. ขอให้คำยืนยันว่าทีมวิจัยไทยจะพยายามอย่างเต็มที่ เพื่อให้โครงการนี้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้

ด้าน รศ.ดร.วีระศักดิ์  อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)กล่าวว่า ประเทศไทยและหลายประเทศทั่วโลก กำลังประสบปัญหาวิกฤตพลังงานและปัญหาสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการใช้พลังงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศไทยต้องพึ่งพาการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ และมีการนำเข้าสูงอย่างต่อเนื่อง  คาดการณ์ว่า ในปี 2553 ประเทศไทยจะปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มากกว่าค่าเฉลี่ยของโลก คือ 3.9 ตัน CO2 เทียบเท่าต่อคน ทำให้มีความเสี่ยงสูงต่อการถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีพันธกรณีที่จะต้องลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศ

            ผู้อำนวยการเอ็มเทค กล่าวอีกว่า  การร่วมมือกันในครั้งนี้ หวังเป็นอย่างยิ่งว่าจะสามารถผลิตพลังงานเชื้อเพลิงไบโอดีเซลพลังงานสะอาด ลดปริมาณก๊าซเรือนกระจกในประเทศ และที่สำคัญจะสามารถลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้

สวทช./ ก.วิทย์ฯ พร้อมพันธมิตร ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหารและการใช้งานในรถยนต์

เรื่อง สวทช./ ก.วิทย์ฯ พร้อมพันธมิตร ร่วมมือกับประเทศญี่ปุ่น วิจัยและพัฒนานวัตกรรมการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหารและการใช้งานในรถยนต์

เรียน บรรณาธิการข่าว
ประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ที่มีศักยภาพในการผลิตและแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร เพื่อบริโภคภายในประเทศ และส่งออกเป็นอาหารสำหรับประชากรของประเทศอื่นๆ ในฐานะครัวของโลก มีพืชเศรษฐกิจที่เหลือจากการผลิตเป็นอาหารสำหรับนำไปผลิตเป็นเชื้อเพลิงทดแทนในภาคขนส่ง คือ อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมัน อีกทั้งยังมีศักยภาพในการเพาะปลูกพืชพลังงานอื่นที่ไม่ใช่อาหาร
ดังนั้นเพื่อจัดหาแหล่งพลังงานในระยะยาวโดยเฉพาะอย่างยิ่งเชื้อเพลิงภาคการขนส่ง และพลังงานทดแทน ให้มีปริมาณเพียงพอต่อการใช้งานภายในประเทศสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) จึงได้ร่วมกับ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย (วว.) มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) และ National Institute of Advanced Industrial Science and Technology (AIST) และ Waseda University (WU) ประเทศญี่ปุ่น ลงนามบันทึกข้อตกลงการทำวิจัยร่วม (Joint Research Agreement) โครงการวิจัยและพัฒนา “นวัตกรรมในการผลิตเชื้อเพลิงชีวภาพจากชีวมวลที่ไม่ใช่อาหาร และการใช้งานในยานยนต์ (INNOVATION ON PRODUCTION AND AUTOMOBILE UTILIZATION OF BIOFUELS FROM NON-FOOD BIOMASS)” ขณะเดียวกัน กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ทำความตกลงการทำวิจัยร่วม (Joint Research Agreement) กับ Japan International Cooperation Agency (JICA)
ในวันพฤหัสบดี ที่ 25 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 11.00 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โทรศัพท์ 02-6448150-89 ต่อ 217,237,212,712 หรือ 081-6681064, 081-9886614, 084-5290006 และ 084-9100850

กำหนดการสำหรับสื่อมวลชน กรณี การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที200

กำหนดการสำหรับสื่อมวลชน

กรณี การทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที200

โดย คณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200

ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี

วันที่ 14-15 กุมภาพันธ์ 2553

……………………..

วันอาทิตย์ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2553

  • 8.00 . สื่อมวลชนลงทะเบียน อาคารเนคเทค อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ( การติดตามทำข่าวการทดสอบฯ อนุญาตให้สื่อมวลชนที่ลงทะเบียนเท่านั้น )

  • แถลงข่าวครั้งที่ 1 เวลา 8.30 . ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี แถลงข่าววัตถุประสงค์และขั้นตอนการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 ณ ห้องโถงกลาง อาคารเนคเทค

  • 9.00 . คณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 เริ่มกระบวนการ CT Scan วัตถุระเบิด(สารทดสอบ C4 ปริมาณ 20 กรัม ห่อด้วยพลาสติก ) เพื่อยืนยันความถูกต้องและปราศจากสิ่งแปลกปลอมของวัตถุระเบิดที่ใช้ในกระบวนการทดสอบ

  • 9.30 . คณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 นำสารทดสอบ(C4)เดินทางเข้าสถานที่ทดสอบ ณ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ( โดยมติของคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 มีมติว่าเพื่อให้กรรมการทดสอบฯทุกคณะทำงานอย่างเป็นธรรมชาติมากที่สุดและไม่มีปัญหาใดๆกระทบการขั้นตอนการทดสอบ จึงไม่อนุญาตให้สื่อมวลชนติดตามทำข่าวที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร และไม่อนุญาตให้มีรถถ่ายทอดสดOB อยู่ใกล้บริเวณการทดสอบบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรในระยะ 200 เมตร งานประชาสัมพันธ์เนคเทคจะจัดสถานที่อำนวยความสะดวกในกับสื่อมวลชนที่อาคารเนคเทคเท่านั้น )

  • หลังจากที่กรรมการฯเข้าสถานที่ทดสอบจนครบแล้ว จะไม่มีคณะกรรมการฯออกมาจากสถานที่ทดสอบจนกว่าการทดสอบจะแล้วเสร็จ คาดว่าไม่เกินวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 หากกรรมการท่านใดออกมาจากสถานที่ทดสอบแล้วจะกลับเข้าไปไม่ได้ ยกเว้นโฆษกคณะกรรมการฯ ( กระบวนการทดสอบทั้งหมดจะมีการบันทึกเทปวีดิทัศน์ไว้ซึ่งคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 จะเปิดเผยให้สื่อมวลชนได้รับทราบภายหลังการรายงานผลการทดสอบในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีแล้ว)

  • แถลงข่าวครั้งที่ 2ช่วงเวลา 11.30 – 13.00 . ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค ในฐานะโฆษกคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 แถลงข่าวความคืบหน้าการทดสอบ ณ ห้องโถงกลาง อาคารเนคเทค ( ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ ดร.พันธ์ศักดิ์ จะสามารถออกจากสถานที่ทดสอบได้กรณีมีการหยุดพักรับประทานอาหาร )

  • แถลงข่าวครั้งที่ 3 ช่วงเวลา 17.00 – 19.00 . ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค ในฐานะโฆษกคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 แถลงข่าวความคืบหน้าการทดสอบ ณ ห้องโถงกลาง อาคารเนคเทค ( ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ ดร.พันธ์ศักดิ์ จะสามารถออกจากสถานที่ทดสอบได้กรณีมีการหยุดพักรับประทานอาหาร )

วันจันทร์ที่ 15 กุมภาพันธ์ 2553 (กรณีวันแรกไม่สามารถดำเนินการทดสอบได้ครบ 20 รอบ )

  • แถลงข่าวครั้งที่ 4 ช่วงเวลา 11.30 – 13.00 . ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค ในฐานะโฆษกคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 แถลงข่าวความคืบหน้าการทดสอบ ณ ห้องโถงกลาง อาคารเนคเทค ( ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ ดร.พันธ์ศักดิ์ จะสามารถออกจากสถานที่ทดสอบได้กรณีมีการหยุดพักรับประทานอาหาร )

  • แถลงข่าวครั้งที่ 5 ช่วงเวลา 17.00 – 19.00 . ดร.พันธ์ศักดิ์ ศิริรัชตพงษ์ ผู้อำนวยการเนคเทค ในฐานะโฆษกคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 แถลงข่าวความคืบหน้าการทดสอบ ณ ห้องโถงกลาง อาคารเนคเทค ( ไม่สามารถระบุเวลาที่แน่นอนได้ ดร.พันธ์ศักดิ์ จะสามารถออกจากสถานที่ทดสอบได้กรณีมีการหยุดพักรับประทานอาหาร )

 

     

หมายเหตุ

 

  • เมื่อกระบวนการทดสอบจะดำเนินการไปจนครบ 20 รอบ ( อาจจะเป็นวันที่ 14 หรือ 15 ) จากนั้นคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิด จีที 200 ทุกท่านจะเดินทางมาประชุมร่วมกันที่ห้องประชุมใหญ่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จ.ปทุมธานี ( ภายใน 1-2 ชั่วโมงหลังการทดสอบแล้วเสร็จ) อนุญาตให้สื่อมวลชนเข้าไปบันทึกภาพการประชุมได้ในช่วงแรก จากนั้นคณะกรรมการจะมีการประชุมลับเพื่อสรุปผล และจะไม่เปิดเผยผลการทดสอบและผลการประชุมใดๆทั้งสิ้น

  • สื่อมวลชนใดต้องการนำรถถ่ายทอดสด(OB ) มาติดตามทำข่าวในครั้งนี้ โปรดแจ้งที่นายอรรถกร ศิริสุวรรณ ( หน.งานประชาสัมพันธ์เนคเทค )

 

วันอังคารที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553

  • 8.30 . ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ประธานคณะกรรมการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดจีที200นำผลการทดสอบประสิทธิภาพเครื่องตรวจหาวัตถุระเบิดจีที200 รายงานต่อนายกรัฐมนตรี ในการประชุมคณะรัฐมนตรี ณ ทำเนียบรัฐบาล

 

………………………

 

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่งานประชาสัมพันธ์เนคเทค 02-5646900

อรรถกร ศิริสุวรรณ ( หน.งานประชาสัมพันธ์ ) 0815711535

สายพิณ ธนะศิริวัฒนา 081-8991380

นัทธ์หทัย ทองนะ 085-3261854

ศิริพร ปานสวัสดิ์ 081-4226061

[singlepic id=152 w=320 h=240 float=]

สวทช.จับมือกรมการข้าว พัฒนา “พันธุ์ข้าวต้านโรคทนสภาพแวดล้อม” พร้อมเตรียมยื่นขอรับรอง 3 พันธุ์ข้าวชนิดใหม่

[singlepic id=149 w=320 h=240 float=]

วันที่ 10 กุมภาพันธ์ เวลา 15.00 น. ที่กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามความร่วมมือสนับสนุนด้านงบประมาณรวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลงและสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม หลังจากที่ผ่านมาได้มีการดำเนินการร่วมกันและพัฒนาข้าวสายพันธุ์ใหม่ ได้แก่ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็ม และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ พร้อมชมสายพันธุ์ข้าวตัวอย่าง ที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือที่เตรียมเสนอเป็นพันธุ์รับรอง

[singlepic id=150 w=320 h=240 float=]

                นายยุคล ลิ้มแหลมทอง   ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  กล่าวว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์   ได้เล็งถึงความสำคัญของข้าวซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจหลักอันดับหนึ่งของประเทศ ประกอบกับรัฐบาลมีนโยบายระดับชาติเพื่อแก้ปัญหาสินค้าข้าวให้บังเกิดประสิทธิผลเป็นผลดีต่อเกษตรกรผู้ผลิต ระบบการผลิต และการตลาดข้าวโดยส่วนรวม โดยได้แต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) ขึ้น เพื่อช่วยกำหนดนโยบาย ยุทธศาสตร์ และส่งเสริมการวิจัยทางด้านการผลิตและการตลาดข้าวของประเทศ นอกจากนี้กรมการข้าวซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการผลิตข้าว และส่งเสริมศักยภาพของเกษตรกร ได้ร่วมกับกระทรวงพาณิชย์ จัดทำยุทธศาสตร์ข้าวไทยระหว่างปี พ.ศ. 2550-2554 ขึ้น เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตข้าวให้ได้มาตรฐาน การสนับสนุนความปลอดภัยด้านอาหาร และการส่งออกข้าว ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าว และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อร่วมวิจัยและพัฒนาการผลิตข้าวนี้จะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประเทศไทย

[singlepic id=151 w=320 h=240 float=]

นายประเสริฐ โกศัลวิตร  อธิบดีกรมการข้าว  กล่าวว่า “งานวิจัยหลักที่สำคัญในพัฒนาการผลิตข้าว คือ งานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าว ที่ผ่านมากรมการข้าวซึ่งหน่วยงานหลักที่ดำเนินการวิจัย ด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวประสบผลสำเร็จมาจากการปรับปรุงพันธุ์ด้วยวิธีปกติ หรือ Conventional breeding ในระหว่างปี พ.ศ. 2549-2552 กรมการข้าว และ สวทช. ก็ได้มีการร่วมมือทำงานวิจัยปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพเข้ามาช่วย ซึ่งประสบผลสำเร็จเป็นที่น่าพอใจ ได้ข้าวสายพันธุ์ใหม่ และอยู่ระหว่างเสนอขอการรับรองพันธุ์ ซึ่งได้นำข้าวสายพันธุ์ใหม่มาแสดงในวันนี้ด้วย

อธิบดีกรมการข้าว กล่าวอีกว่า “การร่วมมือกันครั้งนี้ กรมการข้าว และ สวทช. ต่างมีจุดเด่นและจุดด้อยที่แตกต่างกัน  ซึ่งถ้าร่วมมือกันดำเนินการวิจัยโดยประสานจุดเด่นเข้าด้วยกันจะเป็นการลดจุดด้อยของแต่ละหน่วยงาน รวมทั้งจะสามารถเสริมสร้างประสิทธิภาพในการวิจัยและพัฒนาข้าวได้ยิ่งขึ้น กล่าวคือ กรมการข้าว มีจุดเด่นในด้านโครงสร้างพื้นฐานและบุคลากรเพื่อรองรับการวิจัยในสภาพแปลงทดลอง รวมทั้งเครือข่ายเกษตรกรที่มีส่วนร่วมในการวิจัย แต่มีความไม่พร้อมเกี่ยวกับเครื่องมือและความเชี่ยวชาญ รวมทั้งบุคลากรในการวิจัยพื้นฐานด้านเทคโนโลยีชีวภาพที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์  ในขณะที่ สวทช. มีจุดเด่นในด้านเทคโนโลยีชีวภาพเกี่ยวกับการสืบค้นหายีน และการพัฒนาโมเลกุลเครื่องหมายดีเอ็นเอ (DNA molecular markers) ที่สามารถจะนำไปใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำมากขึ้น แต่ “สวทช” ก็อาจมีจุดด้อยในด้านโครงสร้างพื้นฐานเพื่อการทดสอบหรือประยุกต์ใช้เทคโนโลยีในแปลงทดลองและในนาเกษตรกร ดังนั้น การร่วมมือกันระหว่างสองหน่วยงานเพื่อการวิจัยและพัฒนาข้าว จึงจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุดเพื่อการพัฒนาการผลิตข้าวทั้งระบบ”

ดร.สุจินดา โชติพานิช  ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า ที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ หรือ ไบโอเทค ได้มีความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยได้ร่วมพัฒนาพันธุ์ข้าวนาน้ำฝน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และสายพันธุ์ กข6 ที่มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม และ ยังคงคุณภาพใกล้เคียงกับพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 และพันธุ์ กข 6 เดิม ซึ่งบางสายพันธุ์ผ่านการปลูกทดสอบในศูนย์วิจัยข้าวและในแปลงเกษตรกรแล้ว และอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์จากกรมการข้าว ได้แก่ สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน และสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ และเพื่อให้เกิดกรอบความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาข้าวเชิงบูรณาการอย่างชัดเจนและอำนวยความสะดวกในการปฏิบัติงานร่วมกันระหว่างบุคลากรของกรมการข้าวและบุคลากรของ สวทช. ทั้งสองหน่วยงานจึงเห็นร่วมกันว่าควรมีการจัดทำกรอบบันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการวิจัยและพัฒนาด้านข้าวร่วมกัน ในระยะที่ 2 

ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวต่อว่า “ดังนั้น เพื่อให้การดำเนินงานวิจัยของทั้ง 2 หน่วยงานรวดเร็วและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น จึงเห็นร่วมกันว่า ควรจะใช้จุดแข็งของทั้งสองหน่วยงานที่มีมาทำงานร่วมกัน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อเกษตรกร โดยความร่วมมือครั้งนี้ จะมีการสนับสนุนด้านบุคลากร ห้องปฏิบัติการ ครุภัณฑ์และงบประมาณ รวมไปถึงการแลกเปลี่ยนข้อมูลการวิจัย การถ่ายทอดผลงานวิจัยและเทคโนโลยีที่ได้พัฒนาขึ้น เพื่อการนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ที่สำคัญ ความร่วมมือครั้งนี้ ถือเป็นก้าวสำคัญของการพัฒนางานวิจัยด้านเทคโนโลยีชีวภาพของประเทศและจะนำไปสู่การขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นของประชาชนต่อไป “

สวทช. เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมท่องอวกาศ กับสถานีอวกาศนานาชาติ JAXA ในวันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09.30 น. ณ ห้องโถง ชั้น 1 กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรื่อง   สวทช. เปิดตัวผลงานเด็กไทยที่ผ่านการคัดเลือก ร่วมท่องอวกาศ กับสถานีอวกาศนานาชาติ JAXA ในวันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553   เวลา 09.30 น.   ณ ห้องโถง  ชั้น 1   กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เรียน  บรรณาธิการข่าว

 

             ด้วย โครงการ Thailand Zero-Gravity Experiment เป็นโครงการความร่วมมือระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และ  Japan Aerospace Exploration Agency (JAXA)  ประเทศญี่ปุ่น   ทั้งนี้  โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้นักวิจัย นักเรียน และนักศึกษา  ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนางานวิจัยทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางอวกาศของไทย  โดยเปิดโอกาสให้ร่วมส่งงานวิจัยขึ้นไปทดลองบนสถานีอวกาศนานาชาติ   และขึ้นทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก   ซึ่ง สวทช. เป็นผู้ให้การสนับสนุนชุดวิจัยทดลองและค่าใช้จ่ายสำหรับเพื่อใช้เดินทาง ณ ประเทศญี่ปุ่น

                ทั้งนี้ งานแถลงข่าวความสำเร็จของทีมเยาวชนไทยที่ผ่านการคัดเลือกจากสถานีอวกาศนานาชาติ  JAXA ให้ร่วมทำการทดลองในสภาวะแรงโน้มถ่วงต่ำบนเที่ยวบินพาราโบลิก ณ  ประเทศญี่ปุ่น ในเดือนธันวาคม 2553 นี้ ได้แก่ ผลงานเรื่อง A Study of  Water Drops Spreading in Textiles Under Microgravity Condition  

            การนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวได้รับเกียรติจาก ฯพณฯ คุณหญิงกลัยา ดสภณพนิช รับมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันพุธ ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09.30 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาหาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ,คุณสรินยา,คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,712 หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006 , 084-9100850

สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ กรมการข้าว สนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าวไทย อันนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ให้มีความ ต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ในระยะที่ 2

เรื่อง   สวทช./ก.วิทย์ฯ ร่วมกับ กรมการข้าว สนับสนุนงบประมาณและเทคโนโลยีเพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับข้าวไทย อันนำไปสู่การพัฒนาสายพันธุ์ข้าว ให้มีความ ต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสมได้ ในระยะที่ 2

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับ กรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพิธีลงนามความร่วมมือสนับสนุนด้านงบประมาณ รวมถึงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อใช้ในการวิจัยและพัฒนา

พันธุ์ข้าวนาน้ำฝน ให้มีความต้านทานต่อโรค แมลง และสภาวะแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม ในระยะที่ 2 ซึ่งจากการดำเนินงานมาในระยะที่ 1 ที่ผ่านมา ได้ข้าวสายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน สายพันธุ์ขาวดอกมะลิ 105 ทนดินเค็มและสายพันธุ์ กข6 ต้านทานโรคไหม้ ซึ่งอยู่ระหว่างการยื่นขอรับรองพันธุ์ พร้อมชมสายพันธุ์ข้าวตัวอย่าง ที่อยู่ภายใต้ความร่วมมือที่เตรียมเสนอเป็นพันธุ์รับรอง

           

ในวันพุธที่ 10 กุมภาพันธ์ 2553  เวลา 15.00 น. ณ ห้องโถง อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การนี้ ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีและปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานร่วมในงานดังกล่าวด้วย

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย  จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่  คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

งานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรื่อง     งานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก สวทช.ให้การสนับสนุน  “ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ประจำปี 2545” เรื่อง “ลักษณะพันธุกรรมประชากร และสถานภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่า และหย่อมป่าในประเทศไทย” ซึ่งมี ศ.ดร.พิไล พูลสวัสดิ์ ม.มหิดล เป็นหัวหน้าโครงการ เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ โครงการวิจัยได้มีการบูรณาการ ตั้งแต่งานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการที่มีการนำเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์จนก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ไปสู่การฝึกอบรมชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ ซึ่งได้ขยายผลให้เกิดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกเงือกอีกหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก เป็นต้น

 

การนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2553 เวลา 10.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

สวทช. /กระทรวงวิทย์ ฯ ร่วมกับภาคเอกชน สร้างเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ หวัง เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย

เรียน       เชิญสื่อมวลชน เยี่ยมชมโครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ ในวันพุธที่  20 มกราคม 2553 เวลา 09.00 น. นิคมอุตสาหกรรมอมตะนคร จ.ชลบุรี   สำหรับโครงการ ดังกล่าว เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ทั้งงานวิจัยขั้นพื้นฐาน และงานวิจัยประยุกต์ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ และพัฒนาอุตสาหกรรม รวมทั้ง เพื่อเร่งรัดการผลิตบุคลากรด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้สามารถตอบสนองความต้องการของภาคการผลิต     กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ( สวทช.) จึงได้ร่วมกับภาคเอกชน โดย บริษัท อมตะ  คอร์ปอเรชั่น จำกัด ( มหาชน ) จัดทำโครงการเมืองวิทยาศาสตร์อมตะ เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษา วิจัย และพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในระดับประเทศ มุ่งเน้นให้เกิดการใช้ทรัพยากรของภาครัฐและภาคเอกชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด สนับสนุนให้มีการจ้างงานและพัฒนาคุณภาพฝีมือแรงงานเฉพาะทางและเพิ่มสมรรถนะของประเทศไทยจากการเป็นฐานการผลิต ไปสู่ประเทศที่เป็นฐานการค้นคว้าวิจัยและพัฒนาของภูมิภาคเอเชีย โดยจะพัฒนากลุ่มองค์ความรู้ในด้านต่าง ๆ อาทิ ด้านการผลิต , การแพทย์ , ชีวภาพ ,ยานยนต์ ,เทคโนโลยีสารสนเทศ , พลังงานทดแทน , และภาษาศาสตร์

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณสรินยา, คุณโกเมศ, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150  ต่อ 237,217,212,712  หรือ 081-9886614,  081-6681064, 084-5290006  และ 084-9100850

ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรื่อง     งานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย”

เรียน    บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จัดงานแถลงข่าว ผลสำเร็จงานวิจัยเชิงบูรณาการ  “โครงการพันธุกรรมนกเงือกและถิ่นอาศัย” ซึ่งเป็นผลสืบเนื่องจาก สวทช.ให้ทุนสนับสนุน  “ทุนส่งเสริมกลุ่มนักวิจัยอาชีพ ประจำปี 2545” เรื่อง “ลักษณะพันธุกรรมประชากร และสถานภาพถิ่นที่อยู่อาศัยของนกเงือกในพื้นที่ผืนป่า และหย่อมป่าในประเทศไทย” เป็นระยะเวลา 5 ปี ทั้งนี้ จากการบูรณาการของโโครงการวิจัย ที่ได้นำเทคโนโลยีด้านวิทยาศาสตร์มาวิเคราะห์จนก่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ ไปสู่การฝึกอบรมชาวบ้าน เจ้าหน้าที่ในเขตพื้นที่ และได้ขยายผลให้เกิดโครงการอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับนกเงือกอีกหลากหลายโครงการ อาทิ โครงการค่ายอนุรักษ์ธรรมชาติ โครงการอุปการะครอบครัวนกเงือก โครงการปรับปรุงรังนก โครงการสร้างโพรงเทียมสำหรับนกเงือก เป็นต้น

 

การนี้ งานแถลงข่าวดังกล่าวได้รับเกียรติจาก คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธี ในวันศุกร์ ที่ 22 มกราคม 2553 เวลา 10.00 น. ณ ห้องโถงชั้น 1 อาคารพระจอมเกล้า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ  เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี   โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850