กระทรวงวิทย์ฯ/เอ็มเทค สวทช. มอบเสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูง แก่แม่ทัพภาคที่ 3 จ.พิษณุโลก เพื่อภาระกิจป้องปรามยาเสพติด

 [singlepic id=382 w=320 h=240 float=]

22 มกราคม 2554  ณ  กองทัพภาคที่ 3 ค่ายนเรศวร  จังหวัดพิษณุโลก : ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีมอบเสื้อเกราะป้องกันกระสุนแบบแข็ง ที่เกิดจากงานวิจัยและพัฒนาจากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.)  ให้แก่ พลโท วรรณทิพย์ ว่องไว แม่ทัพภาคที่ 3 จำนวน 47 ตัว เพื่อใช้ในการปฏิบัติหน้าที่ด้านความมั่นคง และร่วมปฏิบัติการปราบปรามยาเสพติดที่แพร่ระบาดอย่างนักช่วงนี้

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การส่งมอบเสื้อเกราะป้องกันกระสุนให้แก่กองทัพภาคที่ 3 ในครั้งนี้ ถือว่าเป็นอีกบทบาทสำคัญที่ วท.ได้ตอบสนองนโยบายรัฐบาลในด้านความมั่นคง โดยการสนับสนุนและส่งเสริมวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมป้องกันประเทศทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้สามารถผลิตอาวุธยุทโธปกรณ์ได้เอง และเพื่อสนองต่อนโยบายของรัฐบาลตามกรอบที่กำหนดไว้ อาทิ กระทรวงกลาโหมได้ประกาศนโยบายสำคัญไว้เมื่อวันที่ 20 ธันวาคม 2551 ที่จะให้มีการพัฒนาและเสริมสร้างองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทางทหาร รวมทั้งสนับสนุนการวิจัยและพัฒนา เพื่อมุ่งสู่การพึ่งพาตนเอง โดยเน้นความร่วมมือกับเครือข่ายการวิจัย ทั้งภายในและภายนอกกระทรวงกลาโหม ซึ่งที่ผ่านมา กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ให้ความสำคัญกับการสนับสนุนการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้มาอย่างต่อเนื่อง โดยถือเป็นนโยบายที่สำคัญและเร่งด่วนเป็นอย่างยิ่ง อาทิ การทำงานร่วมกับกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร หรือ กอ.รมน.  ทั้งในด้านการสนับสนุนผลงานที่เกิดจากการวิจัยพัฒนาหลายประการอันได้แก่ เครื่องตัดสัญญาณโทรศัพท์มือถือที่มีประสิทธิภาพสูง เสื้อเกราะกันกระสุน โปรแกรมแปลภาษาท้องถิ่น เช่น มลายู และภาษาชนกลุ่มน้อยแถบชายแดนที่ติดกับประเทศไทย โครงการวิจัยและพัฒนาระบบรู้จำใบหน้าบุคคลสำหรับใช้ในภารกิจ ปิดล้อม ตรวจค้น จุดตรวจ เป็นต้น เพื่อนำไปใช้ในภารกิจด้านการรักษาความมั่นคงของประเทศ เพื่อปกป้องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนชาวไทย และที่สำคัญคือการพึ่งพาเทคโนโลยีและการผลิตภายในประเทศที่สามารถตอบสนองการใช้งานในการแก้ไขปัญหาและลดค่าใช้จ่ายในด้านงบประมาณที่จะต้องใช้ในการซื้ออุปกรณ์และเทคโนโลยีจากต่างประเทศ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานด้านความมั่นคงของประเทศต่อไป

 

 

ส่วนเสื้อเกราะกันสุนที่มอบให้แก่ แม่ทัพภาคที่ 3 นั้น เป็นผลงานที่สร้างความภาคภูมิใจให้กับเอ็มเทค/สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่สามารถวิจัยและพัฒนาแผ่นเกราะกันกระสุนแบบแข็งที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญ ในการผลิตเสื้อเกราะป้องกันกระสุน จนเป็นผลสำเร็จ โดยไม่ต้องพึ่งพาเทคโนโลยีจากต่างประเทศ  ผลงานวิจัยดังกล่าวมีประโยชน์อย่างยิ่ง ต่อการสนับสนุนหน่วยงานด้านความมั่นคงของประเทศ สำหรับใช้ในกิจการป้องกันอันตรายของเจ้าหน้าที่ในการแก้ไขปัญหากวาดล้างยาเสพติดที่ระบาดอย่างหนักในระยะนี้ โดยกองทัพภาคที่ 3 รับผิดชอบในพื้นที่ 17 จังหวัด ภาคเหนือ รวมทั้งรักษาความสงบเรียบร้อยในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้  ดร.วีระชัยฯ กล่าวเพิ่มเติม

ดร.วีระศักดิ์ อุดมกิจเดชา ผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค/สวทช.) กล่าวเพิ่มว่า ส่วนประกอบแผ่นเกราะกันกระสุน ประกอบด้วย แผ่นกระจายแรง และแผ่นดูดซับแรง ซึ่งแผ่นกระจายแรงทำจากเซรามิกส์ชนิดอลูมินา นำมาหุ้มประกอบกับโลหะอะลูมิเนียมและเส้นใยเคฟลาร์ความหนาแน่นสูง ทำหน้าที่ดูดซับแรงและช่วยเก็บสะเก็ดไม่ให้เป็นอันตราย โดยแผ่นเกราะแข็งมีลักษณะเป็นแผ่นโค้งที่ออกแบบให้รองรับกับสรีระของคนไทย ซึ่งแผ่นกระจายแรงที่อยู่ด้านนอกจะทำหน้าที่ทำลายหัวกระสุน ด้วยคุณสมบัติของวัสดุเซรามิกส์ที่เบาและแข็ง สามารถทำลายหัวกระสุนที่มีความเร็วสูงให้แตกออกเป็นชิ้นเล็กๆ ได้ และความแข็งช่วยให้กระจายแรงได้ดี ทั้งนี้ เสื้อเกราะกันกระสุนคุณภาพสูงดังกล่าว มีน้ำหนักเพียง 8 กิโลกรัม มีอายุการใช้งานยาวนานกว่า เพราะสามารถทนต่อความชื้นและแสงแดดได้ดีกว่า เสื้อเกราะที่นำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีราคาที่ถูกกว่าการนำเข้าเกือบเท่าตัว นอกจากนี้ เสื้อเกราะกันกระสุนดังกล่าว ผ่านการทดสอบคุณภาพจากกองพลาธิการและสรรพาวุธ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ แล้วว่ามีประสิทธิภาพการป้องกันภัยของเกราะบุคคลในระดับ 3A (ยิงด้วยกระสุน .44 แม็คนั่ม และ M855)  และมีประสิทธิภาพในระดับ 3  (ยิงด้วยกระสุน 7.62 มม.) เมื่อใช้ร่วมกับเสื้อเกราะอ่อน 3A  ตามมาตรฐาน NIJ (National Institute of Justice) ของสหรัฐอเมริกา เป็นที่เรียบร้อยแล้ว นอกจากนี้ เอ็มเทคยังมีโครงการวิจัยอื่นที่มีการต่อยอดจากโครงการดังกล่าว เพื่อเลือกใช้วัสดุเซรามิกส์ที่เบากว่า แต่มีความแข็งแรงเท่ากับอลูมินา เพื่อนำไปทำเป็นเกราะสำหรับงานประเภทอื่นนอกเหนือจากเสื้อเกราะป้องกันกระสุน

มอบชุดส้วมฉุกเฉินให้กับอาสาดุสิตเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมทางภาคใต้

[singlepic id=373 w=320 h=240 float=]

นางลัดดา  หงส์ลดารมภ์  ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สวทช.มอบชุดส้วมฉุกเฉินเคลื่อนที่และครีมโทรลอล (ต้านเชื้อราป้องกันน้ำกัดเท้า) ให้กับอาสาดุสิตเพื่อนำไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วมในเขตจังหวัดภาคใต้ต่อไป

ก.พลังงาน จับมือ กระทรวงวิทย์ ฯ ชู MOU บูรณาการด้านการส่งเสริม วิจัย พัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทน หวัง 2 กระทรวงประสานงานใกล้ชิด ด้านงบประมาณและบุคลากร ยันเป็นแรงผลักดันให้เกิดเทคโนโลยีพลังงานทดแทนโดยคนไทย สร้างงานให้คนไทย เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน

[singlepic id=367 w=320 h=240 float=]

วันนี้ (13มค.) นายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน และดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมกันลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ วิจัย และพัฒนาการนำเทคโนโลยีมาใช้ เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทน โดยมีผู้บริหารระดับสูง และผู้ที่เกี่ยวข้องจากหน่วยงานทั้ง 2 กระทรวง พร้อมด้วยสื่อมวลชนจากทุกแขนง เข้าร่วมงาน และเป็นสักขีพยาน ณ ห้องประชุมใหญ่ อาคาร 2 กระทรวงพลังงาน

[singlepic id=364 w=320 h=240 float=]

นายแพทย์วรรณรัตน์ กล่าวว่า การบรรลุข้อตกลงความร่วมมือระหว่างกระทรวงพลังงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์ และการร่วมกันเซ็น MOU ในวันนี้ ถือเป็นการบรรลุข้อตกลงที่สำเร็จขึ้นครั้งแรกร่วมกันระหว่าง 2 กระทรวง และนับเป็นการบูรณาการความร่วมมือด้านงานวิจัยครั้งสำคัญ ซึ่งเกิดขึ้นได้ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยกระทรวงพลังงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะได้มีข้อตกลงร่วมกัน ในการส่งเสริมการวิจัยและพัฒนาการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทน ให้บรรลุวัตถุประสงค์โดยเฉพาะตามแผนแม่บทการพัฒนาพลังงานทดแทนแห่งชาติ 15 ปี

[singlepic id=361 w=320 h=240 float=]

ทั้งนี้ วัตถุประสงค์ที่สำคัญของ MOU ครั้งนี้ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีความตั้งใจให้เกิดการพัฒนาเทคโนโลยีที่สำคัญด้านการส่งเสริมพลังงานทดแทนในด้านต่างๆ ซึ่งจะมีการพัฒนาเทคโนโลยีของคนไทยจ้างงานโดยคนไทย สร้างผู้ประกอบการไทยและนำมาซึ่งการลดการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ ที่สำคัญของ MOU นี้ จะเกิดการจัดตั้งคณะกรรมการร่วม หรือคณะทำงานร่วมกันของทั้ง 2 กระทรวง อย่างเป็นรูปธรรม โดยเฉพาะการดำเนินการด้านงบประมาณสนับสนุนในโครงการต่างๆ ระหว่างกันเพื่อเสนอเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี เพื่อส่งเสริมด้านงานวิจัย และพัฒนาการเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทนอย่างต่อเนื่อง

นอกจากนี้ กระทรวงพลังงาน และกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังจะได้สนับสนุนข้อมูลระหว่างกัน เพื่อประกอบการส่งเสริม งานวิจัย และการพัฒนาพลังงานเทคโนโลยี เพื่อเป็นเครื่องมือสำคัญในการพัฒนาเทคโนโลยีพลังงานทดแทนอย่างจริงจังในอนาคต และมั่นใจว่า MOU ครั้งนี้จะเป็นก้าวสำคัญ ในการเร่งพัฒนา เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับพลังงานทดแทนอย่างรอบด้าน อาทิ ในภาคการคมนาคมขนส่ง การพัฒนาพืชพลังงานรูปแบบใหม่ รวมไปถึงการผลิตความร้อนและกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ได้แก่ พลังแสงอาทิตย์ ลม ชีวมวล ขยะ และก๊าซชีวภาพ อย่างจริงจังต่อไป

 

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กล่าวว่าพลังงานเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อชีวิตความเป็นอยู่ของพี่น้องประชาชนโดยรวมส่งผลกระทบโดยตรงต่อเศรษฐกิจด้านการผลิตและการขนส่งของประเทศ ดังนั้นการวิจัยและพัฒนาเพื่อจัดหาพลังงานทดแทนจึงเป็นแนวทางที่สำคัญในการแก้ปัญหาดังกล่าว โดยกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ในฐานะหน่วยงานหลักของประเทศที่รับผิดชอบในด้านการวิจัยพัฒนา จึงได้ทำการวิจัยและพัฒนาด้านพลังงานทดแทนเพื่อนำองค์ความรู้ที่ได้รับมาใช้แก้ไขปัญหาวิกฤติพลังงานของชาติ ได้แก่ การผลิตเอทานอลและไบโอดีเซลมาใช้เพื่อลดปริมาณการใช้น้ำมันการวิจัยโดยนำพลังงานแสงอาทิตย์ ลม น้ำ ขยะ ก๊าซชีวภาพมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า เป็นต้น นอกจากนี้กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ ยังได้ทำการวิจัยเพื่อนำพลังงานใหม่ๆ อาทิ พลังงานไฮโดรเจนและเซลล์เชื้อเพลิง (fuel cell) พลังงานจากคลื่นทะเลเพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า เป็นต้น มาทดแทนพลังงานที่กำลังจะขาดแคลน ซึ่งท่านที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.nstda.or.th/index.php/nstda-r-and-d/2797-nstda-energy-env-cluster-201101

ดร.วีระชัย กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า การบูรณาการความร่วมมือด้านงานส่งเสริม วิจัยและพัฒนาการนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อการพัฒนาพลังงานทดแทนร่วมกันระหว่างกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ และกระทรวงพลังงานในวันนี้ จะนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นระบบมากยิ่งขึ้น ทั้งการกำหนดสัดส่วนของการใช้พลังงานทดแทนไว้ประมาณร้อยละ 20 ของการใช้พลังงานทั้งหมด โดยร่วมกันกำหนดแนวทางการวิจัยพัฒนาด้านพลังงานทดแทนให้สอดคล้องกับแผนแม่บท โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวิจัยเพื่อเพิ่มผลผลิตของวัตถุดิบที่ใช้ผลิต เอเทนอลและ ไบโอดีเซล ทั้งส่วนที่เป็นพืชอาหาร เช่น อ้อย มันสำปะหลัง ปาล์ม และพืชพลังงาน เช่น สบู่ดำ สาหร่าย รวมทั้งการวิจัยเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตเอเทนอล และ ไบโอดีเซล โดยการลงนามข้อตกลงความร่วมมือฯในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นของความสำเร็จที่จะเกิดขึ้นจากการทำงานระหว่าง 2 กระทรวง ที่มีเป้าหมายเพื่อประเทศชาติอย่างแท้จริงในอนาคต

สวทช.ขอเชิญร่วมส่งผ่านน้ำใจให้ครอบครัวผู้สูญเสียทั้ง3 ของนักวิจัย สวทช.ผ่านหมายเลขบัญชีธนาคาร

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ขอแสดงความเสียใจอย่างสุดซึ้งต่อครอบครัว ญาติพี่น้อง เพื่อนๆ ผู้ร่วมงานของบุคลากรที่ทรงคุณค่ายิ่งทั้งสามของ สวทช.และประเทศไทย  ซึ่งเป็นความสูญเสียที่ประเมินค่าไม่ได้  ทั้งสามผ่านการค้นพบและบ่มเพาะตลอดจนเสริมสร้างศักยภาพเพื่อกลับมาพัฒนาและตอบแทนคุณแผ่นดินเกิด บางท่านเพียรพยายามต่อสู้ชีวิตมาอย่างเหนื่อยยากลำบาก อีกทั้งยังเป็นเสาหลักหนึ่งเดียวของครอบครัว ซึ่งการจากไปอย่างกะทันหันนี้นอกเหนือจากที่ต้องผ่านช่วงเวลาที่ยากลำบากในการเสียบุคคลอันเป็นที่รักแล้วยังส่งผลกระทบต่ออนาคตของครอบครัว ซึ่งมีทั้งผู้ที่เป็นบิดา มารดา รวมทั้งภรรยาและลูกซึ่งต้องสูญเสียบุคลากรทั้งสามที่เป็นคนดีมีความสามารถที่ยังทำประโยชน์มากมายต่อประเทศไทยได้ในอนาคต 

 

สวทช.ขอถือโอกาสนี้เป็นสื่อกลางเชิญชวนทุกท่านส่งผ่านน้ำใจเพื่อการดูแลผู้ที่จากไปและครอบครัวอันเป็นที่รักของเขาเหล่านั้น ผ่านทางช่องทางเหล่านี้

 

1.ชื่อบัญชี  น.ส. ถวิล เช้าเที่ยง   หมายเลข 292-417438-2

     ธนาคารกรุงเทพ(ออมทรัพย์) สาขาราชบุรี

[มารดา ดร. ศาสตรา เช้าเที่ยง]

 

2.ชื่อบัญชี  นางสุภัชส์ศวีร์ รัตนโฉมศรี  หมายเลข 2062220347

     ธนาคารไทยพาณิชย์ (ออมทรัพย์)สาขาย่อยเซ็นทรัลลาดพร้าว

[ภรรยา นาย อุกฤษฎ์ รัตนโฉมศรี]

 

3.ชื่อบัญชี กษมน มั่นสิน เลขบัญชี 0662118603

     ธนาคารทหารไทย (ออมทรัพย์) สาขากรุงธน

[มารดา นาย เกียรติมันต์ รอดอารีย์]

 

 

ดร. ศาสตรา เช้าเที่ยง

 

ดร. ศาสตรา เช้าเที่ยง (เป็ด) เกิดวันที่ 11 เมษายน 2521 ที่จังหวัดราชบุรี ได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เมื่อปี 2538 ไปศึกษาในระดับปริญญาตรี โท เอก ณ ประเทศอังกฤษ เมื่อสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกจาก University of Birmingham ในปี 2548 และได้กลับมาปฏิบัติงานที่ห้องปฏิบัติการวิศวกรรมโปรตีนลิแกนด์และชีววิทยาโมเลกุล หน่วยวิจัยชีววิทยาโมเลกุลทางการแพทย์ ไบโอเทค สวทช. ตั้งแต่เดือนมกราคม 2549 ในระยะเวลาเกือบ 5 ปีที่ทำงานที่ไบโอเทค สวทช. เป็ดเป็น 1 ในทีมวิจัย ที่มีความขยันหมั่นเพียรในการทำงานร่วมกับกลุ่มงานวิจัยมาลาเรียของไบโอเทค สวทช. โดยทำการศึกษากลไกการดื้อยาของเชื้อมาลาเรีย เป็ดเป็นนักวิจัยรุ่นใหม่ที่กำลังมาแรง ทำงานได้ผลดีมาก และจากความมุ่งมั่นในการตามงานอย่างใกล้ชิดและขยันขันแข็ง เป็นคนที่มีน้ำใจ มีความคิดสร้างสรรค์ มักให้ข้อเสนอแนะดีๆ ในการวิจัย และช่วยสร้างเสียงหัวเราะให้กับทีมวิจัยเสมอๆ เป็ดเป็นเพื่อนที่พร้อมจะสร้างบรรยากาศงานวิจัยที่ดีให้แก่ทีมวิจัยทุกคน นอกเหนือจากเป็นกำลังสำคัญกับห้องปฏิบัติการของ ไบโอเทค สวทช. เป็ดยังเป็นเสาหลักสำคัญเพียงหนึ่งเดียวให้กับคุณแม่และน้องซึ่งยังไม่บรรลุนิติภาวะด้วย

 

 

นาย อุกฤษฎ์ รัตนโฉมศรี

 

นาย อุกฤษฎ์ รัตนโฉมศรี (บี) เกิดวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2523 ที่จังหวัดชลบุรี สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีจากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล วิทยาเขตบางพระ เริ่มปฏิบัติงานที่ไบโอเทค สวทช.ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปี 2545 ในตำแหน่งผู้ช่วยนักวิจัย ห้องปฏิบัติเทคโนโลยีเอนไซม์ หน่วยวิจัยเทคโนโลยีทรัพยากรชีวภาพ บี เป็นผู้ที่มีความสามารถ เป็นกำลังสำคัญของห้องปฏิบัติการ มีผลงานที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติจำนวนมาก และได้สร้างชื่อเสียงให้กับไบโอเทค สวทช. โดยได้รับรางวัลExcellent Paper Award of the Society for Biotechnology , Japan ที่คัดเลือกจากผลงานตีพิมพ์นานาชาติชั้นเยี่ยมจากนักวิจัยนอกประเทศญี่ปุ่นที่ได้รายงานผลงานวิจัยโดดเด่น ตลอด8 ปีที่บีปฏิบัติงานร่วมกับไบโอเทค สวทช.เป็นทั้งคนที่ดีและเก่ง บีช่วยทุกคนที่ขอความช่วยเหลือไม่ว่าจะเป็นเรื่องงานหรือเรื่องส่วนตัว และไม่เคยท้อถอยจะทำทุกอย่างให้สำเร็จด้วยความมุ่งมั่นเสมอ เป็นคนที่มีส่วนสำคัญอย่างมากต่อความก้าวหน้าในการวิจัยของห้องปฏิบัติการเทคโนโลยีเอนไซม์ สร้างผลงานที่ดีมีคุณภาพด้วยความตั้งใจ นอกจากเป็นคนที่มีพรสวรรค์ทางด้านการทำงานวิจัย คอมพิวเตอร์ และการออกแบบให้ทุกอย่างดูดี เป็นคนที่มีความจริงใจ ซื่อสัตย์ เป็นกำลังใจ เป็นเพื่อนที่สร้างความสนุกสนานให้เพื่อนร่วมงานภายใต้บรรยากาศการทำงานที่เคร่งเครียดแล้ว บียังเป็นคนรักครอบครัวอย่างมากซึ่งแน่นอนว่าการจากไปของบีจะส่งผลกระทบต่ออนาคตของภรรยาและลูกเล็กของเขาซึ่งมีวัยเพียงแค่ 3 ปีเป็นอย่างมาก  

 

 

นาย เกียรติมันต์ รอดอารีย์

 

นาย เกียรติมันต์ รอดอารีย์   นักเรียนทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ (โท-เอก)  ซึ่งมาช่วยปฏิบัติงานวิจัยในห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องกลจุลภาค (MEM)  โดยในวันเกิดเหตุเกียรติมันต์อยู่ปฏิบัติงานที่ ห้องปฏิบัติการฯจนค่ำ จึงได้เดินทางกลับที่พัก และประสบเหตุ ดังกล่าว

เกียรติมันต์มีความสนใจในเรื่องวิศวกรรมนาโนฯ มาตั้งแต่เรียนที่โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา และ ระหว่างศึกษาที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เข้ามาฝึกงาน และทำโครงงานวิจัยตั้งแต่ปี 2552  ที่ห้องปฏิบัติการวิจัยนาโนอิเล็กทรอนิกส์และ เครื่องกลจุลภาค (MEM)    และจบการศึกษาระดับปริญญาตรี เกียรตินิยมอันดับ 1 สาขา Nano Engineering (International Program) ด้วยคะแนน 3.90 เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ที่ผ่านมา  รวมทั้ง เพิ่งได้รับทุนกระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ  และอยู่ระหว่างการเตรียมตัวเดินทางเพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศ  ในระหว่างที่มาฝึกงานและช่วยปฏิบัติงานวิจัยที่ MEM  เกียรติมันต์เป็นผู้ที่มีความประพฤติเรียบร้อย  มึความตั้งใจสูง  ทุ่มเททำงานจนมีผลงานที่โดดเด่นเป็นอย่างมาก เคยได้รับการตอบรับไปนำเสนอ paper ที่ฮ่องกงในระหว่างศึกษาระดับปริญญาตรี และล่าสุดคือ paper ที่เขียนอยู่ได้รับการตอบรับเพื่อตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติชั้นนำทางด้าน วิศวกรรมนาโนฯ  การสูญเสียครั้งนี้จึงถือได้ การสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่า และบุคคลที่จะเป็นกำลังสำคัญด้านงานวิจัยของประเทศในอนาคต

 

ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมแสดงความเสียใจและส่งผ่านน้ำใจมา ณ โอกาสนี้ค่ะ

IRPCเสริมทัพงานวิจัยและพัฒนาจับมือ สวทช. ต่อยอดผลิตภัณฑ์

[singlepic id=346 w=320 h=240 float=]

IRPC เดินหน้างานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์เต็มสูบ ประกาศจับมือ สวทช. ต่อยอดวิจัย 5 ผลิตภัณฑ์หลักให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น ก่อนจะก้าวไปสู่ความร่วมมืออื่นๆในอนาคต ชี้เป็นก้าวย่างสำคัญที่จะสร้างฐานความรู้ด้านงานวิจัยและต่อยอดผลิตภัณฑ์ อุตสาหกรรมของประเทศ

 

          วันที่ 7 มกราคม 2554 ได้มีพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือพัฒนางานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระหว่าง สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เพื่อวิจัยและพัฒนาโครงการและผลิตภัณฑ์ของ IRPC ให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพ                 ด้วยการคำนึงถึงการเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และตอบโจทย์ความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันได้มากยิ่งขึ้น

วัตถุประสงค์สำคัญของบันทึกข้อตกลงฯ นี้ คือ เพื่อสนับสนุนบุคลากรที่มีความรู้และเชี่ยวชาญ                ให้สามารถใช้ความรู้ความสามารถในการคิดค้นและวิจัยเพื่อสร้างสรรค์ผลงานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ตามแนวนโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการวิจัยของประเทศ ให้สามารถนำไปใช้ในการพัฒนาประเทศ ด้วยการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการสร้างฐานความรู้อย่างยั่งยืน

ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า               การลงนามความร่วมมือระหว่าง สวทช. และ IRPC ครั้งนี้ ถือเป็นก้าวย่างสำคัญของการเป็นพันธมิตรระหว่างหน่วยงานทั้ง 2 ที่มีเป้าหมายเดียวกัน คือมุ่งหวังจะยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันและพัฒนาด้านผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมของประเทศอย่างยั่งยืน โดยความร่วมมือนี้ สวทช. จะเข้ามาช่วยวิจัยและพัฒนา              เพื่อต่อยอด 5 ผลิตภัณฑ์หลักของ IRPC ประกอบด้วย

  1. โครงการ Green ABS ที่ IRPC คิดค้นสำเร็จเป็นรายแรกของโลก โดย สวทช. จะทำการวิจัยและพัฒนาเพิ่มคุณภาพของยางพาราให้มีคุณภาพและใกล้เคียงกับยางสังเคราะห์มากขึ้นเพื่อจะเพิ่มปริมาณการทดแทนให้ได้ถึง 50% จากเดิมที่สามารถทดแทนยางสังเคราะห์ได้เพียง 20%
  2. โครงการ EPS for construction ที่นำโฟมมาผสมกับคอนกรีตเพื่อใช้เป็นวัสดุก่อสร้าง ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานและลดปัญหาภาวะโลกร้อนซึ่ง สวทช. จะเข้ามาช่วยพัฒนาชิ้นงานให้บางและเบาขึ้น รวมทั้งเพิ่มคุณสมบัติการเป็นฉนวนให้ดีขึ้นไม่ติดไฟ และยังผสมโฟมลงไปในส่วนงานทำคอนกรีตที่ใช้ทำพื้น เพื่อช่วยในการกันความร้อนได้เลยเหมือนเป็นฉนวนไปในตัว

 

  1. โครงการ Compound Polymer Composite (WPC) ซึ่งเป็นการผลิตเม็ดพลาสติกผสมขี้เลื่อย ซึ่งจะมีส่วนช่วยในการรักษาสิ่งแวดล้อม เพราะสามารถลดการตัดต้นไม้และลดการใช้พลาสติกได้มากที่สุดถึง 70% ซึ่ง สวทช. จะเข้ามาพัฒนาในส่วนงานขึ้นรูปพลาสติก เช่น เก้าอี้พลาสติก ไม้เทียม                        ที่จะนำไปใช้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ วัสดุตกแต่งต่างๆ เป็นต้น
  2. โครงการ Renewable Chemical ที่นำน้ำมันพืชมาทดแทนน้ำมันดิบ ในการผลิตน้ำมันหล่อลื่นหรือ น้ำมันเครื่องด้วยการเติมไฮโดรเจนลงไป เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภคและสังคมที่หันมาใส่ใจสิ่งแวดล้อมกันมากขึ้นในปัจจุบัน โดย สวทช. จะมีบทบาทสำคัญในการวิจัยและพัฒนาให้คุณภาพน้ำมันที่ได้เหมาะสมกับการเป็นน้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อลื่น
  3. โครงการ Acetylene Black คือการนำแก๊ส Acetylene มาเผาเพื่อให้ได้เขม่าดำสำหรับอุตสาหกรรมถ่านไฟฉายซึ่ง สวทช. จะเข้ามาช่วยเพิ่มคุณภาพของเขม่าดำให้สูงขึ้นจนสามารถนำมาใช้ในอุตสาหกรรมโซล่าเซลล์ และ แบตเตอร์รี่รถยนต์ในที่สุด โดยโครงการนี้จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กับวัตถุดิบที่มีอยู่ให้นำมาใช้ให้ได้ประโยชน์สูงสุด

 [singlepic id=349 w=320 h=240 float=]

ทั้งนี้ การวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ IRPC ก้าวไปสู่เป้าหมายในการเป็นบริษัทอุตสาหกรรมปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำ ของภูมิภาคเอเชียในปี 2557 ดังนั้น บริษัทฯ จึงจะเพิ่มความเข้มข้นในการให้ความสำคัญกับงานด้านนี้มากขึ้น โดยในปีหน้าบริษัทฯ มีแผนจะลงทุนสร้างศูนย์วิจัยและพัฒนาสำหรับสินค้า Specialty พร้อมทั้งจะเพิ่มงบในการวิจัยพัฒนาในสินค้าเกรดพิเศษเป็นสัดส่วน 1% ของรายได้รวม จากปัจจุบันที่มีสัดส่วน 0.1% ของรายได้

 

“IRPC ถือเป็นเกียรติที่ได้ สวทช. เข้ามาเป็นพันธมิตรด้านการวิจัยและพัฒนา ที่จะเข้ามาช่วยต่อยอดการคิดค้นผลิตภัณฑ์ของเราให้ดีและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ซึ่งเราหวังว่าจะมีความร่วมมืออื่นๆ อีกในอนาคต เพราะการมีพันธมิตรที่แข็งแกร่งอย่างนี้ ไม่เพียงแต่จะเป็นการสนับสนุนเราในการเดินหน้าไปสู่เป้าหมายการเป็นบริษัทชั้นนำของเอเชียเท่านั้น หากแต่ยังเป็นการร่วมกันแสดงให้ทั่วโลกได้ตระหนักถึงศักยภาพด้านการวิจัยของคนไทยอีกด้วย” กรรมการผู้จัดการใหญ่กล่าว

 

ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า การลงนามในวันนี้ ได้แสดงให้เห็นถึงความร่วมมืออย่างใกล้ชิดระหว่างภาคเอกชนและรัฐ ในการขับเคลื่อนศักยภาพด้านงานวิจัยและพัฒนาของประเทศ และเป็นภารกิจที่ สวทช. ซึ่งเป็นหน่วยงานภาครัฐที่ได้รับมอบหมายพันธกิจสำคัญ คือการเป็นรากฐานในการสร้างเครือข่ายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่เข้มแข็ง ยินดีที่จะให้ความร่วมมือ

 

 

 

            “สวทช. มีนักวิจัยจากหลากหลายสาขาที่พร้อมจะสร้างงานวิจัยที่ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตให้แก่สังคมและประเทศชาติตามแนวโนบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาการวิจัยของประเทศ เพื่อก้าวสำคัญ ในการพัฒนางานวิจัยให้ทุกฝ่ายได้รับรู้และเห็นความสำคัญของการวิจัย ซึ่งจะนำไปสู่การยอมรับของสังคมและสามารถนำผลการวิจัยไปใช้เพื่อพัฒนาประเทศให้ขับเคลื่อนก้าวสู่ประเทศเศรษฐกิจฐานความรู้ พร้อมสร้างสรรค์พัฒนาก้าวสู่อนาคตอย่างยั่งยืน รวมทั้งมีองค์ความรู้ผ่านกลไกการสนับสนุนในรูปแบบต่างๆ เช่น การอุดหนุนและให้คำปรึกษากับเอกชนผ่านโครงการ iTAP ซึ่งอาศัยผู้เชี่ยวชาญเข้ามาร่วมแก้โจทย์ปัญหาของภาคอุตสาหกรรม โดยสวทช.ให้เงินทุนช่วยเหลือได้ 50% เงินอุดหนุนการวิจัยให้กับภาคเอกชนมากถึง 75% รวมถึงแรงจูงใจทางด้านภาษี สำหรับบริษัทเอกชนที่มีค่าใช้จ่ายด้านการวิจัยพัฒนาเทียบเท่ากับว่าลดภาษีน้อยลง เป็นกลไกกระตุ้นให้ภาคเอกชนต้องการทำงานวิจัยมากขึ้น

 

ในโอกาสอันดีนี้ ผมเชื่อมั่นว่าการที่สององค์กรที่มุ่งเน้นด้านการวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศได้ผนึกกำลังจะเป็นก้าวสำคัญในการผลักดันการวิจัยและพัฒนา และนำผลงานวิจัยและพัฒนาไปใช้ประโยชน์ได้อย่างแท้จริง

 

 

———————————————–

 

ข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อ : ชนิดา  สัณหกร ส่วนสื่อสารองค์กร ฝ่ายกำกับและสื่อสารองค์กร บมจ.ไออาร์พีซี

โทรศัพท์ :  0 – 2649-7285, 0 – 2649 – 7271 

โทรสาร :   0 – 2649 – 7290    E-Mail:     chanida.s@irpc.co.th

 

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ.สวทช.เข้ามอบกระเช้าของขวัญปีใหม่แด่ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ

[singlepic id=343 w=320 h=240 float=]

พันธุ์ข้าวเหนียวพระราชทานนาม “ ธัญสิริน”

[singlepic id=337 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=325 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=322 w=320 h=240 float=]

วันที่ 15 ธันวาคม 2553  ดร. วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  นำข้าวเหนียวพระราชทาน “ ธัญสิริน ” ซึ่งได้รับพระราชทานนามจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี แสดงต่อสื่อมวลชน โดยข้าวสายพันธุ์ดังกล่าว เป็นพันธุ์ข้าวเหนียวที่มีคุณภาพเท่าพันธุ์ กข6  แต่มีความต้านทานโรคไหม้  ซึ่งพันธุ์ กข6 เดิมไม่มี โดยคุณสมบัติดังกล่าวจะช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากโรคไหม้ เนื่องจากสามารถลดความเสียหายที่เกิดจากโรคไหม้ที่มักเกิดขึ้นเป็นประจำในพื้นที่นาน้ำฝนในฤดูนาปีได้ นอกจากนั้นยังช่วยลดต้นทุนการผลิตที่เกิดจากการใช้สารเคมีฆ่าเชื้อราที่เป็นสาเหตุของโรคไหม้แก่เกษตรกรผู้ปลูกด้วย โดย ดร.วีระชัยเปิดเผยในรายละเอียดว่า

[singlepic id=325 w=320 h=240 float=]

          “กระทรวงวิทยาศาสตร์ โดย สวทช.ไบโอเทค ได้ให้ความสำคัญกับงานวิจัยด้านการปรับปรุงพันธุ์ข้าวโดยใช้เทคโนโลยีชีวภาพมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2532 ใช้ข้อมูลจีโนมช่วยในการปรับปรุงพันธุ์ข้าว โดยได้พัฒนาดีเอ็นเอเครื่องหมายที่ควบคุมลักษณะสำคัญ เช่น คุณภาพเมล็ด ความสามารถทนต่อน้ำท่วม ทนเค็ม ทนแล้ง ต้านทานโรคไหม้ ขอบใบแห้ง เพลี้ยกระโดด เป็นต้น สำหรับข้าวเหนียวพันธุ์ดังกล่าวนี้ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี  พระราชทานชื่อพันธุ์ข้าวว่า “ธัญสิริน” โดยในปี 2551-2553 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลล้านนา มูลนิธิฮักเมืองน่าน ศูนย์วิจัยข้าวสกลนคร ศูนย์วิจัยข้าวพันธุ์ชุมแพ  มหาวิทยาลัยขอนแก่น ส่วนราชการในพื้นที่ที่เกี่ยวข้อง เช่น เกษตรกรจังหวัด เกษตรกรอำเภอ องค์การบริหารส่วนตำบล ได้ร่วมในการอบรมถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวและการกระจายเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีให้กับเกษตรกรในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จ.น่าน  จ.เชียงราย จ.ลำปาง จ.สกลนคร และ จ.ชัยภูมิ พื้นที่รวมประมาณ 5,000 ไร่ ได้ผลผลิตเฉลี่ย 800 กิโลกรัมต่อไร่

[singlepic id=340 w=320 h=240 float=]

จากการที่เกษตรกรเพาะปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ได้ผลตอบรับเป็นอย่างดี ทำให้ได้ผลผลิตสูงกว่าพันธุ์ กข6 ไม่เป็นโรค ต้นไม่ล้ม เกี่ยวง่าย เมล็ดเรียว ข้าวกล้องขายได้ราคาดี ขายเมล็ดพันธุ์ได้ราคาสูง เกษตรกรรายอื่นในชุมชนสนใจอยากได้ และทำให้ไม่ต้องใช้สารเคมีทำให้ผลิตข้าวแบบอินทรีย์ได้ผลดีเมล็ดพันธุ์ราคาสูง ลดต้นทุนค่าแรงงานในการเก็บเกี่ยว ทั้งนี้จะนำเข้ารายงานต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายผลต่อไป

[singlepic id=331 w=320 h=240 float=]

[singlepic id=334 w=320 h=240 float=]

 

ผู้ส่งข่าว   :     ลัดดา หงส์ลดารมภ์

ผู้อำนวยการ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

การประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์“ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวไทยสู่นวัตกรรม”

[singlepic id=307 w=320 h=240 float=]

มูลนิธิข้าวไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา กรมการข้าว ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร (องค์กรมหาชน) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ จะจัดประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติ ครั้งปฐมฤกษ์ ภายใต้หัวข้อ “ขับเคลื่อนงานวิจัยข้าวไทยสู่นวัตกรรม” ระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม 2553 ณ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตบางเขน กรุงเทพฯ

[singlepic id=310 w=320 h=240 float=]

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นเพื่อนำเสนอผลงานวิจัยและความรู้ด้านข้าวจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งชุมชนท้องถิ่น เพื่อพัฒนาเครือข่ายนักวิจัยและงานวิจัยด้านข้าวให้กว้างขวาง รวมทั้งร่วมกันหาแนวทางในการวางทิศทางและกลยุทธ์งานวิจัยด้านข้าวระดับชาติต่อไป ในการประชุมจะมีการปาฐกถาหรือบรรยายพิเศษต่างๆ เช่น  “นโยบายรัฐกับการวิจัยข้าวไทย” โดย พณฯ นายกรัฐมนตรี  “นโยบายรัฐกับชาวนา” โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  “Strategy for Rice Research: Global and Thailand Perspectives” โดยผู้อำนวยการสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ ประเทศฟิลิปปินส์ ซึ่งจะให้ข้อมูลเกี่ยวกับยุทธศาสตร์ระดับโลกในการวิจัยและพัฒนาข้าว รวมทั้งมุมมองของการพัฒนาข้าวของไทย มีการเสวนา เรื่อง “งานวิจัยข้าวไทยกับชาวนา” เพื่อหาคำตอบต่อคำถามที่ว่า ชาวนาได้อะไรจากงานวิจัย และทำอย่างไรประโยชน์จากผลงานวิจัยจึงจะถึงชาวนาจริง และการเสวนา เรื่อง “ทิศทางและกลยุทธ์งานวิจัยข้าวไทย” เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์งานวิจัยข้าวของประเทศที่เป็นอยู่ในปัจจุบันและที่คาดว่าควรจะเป็นในอนาคต จุดสำคัญของการประชุม คือ การนำเสนอผลงานวิชาการทั้งภาคบรรยายและโปสเตอร์กว่า 120 เรื่อง    (ใน 8 กลุ่มวิชาการ คือ ความหลากหลายทางพันธุกรรมและการใช้ประโยชน์ การปรับปรุงพันธุ์ข้าว เทคโนโลยีการผลิตข้าว โภชนาการข้าว เทคโนโลยีหลังการเก็บเกี่ยว ผลิตภัณฑ์เพิ่มมูลค่าข้าว งานวิจัยข้าวระดับท้องถิ่น และงานวิจัยเศรษฐกิจสังคมและวิถีชีวิตชาวนา) นอกจากนั้น ยังมีการจัดนิทรรศการแสดงเครื่องมือการทำนา อาทิเช่น เครื่องขลุบยนต์ เครื่องดำนา เครื่องพ่นหว่านเมล็ด และเครื่องสีข้าวขนาดเล็ก และอุปกรณ์งานวิจัยข้าวใหม่ๆ และนิทรรศการขององค์กรร่วมที่เกี่ยวเนื่องกับงานวิจัยและนวัตกรรมข้าว ซึ่งจะจัดแสดงและจำหน่ายข้าวพันธุ์พิเศษ ทั้งข้าวพื้นเมืองและข้าวปรับปรุง รวมทั้ง นวัตนกรรมผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว

[singlepic id=313 w=320 h=240 float=]

งานประชุมวิชาการข้าวแห่งชาติฯ ครั้งนี้ มีกิจกรรมหลากหลาย ที่นักวิชาการ  นักธุรกิจ  และประชาชนทั่วไป สามารถมาร่วมรับประโยชน์ได้  การเข้าร่วมนั้น หากเป็นการเข้าร่วมประชุมวิชาการ ตั้งแต่วันที่ 15-17 ธันวาคม 2553  จะต้องลงทะเบียนและมีค่าใช้จ่ายในการลงทะเบียน สำหรับผู้ที่สนใจจะมาชมนิทรรศการ ก็สามารถมาลงทะเบียนเข้างานฟรีหน้างานได้เลย ผู้สนใจร่วมการประชุมวิชาการ สอบถามรายละเอียดได้ที่ 

 

ฝ่ายประชาสัมพันธ์และการลงทะเบียน

โทรศัพท์ 0 2564 6700 ต่อ 3379-3382

โทรสาร 0 2564 6574

E-mail address: rice2010@biotec.or.th

ติดตามกำหนดการและรายละเอียดได้ที่ Website: www.biotec.or.th/rice2010  

วีระชัยนำสื่อมวลชนลงพื้นที่น้ำท่วมชมแปลงนาเกษตรกรที่ปลูกพันธุ์ข้าว “หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน” เตรียมจ่อนำเข้า ครม.ของบขยายเมล็ดพันธุ์แจกเกษตรกรสู้ภัยน้ำท่วมที่เป็นปัญหาซ้ำซาก

[singlepic id=298 w=320 h=240 float=]

เมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2553 ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี พร้อมดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช)  นำคณะสื่อมวลชนลงพื้นที่เยี่ยมชมแปลงนาของเกษตรกรในพื้นที่ อ.ผักไห่ อยุธยา ซึ่งปลูกข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน อันเป็นผลสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ผลผลิตสูงให้ทนต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลัน นอกเหนือจากแปลงนาเกษตรกรในพื้นที่ผักไห่นี้แล้ว ปัจจุบันยังมีการขยายผลไปในแปลงเกษตรกรพื้นที่ พิจิตร และเพชรบูรณ์ด้วย ดร.วีระชัย รัฐมนตรีวิทยาศาสตร์ฯเผยเตรียมจ่อนำเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเพื่อขยายผลโดยขอสนับสนุนงบประมาณฟื้นฟูเกษตรกรที่ประสบภัย วางแผนขยายโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดีทนน้ำท่วมเพื่อแจกจ่ายเกษตรกรที่ประสบปัญหาอุทกภัย ซึ่งสามารถนำไปปลูกได้ 160,000 ไร่ สร้างรายได้ให้เกษตรกรไม่ต่ำกว่า1200 ล้านบาท  โดย ดร.วีระชัยเปิดเผยในรายละเอียดว่า

[singlepic id=301 w=320 h=240 float=] 

  “จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นในหลายส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเกษตรกรรมซึ่งเป็นภาคส่วนหลักของประเทศ ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช. ไบโอเทค ซึ่งได้ทำงานร่วมกับกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อปรับปรุงพันธุ์ข้าวไม่ไวแสง ผลผลิตสูงให้ทนต่อสภาพน้ำท่วมฉับพลันและมีชีวิตอยู่ใต้น้ำได้ไม่ต่ำกว่า 2 สัปดาห์ อันจะเป็นทางหนึ่งที่จะช่วยบรรเทาความเสียหายจากภัยธรรมชาติดังกล่าวได้ ปัจจุบันทดสอบและได้รับผลสำเร็จในหลายพื้นที่ทั้งในจังหวัดอยุธยา พิจิตร และเพชรบูรณ์ ทั้งนี้ ได้มอบหมายให้ สวทช.จัดทำโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณสนับสนุนการฟื้นฟูเกษตรกรผู้ประสบปัญหาอุทกภัย จำนวน 40 ล้านบาท เพื่อดำเนินโครงการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวไม่ไวแสงจำนวน 2000 ตัน ซึ่งจะสามารถเพาะปลูกได้160,000 ไร่ ทั้งนี้คาดว่าจะสร้างรายได้ให้เกษตรกรประมาณ 1200 ล้านบาท “

[singlepic id=304 w=320 h=240 float=]

          ด้าน ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สวทช. กล่าวว่า ปัญหาน้ำท่วม กระทบโดยตรงกับการทำนา อาชีพหลักของเกษตรกร เมื่อข้าวไม่ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขังย่อมส่งผลต่อความเสียหายของผลผลิต พันธุ์ข้าวที่สามารถทนต่อน้ำท่วมขัง จึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของเกษตรกรในขณะนี้      ปัจจุบัน ไบโอเทค/ สวทช. ประสบผลสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีชีวภาพเพื่อการปรับปรุงพันธุ์ข้าวให้ทนต่อสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้ออำนวยอื่นๆอีกเช่น โรค และแมลงศัตรูพืชต่าง ๆ ได้แก่ สายพันธุ์ข้าวขาวดอกมะลิ 105 ทนน้ำท่วมฉับพลัน, สายพันธุ์ กข 6 ต้านทานโรคไหม้, สายพันธุ์ข้าวแก้วเกษตรต้านทานโรคไหม้ และ  ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน  ซึ่ง สวทช. ได้นำสายพันธุ์ข้าวใหม่ ๆ ดังกล่าวไปเผยแพร่ ส่งเสริมให้เกษตรกรในหลาย ๆ พื้นที่แล้ว ได้แก่ สกลนคร อุบลราชธานี น่าน เชียงราย นครพนม ลำปาง ชัยภูมิ  นครพนม สุพรรณบุรี  นครปฐม ยโสธร อำนาจเจริญ ศรีสะเกษ อุตรดิตถ์ ร้อยเอ็ด มุกดาหาร พิจิตร เฉพาะพันธุ์หอมชลสิทธิ์นี้ ได้มีการเผยแพร่ไป ที่เกษตรกรที่ประสบภัยน้ำท่วมที่พิจิตร ตั้งแต่ปี 2551  แต่ได้มาส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ที่สหกรณ์การเกษตรผักไห่เป็นแห่งแรก ทั้งนี้ ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 66 ล้านไร่ ต้องการเมล็ดพันธุ์ประมาณ 1 ล้านตันต่อปี แต่ปัจจุบันการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวคุณภาพดี ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ โดยทั่วไปเกษตรกรใช้เมล็ดข้าวที่เก็บเกี่ยวจากแปลงนาของตนเองเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับปลูกในฤดูต่อไป การใช้ลักษณะนี้ติดต่อกันหลายฤดูปลูก ทำให้เกิดการปนของเมล็ดพันธุ์ เกษตรกรจึงควรเปลี่ยนเมล็ดพันธุ์อย่างน้อยทุกๆ 3 ฤดู  การส่งเสริมให้เกษตรกรสามารถผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีไว้ใช้เองและหรือจำหน่าย ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตข้าวของประเทศให้สูงขึ้น และเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นนอกเหนือจากการขายเป็นข้าวเปลือก  โดยปัจจุบันไบโอเทค สวทช.   ได้ดำเนินโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว คุณภาพดีสายพันธุ์ต่างๆ รวมทั้งให้การอบรมและถ่ายทอดความรู้ด้านการปลูก การดูแลรักษาแปลง การตรวจและกำจัดพันธุ์ปน และการตรวจคัดพันธุ์บริสุทธิ์ เพื่อใช้เป็นเมล็ดพันธุ์ในฤดูต่อไปด้วย

 

 

ดร. ธีรยุทธ ตู้จินดา       หน่วยปฏิบัติการค้นหาและใช้ประโยชน์ยีนข้าว มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กำแพงแสน  ปรับปรุงพันธุ์ข้าว พันธุ์หอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน โดยเป็นการผสมพันธุ์ระหว่างพันธุ์ข้าว IR57514 ซึ่งเป็นพันธุ์ทนน้ำท่วมฉับพลันกับข้าวขาวดอกมะลิ 105 ข้าวหอมชลสิทธิ์ถูกคัดเลือกให้มีคุณสมบัติการหุงต้มแบบข้าวขาวดอกมะลิ เมล็ดข้าวมีกลิ่นหอม สามารถปลูกได้มากกว่า 1 ครั้งต่อปี และสามารถทนอยู่ในน้ำได้นานถึง 2-3 สัปดาห์ มีผลผลิตข้าวเปลือกในระดับ 900 – 1000 กิโลกรัมต่อไร่ เหมาะกับพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ง่าย เช่น พื้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา เป็นต้น

นายบุญส่ง กุศลเอี่ยม    ประธานสหกรณ์การเกษตรผักไห่ ให้ข้อมูลว่าจากการประสบปัญหาน้ำท่วมในทุกๆปี ในเขตพื้นที่ ต.ผักไห่ อ.ผักไห่ จ.พระนครศรีอยุธยา ส่งผลกระทบต่อการทำนาซึ่งนิยมปลูกข้าวพันธุ์พิษณุโลกเป็นหลัก ซึ่งข้าวพันธุ์นี้ไม่ทนต่อสภาวะน้ำท่วมขัง พันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์ทนน้ำท่วมฉับพลัน จึงเป็นพันธุ์ที่เหมาะสมกับพื้นที่นี้เป็นอย่างดี  ภายใต้ความร่วมมือกับ สวทช. เพื่อส่งเสริมการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์นี้ สวทช. ได้ส่งนักวิจัยและนักถ่ายทอดเทคโนโลยีเข้ามาในพื้นที่เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับพันธุ์ข้าวหอมชลสิทธิ์           การเตรียมการปลูก และให้คำแนะนำแก่เกษตรกรเป็นระยะ และเมื่อเดือนสิงหาคม ได้เริ่มทำแปลงสาธิตประมาณ 30 ไร่ พร้อมเก็บเกี่ยวเดือนธันวาคมนี้ โดยเป้าหมายของสหกรณ์การเกษตรผักไห่ คือ ส่งเสริมให้สมาชิกเกษตรกรซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 2000 คน   ได้ปลูกข้าวพันธุ์หอมชลสิทธิ์ ทนน้ำท่วมฉับพลัน ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ขยายพันธุ์และส่งไปยังตลาด         ที่มีความต้องการเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับชุมชนต่อไป

นายสุรชัย พงษ์แตง   เกษตรกรที่ทำเกษตรปราณีต  เจ้าของแปลงนาสาธิต 16 ไร่ กล่าวว่า ตนเองและเกษตรกรส่วนใหญ่มีความพึงพอใจต่อข้าวพันธุ์นี้ โดยเฉพาะลักษณะทางกายภาพของข้าว ได้แก่ การติดเมล็ดดี รวงสวย การเจริญเติบโตเร็ว การแตกกอดี ลำต้นแข็งแรง และนอกจากนี้เมล็ดพันธุ์สามารถเก็บไว้เป็นเมล็ดพันธุ์คุณภาพดีเพื่อใช้ปลูกในฤดูต่อไป

 

 

ผู้ส่งข่าว   :     ลัดดา หงส์ลดารมภ์

โฆษกกระทรงวิทยาศาสตร์ฯ ฝ่ายกิจการพิเศษ

การชาร์จไฟโทรศัพท์มือถือในชุมชน

จากปัญหาอุทกภัยที่เกิดขึ้นส่งผลให้กระแสไฟฟ้าในพื้นที่ถูกตัด และดับเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ส่งผลให้การติดต่อสื่อสารขอรับความช่วยเหลือจากผู้ประสบภัยธรรมชาติ สู่บุคคล/องค์กรต่างๆ เป็นไปได้อย่างลำบาก สวทช. โดยเนคเทค ขอนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาอย่างง่าย โดยการนำแบตเตอรี่ ๑๒ โวลท์จากรถยนต์มาประยุกต์ใช้สร้างเป็นเครื่องชาร์จไฟโทรศัพท์ใช้กันเอง

 

การสร้างเครื่องชาร์จไฟโทรศัพท์จากแบตเตอรี่รถยนต์ทำได้โดย

  1. เตรียมอุปกรณ์
    1. แบตเตอรี่ 12 โวลท์ จากรถยนต์

[singlepic id=280 w=320 h=240 float=]

อินเวอร์เตอร์แปลงแรงดันจาก 12 โวลท์ดีซี เป็น 220 โวลท์เอซี ขนาดของอินเวอร์เตอร์ในท้องตลาดมีตั้งแต่ขนาด 80 วัตต์ จนถึง 1000 วัตต์ ส่วนสายไฟสำหรับต่อกับแบตเตอรี่มักจะให้มากับอินเวอร์เตอร์ รูปด้านล่างเป็นขนาด 1000 วัตต์

[singlepic id=283 w=320 h=240 float=]

สายปลักต่อพ่วงเพื่อให้สามารถเสียบเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือได้หลายๆ เครื่องพร้อมๆ กัน (สายต่อพ่วงที่ไม่มีคุณภาพ คือเสียบปลักแล้วไม่แน่นหลวม ติดๆ ดับๆ อาจทำให้ทั้งเครื่องชาร์จและอินเวอร์เตอร์เสียหายได้

[singlepic id=286 w=320 h=240 float=]

2.การต่ออุปกรณ์ต่างๆ เข้าด้วยกัน

  1. ต่อสายแบตเตอรี่สีแดงเข้าที่ขั้วบวก (+) และสายสีดาเข้าที่ขั้วลบ (-) ของทั้งฝั่งอินเวอร์เตอร์และแบตเตอรี่ดังรูป ตรวจสอบขั้วและสีสายให้ดี ถ้าต่อผิดหรือสลับขั้วอาจทำให้อินเวอร์เตอร์เสียหายถาวรได้ ควรต่อให้แน่น เพราะขณะอินเวอร์เตอร์จ่ายกระแสจะมีกระแสผ่านขั้วต่อต่างๆ สูง ถ้าต่อไม่แน่นจะทำให้ขั้วต่อร้อนจัด และทำความเสียหายได้

[singlepic id=289 w=320 h=240 float=]

เมื่อต่อสายเสร็จแล้วตรวจสอบการทำงานของอินเวอร์เตอร์ โดยการเปิดสวิชท์ที่อินเวอร์เตอร์ อินเวอร์เตอร์ส่วนใหญ่จะมีไฟบอกสถานะการทางาน ไฟจะติดสว่าง

[singlepic id=292 w=320 h=240 float=]

เสียบสายปลักต่อพ่วงแล้วต่อเครื่องชาร์จโทรศัพท์มือถือตามต้องการตามรูปด้านล่างนี้

[singlepic id=295 w=320 h=240 float=]

  • แบตเตอรี่ขนาด 12 โวลท์ 60 แอมแปร์-ชั่วโมงจะสามารถประจุแบตเตอรี่โทรศัพท์มือถือได้ประมาณ 100 เครื่อง อย่างต่อเนื่อง (ไม่ใช่เอาร้อยเครื่องมาเสียบพร้อมกันนะครับ) ถ้าคำนวณประสิทธิภาพพลังงานจะพบว่าต่ำมาก แต่ในยามคับขันถือว่ายอมรับได้ครับ
  • อีกประการหนึ่งถ้าไม่มีการประจุแบตเตอรี่ของโทรศัพท์มือถือ ไม่ควรเสียบเครื่องชาร์จทิ้งไว้ในขณะที่อินเวอร์เตอร์เปิดอยู่ เพราะถึงแม้จะไม่มีการชาร์จโทรศัพท์ แต่เครื่องชาร์จก็กินพลังงานจากแบตเตอรี่ผ่านอินเวอร์เตอร์อยู่ดี
  • ขณะปลัก 220 โวลท์ของอินเวอร์เตอร์ไม่มีอะไรเสียบอยู่ควรปิดอินเวอร์เตอร์ เพราะแม้อินเวอร์เตอร์ไม่จ่ายพลังงานแต่ตัวมันเองก็ใช้พลังงานส่วนหนึ่งจากแบตเตอรี่ ถ้าเปิดทิ้งไว้แบตเตอรี่จะหมดไปโดยเปล่าประโยชน์