สวทช. เตรียมจัดงาน “NSTDA Investors’ Day ของดีสำหรับนักลงทุน” คัดสรรผลงานวิจัยเด่นให้นักลงทุนพัฒนาการตลาดหวังให้วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคม

 [singlepic id=217 w=320 h=240 float=]     

30 สิงหาคม 2553 ณ ห้องกมลฤดี โรงแรมสยามซิตี้ ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในงานแถลงข่าว “ ของดีสำหรับนักลงทุน ”หรือ NSTDA Investors’ Day ซึ่งจะจัดขึ้นในวันที่ 16 กันยายน 2553 ศกนี้ เป็นกิจกรรมประจำปีของ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ เพื่อเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ สวทช. ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่ามีศักยภาพสูงในการลงทุนผลิตเป็นสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนเป้าหมายได้มีโอกาสเข้าถึงหรือเลือกซื้อผลงานวิจัยและเทคโนโลยีดังกล่าว รวมทั้งให้ความเห็นต่อการนำผลงานวิจัยที่จัดแสดงไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

[singlepic id=220 w=320 h=240 float=]

ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล   รมว.วท. กล่าวถึงรายละเอียดว่า กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี นอกจากจะมีบทบาทในการสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาวงการวิทยาศาตร์ในประเทศแล้ว ปัจจุบัน ยังตั้งมั่นว่าจะนำผลงานวิจัยและเทคโนโลยีต่างๆ ที่เกิดจากความคิดสร้างสรรค์ของนักวิทยาศาสตร์ไทย มาพัฒนา  และประยุกต์ให้เกิดการสร้างผลงานที่ผลิตเป็นสินค้าหรือบริการจำหน่ายในเชิงรูปธรรมยิ่งขึ้น จึงพร้อมที่จะสนับสนุนให้ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ หรือ สวทช.  ในการจัดงาน “ NSTDA Investors’ Day ของดีสำหรับนักลงทุน ” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงวงการอุตสาหกรรม การลงทุน การเงิน เข้ากับวงการวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยี โดยในงานจะเป็นการเสนอผลงานวิจัยและเทคโนโลยีของ สวทช. ที่ได้รับการคัดเลือกแล้วว่ามีศักยภาพสูงในการลงทุนผลิตเป็นสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนเป้าหมายได้มีโอกาสเข้าถึงหรือเลือกซื้อผลงานวิจัยและเทคโนโลยีดังกล่าว รวมทั้งให้ความเห็นต่อการนำผลงานวิจัยที่จัดแสดงไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ซึ่งถือว่าเป็นมิติใหม่ในกระบวนการ Commercialization cycle ของ สวทช.ที่จะได้รับโจทย์จากเอกชนตั้งแต่การเริ่มต้นพัฒนาวิจัย ซึ่งเป็นกระบวนการที่สำคัญในการลดปัญหางานวิจัยที่ทำเสร็จแล้วต้องไปกองอยู่บนหิ้ง เนื่องจากไม่มีผู้มารับถ่ายทอดไปผลิตในเชิงพาณิชย์ต่อไป

[singlepic id=223 w=320 h=240 float=]

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีแห่งชาติ  (สวทช.) กล่าวเพิ่มเติมว่า ธุรกิจเทคโนโลยีนั้น ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งที่สำคัญในการสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรม และเทคโนโลยีใหม่ๆ ในประเทศ ที่จะช่วยให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันกับต่างประเทศ รวมทั้งเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจให้สามารถเจริญเติบโตได้ จากเหตุผลข้างต้น สวทช. จึงได้จัดงาน NSTDA Investors’ Day โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้เป็นเวทีหรือช่องทางเลือกอีกช่องทางหนึ่งที่เชื่อมโยงวงการอุตสาหกรรม การลงทุนและการเงิน เข้ากับวงการวิทยาศาสตร์ เพื่อให้เกิดการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีที่สร้างผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจและสังคมอย่างชัดเจน  และให้เป็นช่องทางของนักลงทุนในการเข้าถึงผลงานวิจัยที่น่าสนใจและมีศักยภาพในการลงทุนจาก สวทช. อีกทั้ง ยังเป็นการเปิดโอกาสให้นักวิจัยของ สวทช. ได้นำเสนอผลงานวิจัยต่อนักลงทุน และมีโอกาสแลกเปลี่ยนความเห็น ตลอดจนทราบถึงความต้องการจากภาคอุตสาหกรรมเพื่อเป็นข้อมูลสำหรับการทำวิจัยและพัฒนาต่อไปผลิตผลงานวิจัยต่อไป รวมทั้งเพื่อเป็นการเผยแพร่ผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ที่พัฒนาจนพร้อมที่จะเปิดให้มีการนำไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ ตลอดจนผลงานวิจัยและพัฒนา รวมถึงบริการของบริษัทเอกชนที่เป็นหน่วยงานพันธมิตรหรือเป็นหน่วยงานที่ สวทช. มีส่วนร่วมลงทุน

[singlepic id=226 w=320 h=240 float=]

                สำหรับในปีนี้ ซึ่งเป็นการจัดงานในครั้งแรกนั้น งาน NSTDA Investors’ Day 2010 จะจัดขึ้น ในวันพฤหัสฯ ที่ 16 กันยายน 2553 ระหว่างเวลา 12.00-16.30 น. ณ ห้องบอลลูม เอ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์  โดยมีธีมหลักในการจัดงานในปีนี้ คือ “ธุรกิจเทคโนโลยี ของดีสำหรับนักลงทุน” โดยในงานฯ จะแบ่งการจัดงานออกเป็น 2 ส่วน คือ

1.       การบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “อนาคตของวิทยาศาสตร์ไทยในอีก 10 ปี ข้างหน้า”   “10 เทคโนโลยีที่น่าจับตามองสำหรับธุรกิจ”   และการเสวนาให้ความรู้ ในหัวข้อ “ก้าวไกลกับธุรกิจเทคโนโลยี ด้วยตลาดทุนไทย”

2.       นิทรรศการ จะแบ่งเป็น โซนนิทรรศการแสดงผลงาน โซน one-on-one และเจรจาธุรกิจแบบตัวต่อตัว (one-on-one)  และโซนแสดงบริการของบริษัทที่เป็นพันธมิตรของ สวทช.    สำหรับผลงานวิจัยและพัฒนา 5 ผลงานเด่นที่มีศักยภาพพร้อมลงทุน ที่จะนำมาแสดงในงานในปีนี้ อาทิ

·        ระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดสำหรับเลี้ยงสัตว์น้ำ (AquaRASD)  เป็นระบบหมุนเวียนน้ำแบบปิดที่ช่วยให้ไม่ต้องเปลี่ยนน้ำในบ่อบ่อย

·        เม็ดมวลเบาสังเคราะห์ (G-Rock) ที่เมื่อนำไปผสมที่คอนกรีตแล้วจะช่วยให้คอนกรีตมีน้ำหนักเบาขึ้น แต่ยังคงความเข็งแรงเท่าเดิม ทำให้ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายในการก่อสร้าง

·        ระบบจำลองใบหน้าหลังจัดฟันและวางแผนการจัดฟัน (CephSmile V2) ซึ่งพัฒนาต่อยอดเป็น version 2 เพื่อเตรียมพร้อมให้บริการในรูปแบบ web service

·        น้ำยานาโนสำหรับผ้าไหม (Easy Silk Care) เพื่อทำให้ผ้าไหมมีผิวสัมผัส นุ่ม ลื่น และลดการยับ

·        ชุดตรวจโรคแพ้ยาในสุนัข (K9 Diagnostic Kit-MDR1) ที่สามารถตรวจหายีนในการแพ้ยาสุนัขได้ในเวลาอันรวดเร็ว ภายใน 90 นาที และไม่จำเป็นต้องใช้เครื่องมือวิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง

[singlepic id=229 w=320 h=240 float=]

นอกจากผลงานเด่นที่มีศักยภาพพร้อมลงทุนแล้ว ในโซนนิทรรศการ ยังจัดแสดงผลงานวิจัยที่พร้อมให้ใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ กว่า 20 ผลงานจากศูนย์แห่งชาติทั้ง 4ศูนย์ โดยได้จัดแสดงผลงาน ภายใต้ 3 หัวข้อหลัก คือ Better Food  Better Living และ Better Energy สำหรับผลงานที่จะจัดแสดง เช่น สูตรนาโนกำจัดสิว  เซนเซอร์ตรวจวัดและแจ้งเตือนความร้อนในรถยนต์ (Thermal Alarm) ชุดตรวจโรคพืชแบบรวดเร็ว และฟิลม์ยืดอายุผลไม้สดอัจฉริยะ  เป็นต้น ดร.ทวีศักดิ์ กล่าวฯ

 

 

ผู้ส่งข่าว               ลัดดา หงส์ลดารมภ์  

ผู้อำนวยการฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร นำงานวิจัยพัฒนาที่ทำโดยภาครัฐและเอกชนไปสู่เชิงพาณิชย์

เรื่อง    สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร  นำงานวิจัยพัฒนาที่ทำโดยภาครัฐและเอกชนไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อจัดทำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล พร้อมรับชมผลงานวิจัยพัฒนาที่พร้อมถ่ายทอดเชิงพาณิชย์กว่า 400 รายการ

 

เรียน    บรรณาธิการข่าว/ผู้สื่อข่าว

 

ด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ คณะกรรมาธิการการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สภาผู้แทนราษฎร  สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) จัดงานแถลงข่าว “การส่งเสริมงานวิจัยและพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี : จากหิ้งสู่ห้าง” เป็นการสรุปปัญหา อุปสรรค ในการนำงานวิจัยพัฒนาที่ทำโดยภาครัฐและเอกชนไปสู่เชิงพาณิชย์ เพื่อจัดทำความคิดเห็นและข้อเสนอแนะต่อรัฐบาล พร้อมรับชมผลงานวิจัยพัฒนาที่พร้อมถ่ายทอดเชิงพาณิชย์กว่า 400 รายการในวันอังคารที่  31 สิงหาคม  2553 เวลา  10.00 น.          ณ  ห้อง 3701 ชั้น 7 อาคารรัฐสภา 3   

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์ และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-644-8150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-668-1064,  081-988-6614,        084-529-0006  และ 084-910-0850

ศวท./สวทช. ร่วม 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำ สร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการห้องสมุดด้วยซอฟแวร์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์สายพันธุ์ไทย ช่วยประหยัดงบร่วมล้านบาท

ศวท./สวทช. ร่วม 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำ สร้างเครือข่ายความร่วมมือการจัดการห้องสมุดด้วยซอฟแวร์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์สายพันธุ์ไทย ช่วยประหยัดงบร่วมล้านบาท

 

26 สิงหาคม 2553 ณ อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย      ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นประธานในพิธีประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือโอเพนซอร์สเพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด เพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนการใช้โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ซอฟต์แวร์ของคนไทย โดยเน้นในเรื่องของโปรแกรมห้องสมุด การจัดการสารสนเทศผ่านห้องสมุด ให้กับ 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ อันได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,มหาวิทยาลียเชียงใหม่,มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย และมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผอ. สวทช. กล่าวว่า ศูนย์บริการความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หรือ ศวท./สวทช. มีภารกิจที่ในการศึกษาเทคโนโลยี โดยเฉพาะการบริหารจัดการ การบริการทรัพยากรสารสนเทศ ห้องสมุด และอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในประเด็นการประยุกต์ใช้งาน การศึกษา การวิเคราะห์ และการถ่ายทอดความรู้ออกสู่สาธารณะและเครือข่ายทั้งในมิติของเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ การสื่อสาร ข้อมูล/สารสนเทศ เครือข่ายความร่วมมือและอื่นๆ เพื่อให้การดำเนินการข้างต้น เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพอย่างเป็นรูปธรรม และสร้างเครือข่ายความร่วมมืออย่างแท้จริง ถือว่าเป็นมิติใหม่ของวงการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ ที่มีการร่วมมือกับหน่วยงานภายนอก ซึ่งไม่เป็นเพียงหน่วยงานที่ไม่ใช่ห้องสมุดโดยตรง แต่กลับเป็นหน่วยงานเชิงวิจัยและพัฒนาและเผ็นผู้ใช้ เหมือนเช่น ศวท. จึงทำให้สามารถเข้าไปมีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ  ได้ง่ายและตรงกับวัตถุประสงค์ของการทำงานและการเรียนการสอน และในทางกลับกัน สวทช. ก็ได้รับความร่วมมือในการรับข้อมูลต่างๆ ที่สามารถนำมาพัฒนาต่อยอดเป็นระบบต่างๆ ของสวทช.ต่อไปได้

 ทั้งนี้ การจัดกิจกรรมสัมมนาดังกล่าว จึงมุ่งเน้นเนื้อหาไปที่การสร้างเครือข่ายความร่วมมือและพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด (Open Access to Knowledge) เพื่อเพิ่มช่องทางบริการความรู้ให้กว้างขึ้น และได้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับ ทั้งนี้เนื้อหาจะครอบคลุมตั้งแต่การพัฒนาเว็บไซต์ บริการความรู้ที่สนับสนุนบรรณานุกรมแบบอัตโนมัติ การใช้งานบรรณานุกรมจากแหล่งความรู้ต่างๆ การพัฒนาคลังความรู้สถาบันที่ไม่ยุ่งยากซับซ้อนอยู่บนพื้นฐานของเทคโนโลยีที่กระทำได้ง่ายบนกรอบ Open Source Software & OAI-PMH ที่เป็นซอฟต์แวร์ของคนไทยเอง ซึ่งถ้าหน่วยงานตามมหาวิทยาลัยหันมาใช้โปรแกรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ จะทำให้ประหยัดงบประมาณในการจัดการหาโปรแกรมจากต่างประเทศมากกว่าปีละร่วมล้านบาท

ผู้ส่งข่าว            

นางลัดดา  หงส์ลดารมภ์

ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

โทรศัพท์             026448150-89  ต่อ 217,212,712

สวทช. คัดสรรผลงานวิจัยเด่น ให้นักลงทุนจับจ่ายเลือกซื้อ หวังให้วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์เชิงศก.และสังคม

เรื่อง   สวทช. คัดสรรผลงานวิจัยเด่น ให้นักลงทุนจับจ่ายเลือกซื้อ  หวังให้วิทยาศาสตร์สามารถเชื่อมโยงกับภาคอุตสาหกรรม และนำไปสู่การสร้างผลประโยชน์เชิงศก.และสังคม

 

เรียน   บรรณาธิการข่าว

ด้วยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีกำหนดการจัดงาน “ของดีสำหรับนักลงทุน”หรือ NSTDA Investors Day โดยนำผลงานวิจัยเด่นของสวทช. ที่ผ่านการคัดสรรแล้วว่ามีศักยภาพสูงในการลงทุนไปผลิตเป็นสินค้าหรือให้บริการ เพื่อให้กลุ่มนักลงทุนเป้าหมายได้มีโอกาสมาเลือกซื้อผลงานวิจัยและเทคโนโลยี เพื่อเป็นการเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเข้ากับภาคอุตสาหกรรม การเงินและการลงทุน

ใน วันจันทร์ที่  30 สิงหาคม  2553 เวลา  13.00 น.  ณ  ห้องกมลฤดี  ชั้น 2 โรงแรมสยามซิตี้    ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล  ผู้อำนวยการสวทช. ให้เกียรติเป็นประธานงานแถลงข่าว ของดีสำหรับนักลงทุนหรือ NSTDA Investors Day เพื่อเชื่อมโยงวิทยาศาสตร์เข้ากับภาคอุตสาหกรรม การเงินและการลงทุน พร้อมนำเสนอผลงานเด่นที่ผ่านการคัดสรรแล้ว ของสวทช.มาร่วมแสดงด้วย อาทิ

  • ทางเลือกใหม่ของระบบหมุนเวียนน้ำสำหรับเพาะเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจทั้งน้ำจืดและน้ำทะเล

ซึ่งมีต้นทุนต่ำ แต่คุณภาพสูง เปลี่ยนถ่ายน้ำปีละครั้งหรือนานกว่านั้น ได้รับการจดสิทธิบัตรและใช้งานได้จริง

  • มิติใหม่ของการจัดฟัน เสริมภาพลักษณ์การให้บริการจัดฟันที่เหนือกว่าคู่แข่ง

โดยการใช้เทคโนโลยีที่เหนือกว่า ลดเวลาการจัดฟัน ทำให้สามารถเห็นภาพจำลองใบหน้าหลังการจัดฟันทันที

  • คอนกรีตมวลเบาอัจฉริยะ

เป็นนวัตกรรมการผลิตมวลเบาสังเคราะห์จากวัสดุของเสีย มีความแข็งแรงเทียบเท่าคอนกรีตผสมแบบดั้งเดิม ทำให้ลดต้นทุนมีการให้บริการและคำปรึกษาขั้นตอนการผลิตและออกแบบเครื่องจักรที่ใช้ในการผลิต

  • น้ำยานาโนเพื่อธุรกิจไหมไทย

ใช้ต้นทุนต่ำ ทำให้เสื้อผ้านุ่ม ลื่น ลดการย่นยับขณะสวมใส่   พร้อมให้คำแนะนำปรึกษาการออกแบบและติดตั้งเครื่องผลิตน้ำยา

 

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

หน่วยงานห้องสมุด และภาควิชาสารสนเทศ/บรรณารักษศาสตร์จาก 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ สวทช. สร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ช่วยประหยัดงบร่วมล้านบาท

เรื่อง  หน่วยงานห้องสมุด และภาควิชาสารสนเทศ/บรรณารักษศาสตร์จาก 6 มหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศ ร่วมกับ สวทช.  สร้างเครือข่ายความร่วมมือการบริหารจัดการทรัพยากรสารสนเทศด้วยซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ช่วยประหยัดงบร่วมล้านบาท

               

เรียน   บรรณาธิการข่าว

6 มหาวิทยาลัย อาทิ ม.เกษตรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ม.เชียงใหม่ ม.ธรรมศาสตร์ ม.ศรีนครินทรวิโรฒ, และม.หอการค้าไทย นำร่องใช้โปรแกรมโอเพนซอร์สและฟรีแวร์ ในการสร้างมิติใหม่ของวงการห้องสมุดและศูนย์สารสนเทศ พัฒนาคลังความรู้ ระบบบริหารจัดการห้องสมุด การจัดการเรียนการสอน การจัดการความรู้ ในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือร่วมกันศึกษา พัฒนา และส่งเสริมการใช้งานอย่างเป็นรูปธรรม อีกทั้งสามารถช่วยประหยัดงบประมาณ ร่วมล้านบาท และเปิดโอกาสการเรียนรู้ของนิสิต นักศึกษา ทั้งนี้จะมีการนำเสนอผลจากเครือข่ายความร่วมมือในงานประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือโอเพนซอร์ส เพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด โดยมีประเด็นและวิทยากรที่น่าสนใจดังนี้

- แนะนำผลงานวิจัยโดยนักวิจัยเนคเทค Vaja, ABDUL, Citation Thailand เพื่อการพัฒนาบริการทรัพยากรสารสนเทศ

- OSS กับการจัดการห้องสมุด , การจัดการเรียนการสอน

- แนวทางการพัฒนากำลังคนด้านไอซีทีอย่างรู้เท่าทันตามแผนแม่บทไอซีทีฯ

- การพัฒนาคลังความรู้ระบบเปิดของเครือข่ายสารสนเทศเกษตรไทย

-แนวทางการพัฒนาบุคลากรไอซีทีโดยส่งเสริมการเรียนการสอนการอบรมด้วย  OSS

- รวมมิตรซอฟต์แวร์การจัดทำคลังความรู้ระบบเปิด เป็นต้น

 

จึงขอเรียนเชิญสื่อมวลชนเข้าร่วมทำข่าว ประชุมวิชาการเครือข่ายความร่วมมือโอเพนซอร์ส เพื่อพัฒนาระบบคลังความรู้ระบบเปิด  ในวันพฤหัสบดีที่ 26 – 27  สิงหาคม  2553 ณ ห้อง 105 อาคารมหาจุฬาลงกรณ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ตึกเก่า ที่มีบันไดพญานาค) เวลา 09.00 น. – 16.00 น. ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม คุณสรินยา 081-988-6614, คุณโกเมศ 081-664-8150, คุณปริเยศ 084-910-0850 คุณกัญรินทร์ 084-5290006

นาโนเทคโนโลยี ส่ง มุ้งฆ่ายุง กำจัดยุง ป้องกันพาหะของโรคมาลาเรีย

[singlepic id=208 w=320 h=240 float=]         

ในช่วงฤดูฝน ขณะนี้ ทำให้เกิดภาวะน้ำท่วม ภัยต่างๆ ต้องทำให้ระมัดระวังในเรื่องสุขภาพ โดยเฉพาะภัยเงียบที่เกิดจากยุงที่เป็นพาหะของโรคมาลาเรียและไข้เลือดออก นอกจากจะเป็นปัญหาสาธารณะสุข ของประเทศไทยแล้ว ยังเป็นปัญหาสาธารณาสุขทั่วโลก โดยเฉพาะประเทศไทยในเขตร้อนชื้นและก่อให้เกิดความกังวลต่อผู้ปกครองเวลาเด็กมีไข้ และทำอันตรายกับชีวิตของคน  ปัจจุบันโรคดังกล่าวมีการระบาดเพิ่มมากขึ้นในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา

[singlepic id=211 w=320 h=240 float=]

ข้อมูลทั่วไปจากองค์การอนามัยโลก (WHO) เรื่องการระบาดของมาลาเรีย พบว่า มาลาเรีย เป็นหนึ่งในโรคที่คร่าชีวิตมนุษย์มากที่สุดในโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนา และด้อยพัฒนา ประชากรกว่า 2 พันล้านคน (40% ของประชากรโลก) อาศัยอยู่ในพื้นที่เสี่ยง ซึ่งมีกว่า 90 ประเทศ ในปี 1992 มีการรายงานอาการเจ็บป่วยจากมาลาเรียกว่า 300-500 ล้านคน โดยเฉลี่ยทุกปี มาลาเรียคร่าชีวิต 1.5-2.7 ล้านคน ซึ่งส่วนมากอาศัยอยู๋ในทวีปแอฟริกา สำหรับประเทศไทยมีผู้ป่วยโรคมาลาเรียประมาณ 39,209 คนต่อปี (ที่มา: ASTVผู้จัดการออนไลน์, วันที่ 11 ก.ย. 2552)  โดยมากพบแทบชายแดนพม่า และชายแดนเขมร ในไทยพบมากที่สุด ตามลำดับ ได้แก่ ตาก  ยะลา กาญจนบุรี แม่ฮ่องสอน ชุมพร นราธิวาส ศรีสะเกษ จันทบุรี สุรินทร์ และประจวบคีรีขันธ์  นอกจากโรคมาลาเรีย ยุงยังเป็นพาหะสำคัญของโรคไข้เลือดออก โรคเท้าช้าง โรคไข้สมองอักเสบ โรคไข้เหลือง  ทั้งนี้ องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้แนะนำว่า “มุ้ง” ยังเป็นอุปกรณ์สำคัญอีกอย่างหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกันยุงได้

[singlepic id=214 w=320 h=240 float=]

             สำหรับการป้องกันและควบคุมโรคมาลาเรียและไข้เลือดออกที่ผ่านมาคือการควบคุมการแพร่กระจายของยุงลาย โดยการ กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง เช่น กะละมัง ยาง กระป๋อง , หาฝาปิดภาชนะ โอ่ง ถังน้ำ สำหรับในแหล่งน้ำสาธารณะอาจจะเลี้ยงปลาเพื่อกินลูกน้ำ หรือใส่สารเคมีเพื่อฆ่าลูกน้ำ อย่างไรก็ตาม การป้องกันดังกล่าว สามารถช่วยได้ระดับหนึ่ง ในพื้นที่ที่เหมาะสมในวิธีที่ได้กล่าวมาแล้ว แต่อาจจะใช้ไม่ได้ในพื้นที่แบบเปิด  

 

ดร.วีระชัย วีระเมธีกุล รมว.กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  กล่าวว่า ด้วยปัญหาที่เกิดขึ้น  ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สวทช. กระทรวงวิทยาศาสตร์ ฯ ได้สร้างผลงานวิจัย มุ้งฆ่ายุง เป็นเครื่องมือสำคัญในการการป้องกันโรคที่เกิดจากยุง เช่น  ,โรคมาลาเรีย ,ไข้เลือดออก , โรคเท้าช้าง ,โรคไข้สมองอักเสบ , ไข้เหลือง โดย มุ้งฆ่ายุง โดยได้ใช้กระบวนการทางเทคโนโลยีในการใช้สารสำคัญที่ใช้ในมุ้งฆ่ายุง เป็นสารสังเคราะห์ ที่พบในพืชและเป็นสารที่องค์กรอนามัยโลก ( WHO ) แนะนำให้ใช้ได้ โดยสารกลุ่มดังกล่าว มีกลไกการทำงานซึมผ่าน ยุงที่ปลายขา ซึ่งมีความไวต่อสารต่อสารกลุ่มนี้เป็นพิเศษ มีผลต่อระบบประสาทของยุงทำให้ยุงตายโดยได้โดยเร็ว ดังนั้น จึงนำสารดังกล่าวเข้าสู่กระบวนการนาโนเทคโนโลยีในการผลิตมุ้งฆ่ายุง ด้วยนวัตกรรมการผลิตเส้นใยสังเคราะห์ทั้งแบบเส้นใยเดี่ยว (  monocomponent ) และเส้นใยผสม ( bi – component ) ทำให้สามารถผสมสาร ให้ฝังอยู่ในเม็ดพลาสติก ก่อนฉีดออกมาเป็นเส้นใย ซึ่งจะทำให้เส้นใยดังกล่าวมีคุณสมบัติที่ถาวร และสามารถเพิ่มประสิทธิภาพ อื่น ๆ  ในการฆ่าเชื้อ จากการเติมอนุภาคนาโน Silver ลงไปในเส้นใยได้อีกด้วย ซึ่งผลงานวิจัย มุ้งฆ่ายุง จะช่วยให้คนไทย ได้รับการป้องกันและกำจัดยุง ที่นำโรคมาลาเรีย ได้อย่างมีประสิทธิภาพและ ทำให้คนไทยป่วยจากโรคดังกล่าวน้อยลง

             อีกทั้งผลงานวิจัยได้ต่อยอดเชิงพาณิชย์ สู่ภาคอุตสาหกรรม  โดยมุ่งเน้นงานวิจัยที่เป็นรูปธรรมลงสู่ผู้ใช้ได้จริง ซึ่งประเทศไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในการส่งออกมุ้ง โดยมีการส่งออกมากกว่า 1.1 ล้านหลังต่อปี ( แต่ส่วนใหญ่เป็นมุ้งทั่วไปที่ไม่ได้มีการเคลือบสารกำจัดยุง ) ซึ่งมีการคาดการณ์ว่า สำหรับมุ้งฆ่ายุง จะเพิ่มมูลค่าการผลิตมุ้ง ต่างจากของเดิม ดังเช่น กระทรวงสาธารณะสุขได้สั่งซื้อมุ้งฆ่ายุง 200 ,000 – 250 , 000 หลังต่อปี โดยมีมูลค่าประมาณ 125,000 ,000 บาท  ซึ่งคุณสมบัติมุ้งฆ่ายุงสามารถใช้และซักได้ไม่ต่ำกว่า 30 ครั้ง และนำเทคโนโลยีดังกล่าว ประยุกต์ในการสร้างสรรค์ผลิตผลงาน ผลิตภัณฑ์ด้านสิ่งทอสู่ภาคอุตสาหกรรม อาทิ ผ้าม่านกันยุงใช้ในโรงแรม  , เสื้อ , สายรัดข้อมือ และ ตัดชุดเครื่องแบบ ทหาร , ตำรวจชายแดน เพื่อป้องกันการเจ็บไข้ได้ป่วยของทหารและเจ้าหน้าที่ที่ปฎิบัติงานในพื้นที่เสี่ยง อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ให้นักท่องเที่ยวเกิดความมั่นใจและเลิกเกรงกลัวการติดเชื้อมาลาเรีย หรือไข้เลือดออกจากยุงประเทศไทย

 

 

ผู้ส่งข่าว   :     ลัดดา หงส์ลดารมภ์

ผู้อำนวยการ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นาโนเทคแถลงผลสำเร็จ มุ้งนาโนที่กำจัดยุงได้ภายใน 6 วินาที เตรียมรับมือโรคไข้เลือดออกที่แพร่ระบาดในตอนนี้

เรื่อง  นาโนเทคแถลงผลสำเร็จ มุ้งนาโนที่กำจัดยุงได้ภายใน 6 วินาที  เตรียมรับมือโรคไข้เลือดออกที่แพร่ระบาดในตอนนี้

 

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โดยศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) แถลงผลสำเร็จในการพัฒนามุ้งนาโนที่มีคุณสมบัติพิเศษในการป้องกันยุงและสามารถกำจัดยุงได้ภายใน 6 วินาที โดยอาศัยกระบวนการนาโนเทคโนโลยีในการเคลือบเส้นใยก่อนจะนำมาทำเป็นมุ้ง กระบวนการดังกล่าวจะทำให้สารเคลือบติดทนนานยิ่งขึ้น สำหรับสารออกฤทธิ์ที่นำมาใช้มีทั้งพืชสมุนไพร และสารเคมีบางชนิด ซึ่งมีปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และมีขนาดที่เหมาะสมต่อสภาพอากาศของประเทศไทย โดยเทคโนโลยีดังกล่าว สามารถเอื้ออำนวยความสะดวกและรองรับการทำงานให้กับตำรวจและทหารชายแดน  และผลิตภัณฑ์ดังกล่าวยังสามารถนำไปต่อยอดเพิ่มมูลในการส่งออกได้อีกด้วย

ในวันพุธที่ 25 สิงหาคม 2553  เวลา  13.30 น.  ณ   ห้องประชุม  406    ชั้น 4    อาคารศูนย์ประชุม อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต ปทุมธานี   ซึ่งการนี้  ดร.วีระชัย  วีระเมธีกุล รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมเป็นประธานในพิธีดังกล่าว  โดยภายในงานจัดให้มีการสาธิตและทดสอบประสิทธิภาพของมุ้งนาโนด้วย

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  โดยสามารถติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา, คุณกัญรินทร์และคุณปริเยศ เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  โทรศัพท์ 02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850

 

หมายเหตุ      มีรถบริการรับ-ส่ง สื่อมวลชน จอดด้านหน้ากระทรวงวิทยาศาสตร์ อาคารพระจอมเกล้า   รถออกเวลา  11.30 น. (ล้อหมุน)

สวทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายการ์ตูน จัดเสวนา การ์ตูนสร้างคนสร้างชาติ เพื่อเสริมสร้างจินตนาการแก่เยาวชนผ่านตัวการ์ตูนไซไฟ

          เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2553  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี และหน่วยงานภาคี  ร่วมจัดงานเสวนา “การ์ตูนสร้างคนสร้างชาติ”  ที่ S-Club ศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์

            ดร.กฤษฎ์ชัย  สมสมาน หัวหน้าโครงการ “ประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2” กล่าวว่า การ์ตูนเป็นสื่อกลางยอดนิยมสำหรับเด็กๆ ทั่วโลก และมีส่วนเสริมสร้างพัฒนาการของเด็กในแต่ละช่วงวัย หากได้อ่านการ์ตูนที่เหมาะกับวัยนั้นๆ ในขณะที่นิยายวิทยาศาสตร์ (Science Fiction) หรือ “ไซไฟ (Sci Fi)” หรือที่เรียกย่อสั้นลงไปอีกว่า SF นั้น มีส่วนสำคัญในการเสริมสร้างจินตนาการในหมู่เยาวชนในประเทศที่พัฒนาแล้ว การ์ตูนไซไฟเป็นที่นิยมชมชอบของทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และสามารถพัฒนาเป็นเป็นสินค้าส่งออกทางวัฒนธรรมแบบหนึ่ง โดยในประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ตลาดของการ์ตูน (เฉพาะที่พิมพ์เป็นเล่ม ไม่รวมภาพยนตร์) นั้น มีมูลค่าสูงถึงราว 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ต่อปี โดยในจำนวนนี้เป็นการ์ตูนสไตล์อเมริกันกว่า 70% ส่วนที่เหลือนั้นเป็นการ์ตูนสไตล์ญี่ปุ่นที่เรียกกันว่า “มังงะ (Manga)” สำหรับภาพยนตร์ไซไฟนั้น สามารถทำเงินได้สูงถึงกว่า 1.6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐฯ ในระหว่างปี ค.ศ.1995–2010 ซึ่งคิดเป็นราว 10% ของรายรับอุตสาหกรรมภาพยนตร์โดยรวมเลยทีเดียว นอกจากนี้ จากการสัมภาษณ์บุคคลสำคัญในวงการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีทั่วโลกนั้น ปรากฏตรงกันว่าสาเหตุสำคัญที่ทำให้หันมาสนใจศึกษาเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนั้น ส่วนใหญ่แล้วหากไม่ใช่เป็นเพราะเห็นตัวอย่างครูวิทยาศาสตร์ที่น่าชื่นชม ก็จะเป็นเพราะได้ซึมซับเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรูปแบบต่างๆมาตั้งแต่ตอนเป็นเยาวชนนี่เอง
            สำหรับการเสวนาในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการการ์ตูนของไทยมาร่วมเสวนา คือ คุณตั้ม วิศุทธิ์  พรนิมิตร  นักเขียนการ์ตูนชื่อดัง ที่มีผลงานตีพิมพ์ไปถึงประเทศญี่ปุน  คุณคิม จงสถิตย์วัฒนา  ผู้ผลิตและจำหน่ายการ์ตูนลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย และ รศ.ถิรนันท์  อนวัชศิริวงศ์  นักวิจัยงานการ์ตูน ที่มีประสบการณ์สูง

สวทช.และหน่วยงานภาคีต่างๆ ล้วนเล็งเห็นตรงกันถึงความสำคัญของการใช้การ์ตูนไซไฟ เป็นตัวกลางในการสอดแทรกความรู้ เสริมสร้างจินตนาการ และกระตุ้นความอยากรู้อยากเห็น อันเป็นพื้นฐานสำคัญส่วนหนึ่งสำหรับเยาวชนที่จะได้หันมาสนใจเรื่องทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งจะส่งผลต่อเนื่องไปถึงการพัฒนาความเข้มแข็งของเยาวชนของชาติ และช่วยสร้างสังคมฐานความรู้ (Knowledge Based Society) และสังคมสร้างสรรค์ (Creative Society) ต่อไป ด้วยเหตุนี้ สวทช. และหน่วยงานภาคีจึงได้สนับสนุนให้มีการประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากลครั้งที่ 2 ขึ้น ต่อเนื่องกับที่ได้ประสบความสำเร็จในการจัดการประกวดขึ้นเป็นครั้งแรกในปีที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่าจะเป็นส่วนหนึ่งในการเป็นแรงผลักดันให้เยาวชนไทยที่สนใจทางด้านนี้ ได้มีการพัฒนาฝีมือผ่านการประกวดและเข้าค่ายอบรมเพื่อเพิ่มพูนความรู้และประสบการณ์ จนทำให้สามารถสร้างสรรค์การ์ตูนไซไฟได้อย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกับนักวาดการ์ตูนมืออาชีพในระดับสากลต่อไป

ทั้งนี้สำหรับนักเรียนหรือนักศึกษาที่สนใจโครงการ “ประกวดการ์ตูนไซไฟไทยก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2” ในหัวข้อเรื่อง “ประเทศไทย พ.ศ. 2600 สามารถติดตามรายละเอียดโครงการฯ และการส่งผลงานเข้าประกวดได้ที่เว็บไซต์ http://www.nstda.or.th/scificomic หรือสอบถามทางโทรศัพท์ 02-564-7000 ต่อ 1177, 1179  และทางอีเมล์ paritat@nstda.or.th

 

 

ผู้ส่งข่าว   :     ลัดดา หงส์ลดารมภ์

ผู้อำนวยการ ฝ่ายรัฐกิจสัมพันธ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สวทช. ผลักดันเทคโนโลยีเส้นใยเพื่อพัฒนาผลิตเส้นใยและสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ ให้กับภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในประเทศไทย

ดร. ทวีศักดิ์ กออนันตกูล ผู้อำนวยการ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  กล่าวว่า สวทช. ร่วมกับสถาบันอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ศูนย์ความเป็นเลิศด้านสิ่งทอ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสถาบันวิจัยสิ่งทอไต้หวัน  จัดงาน FIBER INNOVATION เพื่อเป็นเวทีสำหรับการถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างผู้เชี่ยวชาญของใต้หวัน, ผู้เชี่ยวชาญและผู้ประกอบการของไทย ในการใช้เทคโนโลยีเส้นใยเพื่อพัฒนาผลิตเส้นใยและสิ่งทอที่มีคุณสมบัติพิเศษ  สำหรับการผลิตเชิงพาณิชย์ที่จะสร้างความสามารถในการแข่งขันของภาคอุตสาหกรรมสิ่งทอของประเทศ ซึ่งอุตสาหกรรมสิ่งทอเป็นหนึ่งในอุตสาหกรรมหลักที่สร้างรายได้และการจ้างงานในประเทศไทย การพัฒนาให้อุตสาหกรรมนี้มีความยั่งยืนจึงเป็นสิ่งจำเป็นซึ่งทั้งนี้ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่าง รวมทั้งงานวิจัยและนวัตกรรม ในส่วนของการสร้างงานวิจัยและเทคโนโลยีด้านเส้นใย ทาง สวทช. ได้มีโครงการสนับสนุนและผลักดันการสร้างเทคโนโลยีเส้นใยสององค์ประกอบ (bicomponent fibers) ขึ้นในประเทศ ภายใต้การเห็นชอบของภาคอุตสาหกรรม ซึ่งจะก่อให้เกิดการพัฒนาผลิตเส้นใยและสิ่งทอที่มีสมบัติพิเศษและหลากหลายได้  และเนื่องจากสถาบันวิจัยสิ่งทอไต้หวัน (Taiwan Textile Research Institute) มีความเชี่ยวชาญทางด้านงานวิจัยและการสร้างนวัตกรรมด้านสิ่งทอที่เชื่อมโยงสู่การผลิตเชิงพาณิชย์  และมีความร่วมมือด้านงานวิจัยกันเป็นเวลานาน  จึงได้ใช้เวทีนี้เพื่อถ่ายทอดและแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็น โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะกระตุ้นให้อุตสาหกรรมสิ่งทอไทยเกิดความสนใจในการสร้างนวัตกรรมโดยใช้เทคโนโลยีเส้นใย และใช้เป็นเวทีเชื่อมโยงระหว่างงานวิจัย นวัตกรรม และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอ ในการสนับสนุนการสร้างความคิดสร้างสรรค์ในผลิตภัณฑ์สิ่งทอเพื่อการแข่งขันในระดับสากล

สวทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายการ์ตูน จัดเสวนา การ์ตูนสร้างคนสร้างชาติ เปิดโอกาสให้เยาวชน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2

เรื่อง  สวทช.ร่วมกับภาคีเครือข่ายการ์ตูน จัดเสวนา การ์ตูนสร้างคนสร้างชาติ เปิดโอกาสให้เยาวชน ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2  พร้อมฟังเคล็ดลับจากนักเขียนการ์ตูนชื่อดังที่มีผลงานตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่น และผู้คร่ำหวอดในวงการ

    

เรียน   บรรณาธิการข่าว

 

สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี  ร่วมกับมูลนิธิสยามกัมมากล สถาบันการ์ตูนไทย – มูลนิธิเด็ก และสมาคมการ์ตูนไทย  ร่วมจัดงานเสวนาการ์ตูนช่วยสรรค์สร้างคนและสร้างชาติ ในโครงการประกวดการ์ตูนไซไฟไทย ก้าวไกลสู่สากล ครั้งที่ 2  เพื่อเปิดโอกาสให้เยาวชน ที่สนใจและมีความสามารถในการเขียนการ์ตูนเชิงสร้างสรรค์ ส่งผลงานการเขียนการ์ตูนเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์หรือไซไฟ โดยใช้จินตนาการและความเข้าใจเป็นสื่อผ่านตัวการ์ตูน เข้าร่วมประกวดในโครงการดังกล่าว 

ในงานพบกับนักเขียนการ์ตูนชื่อดังที่มีผลงานตีพิมพ์ในประเทศญี่ปุ่นมากมาย  และผู้ผลิตและจำหน่ายการ์ตูนลำดับต้นๆ ของเมืองไทย พร้อมบุคคลที่มีชื่อดังและคร่ำหวอดในวงการการ์ตูนของไทย อีกหลายท่าน

ในวันพฤหัสบดีที่ 5 สิงหาคม   2553  เวลา 13.00 น. ณ ห้อง S-CLUB ชั้น 4 (ตรงข้ามร้านซิสเลอร์)  ห้างสรรพสินค้าสยามเซ็นเตอร์

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาส่งผู้สื่อข่าวเข้าร่วมทำข่าว/รายงานพิเศษ ในวันและเวลาดังกล่าวด้วย จักขอบพระคุณยิ่ง  ติดต่อขอข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ คุณโกเมศ, คุณสรินยา,  คุณกัญรินทร์     และ

คุณปริเยศ   เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์  สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ  โทรศัพท์

02-6448150-89  ต่อ 217,237,212,712  หรือ 081-6681064,  081-9886614, 084-5290006  และ 084-9100850