Thai Colostomy Bag

ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา

      ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียม เป็นสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ บางยี่ห้อมีผลข้างเคียงกับผู้ป่วย “Thai Colostomy Bag” เป็นนวัตกรรมฝีมือคนไทย ลดการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ โดยนำ “ยางพารา” ซึ่งเป็นพืชเศรษฐกิจของไทยมาเป็นวัตถุดิบ


จุดเด่นของเทคโนโลยี

  • เป็นผลิตภัณฑ์ทางการแพทย์ที่ใช้ยางพาราเป็นส่วนประกอบ
  • เปรียบเทียบอาการข้างเคียง (อาการแพ้ ผื่น คัน ฯลฯ) กับยี่ห้ออื่นในท้องตลาดพบว่ามีน้อยมาก
  • ผ่านการทดสอบทาง Biocompatibilities (Cytotoxicity, Skin Irritation, Skin sensitization)

คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์

  • การทดลองใช้จริงในผู้ป่วยให้ผลการใช้งานเทียบเท่ากับยี่ห้อในท้องตลาด
  • ต้นแบบผลิตภัณฑ์มีการทดสอบทาง Biocompatibilities ก่อนการใช้งานจริงในมนุษย์
  • ผลิตภัณฑ์ต้นแบบมีความเหมาะสมกับสรีระของคนไทย ใช้งานง่าย

การประยุกต์ใช้งาน

  • ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการขับถ่ายทางหน้าท้อง (ทวารเทียม)
  • ใช้ในการเรียนการสอนของนักศึกษาคณะแพทย์ศาสตร์

กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย

      กลุ่มผู้ป่วยที่มีทวารเทียม โรงพยาบาลต่างๆ และร้านขายยา

กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย

      นักลงทุน/ตัวแทนจัดจำหน่ายอุปกรณ์และเครื่องมือทางการแพทย์

สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา

      ความคุ้มครอง อนุสิทธิบัตร เลขที่ 10257
                        อนุสิทธิบัตร เลขที่ 9968
    

สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์

      อยู่ในขั้นตอนการผลิตเพื่อจัดจำหน่าย


ภาพรวมตลาด

      ตลาดทางอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายมีแนวโน้มขยายขนาดขึ้น โดยอ้างอิงจาก จำนวนของผู้ป่วยที่มีทวารใหม่ (ทวารเทียม) เพิ่มขึ้นในอัตราเฉลี่ย 10% ทุกๆปี (ข้อมูลจากจำนวนผู้ป่วยสิทธิประกันสุขภาพถ้วนหน้า ของ สปสช.)

ผลประโยชน์ (Impact)

  • เชิงวิชาการ/วิทยาศาสตร์ :
    งานวิจัยนวัตกรรมฝีมือคนไทย และกระบวนการนำยางพารามาใช้ประโยชน์ทางการแพทย์
  • เชิงเศรษฐกิจ/พาณิชย์ :
    ลดการนำเข้าสินค้าทางการแพทย์
  • เชิงสังคม/สิ่งแวดล้อม :
    เพิ่มมูลค่ายางพาราอันเป็นพืชเศรษฐกิจของประเทศไทย

                           

"ชุดอุปกรณ์รองรับสิ่งขับถ่ายจากทวารเทียมจากยางพารา"

นักวิจัย
ผศ.นพ.วรวิทย์  วาณิชย์สุวรรณ
ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์

ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

นายสิทานนท์ อมตเวทย์
ศูนย์ทรัพย์สินทางปัญญา อุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
โทรศัพท์  0-7428-9321
โทรศัพท์มือ  09-0970-7099
E-mailsitanon.@psu.ac.th

ผลงานที่จัดแสดง