เป็นกล่องโฟมที่มีจำหน่ายปกติ นำมาเคลือบน้ำยางธรรมชาติที่ดัดแปรงโมเลกุล ทำให้เกิดความปลอดภัยจากการแพ้โปรตีนและไม่มีกลิ่น ไม่ขึ้นรา เก็บความเย็นได้นานเป็นสองเท่า สามารถนำมาใช้ใหม่ได้โดยไม่มีกลิ่น แม้ว่าจะใช้แช่อาหารทะเลก็ตาม นอกจากนั้นน้ำแข็งที่ละลายไม่ซึมออกมาข้างนอกทำให้เปื้อนเลอะเทอะรอบบริเวณพื้นที่ และกล่องที่เคลือบยางยังคงมีน้ำหนักเบา ผู้ใช้มั่นใจในความปลอดภัยต่อสุขภาพ จึงเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กล่องโฟม ทำให้เพิ่มอายุการใช้งานแก่กล่องโฟมให้นานขึ้น จึงเป็นการลดปัญหามลภาวะเป็นพิษได้ในทางอ้อม และช่วยลดสภาวะโลกร้อน
จุดเด่นของเทคโนโลยี
ด้านการผลิต : ไม่ซับซ้อน ผลิตได้ง่าย ต้นทุนต่ำ
ด้านการใช้งาน : ลดการสะสมของจุลินทรีย์ ทำให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพของผู้บริโภค และสามารถใช้งานได้เอนกประสงค์โดยไม่ต้องกังวลกับปัญหา
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
การประยุกต์ใช้งาน
องค์ความรู้ที่มีสามารถนำไปประยุกต์เคลือบบนวัสดุอื่น ทำเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆได้ ตัวกล่องโฟมสามารถประยุกต์โดยการตกแต่งภายนอก สามารถใช้เป็น กระเป๋าแฟชั่นได้ แล้วยังทนทานกันเปียกได้อีกด้วย
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
กลุ่มลูกค้า : ประชาชนทั่วไปทั้งแม่บ้าน ร้านขายอาหาร
ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย : เกษตรกร วิสาหกิจชุมชน บริษัทที่สนใจทำผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
โรงงานที่ผลิตกล่องโฟม วิสาหกิจชุมชน และบริษัทที่สนใจทำผลิตภัณฑ์จากน้ำยาง
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
ใช้องค์ความรู้จากอนุสิทธิบัตรในการทำยางไร้สีและไร้กลิ่นมาประยุกต์ทำผลิตภัณฑ์ต่างๆ เพิ่มขึ้น
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
พร้อมถ่ายทอดเทคโนโลยี สามารถนำไปใช้งานจริงได้
ภาพรวมตลาด
จากข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ (26 สิงหาคม 2561) ประเทศไทยมีประชากรทั้งสิ้นรวม 67.7 ล้านคน คิดเป็นครัวเรือนทั่วประเทศ 21.4 ล้านครัวเรือน สมมติว่ามีการใช้กล่องโฟมเพียง 50% ในแต่ละครัวเรือนมีใช้ครัวเรือนละใบ และสมมติว่ากล่องนี้มีอายุการใช้งานเพียง 6 เดือน ในการนี้ความต้องการใช้กล่องโฟมถึง 21.4 ล้านใบต่อปีเป็นอย่างน้อยแล้วจะมีการใช้น้ำยางเพิ่มขึ้นโดยใช้น้ำยางเคลือบประมาณ 0.5 กรัมต่อตารางเซ็นติเมตร ขึ้นกับขนาดของกล่อง
ผลประโยชน์ (Impact)
นักวิจัย
ผศ.ดร.อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย และนายเดชาวัต วิถีเรืองรัศมี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
ผศ.ดร.อรสา ภัทรไพบูลย์ชัย
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โทรศัพท์ 09-0982-3332
E-mail : porasa55@gmail.com
นายเดชาวัต วิถีเรืองรัศมี
คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์
โทรศัพท์ 09-8184-0136
E-mail : dechawat_jeff007@hotmail.com