เป็นเทคโนโลยีที่ได้นำวิธีระบบพาสเจอร์ไรซ์มาประยุกต์ใช้กับระบบอบด้วยลมร้อนในการทําลายเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ โดยเฉพาะเพื่อใช้กับอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ และอุปกรณ์ดมยาสลบ ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้มีลักษณะเป็นสายยาง หน้ากาก และภาชนะที่ทําจากพลาสติก จึงทําความสะอาดและทําลายเชื้อได้ยาก โดยเป็นกระบวนการที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพการฆ่าเชื้อให้ดียิ่งขึ้นโดยไม่ต้องเคลื่อนย้ายอุปกรณ์การแพทย์ออกมาสัมผัสกับอากาศภายนอก นอกจากนี้ยังมีการนำกระบวนการทางวิศวกรรมดิจิทัล (Digital Engineering) มาประยุกต์ใช้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการทํางานในระบบด้วยคอมพิวเตอร์และซอฟต์แวร์ Computational Fluid Dynamics (CFD) โดยใช้ในการคํานวณหาพลศาสตร์การไหลของน้ำและลมร้อนควบคุมกับการวิเคราะห์ระบบการควบคู่อุณหภูมิและเวลาที่เหมาะสมภายในระบบให้มีประสิทธิภาพสูงสุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อของผู้ป่วยและลดความเสี่ยงต่อการสัมผัสสารเคมีของผู้ปฏิบัติการ รวมทั้งไม่ส่งผลกระทบต่อสภาพการใช้งานอุปกรณ์การแพทย์ และไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
จุดเด่นของเทคโนโลยี
เป็นเทคโนโลยีนำวิธีระบบพาสเจอร์ไรซ์มาประยุกต์ใช้กับระบบอบด้วยลมร้อนในการทําลายเชื้ออุปกรณ์การแพทย์ มีข้อได้เปรียบมากกว่าการทําให้ทําลายเชื้อด้วยวิธีอื่น เนื่องจากมีราคาถูกกว่า เทคโนโลยีจากต่างประเทศโดยเฉพาะเครื่องอบด้วยแก๊สเอทธิลีนออกไซด์และเครื่องอบด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พลาสมา ประมาณ 6-8 เท่า แต่มีประสิทธิภาพเท่าเทียมกัน นอกจากนี้ยังทํางานได้สะดวกรวดเร็ว ไม่มีมลพิษต่อสิ่งแวดล้อม สามารถใช้ได้กับอุปกรณ์การแพทย์ได้หลากหลายประเภทมากขึ้นโดยไม่ทําให้อุปกรณ์ การแพทย์เสียหาย และไม่มีการตกค้างของสารเคมีใดๆ โดยการใช้วิธีการทําลายเชื้อด้วยน้ำร้อนที่อุณหภูมิ ประมาณ 70-75°C เป็นเวลาประมาณ 30 นาที ต่อเนื่องด้วยการอบแห้งด้วยลมร้อนทันทีที่อุณหภูมิประมาณ 70°C เป็นเวลาประมาณ 1-2 ชั่วโมง ก่อนที่จะบรรจุในห่อด้วยวิธีการปลอดเชื้อ (Aseptic Technique) ซึ่งต่างจากวิธีการทําลายเชื้อด้วยวิธีการอบด้วยแก๊สเอทธิลีนออกไซด์ และการอบด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์พลาสมา ซึ่งทําลายเชื้อที่อุณหภูมิต่ำ มีกระบวนการยุ่งยากทําให้ต้องใช้เวลานาน เหมาะกับอุปกรณ์การแพทย์ประเภทยางและพลาสติกเท่านั้น ตัวเครื่องต้องนําเข้าจากต่างประเทศในราคาที่สูงมาก อีกทั้งแก๊สที่ใช้ยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้ป่วย ผู้ปฏิบัติงาน และสิ่งแวดล้อม ส่วนการแช่ในน้ำยาเคมีความเข้มข้นสูง สามารถใช้ได้กับเครื่องมือขนาด เล็ก ประเภทแก้ว หรืออุปกรณ์ที่ไม่สามารถทนความร้อนได้ ใช้เวลาไม่นาน แต่มีข้อจํากัดเรื่องสารเคมี และเชื้อโรค ตกค้างในอุปกรณ์เครื่องช่วยหายใจ อุปกรณ์ดมยาสลบ และกล้องส่องตรวจ
คุณสมบัติของต้นแบบผลิตภัณฑ์
การประยุกต์ใช้งาน
ผลจากการวิจัยและพัฒนาต้นแบบฯในโครงการ พบว่าการนําวิธีพาสเจอร์ไรซ์มาผสานกับระบบอบลมร้อนทําลายเชื้อเครื่องมือแพทย์ สามารถทําลายเชื้อในอุปกรณ์การแพทย์ที่ใช้แล้วได้อย่างมีประสิทธิภาพ ในขั้นตอนเดียวทั้งในส่วนของการล้างและการอบแห้ง โดยไม่ต้องมีการโยกย้ายอุปกรณ์ หรือเครื่องมือต่างๆ ให้เกิดการปนเปื้อนเชื้อโรคก่อนทําการบรรจุหีบห่อ สามารถตอบสนองความต้องการของโรงพยาบาลที่มีงบประมาณจํากัดในการจัดซื้อเครื่องมือแพทย์ได้เป็นอย่างดี
กลุ่มลูกค้า / ผู้ใช้งานเทคโนโลยีเป้าหมาย
ขนาดของต้นแบบเครื่องทำลายเชื้อแบบพลาสเจอร์ไรซ์ผสานระบบอบลมร้อนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ ถูกออกแบบให้มีขนาดเหมาะสมกับการใช้งานได้ทั้งในโรงพยาบาลขนาดเล็ก โรงพยาบาลชุมชน โรงพยาบาลขนาดกลางและโรงพยาบาลใหญ่ ที่มีความต้องการเครื่องทำลายเชื้อสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ที่มีราคาถูกและมีประสิทธิภาพ
กลุ่มนักลงทุนเป้าหมาย
กลุ่มอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์-เครื่องมือทางการแพทย์
สถานภาพทรัพย์สินทางปัญญา
องค์ความรู้
สถานะการพัฒนาผลิตภัณฑ์
ต้นแบบเครื่องทำลายเชื้อแบบพลาสเจอร์ไรซ์ผสานระบบอบลมร้อนสำหรับอุปกรณ์การแพทย์ควรมีการพัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ รูปลักษณ์ และความสะดวกในการใช้งานให้ดียิ่งขึ้น เพื่อสร้างโอกาสทางธุรกิจให้แก่อุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์-เครื่องมือแพทย์ อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นการนํางานวิจัยที่มีอยู่ในมหาวิทยาลัยไปต่อยอดสู่เชิงพาณิชย์ ที่สําคัญที่สุดคือเป็นอีกหนึ่งทางเลือกของโรงพยาบาลขนาดเล็ก ในการเลือกซื้อเครื่องมือทําลายเชื้อในราคาถูกและมีประสิทธิภาพ ในอนาคตคาดว่าสามารถทดแทนการใช้งานเทคโนโลยีจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงเกินความจําเป็น ถือเป็นการลดการนําเข้า เทคโนโลยีจากต่างประเทศได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ เครื่องต้นแบบยังมีขนาดใหญ่ซึ่งอาจจะประสบปัญหาในการติดตั้งในพื้นที่โรงพยาบาลที่จํากัด ดังนั้นควรมีการพัฒนารูปลักษณ์ของเครื่องต้นแบบให้มีขนาดเล็ก และสวยงาม ยิ่งขึ้น
ภาพรวมตลาด
ประเทศไทยเป็นประเทศผู้นําเข้าและส่งออกเครื่องมือแพทย์รายใหญ่ในภูมิภาคอาเซียน นอกจากนี้ ไทยยังเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลก ประกอบกับธุรกิจโรงพยาบาลรัฐและเอกชนกําลังเร่งปรับตัวเพื่อเพิ่มศักยภาพทางการแพทย์ ทําให้มีการนําเข้าอุปกรณ์ทางการแพทย์เพื่อรองรับบริการของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น ในขณะที่อุตสาหกรรมเครื่องมือแพทย์ส่วนใหญ่ของไทยยังเป็นลักษณะของการซื้อมาขายไป ยังขาดการพัฒนาด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นของตนเอง ซึ่งปัจจุบันรัฐบาลได้ให้ความสําคัญและสานต่อนโยบายการเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ จากวิสัยทัศน์ของ (ร่าง) ยุทธศาสตร์ชาติ ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2560 – 2579) ที่ได้กําหนดกรอบแนวทางในการพัฒนาชาติที่เกี่ยวข้องกับการแพทย์ไว้ในหลายยุทธศาสตร์ อันได้แก่ ยุทธศาสตร์ที่ 2 การสร้างความสามารถในการแข่งขันในส่วนของการพัฒนาภาคการผลิตและบริการ ซึ่งกําหนดให้ทําการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการให้บริการสุขภาพ ยุทธศาสตร์ที่ 3 การพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน โดยกําหนดแนวทางในการสร้างเสริมให้คนมีสุขภาวะที่ดี และยุทธศาสตร์ที่ 4 การสร้างโอกาสความเสมอภาคและเท่าเทียมกันทางสังคม โดยกําหนดให้มีการพัฒนาระบบบริการและระบบบริหารจัดการสุขภาพ และการสร้างสภาพแวดล้อม และนวัตกรรมที่เอื้อต่อการดํารงชีวิตในสังคมสูงวัย ซึ่งงานวิจัยนี้ก็ถือเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้ตอบสนองต่อยุทธศาสตร์ของประเทศได้อีกด้วย
ผลประโยชน์ (Impact)
นักวิจัย
ศาสตราจารย์ ดร. อะเคื้อ อุณหเลขกะ
คณะแพทย์ศาสาตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ติดต่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
นางสาวปานลดา วุฒิรัตน์
อุทยานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
โทรศัพท์ 09-5145-9555
E-mail : parnlada@step.cmu.ac.th