magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Archive for category "Web Accessibility"
formats

จิตสำนักที่ควรมีต่อการพัฒนาเว็บไซต์ตามมาตรฐาน WCAG

เริ่มเห็นหน่วยงานต่างๆ พัฒนาเว็บไซต์ตามข้อกำหนดการทำให้เนื้อหาเว็บสามารถเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้ (Web Content Accessibility Guidelines: WCAG) ที่ออกโดยองค์การมาตรฐาน เวิลด์ ไวด์ เว็บ (World Wide Web Consortium: W3C) ซึ่งเป็นข้อกำหนดที่ช่วยให้คนพิการทุกกลุ่ม รวมทั้งคนปกติแต่อยู่ในสภาวะที่อาจจะไม่สามารถใช้งานเว็บได้ตามปกติ สามารถเข้าถึงเนื้อหาเว็บ และใช้ประโยชน์จากเว็บไซต์ได้ โดยเว็บที่พัฒนาตามข้อกำหนดนี้ มักจะติดโลโก้แสดงว่าเว็บของตนผ่านมาตรฐาน ดังนี้ อย่างไรก็ดี ประเด็นสำคัญของการพัฒนาเว็บไซต์ที่อยากนำเสนอในครั้งนี้คือ อย่ามุ่งเน้นการนำเสนอว่าผ่านมาตรฐานดังกล่าวและต้องมี Logo ติดเพื่อประกาศให้ทุกคนทราบว่าเว็บได้มาตรฐาน แต่ควรหันกลับไปทบทวนจุดประสงค์จริงๆ ว่าข้อกำหนดดังกล่าวทำเพื่ออะไร และเว็บของเราได้ตอบจุดประสงค์ดังกล่าวแล้วหรือไม่อย่างไร เช่น ได้ทดสอบเว็บที่ผ่านการตรวจสอบว่าได้มาตรฐาน WCAG กับกลุ่มคนพิการหลากหลายกลุ่มแล้วหรือไม่ ผลการทดสอบจริงจากคนพิการดังกล่าวเป็นอย่างไร หากพัฒนาเว็บและติด Logo ว่าได้มาตรฐานแต่ไม่เคยทดสอบจริง ก็คงไม่สามารถตอบได้ว่าเว็บไซต์ดังกล่าวรองรับการเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้จริง เพราะระบบตรวจสอบก็คงตรวจสอบได้ในมิติของคำสั่งที่วางไว้ โดยไม่ครอบคลุมความหมายที่แท้จริงของเว็บไซต์ที่คนพิการต้องการทราบ เช่น หากมีภาพแสดงกราฟข้อมูลยอดขาย แล้วใส่คำอธิบายเพียง “กราฟ” ระบบอ่านบนจอ (Sreen Reader) ก็คงอ่านออกมาให้คนตาบอดว่า “กราฟ” ซึ่งเค้าก็คงไม่ทราบรายละเอียดว่าเป็นกราฟอะไร รายละเอียดอย่างไร ดังนั้นการพัฒนาเว็บไซต์เพื่อให้ติด Logo

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 
formats

สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน

การสัมมนา เรื่อง สังคมอยู่ดี (Universal Design) : ความท้าทายใหม่ในภูมิภาคอาเซียน (Inclusive Society by Universal Design : New Challenge in AEC) วันอังคารที่ 2 เมษายน 2556 ในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ครั้งที่ 9 ซึ่งจัดภายใต้หัวข้อเรื่อง “ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี” นั้น เน้นที่การคิดค้นเทคโนโลยีเพื่อเสริมการออกแบบที่เป็นสากล ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาการเข้าถึงพื้นที่ ผลิตภัณฑ์ การบริการสาธารณะ และข้อมูลข่าวสารสำหรับทุกคน วิทยากรประกอบด้วยกลุ่มตัวแทนจากผู้ใช้ กลุ่มผู้ให้บริการ และนักวิจัย จากการเสวนาในครั้งนี้ หวังว่าจะช่วยให้ทราบถึงสถานภาพของความเป็นจริงของสังคมในปัจจุบัน และโอกาสของความเป็นไปได้ที่จะทำงานร่วมกันทั้งภาครัฐและเอกชน ที่จะพัฒนาเทคโนโลโยีเพื่่อช่วยแก้ปัญหาสำหรับทุกคนให้มีชีวิตอย่างสมบูรณ์ โดยมุ่งใช้เทคโนโลยีโดยที่ไม่เป็นภาระ เทคโนโลยีจะไม่เป็นสิ่งกีดขวางผู้ใด เทคโนโลยีจะสร้างสังคมที่ยั่งยืน และเทคโนโลยีจะช่วยสร้างสังคมอยู่เย็นเป็นสุข การจะก่อให้เกิดสังคมอยู่ดีนั้น ต้อง มีความเสมอภาค และไม่เลือกปฏิบัติ ต้องส่งเสริมให้เกิดความเสมอภาค และหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติ คำนึงถึงการเข้าถึงและการใช้ประโยชน์ –

Read More…

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments