ข่าววิทยาศาสตร์ล่าสุดจากวารสารเนเจอร์ ฉบับวันที่ 17 เมษายน 2014 อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาและวิจัย ของเยอรมนี Annette Schavan ประกาศเมื่อวันที่ 10 เมษายนว่าเธอจะยอมแพ้เรื่องต่อสู้ในการครอบครองปริญญาเอกของเธอ หลังจาก มหาวิทยาลัย Dusseldorf เรียกกลับคืน มหาวิทยาลัยเพิกถอนชื่อของเธอเมื่อปีที่แล้ว หลังจากพบว่าข้อมูลส่วนหนึ่งในวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกของเธอ มีการคัดลอกมาจากแหล่งที่มาที่ไม่ได้รับการอ้างถึงได้อย่างถูกต้อง และเมื่อวันที่ 20 มีนาคม ศาลได้ปฏิเสธคำร้องของเธอที่ว่า มหาวิทยาลัยการจัดการกรณีของเธออย่างไม่เป็นธรรม รวมถึงเธอจะไม่อุทธรณ์คำวินิจฉัยของศาล อ้างอิง : Plagiarism battle. (2014) Seven days : The News in brief. Nature., 508(7496), 292-293. http://www.nature.com/news/seven-days-11-17-april-2014-1.15048– ( 23 Views)
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง หลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ทางวิชาการ
ด้วยคณะกรรมการข้าราชการพลเรือนในสถาบันอุดมศึกษา (ก.พ.อ.) ได้ประกาศหลักเกณฑ์การพิจารณาวารสารทางวิชาการ สำหรับการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ พ.ศ. 2556 โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับวันที่ 1 ตุลาคม 2556 เล่ม 130 ตอนพิเศษ 127 ง มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 2 ตุลาคม 2556 เป็นต้นไป ให้สภาสถาบันอุดมศึกษาใช้วารสารทางวิชาการที่มีรายชื่ออยู่ในฐานข้อมูลที่เป็นยอมรับในระดับชาติและระดับนานาชาติ ได้แก่– ( 53 Views)
Open Access ของสำนักพิมพ์ Elsevier
Open Access (OA) หมายถึง เอกสารวิชาการแบบดิจิทัล ที่มีการเผยแพร่ให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงแบบออนไลน์ได้แบบเสรี (ฟรี) ปัจจุบันเรื่องคุณภาพ Open Access กำลังเป็นที่น่าสนใจในแวดวงวิชาการเกี่ยวกับการตีพิมพ์บทความวิจัยเป็นอย่างมาก เนื่องจาก Jeffrey Beall บรรณารักษ์แห่งมหาวิทยาลัยโคโลราโด เดนเวอร์ สหรัฐอเมริกา ได้รวบรวมรายชื่อสำนักพิมพ์และรายชื่อวารสารที่เข้าข่ายลักษณะจอมปลอม หลอกลวง (Predatory) ที่เรียกว่า Beall’s List of Scholarly Open Access Publishers ไว้ ว่าผู้แต่งบทความควรจะเสนอตีพิมพ์บทความวิจัยภายในสำนักพิมพ์หรือวารสารดังกล่าวหรือไม่ Elsevier สำนักพิมพ์ยักษ์ใหญ่ของโลก และเป็นเจ้าของฐานข้อมูล ScienceDirect มีวารสารที่ผลิตโดยสำนักพิมพ์ตนเอง จำนวน 2,500 รายชื่อ ได้เกาะติดกระแส Open Access โดยจัดบริการ Open Access ไว้ 3 เรื่อง คือ Open Access Journal, Open Access Articles และ
การประเมินคุณภาพผลงานวิจัย ปัจจุบันและแนวโน้มในอนาคต
เป็นหัวข้อการบรรยาย ในกิจกรรม NSTDA Knowledge Sharing ภายใน สวทช. ครั้งที่ 10 เมื่อวันที่ 18 กรกฎาคม 2556 โดย คุณรุจเรขา วิทยาวุฑฒิกุล ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล สรุปใจความได้ดังนี้ ผู้บรรยาย กล่าวย้ำว่าหัวข้อการบรรยายนี้ เป็นการประเมินคุณภาพ ของงานวิจัยเพื่อความเลิศทางวิชาการ เท่านั้น (ยกเว้นงานวิจัยประเภทอื่นๆ คือ งานวิจัยเพื่อเศรษฐกืจ งานวิจัยเพื่อเสริมสร้างชุมชน และงานวิจัยนโยบาย) โดยวัด นับจำนวนจากบทความวิจัยตีพิมพ์ในวารสาร หนังสือวิชาการเป็นหลัก (research publication) เทียบกับระดับนานาชาติ วารสารวิชาการที่มีคุณภาพ ต้องมี กองบรรณาธิการ (Editorial review) และการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญในสาขา (Peer review) การประเมินคุณภาพ เชิงคุณภาพ วิธีดีที่สุด คือ ต้องตรวจสอบด้วยการอ่านเท่านั้น ซึ่งในการปฏิบัติ ต้องใช้เวลามาก ใช้ผู้เชี่ยวชาญอ่านจำนวนมาก ซึ่งไม่สามารถทำได้ จึงใช้ทางอ้อมแทน คือ
นักวิชาการ ควรรู้อะไรก่อนที่จะเสนอบทความตีพิมพ์
เมื่อวันศุกร์ที่ 7 ธันวาคม 2555 คณะกรรมการจริยธรรมการเผยแพร่งานวิชาการและงานวิจัย และฝ่ายวิจัย คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้จัดการบรรยายวิชาการเรื่อง ” What should you know before research publication submission ? ” วัตถุประสงค์เพื่อยกระดับความตระหนักเกี่ยวกับจริยธรรมกับงานวิจัย โดยวิทยากร 2 ท่าน คือ ศ. นพ. ยง ภู่วรวรรณ (นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ 2540 นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น มูลนิธิส่งเสริมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ในพระบรมราชูปถัมภ์ 2540 ) และ นพ.กิตติศักดิ์ กุลวิชิต (ภาควิชาจักษุวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาฯ) ณ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เนื้อหาคือประเด็นในเรื่องการตีพิมพ์ผลงานวิชาการ ที่กำลังเกิดขึ้นในวงการวิชาการทั่วโลก ชุมชนวิชาการไทย ควรรับรู้ ติดตามให้เท่าทัน (เกมส์) ของผู้ไม่หวังดีต่อวงการวิชาการ เป็นเรื่องที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่ง ขอสรุปเนื้อหาการบรรยาย
IEEE Computer Society เปิดตัว “TETC”วารสาร Open-Access
IEEE Computer Society เปิดตัววารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับประเด็นใหม่ๆ ในการใช้งานคอมพิวเตอร์ วารสาร IEEE Transactions on Emerging Topics in Computing (TETC) คือ วารสารที่เป็น Open-Access ชื่อใหม่ของ IEEE Computer Society ซึ่งเน้นเผยแพร่บทความที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นในสาขาวิชาคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ ซอฟต์แวร์ และการประยุกต์ใช้งาน ซึ่งยังไม่เคยมีการตีพิมพ์ในวารสารของ IEEE ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ทั้งนี้ TETC จะเริ่มเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ครั้งแรกประมาณเดือนกรกฎาคม 2013 วารสาร TETC เป็นหนึ่งในวารสารที่เป็น Open-Access ของ IEEE ซึ่งถูกจัดทำขึ้นเพื่อตอบสนองการเรียกร้องของชุมชนวิชาการในการเข้าถึงและใช้งานบทความวิชาการโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายสำหรับสาธารณะ โดยวารสารที่เป็น Open-Access นั้น ผู้อ่านไม่ต้องจ่ายเงินค่าธรรมเนียมการสมัครสมาชิกเพื่อเข้าถึงและดาวน์โหลดบทความที่ตนต้องการ แต่ผู้เขียนบทความจะต้องเป็นผู้จ่ายเงินเพื่อเป็นค่าธรรมเนียมในการตีพิมพ์และเผยแพร่บทความของตนเองแทน โดยหนึ่งบทความมีราคาประมาณ $1,350 หรือ 4,1850 บาท ที่มาข้อมูล: