Jessamyn West แนะนำการสร้างรหัสผ่านที่ดีให้แก่บรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด จากบทความ How to Use Better and Stronger Passwords for Yourself and Your Patrons ซึ่งตีพิมพ์ใน Computers in Libraries ปีที่ 24 ฉบับ 2 เดือนมีนาคม 2014 หน้า 19-21 หรือติดตามอ่านได้ที่ http://www.infotoday.com/cilmag/mar14/West–How-to-Use-Better-and-Stronger-Passwords-for-Yourself-and-Your-Patrons.shtml ผู้เขียนซึ่งเป็นผู้อำนวยการด้านปฏิบัติการของ MetaFilten.com ได้เขียนบทความนี้ เพื่อนำเสนอแนวทางสร้างรหัสผ่านให้กับบรรณารักษ์และผู้ใช้ห้องสมุด ครอบคลุมในเรื่องความสำคัญของความปลอดภัยของรหัสผ่านในการป้องกันการรุกล้ำจากบุคคลอื่นและการกระทำอันเป็นอาชญากรรมทางคอมพิวเตอร์ เคล็ดลับสำหรับการสร้างรหัสผ่านที่ดี – ( 34 Views)
Collection Analysis (ตอนที่ 2)
วิธีการวัดหรือวิเคราะห์เพื่อประเมินทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด เพื่อประโยชน์ในการจัดหาทรัพยากร การต่ออายุ หรือการตัดสินใจเลิกซื้อ หรือเลิกการบอกรับวารสาร ฐานข้อมูลออนไลน์ ฯลฯ ห้องสมุดอาจมีวิธีการวัดเพื่อประเมินทรัพยากรอยู่แล้ว แต่การวัดโดยการรวมวิธีหรือเครื่องมือใหม่เข้ามานี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมทั้ง หมดได้ดี ไม่เพียงแต่ช่วยให้การจัดหาทรัพยากรสารสนเทศมีประสิทธิภาพขึ้น แต่สามารถจัดหาได้ตรงกับความต้องการของผู้ใช้มากขึ้น และช่วยให้ห้องสมุดประหยัดเงินและเวลาอีกด้วย เบเกอร์ และแลนแคสเตอร์ (Baker and Lancaster อ้างถึงใน Crawley-Low, Jill V. : 2002) ได้ชี้แนะ 2 วิธีพื้นฐานในการประเมินทรัพยากรสารสนเทศ ได้แก่ อ่านรายละเอียด– ( 56 Views)
Collection Analysis (ตอนที่ 1)
คำว่า “Collection” เป็นคำที่คุ้นเคยสำหรับบรรณารักษ์ นักเอกสารสนเทศ รวมทั้งผู้ที่ปฏิบัติงานในห้องสมุด ศูนย์สารสนเทศ สถาบันบริการสารสนเทศ ซึ่งหมายถึง ทรัพยากรสารสนเทศ ที่ห้องสมุดจัดหาให้บริการ ห้องสมุดมักจะมีการแบ่งทรัพยากรสารสนเทศออกเป็นหลายๆ Collection และหลายหมวดหมู่ ไม่ว่าจะมีการแบ่งเป็นกี่ Collection ก็ตาม ห้องสมุดก็ให้บริการทรัพยากรสารสนเทศเหล่านั้น พร้อมๆ กับการจัดหาทรัพยากรสารสนเทศเข้ามาอย่างต่อเนื่อง – ( 72 Views)
บรรณารักษ์ และห้องสมุดในภาพยนตร์กว่า 100 เรื่องของฮอลลีวูด
ที่เขียนเรื่องนี้ เพราะเกิดแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง A Beautiful Mind แต่ก่อนหน้านั้น ก็มีเรื่อง Lorenzo’s Oil หรือน้ำมันลอเรนโซ ที่ชอบมากๆ เพราะ Lorenzo’s Oil ฉายให้เห็นการค้นคว้าข้อมูลในห้องสมุดอย่างหนัก เพื่อให้ได้ข้อมูลการรักษาโรคของลูกชายวัย 5 ขวบ ที่เป็นโรค ALD (adrenoleukodystrophy) ที่รักษายาก และจะตายในอีก 1-2 ปี หลังจากที่พบว่าเป็น เห็นบทบาทของบรรณารักษ์และฉากการใช้ห้องสมุดเป็นแหล่งหาข้อมูลวิชาการเยอะ มากของกับพ่อแม่ของลอเรนโซ (อ่านบทวิจารณ์ของภาพยนตร์เรื่องนี้ที่ http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=loveinthesky&group=2 และ http://www.gotoknow.org/posts/162860) ติดตามอ่านรายละเอียดได้ที่นี่– ( 51 Views)
การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR)
การค้นคืนสารสนเทศข้ามภาษา หรือการสืบค้นข้ามภาษา (Cross-Language Information Retrieval หรือ CLIR) เป็นส่วนหนึ่งของการสืบค้นหรือการค้นคืนสารสนเทศ หมายถึง การค้นคืนสารสนเทศซึ่งภาษาที่แสดงในเอกสารไม่ตรงกับภาษาที่ใช้เป็นคำค้น เนื่องจากเอกสารหรือสารสนเทศมีหลากหลายภาษา การใช้คำค้นด้วยภาษาใดภาษาหนึ่ง จะทำให้ไม่สามารถค้นคืนข้อมูลที่มีอยู่เป็นจำนวนมากแต่อาจจะแสดงอยู่ในภาษา อื่นๆ ไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา เช่น การใช้คำภาษาไทยเป็นคำค้น จะทำให้ไม่พบเอกสารที่เขียนด้วยภาษาอื่น ตัวอย่าง เช่น ถ้าต้องการสืบค้นคำว่า ฐานข้อมูล ก็จะพบเฉพาะเอกสารที่มีเฉพาะคำว่า ฐานข้อมูลในเอกสารภาษาไทยเท่านั้น ข้อมูลเรื่องฐานข้อมูลในเอกสารภาษาอื่นๆ จะไม่ได้ถูกดึงขึ้นมา ซึ่งจะเป็นการพลาดโอกาสในการใช้เอกสารที่มีประโยชน์ได้ อ่านรายละเอียดต่อ– ( 43 Views)
เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์
จากเว็บไซต์ http://master-degree-online.com/infographic-anatomy-of-a-librarian/ ได้เจาะลึกวิชาชีพบรรณารักษ์ในรูปแบบของ infographic ในด้านต่างๆ เช่น อายุ: อายุของบรรณารักษ์ จะอยู่ในช่วง 20-24 ปี เพียง 1% แต่จะมีอยู่ในช่วงอายุ 25-54 มากที่สุด คือ 75% และ อายุมากว่า 55 ปี 24% เพศ: เพศที่มักประกอบอาชีพบรรณารักษ์ คือ ผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ 78% ที่เหลือ 22% เป็นผู้ชาย งานในห้องสมุดกับการทำงานของสมอง: เป็นส่วนชอบมากที่สุด แสดงการใช้งานสมองซีกซ้ายและซีกขวาว่าสมองแต่ละซีกทำงานแบบใดในห้องสมุด เชิญชมภาพ infographic แบบเต็มร้อยได้เลยค่ะ– ( 44 Views)
12 องค์กร/สมาคม ที่บรรณารักษ์ใหม่ควรรู้จัก
ในเว็บไซต์ LibraryScienceList.com ได้เขียนถึง 12 องค์กร/สมาคม ทางด้านห้องสมุด ที่บรรณารักษ์จบใหม่ รุ่นใหม่ ควรรู้จักหรือคุ้นเคย แต่เป็นองค์กร/สมาคม ของสหรัฐอเมริกา แล้วถ้าหันมามองประเทศไทย ไม่ต้องนึกถึงเฉพาะบรรณารักษ์จบใหม่ หรือบรรณารักษ์รุ่นใหม่เลย รุ่นก่อนหน้านั้น (ไม่ขอใช้คำว่า รุ่นเก่า) ควรจะมีสมาคม/องค์กรใดบ้างที่ควรรู้จัก อันเป็นว่า มารู้จัก องค์กรในอเมริกา ก่อนก็แล้วกันค่ะ อ่านแล้วอาจจะรู้จักมากกว่าองค์กร/สมาคมของไทย ก็ได้ค่ะ ทั้ง 12 องค์กร/สมาคม ได้แก่ – ( 283 Views)
Bibliomining เพื่อประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด
ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 99 Views)
Federated Searching
การสืบค้นแบบ Federated Search หรือบางแห่งอาจจะเรียกว่า Single search หรือ One search เป็นการสืบค้นที่ถูกดึงเป็นเรื่องสำคัญของห้องสมุดเกือบทุกแห่ง ด้วยความสามารถของเครื่องมือนี้ที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถสืบค้นข้อมูลจากหลายๆ แห่ง ในเวลาเดียวกัน ได้ด้วยการใส่คำค้นเพียงครั้งเดียวผ่านหน้าจอหรืออินเทอร์เฟสการค้นเพียงหนึ่งเดียว และแสดงผลการสืบค้นที่ได้เป็นชุดเดียว ผู้ใช้ห้องสมุดสามารถได้รับข้อมูลทั้งจากฐานข้อมูลทรัพยากรสารสนเทศของห้องสมุด จากเว็บไซต์ต่างๆ หรือแม้แต่ฐานข้อมูลออนไลน์จำนวนมากที่ห้องสมุดบอกรับ – ( 127 Views)