“สังคหวัตถุ” หมายถึง วิธีสร้างมนุษย์สัมพันธ์ผูกใจคน พระพุทธเจ้าตรัสว่า รถม้าแล่นได้เพราะมีลิ่มสลักคอยตรึงส่วนประกอบต่าง ๆ ของรถเข้าไว้ด้วยกัน คนในสังคมย่อมต้องมีกาวใจหรือความสัมพันธ์อันดีทำหน้าที่เชื่อมประสานคนทั้งหลายเข้าด้วยกัน หากอยากให้เพื่อนร่วมงานและคนในองค์กรร่วมไม้ร่วมมือจนงานสำเร็จลุล่วงด้วยดี ควรนำหลักสังคหวัตถุ 4 มาใช้ ดังนี้ ทาน หมายถึง การให้ ทุกคนควรรู้จักให้และมีน้ำใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่แก่กัน ไม่ได้หมายถึงการให้สิ่งของเพียงอย่างเดียว แต่หมายรวมถึงการให้ความรู้ ให้ความช่วยเหลือ และให้อภัย ปิยวาจา หมายถึง การพูดถ้อยคำไพเราะอ่อนหวาน คำพูดมีความสำคัญ เพราะทำให้คนรักหรือเกลียดกันได้ ฉะนั้นจึงควรพูดด้วยถ้อยคำสุภาพ พูดด้วยจิตเมตตา พูดแต่ความจริงให้ถูกกาลเทศะ และก่อให้เกิดประโยชน์ พูดให้เกียรติ จะทำให้คนในองค์กรรู้สึกว่าตนเองมีความสำคัญและช่วยให้การติดต่อประสานงานทำได้ง่ายขึ้น อัตถจริยา หมายถึง การทำตนให้เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่น โดยเริ่มจากพัฒนาความรู้และความสามารถในการทำงานของตนเอง แล้วใช้ความสามารถที่มีทำงานอย่างเต็มที่ ร่วมมือกับทีมงาน และช่วยเหลือกันและกัน เมื่อพบอุปสรรค สมานัตตตา หมายถึง การวางตัวสม่ำเสมอให้เหมาะสมกับฐานะและบทบาทของตนเอง หากเคยวางตนกับผู้อื่นในทางที่ดีอย่างไร ก็ยังคงทำเช่นเดิมไม่เปลี่ยนแปลง เช่น เมื่อมีตำแหน่งสูงขึ้น ยิ่งต้องวางตนให้ดี แสดงความมีเมตตาให้มากไม่ใช้อำนาจในทางที่ผิด เมื่อความสัมพันธ์อันดีเชื่อมโยงทุกคนเข้าไว้ด้วยกัน การงานย่อมก้าวหน้า ส่งผลให้มีสุขภาพจิตดี แหล่งที่มา : ธิษณา
สารณียธรรม 6
[273] สารณียธรรม 6 (ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง, ธรรมเป็นเหตุที่ระลึกถึงกัน, หลักการอยู่ร่วมกัน — states of conciliation; virtues for fraternal living) สาราณียธรรม ก็ใช้ 1. เมตตากายกรรม (ตั้งเมตตากายกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยเหลือกิจธุระของผู้ร่วมคณะด้วยความเต็มใจ แสดงกิริยาอาการสุภาพ เคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in deed, openly and in private) 2. เมตตาวจีกรรม (ตั้งเมตตาวจีกรรมในเพื่อนพรหมจรรย์ ทั้งต่อหน้าและลับหลัง คือ ช่วยบอกแจ้งสิ่งที่เป็นประโยชน์ สั่งสอน แนะนำตักเตือนด้วยความหวังดี กล่าววาจาสุภาพ แสดงความเคารพนับถือกัน ทั้งต่อหน้าและลับหลัง — to be amiable in word, openly and in