ฉลาก Carbon Footprint (CF) เป็นเครื่องมือหนึ่งที่ประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศใช้เพื่อส่งเสริมให้การดำเนินการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก (Green House Gases; GHG) ของประเทศเป็นไปตามเป้าหมายภายใต้พิธีสารเกียวโต และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมของประเทศ สำหรับประเทศไทยที่เป็นผู้ผลิตและส่งออกสำคัญของโลกได้เริ่มศึกษาและพัฒนางานด้าน CF เมื่อปลายปี 2551 ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลาก CF 101 รายการ โดยกว่าร้อยละ 50 ของผลิตภัณฑ์ที่ได้รับฉลากเป็นผลิตภัณฑ์เกษตรและอาหารและบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารและเครื่องดื่ม ซึ่งนักวิจัยจากหน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ หน่วยศึกษานโยบายและความปลอดภัยทางชีวภาพ ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ ได้ศึกษาและวิเคราะห์เกี่ยวกับผลกระทบด้านต่างๆ ของ Carbon Footprint พบว่า หากพิจารณาตามประเภทสินค้า สามารถแบ่งฉลาก Carbon Footprint ที่มีอยู่ออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ – ( 114 Views)
ลาว-แขวงบ่อแก้วเตรียมแผนพัฒนาการท่องเที่ยวรับ AEC
แขวงบ่อแก้ว ของประเทศลาว เปรียบเสมือนเมืองคู่แฝดของเชียงของ เชื่อมไทยกับสปป. ลาวตอนบน เตรียมแผนการพัฒนาและส่งเสริมการท่องเที่ยวเพื่อที่จะรองรับนักท่องเที่ยวได้มากขึ้นในปี 2557 บ่อแก้ว เป็นแขวงที่มีขนาดเล็กที่สุดของลาว มีพรมแดนติดกับไทย และพม่า ห่างจากชายแดนจีนเพียง 100 กิโลเมตร ในปีที่ผ่านมา (2556) มีนักท่องเที่ยวต่างชาติมาเที่ยวเกือบ 4 แสนคน เป็นนักท่องเที่ยวจากจีนกว่า 1 หมื่นคนจากไทยเกือบ 6 หมื่นคน และประเทศอื่นๆรวมกันกว่า 3 แสนคน ส่วนใหญ่ต้องการมาเยี่ยมชม เรียนรู้วัฒนธรรม และประเพณีของชนเผ่าต่างๆ ทางแขวงจึงได้พัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมของเผ่าขึ้นอีก 1 แห่ง และปรับปรุงแหล่งท่องเที่ยวทางประวัติศาสตร์ เพื่อเตรียมความพร้อม สำหรับงานท่องเที่ยวประจำปีของแขวง ที่จะมีขึ้นวันที่ 24 ถึง 26 มกราคม 2557 สำนักงานการท่องเที่ยวแขวงบ่อแก้วได้ขอความร่วมมือจากบริษัทท่องเที่ยวใน แขวงบ่อแก้วทั้งหมด 14 แห่ง ให้ปฏิบัติตามระเบียบกฏหมายใหม่ด้านการท่องเที่ยว ที่มา : ลาว-แขวงบ่อแก้วเตรียมแผนพัฒนาการท่องเที่ยว. (2557). ครอบครัวข่าวสามออนไลน์. สืบค้นข้อมูลเมื่อวันที่ 22
ศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ (จร.)
กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ ได้เปิดศูนย์บริการข้อมูลประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ขึ้นเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2554 เนื่องจากการที่อาเซียนจะรวมตัวกันทางเศรษฐกิจเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC ในปี พ.ศ. 2558 จึงเป็นจุดเริ่มต้นของกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศในการถ่ายทอดข้อมูลและสร้างความเข้าใจ โดยมุ่งการให้บริการที่เน้นการสื่อสารสองทาง เพื่อเชื่อมโยงข้อมูลจากส่วนผู้เจรจาการค้า (Negotiators) ไปสู่ผู้ใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลงเขตการค้าเสรี (Stakeholders) ควบคู่ไปกับการให้คำปรึกษาแก่ผู้ประกอบการ SME และผู้สนใจทั่วไปได้ใช้ประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้าตามความตกลงต่างๆ ของไทยในการประกอบธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรมโดยสามารถวางแผนธุรกิจเตรียมความพร้อมทั้งเชิงรับและเชิงรุก เพื่อใช้โอกาสจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนและการเปิดเสรีทางการค้าได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ติดตามข้อมูลและขอใช้บริการได้ที่ โทร 0 2507 7555 โทรสาร 0 2547 5612 อีเมล info@dtn.go.th – ( 107 Views)
นานาสาระเกี่ยวกับ AEC กับ EXIM Bank
ในเว็บไซต์ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย มีเนื้อหาสาระเกี่ยวกับ AEC ในแง่ของการลงทุน การทำธุรกิจ การส่งสินค้ากับประเทศในกลุ่มประเทศอาเซียน บทความต่างๆ เหล่านี้ น่าสนใจมากทีเดียว เป็นข้อมูลให้กับผู้ประกอบการ นักลงทุนของไทย ในการเข้าสู่ถนน AECโดยเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวได้ที่ http://www.exim.go.th/Newsinfo/aec.aspx?section_=77711844 นอกจากเว็บไซต์นี้แล้ว ท่านสามารถติดตามแหล่งสารสนเทศอาเซียนในแง่มุมอื่นๆ ได้ที่ http://stks.or.th/th/asean-resources.html และ http://nstda.or.th/asean/ – ( 111 Views)
งานสัปดาห์จุฬาฯ อาเซียน (Chula ASEAN Week)
ขอเชิญร่วมงานสัปดาห์ จุฬาฯ อาเซียน “อาเซียนในกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง” ระหว่างวันที่ 15 – 21 กรกฎาคม 2556 ณ ห้องประชุมจุมภฎ-พันธุ์ทิพย์ อาคารประชาธิปก-รำไพพรรณี หัวข้อปาฐกถาประกอบด้วย ประเทศไทยกับประชาคมอาเซียนในกระแสการเปลี่ยนแปลง ยุทธศาสตร์อาเซียนของภาครัฐในกระแสโลกที่กำลังเปลี่ยนแปลง มหาวิทยาลัยไทยกับจังหวะก้าวใหม่ของอาเซียนในโลกที่กำลังเปลี่ยน แปลง โลกเปลี่ยน คนเปลี่ยน? พลเมืองอาเซียนในโลกที่กำลัง เปลี่ยนแปลง ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการแสดงการแสดงนิทรรศการนำเสนอผลงานวิชาการและการ วิจัยด้านอาเซียนศึกษาในจุฬาฯ โดยมีหัวข้อที่น่าสนใจดังนี้– ( 169 Views)
รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558
หัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ เรื่อง รู้รอบด้านก่อนมีรถไฟความเร็วสูง : การพัฒนาเทคโนโลยีระบบขนส่งทางรางและความพร้อมในภูมิภาคอาเซียนสำหรับการเข้าสู่ AEC ในปี 2558 เป็นหนึ่งในหัวข้อการบรรยายและเสวนาพิเศษ หัวข้อหนึ่ง ในงานประชุมวิชาการประจำปี สวทช. ครั้งที่ 9 (NAC 2013) เรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) ในช่วงระหว่างวันที่ 31 มีนาคม – 3 เมษายน 2556 ณ อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย จังหวัดปทุมธานี เนื้อหาการบรรยายโดยสรุป ประเด็นร้อนของภูมิภาคอาเซียนในขณะนี้ คือการเปิดเสรีของประชาคมอาเซียนในปี 2558 ซึ่งระบบรางเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงนี้ ระบบรางที่ถูกกล่าวขานกันมากในภูมิภาคอาเซียน คือรถไฟความเร็วสูง ปี 2552 ประเทศเวียดนามตกเป็นข่าวอย่างร้อนแรงในการที่จะเป็นชาติแรกที่สร้างทางรถไฟความเร็วสูง แต่ในที่สุดรัฐสภาเวียดนามก็มีมติไม่เห็นชอบกับโครงการดังกล่าว ซึ่งเป็นเรื่องที่ค่อนข้างแปลกสำหรับระบบการปกครองแบบพรรคการเมืองเดียวที่รัฐบาลรับรัฐสภามักจะมีความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหลังจากเวียดนามชะลอโครงการรถไฟความเร็วสูงไปแล้ว ก็เกิดกระแสรถไฟความเร็วสูงขึ้นในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวและประเทศไทยโดยคาดหวังว่าจะมีการสร้างรถไฟทางกว้าง 1.435 เมตรจากคุณหมิงมายังเวียงจันทน์ แล้วเลยเข้าประเทศไทยที่จังหวัดหนองคาย ซึ่งหากเป็นจริงแล้วก็จะเป็นการเชื่อมทางรถไฟจากประเทศจีนเข้าในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งใช้ทางรถไฟเป็นขนาดกว้าง 1
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury)
AEC : ขุมทรัพย์ Talent ไร้พรมแดน (AEC : Talent Treasury) เป็นอีกหัวข้อหนึ่งในการประชุมวิชาการประจำปี 2556 สวทช. ซึ่งจัดขึ้นภายใต้หัวข้อเรื่อง ความพร้อมสู่ AEC ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (Towards AEC with Science and Technology) เป็นการบรรยายวันที่ 31 มีนาคม 2556 เวลา 13.30-15.30 น. เนื่องจากในระยะเวลาเพียง 3 ปี ต่อจากนี้ ไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community – AEC) บุคลากรในสาขาต่างๆ จะมีทางเลือกในการทำงานอย่างเปิดกว้าง กระแสของการหมุนเวียนแรงงานจะเปิดกว้างมากขึ้นในกลุ่มประเทศอาเซียน ทุกภาคส่วนจะต้องมีกลยุทธ์ในการจูงใจและรักษาคนเก่ง แรงงานก็ต้องพัฒนาตนเองและสร้างคุณค่าให้แก่ตนเองและองค์กร เพื่อรักษางาน และสร้างจุดแข็งให้สามารถแข่งขันกับแรงงานจากต่างประเทศที่เข้ามาในประเทศได้ การนำเสนอประสบการณ์ด้านการพัฒนากำลังคนของประเทศของวิทยากรในหัวข้อนี้ เพื่อสร้างความตระหนักด้านกำลังคนด้าน ว และ ท คุณลักษณะเด่นของ Talent บุคลากรคุณภาพภายในองค์กร การกระตุ้นและสร้างแรงจูงใจ
สถาปนิกอาเซียน
สภาสถาปนิก ในฐานะผู้แทนประเทศไทยในการเข้าร่วมประชุมสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน ได้รวบรวมข้อมูลในส่วนของประเทศไทยที่มีการผูกพันการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรมภายใต้กรอบ AFAS (ASEAN Framework Agreement on Service) หรือ กรอบความตกลงว่าด้วยบริการของอาเซียน ซึ่งมีการกำหนดให้เปิดตลาดการค้าบริการให้เป็นตลาดการค้าบริการที่เสรีและเป็นตลาดเดียวภายในปี พ.ศ. 2558 (ค.ศ. 2015) และยอมรับร่วมกันของอาเซียนด้านการบริการสถาปัตยกรรม (ASEAN Mutual Recognition Arrangement on Architectural Services: MRAs) เพื่อรับรองมาตรฐานการศึกษา ประสบการณ์การทำงานวิชาชีพสถาปัตยกรรม ในการออกใบอนุญาตประกอบวิชาชีพให้กับผู้ประกอบวิชาชีพที่เป็นสมาชิกอาเซียน ซึ่งเป็นมาตรฐานเพื่อให้สถาปนิกในกลุ่มประเทศสมาชิกสามารถเคลื่อนย้ายเข้าไปทำงานในกลุ่มประเทศอาเซียนได้ ทั้งนี้ ติดตามข้อมูลรายละเอียดของสภาสถาปนิกแห่งอาเซียน (ASEAN Architect Council – AAC) ได้ที่ http://www.aseanarchitectcouncil.org/about.html และติดตามข้อมูลของสภาสถาปนิก ที่รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับการเปิดตลาดการค้าบริการวิชาชีพสถาปัตยกรรม และตลาดวิชาชีพผังเมืองและภูมิสถาปัตยกรรม ได้ที่ http://www.act.or.th/th/asean_architect/– ( 132 Views)
สมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA)
เดิมชื่อว่า องค์การรัฐสภาพอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2520 เพื่อสร้างความร่วมมือของรัฐสภาแห่งชาติในอาเซียนให้ใกล้ชิดมากยิ่งขึ้น และเมื่อการประชุมสมัชชาใหญ่องค์การรัฐสภาอาเซียนครั้งที่ 27 ณ เมืองเซบู สาธารณรัฐฟิลิปปินส์ มีการเปลี่ยนชื่อจากองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Organization – AIPO) มาเป็นสมัชชารัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter-Parliamentary Assembly – AIPA) เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้แก่องค์กร และบูรณาการการทำงานของฝ่ายนิติบัญญัติให้มีรูปธรรม ตลอดจนยกระดับความร่วมมือระหว่างรัฐสภาในประเทศสมาชิกอาเซียนให้ใกล้ชิดยิ่งขึ้นปรับปรุงโครงสร้างการทำงานขององค์กร เพิ่มช่องทางการทำงานร่วมกันกับ ASEAN โดยการแลกเปลี่ยนการเข้าร่วมประชุมระหว่างประธาน AIPA และประธานคณะกรรมการประจำอาเซียน และให้อำนาจกับที่ประชุมสมัชชาใหญ่ในการริเริ่มการจัดทำกฎหมายในประเด็นที่ประเทศสมาชิกให้ความสนใจร่วมกัน เพื่อบรรลุเป้าหมายการจัดตั้งประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) ติดตามความกิจกรรมความเคลื่อนไหวได้ที่ http://www.aipasecretariat.org/ และ http://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/parliament_parcy/ewt_w3c/ewt_news.php?nid=14330&filename= – ( 152 Views)