ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และ เลขมาตรฐานประจำวารสาร (International Serial Number – ISSN) มีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นความท้าทายหลักต่อระบบตัวบ่งชี้ที่มีมาแต่เดิม เนื่องจากตัวบ่งชี้แบบเดิม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ได้ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ต นั่นเป็นเพราะ เลขที่อยู่ในเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เช่น ISBN ไม่ได้เป็นหรือจะถูกตีความว่าเป็นตัวที่เชื่อมโยงด้วยเว็บบราวเซอร์ได้ ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent identifier-PI) มีหลายหน้าที่ แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ เป็นตัวทำให้ตัวบ่งชี้แบบเดิมสามารถทำงานได้ในเว็บ และเป็นตัวจัดหาตัวเชื่อมโยงที่ถาวรไปยังสารสนเทศได้ การใช้ PI ต้องเป็น PI ที่ผู้ใช้สามารถให้ความเชื่อถือได้ว่าจะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าตำแหน่งของสารสนเทศนั้นจะถูกเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ถาวรต้องถูกจับคู่กับตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ (locator) ที่ทันสมัยซึ่งจะต้องทำให้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามที่แจ้งไว้ได้ – ( 193 Views)
ตัวบ่งชี้ถาวรดิจิทัลกับการทำงานข้ามระบบ
เป็นเพราะทรัพย์สินดิจิทัลหรือสารสนเทศดิจิทัล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำให้การบ่งชี้ดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสงวนรักษา การบริหารจัดการ การเข้าถึงและการนำกลับมาใช้ใหม่ของจำนวนข้อมูลมหาศาล หน้าที่ในการบ่งชี้การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสัมพันธ์กับเจ้าของผลงาน และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น สถาบัน/องค์กร กลุ่มวิจัย โครงการ) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงการอ้างอิง การค้นคืน และการสงวนรักษาของทรัพยากรสารสนเทศทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ข้อสรุปบางประการสำหรับตัวบ่งชี้สารสนเทศดิจิทัลได้มีการเสนอในหลายๆ แห่งแตกต่างกัน เช่น ห้องสมุด สำนักพิมพ์ เป็นต้น และอีกหลายๆ มาตรฐานที่ยังอยู่ในระยะที่เริ่มได้ที่ของการพัฒนา (เช่น DOI, Handle, NBN, ARK, Scopus Id, ResearcherID, VIAF เป็นต้น) แต่ข้อด้อยสำคัญที่ยังคงทำให้ตัวบ่งชี้ถาวรเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งบางครั้งมีความเห็นที่ตรงกันข้ามในหลายประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป และด้วยความที่มีตัวบ่งชี้ดิจิทัลหลายตัว จึงเป็นเรื่องท้าทายไปถึงการหาข้อสรุปในการให้ตัวบางชี้เหล่านั้น สามารถทำข้ามระบบกันได้ (interoperability) APARSEN (Alliance for Permanent Access to the Records of Science Network) ได้สำรวจความสามารถในการทำงานข้ามระบบระหว่างตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifiers-PIs)
Open Archival Information System (OAIS) : ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด
Open Archival Information System Reference Model หรือ OAIS Reference Model พัฒนาโดย The Consultative Committee for Space Data Systems (CDSDS) เป็นกรอบแนวความคิด (conceptual framework) เพื่ออธิบายคุณลักษณะที่จำเป็นของระบบสารสนเทศจดหมายเหตุ ซึ่งนับว่าเป็นก้าวแรกในการจัดทำมาตรฐานอย่างเป็นทางการสำหรับการจัดเก็บสารสนเทศในระยะยาว (Long –term archiving) กับข้อมูลทางอวกาศ คำว่า Open Archival Information System หรือ ระบบสารสนเทศจดหมายเหตุแบบเปิด บางครั้งอาจสร้างความเข้าใจผิดได้ จากคำว่า “Open” เพราะว่า “Open” ในที่นี้ หมายถึง การพัฒนา คำแนะนำ และมาตรฐาน ที่ถูกสร้างขึ้นในกลุ่มที่มีความสนใจเดียวกันอย่างเปิดเผย แต่ไม่ได้หมายความว่า การเข้าถึงระบบนั้นจะไม่มีการจำกัด กล่าวได้ว่า OAIS คือ ระบบจดหมายเหตุที่ประกอบด้วย กลุ่มคนและระบบ ที่ได้ทำข้อตกลงและรับผิดชอบร่วมกันในการสงวนรักษาสารสนเทศ และทำให้สามารถเข้าถึงได้ในกลุ่มผู้ใช้เป้าหมาย
National Diet Library เริ่มทดสอบระบบจดหมายเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นตะวันออก
10 ม.ค. 2556 กระทรวงกิจการภายในและการสื่อสารของประเทศญี่ปุ่น ร่วมกับ National Diet Library ทำการทดสอบ ระบบจดหมายเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ของญี่ปุ่นตะวันออก (Great East Japan Earthquake Archive) ระบบการจัดการข้อมูลแบบบูรณาการที่รวมรายการข้อมูลมากกว่า 100,000 รายการ เกี่ยวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวและสึนามิครั้งใหญ่ของเมืองทางชายฝั่งทะเลตะวันออกของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อวันที่ 11 มี.ค. 2554 – ( 178 Views)
เอกสารการประชุม iPRES 2012
ดาวน์โหลดเอกสารการประชุม International Conference on Preservation of Digital Objects หรือ iPRES ครั้งที่ 9 ประจำปี 2012 ซึ่งจัดขึ้น ณ University of Toronto เมื่อวันที่ 1-5 ตุลาคม 2012 ที่ผ่านมา คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด– ( 87 Views)
U. of Michigan แปลงจดหมายโบราณของ St. Paul พร้อมให้บริการบน iPad/iPhone
จดหมายโบราณหายากของ St. Paul ได้ถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลและเปิดให้บริการผ่านแอพพลิเคชั่นแบบโต้ตอบ (Interactive app) บน iPad และ iPhone – ( 121 Views)
จดหมายเหตุออนไลน์ เมือง Vancouver แคนาดา
ทีมงานหอจดหมายเหตุ Vancouver ร่วมมือกันประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่างๆ อาทิ การแปลงเอกสารให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัล สแกนเนอร์แผนที่ Blog Open-data hackathon Geocoding Youtube Historypin และ Flickr เพื่อบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมาที่เกี่ยวข้องกับเมือง Vancouver ผ่านรูปภาพและวิดีโอประวัติศาสตร์ เพื่อให้ผู้สนใจสามารถเข้าถึงเพื่อการศึกษาค้นคว้าตามที่ต้องการต่อไปผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ด เว็บไซต์ City of Vancouver Archives คลิกที่นี่ ฐานข้อมูล City of Vancouver Archives คลิกที่นี่ ที่มาข้อมูล: Price, Gary. (2013). “Canada: Putting Vancouver’s History Online”. infoDocket [Online], 1 January. http://www.infodocket.com/2013/01/01/canada-putting-vancouvers-history-online [Accessed 1 January 2013].– ( 107 Views)
Gale เปิดตัว The National Geographic Virtual Library
Gale หนึ่งในบริษัทผู้นำด้าน Information solutions สำหรับห้องสมุด โรงเรียน และธุรกิจ ร่วมกับ The National Geographic Society องค์กรทางการศึกษาและวิทยาศาสตร์ที่มิหวังผลกำไรของสหรัฐอเมริกา เจ้าของนิตยสารชื่อดังอย่าง The National Geographic เปิดตัว ห้องสมุดเสมือน National Geographic เมื่อต้นปี 2012 Gale ประกาศว่า ห้องสมุดสามารถสืบค้นและเข้าถึง นิตยสาร National Geographic ฉบับย้อนหลัง ระหว่างปี 1888-1994 นอกจากนี้ยังได้มีการขยายปีที่พิมพ์ของนิตยสารเพื่อให้บริการเพิ่มจากปี 1995 เป็นต้นไป รวมถึงคอลเลคชั่นอื่นๆ คือ หนังสือ แผนที่ ภาพ และ National Geographic Traveler magazine ตั้งแต่ปี 2010 ถึงปัจจุบัน โดยตัวอย่างของหัวข้อที่น่าสนใจซึ่งเผยแพร่ เช่น Polar Obsession โดย Paul
Cambridge Digital Library: digital library for the world
กว่าปีที่ผ่านมาหนังสือและเอกสารต้นฉบับหายากกว่าแสนรายการที่ The University of Cambridge รับผิดชอบดูแล อยู่ระหว่างการถูกแปลงให้อยู่ในรูปแบบดิจิทัลเพื่อให้บริการที่ the Cambridge Digital Library ด้วยความตั้งใจของทีมงานกว่า 30 คน พร้อมด้วยกล้องและสแกนเนอร์ที่มีประสิทธิภาพสูง เพื่อให้นักวิชาการ นักเรียน นักศึกษา และประชาชนทั่วไปสามารถเข้าถึงเนื้อหาภายในหนังสือและเอกสารหายากเหล่านี้ Grant Young, Director of the Cambridge Digital Library project กล่าวว่าโครงการ Cambridge Digital Library นี้เปรียบเหมือนการเปิดห้องสมุดแบบเดิมๆ สู่โลกภายนอกที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะการเปิดช่องทางเพื่อแบ่งปันทรัพย์สินที่มีค่าของมหาวิทยาลัยที่มักหลบซ่อนอยู่ให้กับคนทั่วโลก ซึ่งห้องสมุดของมหาวิทยาลัย Cambridge นี้ นับเป็นหนึ่งในห้องสมุดเพื่อการค้นคว้าและวิจัยที่ใหญ่ที่สุด มีคอลเลคชั่นที่น่าสนใจและเป็นประโยชน์มากมายที่ควรได้รับการส่งเสริมเพื่อให้เกิดการเข้าถึงและใช้งานจากผู้ใช้ห้องสมุด Cambridge Digital Library ถูกเริ่มหลังจากได้รับเงินบริจาค ประมาณ 1.5 ล้านปอนด์จากมูลนิธิการกุศล Polonsky ปัจจุบันหนังสือและเอกสารหายากประมาณ 3,700 รายการ หรือ 35,000 หน้า ได้เปิดให้บริการในรูปแบบดิจิทัลผ่านอินเทอร์เน็ตฟรี
บริการหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ ให้บริการออนไลน์ฟรี
มากกว่า 1 ล้านหน้าของหนังสือพิมพ์หายากในสวิตเซอร์แลนด์ถูกดิจิไทซ์และให้บริการออนไลน์ฟรี The State and University Library Lausanne (BCU Lausanne) ได้ดำเนินโครงการแปลง (Digitize) หนังสือพิมพ์หายากของสวิตเซอร์แลนด์เพื่อให้บริการออนไลน์ฟรี โดยผู้ใช้สามารถเข้าถึงที่ http://scriptorium.bcu-lausanne.ch เพื่อดาวน์โหลด พิมพ์ หรือ ส่งผ่านทางอีเมล ตัวอย่างคอลเลคชั่นที่สำคัญ เช่น “Feuille d’Avis de Lausanne” and “24 heures” ซึ่งถูกตีพิมพ์ระหว่างปี 1762-2001 ทั้งนี้โครงการเกิดขึ้นจากการสนับสนุนของ the Swiss National Library and Edipresse (Tamedia) Archives of Canton of Vaud และ the Archive of the City of Lausanne ที่มาข้อมูล: Price, G.