วันนี้มีโอกาสได้จัดการหนังสือที่คงค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ (ผลัดวันประกันพรุ่งมาเนิ่นนาน…เพราะติดงานอื่นๆ) พอหยิบจับมาจัดการก็มีอันจะต้องอ่านเนื้อหาของหนังสือนั้นๆ เพื่อบริหารจัดการตัวเล่มให้แล้วเสร็จ อ่านไปจนมาถึงหนังสือชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” เป็นสื่อการเรียนที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคณะครูจากโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาสที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อการอยู่ดีมีสุข สำหรับโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้รับคำปรึกษาจาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนการดำเนินการโครงการฯ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภา (สสส.) โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเด็กๆ ให้ดีขึ้น โดยเริ่มจากในห้องเรียนและขยายผลไปยังชุมชน ด้วยการให้ความรู้ผ่านหลักสูตร และสื่อการสอนที่มีรูปแบบสวยงาม ทำให้เด็กๆ มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ เกิดกระบวนการคิด รวมทั้งเข้าใจและจดจำเรื่องราวต่างๆ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น หนังสืออ่านสนุก มีภาพการ์ตูนประกอบสดใสสีสันสวยงาม อ่านง่าย เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ (ที่ต้องการอ่านหนังสือเบาๆ) วันนี้สรุปที่มาโครงการ รวมถึงเนื้อหาต่างๆ ภายในชุดให้ได้อ่านกันก่อน โอกาสต่อไปจะนำเสนอเนื้อหาภายในเล่มแต่ละหน่วยให้ได้อ่านกันต่อค่ะ (สามารถอ่านฉบับออนไลน์ได้ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หนังสือชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” ประกอบด้วย 10 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 กินอย่างฉลาด สะอาดและปลอดภัย เรื่อง
ประเด็นพิจารณาก่อนพัฒนาระบบบริหารจัดการ eBook
หลายหน่วยงานให้ความสนใจการจัดทำ/เผยแพร่หนังสือ สิ่งพิมพ์ในรูปแบบ eBook โดยคำถามที่ได้รับมากคำถามหนึ่งคือ ควรทำอย่างไร คำตอบที่ชัดเจนคงเป็นไปได้ยาก ทั้งนี้ขอเสนอประเด็นพิจารณา ดังนี้ 1) ทราบกลุ่มเป้าหมายก่อน ใครคือผู้อ่าน .. นักวิชาการ นักการศึกษา กลุ่มเฉพาะ บุคคลทั่วไป เด็ก เยาวชน (ระดับใด อายุเท่าไร) เครื่องมือในการเข้าถึง … คอมพิวเตอร์ โน้ตบุ๊ค Smart Phone หรือ eBook Reader หรือ Table PC 2) รู้จักสื่อของตนเอง ความยาวของเนื้อหา ความยาก ง่ายของเนื้อหา ความหลากหลายของสื่อในตัวเล่ม … ข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหว … ฟอร์แมตต้นฉบับของสื่อ … ตัวเล่ม, DTP, Microsoft Word ลิขสิทธิ์ 3) รู้เทคนิคที่ควรดำเนินการ ฟอร์แมตของ eBook ที่ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย
หลากหลายประเด็นน่าสนใจเกี่ยวกับ eBook
eBook เป็นคำที่มีการใช้นานแล้ว และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง ขอนำเสนอประเด็นต่างๆ เกี่ยวกับ eBook ดังนี้ ความรู้เกี่ยวกับ e-Book รูปแบบ eBook ePublishing การสร้างเอกสาร PDF ด้วย Microsoft Office + Acrobat 6 การสร้างเอกสาร PDF ด้วย OpenOffice.org รูปแบบการนำเสนอ eBook แบบ Flip eBook พัฒนา Multimedia eBook ด้วย FlipAlbum 6 eBook ที่ร่วมทำกับสถาบันศิลปะและวัฒนธรรม ม.บูรพา : ด้วย FlipAlbum สร้างสรรค์ Multimedia eBook ด้วย DeskTopAuthor ต้นแบบ Flash flip eBook ที่รองรับการสืบค้นภาษาไทย รวมเครื่องมือแปลง PDF เป็น Flash
อุปสรรคของการทำ ePub
นั่งอ่าน Post ของคุณธีรพงษ์ ส. https://www.facebook.com/piakTS เกี่ยวกับการทำ ePub โดยกล่าวถึงภูเขา 2 ภูเขาลูกแรกคือ ในเมืองไทยมีคนที่ทำ epub เป็นน้อยมาก สนพ.ต่าง ๆ แม้จะสนใจตลาดอีบุ๊ค และเริ่มเห็นด้วยกับแนวทางของ booksoho แต่พวกเขาแทบจะไม่รู้จัก epub เลย และภูเขาลูกที่สอง อันนี้คาดไม่ถึงคือ ต้นฉบับสุดท้ายที่สำนักพิมพ์ในเมืองไทยเก็บไว้ จำนวนมากเก็บเป็นไฟล์ pdf จากภูเขาสองลูกของคุณธีรพงษ์ ส. เป็นประเด็นที่น่าสนใจ และผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง โดยในปัจจุบันพบว่ามีหลายที่สนใจทำ eBook ในฟอร์แมตต่างๆ รวมทั้ง ePub แต่ไม่น่าเชื่อว่า “หลายๆ ที่จบด้วยการพิมพ์เนื้อหาใหม่ จัดรูปแบบใหม่” โดยไม่สามารถนำแฟ้มเอกสารตั้งต้นมาใช้ได้เลย ทั้งๆ ที่ไม่ควรจะเป็นการสร้างภาระมากขนาดนี้ ซึ่งก็ตรงกับประเด็นภูเขาลูกที่สองนั่นเอง เอาง่ายๆ เรามาเริ่มจากไฟล์ต้นฉบับปกติก่อน … จะมีสักกี่คนที่ให้ความสำคัญ ความสนใจเก็บไฟล์ต้นฉบับ .doc .docx .odt ไว้เพื่อใช้งานในอนาคต … ส่วนมากจะสนใจการเก็บ “กระดาษ”
“Best Practice Recommendations For Identifying Digital Products”
วัน 25 ก.พ. 2013 Book Industry Study Group (BISG) ได้จัดพิมพ์และเผยแพร่เอกสาร “Best Practice Recommendations For Identifying Digital Products” เพื่ออธิบายแนวปฏิบัติ (Best practices) และแนวทางความรับผิดชอบในการกำหนด ISBN สำหรับสื่อดิจิทัล เพื่อลดความสับสนและความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ในอุตสาหกรรมหนังสือ คู่มือดังกล่าวเป็นการปรับปรุงจากฉบับเดิมที่เผยแพร่เมื่อเดือน ธ.ค. 2011 โดยเป็นผลจากการสอบถามและสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มอุตสาหกรรมหนังสือ ทั้งนี้จากการสอบถามความคิดเห็นพบว่าปัญหาหนึ่งที่พบมากที่สุด คือ การใช้ ISBN ผิดวัตถุประสงค์/วิธี กับ เนื้อหาดิจิทัล ซึ่งเกิดจากการขาดการสื่อสาร ทั้งนี้ BISG กล่าวว่า เอกสารชุดนี้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับบรรณารักษ์ที่ลงรายการ ทรัพยากรสารสนเทศ (Cataloger) ที่มาข้อมูล Book Industry Study Group. (2013). Best practice recommendations for identifying digital products.
Libraries 2020 : ห้องสมุดในปี 2020
Pew Research Center’s Internet & American Life Project ได้สำรวจแนวโน้มและความน่าจะเป็นของห้องสมุดในอนาคต ไม่ว่าจะเป็น Digital Trend, Mobility Trend และความนิยมของการใช้ eBook Libraries 2020: Imagining the library of the (not too distant) future from Pew Research Center’s Internet & American Life Project ที่มา : Pew Research Center’s Internet & American Life Project. (2012, June 6). Libraries 2020: Imagining the library of