ห้องสมุดมีบทบาทและทำหน้าที่สำคัญในการเป็นหัวใจขององค์กรในการจัดเก็บทรัพยากรสารสนเทศ และบทบาทการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ในบทบาทของการเป็นผู้ให้บริการสารสนเทศ ห้องสมุดจึงเต็มไปด้วยข้อมูลต่างๆ ของผู้คนที่อยู่ในองค์กร ข้อมูลพื้นฐานเหล่านั้น สามารถนำออกมาแสดงด้วยการทำเหมืองข้อมูลของห้องสมุด (library data mining) การทำ Bibliomining เป็นการนำข้อมูลภายในของห้องสมุดออกมาประมวลผล รวมทั้งอธิบายความหมายตามบริบทของห้องสมุด Bibliomining มาจากคำ 2 คำ คือ Bibliometrics และ Data mining หมายถึง การประมวลผลข้อมูลของห้องสมุดด้วยการใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล (data mining) หรือกล่าวง่ายๆ ว่า เป็นการนำข้อมูลจำนวนมากในระบบห้องสมุดที่ใช้กันอยู่ในประจำวันมาประมวลผล ในบทความนี้ จะกล่าวถึงวิธีการที่ห้องสมุดและผู้บริหารห้องสมุดใช้เทคนิคการทำเหมืองข้อมูล ในการทำให้เกิดความเข้าใจถึงพฤติกรรมของผู้ใช้ห้องสมุด บุคลากร และรูปแบบของทรัพยากรสารสนเทศที่ใช้ในห้องสมุดเพื่อ ประโยชน์ในการบริหารงานห้องสมุด อ่านเพิ่มเติม– ( 99 Views)
Infographic เกี่ยวกับ Library fair use โดย ARL
สมาคมห้องสมุดวิจัยแห่งสหรัฐอเมริกา (The Association of Research Libraries หรือ ARL) ร่วมกับ American University’s Washington College of Law และ American University’s School of Communication จัดทำ Infographic เกี่ยวกับ Library fair use และ Code of best practices ในเรื่องดังกล่าวสำหรับห้องสมุดวิจัยและห้องสมุดอุดมศึกษา สนใจดาวน์โหลด PDF (ขนาดเต็ม) PDF (พร้อมพิมพ์เผยแพร่/Handout) หรือ รูปภาพ (PNG) – ( 481 Views)
ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifier)
ตัวบ่งชี้ทางบรรณานุกรม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ (International Standard Book Number – ISBN) และ เลขมาตรฐานประจำวารสาร (International Serial Number – ISSN) มีการใช้ตั้งแต่ทศวรรษ 1970 แต่ด้วยความเติบโตอย่างรวดเร็วของสิ่งพิมพ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เผยแพร่ทางเว็บไซต์ เป็นความท้าทายหลักต่อระบบตัวบ่งชี้ที่มีมาแต่เดิม เนื่องจากตัวบ่งชี้แบบเดิม เช่น เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือไม่ได้ถูกนำมาใช้ในอินเทอร์เน็ต นั่นเป็นเพราะ เลขที่อยู่ในเลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ เช่น ISBN ไม่ได้เป็นหรือจะถูกตีความว่าเป็นตัวที่เชื่อมโยงด้วยเว็บบราวเซอร์ได้ ตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent identifier-PI) มีหลายหน้าที่ แต่หน้าที่ที่สำคัญคือ เป็นตัวทำให้ตัวบ่งชี้แบบเดิมสามารถทำงานได้ในเว็บ และเป็นตัวจัดหาตัวเชื่อมโยงที่ถาวรไปยังสารสนเทศได้ การใช้ PI ต้องเป็น PI ที่ผู้ใช้สามารถให้ความเชื่อถือได้ว่าจะสามารถเข้าถึงสารสนเทศที่ต้องการได้อย่างถูกต้อง ไม่ว่าตำแหน่งของสารสนเทศนั้นจะถูกเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม ในทางปฏิบัติ ตัวบ่งชี้ถาวรต้องถูกจับคู่กับตัวบอกตำแหน่งที่อยู่ (locator) ที่ทันสมัยซึ่งจะต้องทำให้เข้าถึงสารสนเทศได้ตามที่แจ้งไว้ได้ – ( 193 Views)
DOI จำเป็นหรือไม่อย่างไร
จากคำถามที่ส่งมาถามว่า ”หนูอยากทราบว่า journal ทุกอันจำเป็นต้องมี doi ไหมคะ แล้วอย่างxxxxเวชสารควรมี หรือไม่” เป็นคำตอบที่ตอบได้ไม่ยากเลยนะครับ เพียงแค่ทำความเข้าใจกับ DOI ก่อน DOI – Digital Object Identifier ….. ตัวชื่อก็บ่งบอกแล้วคือ Digital Object ดังนั้นเรื่องนี้จึงต้องมองในมุม Digital Environment ด้วย ไม่ควรเอาสื่อปกติมา (ความรู้เดิมกับสื่อปกติ) มาประกอบ คำถามที่ควรถามตัวเอง ก่อนถามว่าวารสารของฉันจำเป็นต้องมี DOI ไหม คือ วารสารอยู่ในรูปตัวเล่ม หรือ Digital กระบวนการผลิตเป็นดิจิทัลทั้งกระบวนการ เช่น Open Journal System หรือเป็นตัวเล่มแล้วจบด้วยสแกนเป็น PDF วารสารในรูปแบบดิจิทัล เผยแพร่อย่างไร ความเสถียรของระบบเครือข่ายที่เผยแพร่มีมากเพียงใด การรับประกันความเสถียรมีอย่างไร DOI Agency จะสนใจ Digital Environment และความเสถียรของระบบมาก ดังนั้นหากตอบแล้วว่าพร้อม ก็ทำได้เลยครับ แต่ถ้าไม่พร้อมก็ทำให้พร้อมก่อนแล้วค่อยเข้ากระบวนการ DOI เพราะไม่มีไรที่เป็น
ตัวบ่งชี้ถาวรดิจิทัลกับการทำงานข้ามระบบ
เป็นเพราะทรัพย์สินดิจิทัลหรือสารสนเทศดิจิทัล เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะในเรื่องทางวิทยาศาสตร์ ได้ทำให้การบ่งชี้ดิจิทัลเป็นเรื่องสำคัญสำหรับการสงวนรักษา การบริหารจัดการ การเข้าถึงและการนำกลับมาใช้ใหม่ของจำนวนข้อมูลมหาศาล หน้าที่ในการบ่งชี้การเข้าถึงทรัพยากรสารสนเทศดิจิทัล การสัมพันธ์กับเจ้าของผลงาน และองค์ประกอบอื่นๆ (เช่น สถาบัน/องค์กร กลุ่มวิจัย โครงการ) ได้กลายเป็นสิ่งจำเป็นในการเข้าถึงการอ้างอิง การค้นคืน และการสงวนรักษาของทรัพยากรสารสนเทศทางวัฒนธรรมและทรัพย์สินทางปัญญาเหล่านี้ ข้อสรุปบางประการสำหรับตัวบ่งชี้สารสนเทศดิจิทัลได้มีการเสนอในหลายๆ แห่งแตกต่างกัน เช่น ห้องสมุด สำนักพิมพ์ เป็นต้น และอีกหลายๆ มาตรฐานที่ยังอยู่ในระยะที่เริ่มได้ที่ของการพัฒนา (เช่น DOI, Handle, NBN, ARK, Scopus Id, ResearcherID, VIAF เป็นต้น) แต่ข้อด้อยสำคัญที่ยังคงทำให้ตัวบ่งชี้ถาวรเป็นปัญหาที่ยุ่งยาก ซึ่งเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งบางครั้งมีความเห็นที่ตรงกันข้ามในหลายประเด็นที่ต้องมีการถกเถียงกันต่อไป และด้วยความที่มีตัวบ่งชี้ดิจิทัลหลายตัว จึงเป็นเรื่องท้าทายไปถึงการหาข้อสรุปในการให้ตัวบางชี้เหล่านั้น สามารถทำข้ามระบบกันได้ (interoperability) APARSEN (Alliance for Permanent Access to the Records of Science Network) ได้สำรวจความสามารถในการทำงานข้ามระบบระหว่างตัวบ่งชี้ถาวร (Persistent Identifiers-PIs)
Digital Public Library of America ปะทะ Europeana
หากท่านต้องการสืบค้นข้อมูลจากห้องสมุดดิจิทัลขนาดใหญ่ของโลก ขอแนะนำให้เริ่มจากเว็บไซต์ Digital Public Library of America และเว็บไซต์ Europeana โดยทั้งสองเว็บนับเป็นต้นแบบห้องสมุดประชาชนที่เปิดบริการในรูปดิจิทัลขนาดใหญ่ ที่เกิดจากความร่วมมือของแหล่งข้อมูลชั้นนำทั้งจากอเมริกาและยุโรป ให้บริการสืบค้นฟรี รวมทั้งทรัพยากรหลายชิ้นที่สืบค้นได้มีสิทธิ์การใช้งานแบบ CreativeCommons หรือไม่ก็ Public Domain – ( 97 Views)
ห้องสมุดดิจิตอลแห่งแรก
สหรัฐเปิดห้องสมุดสาธารณะออนไลน์แห่งแรกเพื่อเผยแพร่วัฒนธรรม และประวัติศาสตร์อเมริกันให้แก่ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตทั่วโลก โดยมีข้อมูลให้ค้นคว้ากว่า 2 ล้านรายการทั้งภาพถ่าย หนังสือ จดหมายเหตุ และข้อมูลรูปแบบ อื่นๆ โดยผลงานเด่นๆ ได้แก่ จดหมายของจอร์จ วอชิงตัน ประธานาธิบดีคนแรกของสหรัฐ คำประกาศอิสรภาพที่เขียนด้วยลายมือฉบับก๊อบปี้ของโธมัส เจฟเฟอร์สัน – ( 125 Views)
เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่
สาระสำคัญจากการเข้าร่วมประชุมวิชาการศูนย์วิทยทรัพยากร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เรื่อง “เรียนรู้ไปกับห้องสมุดยุคใหม่” วันที่ 28 ก.พ. – 1 มี.ค. 56 ณ โรงแรมแลนด์มาร์ค กทม. มีสาระสำคัญ 9 ประการดังนี้ – ( 1390 Views)
ปัจจัยที่มีผลต่อการใช้คอลเลคชั่น e-Book กรณีศึกษา The J.N. Desmarais Library of Laurentian University
การศึกษาล่าสุดที่นำเสนอผลการสำรวจเชิงปริมาณและระบบเกี่ยวกับการใช้ e-Book ภายใน The J.N. Desmarais Library of Laurentian University ในช่วง 9 ปี โดยผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าขนาดของคอลเลคชั่น e-Book มีความสัมพันธ์มากที่สุดต่อระดับการใช้ e-Book จากปัจจัยทั้งหมดที่มีการตรวจสอบ กล่าวคือ การตัดสินใจยอมรับและใช้ประโยชน์คอลเลคชั่น e-Book นั้น ผู้ใช้ให้ความสำคัญต่อขนาดและจำนวนเนื้อหาของคอลเลคชั่นมากที่สุด นอกจากนี้ประเด็นระดับการศึกษา พบว่า นักศึกษาในระดับปริญญาเอกมีระดับความสัมพันธ์ต่อการใช้ e-Book ที่ชัดเจนมากที่สุด ต่างจากนักศึกษาในระดับปริญญาตรีที่มีระดับความสัมพันธ์ต่อการใช้ e-Book ที่น้อยมาก ขณะที่ประเด็นคณะนั้นแสดงความสัมพันธ์ที่น้อยต่อการใช้งาน e-Book โดยรวม คลิกที่นี่เพื่ออ่านรายงานฉบับเต็ม ที่มาข้อมูล: Lamothe, A. R. (2013). “Factors influencing the usage of an electronic book collection: size of the e-book collection, the
เอกสารการประชุม iPRES 2012
ดาวน์โหลดเอกสารการประชุม International Conference on Preservation of Digital Objects หรือ iPRES ครั้งที่ 9 ประจำปี 2012 ซึ่งจัดขึ้น ณ University of Toronto เมื่อวันที่ 1-5 ตุลาคม 2012 ที่ผ่านมา คลิกที่นี่เพื่อดาวน์โหลด– ( 87 Views)