อาคารที่ออกแบบตอบ โจทย์งานวิจัย เพื่อสร้างนวัตกรรมและองค์ความรู้ใหม่ของไทย ใหญ่และครบวงจรที่สุดในไทย ด้วยเงินลงทุนกว่า 3 พันล้านบาท จากบริษัทเล็ก ๆ ‘โพลีพลาสติก’ เดินหน้าวิจัยนวัตกรรมร่วมกับ MTEC จนเติบโต และขยายสร้างศูนย์เทคนิคัลโซลูชั่นในอาคารกลุ่มนวัตกรรม2 นิคมวิจัยไฮเทคของสวทช. ที่ตอบโจทย์ ตรงใจเอกชนที่สนใจนวัตกรรม โพลี พลาสติก (PolyPlastic) บริษัทจากญี่ปุ่นผู้ผลิตเม็ดพลาสติกทางวิศวกรรมสำหรับขึ้นรูปอุปกรณ์ อาทิ ชิ้นส่วนยานยนต์ ตั้งอยู่บนชั้น 8 ของอาคาร D อาคารกลุ่มนวัตกรรม2 อุทยานวิทยาศาสตร์ หลังจากเช่าพื้นที่อยู่ในศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติหรือ เอ็มเทค (MTEC) ซึ่งมีความร่วมมือในโครงการวิจัยต่างๆ ตั้งแต่ปี 2551– ( 209 Views)
นิทรรศการ NAC2014
งานประชุมวิชาการประจำปี 2557 (NSTDA Annual Conference 2014 : NA&T: Driving Force for Sustainable Development) มีวัตถุประสงค์ในการจัดงานเพื่อเผยแพร่ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ผลงานวิจัยและพัฒนาของ สวทช. ร่วมกับพันธมิตร ให้แก่นักวิจัย นักวิชาการ นักธุรกิจอุตสาหกรรม นักศึกษาระดับอุดมศึกษา ตลอดจนชุมชน โดยมุ่งเน้นให้เกิดการนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ที่เกิดขึ้นจากฝีมือคนไทยไปประยุกต์ใช้ในภาคเศรษฐกิจและสังคมในวงกว้าง การจัดงานดังกล่าวจัดแบ่งโซนสำหรับการนำเสนอผลงาน 5 โซน ดังนี้ – ( 29 Views)
ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี
วันนี้มีโอกาสได้จัดการหนังสือที่คงค้างอยู่ให้แล้วเสร็จ (ผลัดวันประกันพรุ่งมาเนิ่นนาน…เพราะติดงานอื่นๆ) พอหยิบจับมาจัดการก็มีอันจะต้องอ่านเนื้อหาของหนังสือนั้นๆ เพื่อบริหารจัดการตัวเล่มให้แล้วเสร็จ อ่านไปจนมาถึงหนังสือชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” เป็นสื่อการเรียนที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของคณะครูจากโรงเรียนในจังหวัดนราธิวาสที่อาสาสมัครเข้าร่วมโครงการพัฒนาหลักสูตรวิทยาศาสตร์ท้องถิ่น เพื่อการอยู่ดีมีสุข สำหรับโรงเรียนในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และได้รับคำปรึกษาจาก คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ รวมทั้งได้รับการสนับสนุนการดำเนินการโครงการฯ โดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภา (สสส.) โครงการนี้เกิดขึ้นเพื่อยกระดับความเป็นอยู่ของเด็กๆ ให้ดีขึ้น โดยเริ่มจากในห้องเรียนและขยายผลไปยังชุมชน ด้วยการให้ความรู้ผ่านหลักสูตร และสื่อการสอนที่มีรูปแบบสวยงาม ทำให้เด็กๆ มีความสนใจใฝ่เรียนรู้ เกิดกระบวนการคิด รวมทั้งเข้าใจและจดจำเรื่องราวต่างๆ ในการดูแลสุขภาพของตนเองและคนรอบข้างได้มากยิ่งขึ้น หนังสืออ่านสนุก มีภาพการ์ตูนประกอบสดใสสีสันสวยงาม อ่านง่าย เข้าใจง่าย เหมาะสำหรับเด็ก และผู้ใหญ่ (ที่ต้องการอ่านหนังสือเบาๆ) วันนี้สรุปที่มาโครงการ รวมถึงเนื้อหาต่างๆ ภายในชุดให้ได้อ่านกันก่อน โอกาสต่อไปจะนำเสนอเนื้อหาภายในเล่มแต่ละหน่วยให้ได้อ่านกันต่อค่ะ (สามารถอ่านฉบับออนไลน์ได้ที่ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) หนังสือชุด “ความสุขของฉันในวันสุขภาพดี” ประกอบด้วย 10 หน่วย คือ หน่วยที่ 1 กินอย่างฉลาด สะอาดและปลอดภัย เรื่อง
“เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” ตัวจริง
น้องๆที่ได้รับรางวัลและได้รับทุน “Business Start up Funds” จากโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 2 ที่จัดโดย กลุ่มบริษัทสามารถ และสวทช. ได้แก่ผลงานSuper Quadrotor อากาศยานไร้คนขับ ผลงาน Smart NFC โทรศัพท์อัจฉริยะ ผลงานLookME พาหนะอัจฉริยะสารพัดประโยชน์ และ ผลงาน Localalike เทคโนโลยีที่เชื่อมต่อระหว่างนักท่องเที่ยวและชุมชนท้องถิ่น ประสบความสำเร็จไปอีกขั้นกับการเตรียมพร้อมเป็นเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยีตัวจริง จากการเปิดบริษัทและนำผลงานออกสู่ตลาดได้จริงแล้ว โดยการสนับสนุนทั้งความรู้และโอกาสในการจับคู่ทางธุรกิจจากโครงการฯ …พร้อมเชิญชวนเข้าร่วมประกวดโครงการเถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี ปี 3 ซึ่งเปิดรับสมัครแล้วถึงเดือนมีนาคมนี้ ที่ www.nstda.or.th/bic/ หรือ www.samartsia.com รายการอ้างอิง : “เถ้าแก่น้อยเทคโนโลยี” ตัวจริง. (2557). แนวหน้า. ฉบับวันที่ 08 มีนาคมม, หน้า 11.– ( 20 Views)
สร้างแรงบันดาลใจเป็นนักวิทย์หญิง
ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) ร่วมกับบริษัทซีเกท เทคโนโลยี (ประเทศไทย) จำกัด เปิดรับสมัครเยาวชนหญิงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 เพื่อเข้าร่วมโครงการขยายขอบข่ายความรู้ สู่ความคิดวิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 6 ซึ่งจะจัดขึ้นในวันเสาร์ที่ 8 มีนาคม นี้ที่บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย รังสิต โดยโครงการดังกล่าว จะเพิ่มเติมและเสริมจากการเรียนการสอนศึกษาวิทยาศาสตร์ภายในโรงเรียน และนักเรียนมีโอกาสจะได้พบกับนักวิทยาศาสตร์ชั้นนำของประเทศที่จะถ่ายทอด ประสบ การณ์งานวิจัยพร้อมฝึกปฏิบัติจริงในห้องทดลอง เพื่อเป็นแรงบันดาลใจที่เยาวชนจะก้าวสู่นักวิทยาศาสตร์หญิงของประเทศไทย สนใจสมัครเข้าร่วมโครงการฯ ได้ที่ 0-2564- 6900 ต่อ 2327 หรือ www.nectec.or.th/eyhthailand. รายการอ้างอิง : สร้างแรงบันดาลใจเป็นนักวิทย์หญิง. (2557). เดลินิวส์ (กรอบบ่าย-inbox@it). ฉบับวันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557, หน้า 10. – ( 15 Views)
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร
บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ศูนย์กลางพัฒนาศักยภาพทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับเยาวชน สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.) ได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี พระราชทานพระราชานุญาตให้ใช้ชื่อ “บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร” เพื่อเป้นสถานที่ฝึกฝนและบ่มเพาะเยาวชนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยมีกิจกรรมที่เน้นการเรียนรู้และลงมือปฏิบัติจริง เพื่อเพิ่มพูนความรู้ความสามารถทางวิทยาศาสตร์นอกห้องเรียน โดยเชื่อมโยงเนื้อหาของกิจกรรมกับวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ สวทช. มีความเชี่ยวชาญ ด้วยรูปแบบกิจกรรมที่หลากหลาย อาทิ ค่ายวิทยาศาสตร์ การฝึกอบรมเฉพาะทาง นอกจากการจัดกิจกรรมวิชาการแล้ว บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร ยังให้บริการสถานที่ด้วยห้องประชุมขนาดใหญ่ พร้อมอุปกรณ์ ห้องปฏิบัติการทางวิทยาศาสตร์ เยี่ยมบ้านวิทยาศาสตร์สิรินธรได้ที่ http://nstda.or.th/ssh/ สอบถามข้อมูลด้านกิจกรรมวิทยาศาสตร์ได้ที่ บ้านวิทยาศาสตร์สิรินธร อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย 111 อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย ถ.พหลโยธิน ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี 10210 โทรศัพท์ : (02) 529 7100 แฟกซ์ : (02) 529 7147– ( 24 Views)
พลังวิทย์ คิดค้นเพื่อคนไทย ตอน การทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง
ในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้ไปใช้ชีวิตในอวกาศกันก็เป็นได้ แต่มนุษย์เราจะอาศัยอยู่ในอวกาศที่ไร้แรงดึงดูดของโลกได้อย่างไร และเชื่อหรือไม่ว่าเด็กไทยของเราก็มีส่วนในการช่วยค้นคว้าวิธีการใช้ชีวิตในอวกาศด้วยเหมือนกัน ในทุกๆ ปี จะมีกลุ่มเยาวชนไทยจะได้รับการคัดเลือกให้ขึ้นไปทำการทดลองบนเครื่องบินชนิดพิเศษ ที่เมืองนาโกยา ประเทศญี่ปุ่น โดยเครื่องบินลำนี้จะทำการบินขึ้นและลงเป็นลูกคลื่นหรือ parabola ทำให้เกิดสภาวะไร้น้ำหนักในช่วงเวลาสั้นๆ และในช่วงสภาวะไร้น้ำหนักเวลาสั้นๆ นี้ เยาวชนไทยของเราจะได้มีโอกาสทำการทดลองในสิ่งที่เยาวชนไทยให้ความสนใจ เพื่อเปรียบผลของสิ่งที่เกิดขึ้นในสภาวะไร้น้ำหนักกับผลที่เกิดขึ้นบนพื้นโลก ผลการทดลองที่ได้จะทำให้เราเข้าใจและสามารถเตรียมรับมือกับการใช้ชีวิตในอวกาศได้เป็นอย่างดี การทดลองสภาวะไร้น้ำหนัก ณ ประเทศญี่ปุ่นนี้เป็นโครงการความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และองค์การสำรวจอวกาศประเทศญี่ปุ่น ที่ต้องการพัฒนาเยาวชนให้มีศักยภาพในการใช้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อช่วยพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวไกลต่อไปในอนาคต ติดตามชมย้อนหลังรายการ พลังวิทย์ คิดเพื่อคนไทย ตอน การทดลองในสภาวะไร้แรงโน้มถ่วง – ( 27 Views)
กทม.เร่งปรับปรุงพิพิธภัณฑ์เด็กเปิดได้ปี 57
สำนักข่าวไทย นำเสนอข่าวสังคม กรุงเทพฯ 30 ม.ค.-กลุ่ม Change และตัวแทนผู้ปกครองขอบคุณผู้ว่าฯ กทม.ที่เร่งรัดพิพิธภัณฑ์เด็กให้เปิดได้ในปี 57 ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) ต้อนรับนายเดชรัต สุขกำเนิด ตัวแทนผู้ปกครอง พร้อมตัวแทนกลุ่ม Change ซึ่งเข้าพบเพื่อรับฟังแนวทางการดำเนินการ พิพิธภัณฑ์เด็กกรุงเทพมหานคร ที่ได้ปิดปรับปรุงเป็นเวลานาน หลังจากกลุ่มดังกล่าวได้รณรงค์ขอคืนพื้นที่พิพิธภัณฑ์เด็กฯ ผ่านทาง www.change.org/kidsmuseum และได้รับการตอบรับจากประชาชนรวมกว่า 22,000 คน ในการร่วมรณรงค์ภายใน 1 สัปดาห์ – ( 16 Views)
วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย
อายุเริ่มจะเข้าวัย “หลักสี่” …. อยู่ดีๆ ก็ให้นึกหวนคิดถึงเรื่องราวเก่าๆ ที่ผ่านมาในวัยเด็ก ด้วยวัยเด็กเติบโตอยู่ที่ อ.ปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี ครอบครัวเองก็เป็นแค่ชนชั้นกลาง เงินทองจะให้มีซื้อของเล่นแพงๆ ในห้างสรรพสินค้าก็ไม่มี แต่เคยถามปู่ ย่า ญาติพี่น้องทั้งหลายที่ช่วยอุ้มชูเลี้ยงดูว่าเรานั้นเคยงอแง หรือ อ้อนวอนอยากจะได้ของเล่นอะไรกับเค้าหรือไม่ คำตอบที่ได้คือ “ไม่มี” คงเพราะสนุกกับสิ่งที่ปู่ กับ ย่า ได้ทำให้เล่น ไม่ว่าจะเป็นปลาตะเพียนสาน ตระกร้อสาน ปืนก้านกล้วย งูกินนิ้ว หนูวิ่ง รวมถึงการเล่น “หม้อข้าวหม้อแกง” ที่เก็บหญ้า ใบไม้ ดอกไม้ มาทำเป็นอาหารเล่นกัน ชีวิตก็มีความสนุกและก็ยังสนุกมาจนถึงทุกวันนี้ เติบโตขึ้นมาจนถึงวัยจะเลขสี่ มีโอกาสได้รู้จักของเล่นพื้นบ้านต่างๆ มากมาย แต่ก็ไม่รู้เลยว่าในของเล่นพื้นบ้านนี้จริงๆ แล้วมีเรื่องของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่ในของเล่นต่างๆ ด้วย จนได้มีโอกาสได้หยิบหนังสือเรื่อง “วิทยาศาสตร์ในของเล่นพื้นบ้านไทย” มาเปิดดู จึงทำให้รู้ว่าเราเองก็ได้สัมผัสกับ “วิทยาศาสตร์” จากของเล่นที่เราได้เล่นในสมัยเด็กๆ มาแล้ว ของเล่นพื้นบ้านที่มีเรื่องราวของวิทยาศาสตร์แฝงอยู่นั้นมีเรื่องอะไรกันบ้าง ไปดูกัน – ( 5945 Views)
100 หนังสือดีวิทยาศาสตร์
“100 เล่มหนังสือดีวิทยาศาสตร์ (พ.ศ.2537-2548)” เป็นการคัดเลือกหนังสือต่อเนื่องจากโครงการ “หนังสือดีวิทยาศาสตร์ 88 เล่ม” ของไทยตั้งแต่สมัยกรุงสุโขทัยเมื่อหลายปีก่อน โดยมี รศ.ดร.ชัยวัฒน์ คุประตกุล และคณะทำงาน 8 คน ร่วมพิจารณาคัดเลือกหนังสือวิทยาศาสตร์กว่า 700 เล่ม ที่เขียนโดยคนไทย และพิมพ์ขึ้นระหว่างปี 2537-2548 จนเหลือเพียง 100 เล่ม แบ่งเป็น 2 ประเภท ได้แก่ บันเทิงคดี 30 เล่ม และ สารคดีและความรู้ทั่วไป 70 เล่ม ซึ่งคัดเลือกโดยพิจารณาจากหนังสือที่มีเนื้อหาวิทยาศาสตร์โดยตรง, มุ่งส่งเสริมวิทยาศาสตร์ หรือแสดงภูมิปัญญาเชิงวิทยาศาสตร์ของผู้เขียน ยกเว้นหนังสือแปล หนังสือคู่มือ ตำราเรียน และแบบเรียน – ( 171 Views)