magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก พลาสติกชีวภาพเพื่อสุขภาพปาก
formats

พลาสติกชีวภาพเพื่อสุขภาพปาก

6 สถาบัน สร้างมิติใหม่ร่วมมือผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพลาสติกชีวภาพ สู่การใช้งานจริงทางทันตกรรม

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี บริษัทพีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านชีววิทยาศาสตร์ (TCELS) สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) และกระทรวงสาธารณสุข ลงนามความร่วมมือเพื่อร่วมผลักดันการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพลาสติกชีวภาพที่ปลอดภัยได้มาตรฐาน ISO 13485 สู่การใช้งานจริง โดยแพทย์และทันตแพทย์ที่ผ่านการอบรม เผยในอนาคตต้นทุนการผลิตเครื่องมือแพทย์ลดลงแน่นอน

นายพรชัย รุจิประภา ปลัดกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กล่าวว่า การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพลาสติกชีวภาพ เป็นส่วนหนึ่งของโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพซึ่งรัฐบาลกำหนดให้เป็นอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ของประเทศ โดยถือเป็นการบูรณาการความร่วมมือครั้งแรกของประเทศระหว่างภาครัฐและเอกชนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพลาสติกชีวภาพครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ

โดยครอบคลุมการพัฒนาพลาสติกชีวภาพที่ดูดซึมได้ การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และการนำผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่ได้มาตรฐานไปสู่การใช้งานจริงโดยแพทย์และทันตแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม เชื่อว่าความร่วมมือในครั้งนี้นอกจากจะเป็นการจุดประกายให้เกิดการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ที่คำนึงถึงความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตของประชาชนแล้ว ยังจะสนับสนุนนวัตกรรมใหม่และอุตสาหกรรมคลื่นลูกใหม่ให้สามารถเกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรมในอนาคต

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ CEO บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในฐานะผู้นำด้านปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ของประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญต่อการตอบแทนสังคม โดยเข้าร่วมคิดค้นและพัฒนานวัตกรรมผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์จากพลาสติกชีวภาพร่วมกับภาครัฐ ทดแทนการนำเข้าเครื่องมือแพทย์จากต่างประเทศในราคาที่ต่ำลง เป้าหมายให้ประชาชนสามารถเข้าถึงการบริการสาธารณสุขของประเทศอย่างทั่วถึง เพื่อยกระดับคุณภาพและประโยชน์สุขของประชาชนโดยรวม

นายสัมพันธ์ สิงหราชวราพันธ์ ผู้แทนมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า มหาวิทยาลัยเชียงใหม่มีการวิจัยและพัฒนาพลาสติกชีวภาพมาได้ระยะหนึ่งแล้ว ทั้งนี้ในโครงการนี้จะเป็นการพัฒนาต่อยอดพลาสติกชีวภาพเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต ผลิตภัณฑ์สำหรับใช้เครื่องมือแพทย์ ให้ได้ตามมาตรฐาน ISO 13485

นายนเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าววว่า ความร่วมมือในครั้งนี้จะนำไปสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพในเชิงพาณิชย์ (ภาคเอกชนผู้ผลิตที่เข้าร่วมโครงการต้องได้รับมตรฐาน ISO 13485)และใช้งานจริงโดยบุคลากรทางการแพทย์ที่ผ่านการฝึกอบรม ทั้งนี้โครงการพัฒนาเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพที่มีราคาถูกลงอย่างมาก ทำให้ประชาชนได้เข้าถึงเครื่องมือแพทย์อย่างทั่วถึงและเกิดการแข่งขัน ตัวอย่างโครงการที่ประสบความสำเร็จอย่างดีคือ โครงการรากฟันเทียมไทยชุดละ 2,000 บาท เทียบกับต่างประเทศราคาชุดละ 20,000 บาท

นางวันทนีย์ จองคำ ผู้แทน NIA กล่าวว่า โครงการนี้ NIA จะให้การสนับสนุนเงินทุนแก่ภาคเอกชนในการพัฒนานวัตกรรมเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพสู่เชิงพาณิชย์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในการส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เกิดขึ้นในประเทศได้อย่างครบวงจร

นายแพทย์ไพจิตร วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สธ.ยินดีให้การสนับสนุนการใช้งานเครื่องมือแพทย์ที่ผลิตจากพลาสติกชีวภาพที่ได้มาตรฐาน ISO 13485 มีความปลอดภัยการใช้งาน และการพัฒนาบุคลากรทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องในการใช้งานเครื่องมือแพทย์ดังกล่าว

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. พลาสติกชีวภาพเพื่อสุขภาพปาก. กรุงเทพธุรกิจ. (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 30 กันยายน 2555– ( 149 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 + = nine

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>