magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ถอดรหัสการผลิตสีเขียว
formats

ถอดรหัสการผลิตสีเขียว

‘พีทีที ฟีนอล’ ในเครือปตท น้องใหม่ที่บุกเบิกตลาดเขียว โดยมีรอยเท้าคาร์บอนหรือคาร์บอนฟุตพริ้น เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

วันนี้ฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5 เครื่องหมายการันตีเครื่องใช้ไฟฟ้า อาจไม่เพียงพอในสายตาผู้บริโภคท่ามกลางการค้าในตลาดสีเขียว ในเมื่อสิ่งที่พวกตั้งคำถามคือที่มาของกระบวนการผลิต คาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์ ที่บอกได้ว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้กลืนกินทรัพยากรธรรมชาติไปมากน้อยเพียงใด กลายโจทย์ใหม่ที่ต้องหาคำตอบ
แรงกดดันดังกล่าวกลายเป็นมาตรการใหม่ที่เริ่มเกิดขึ้นแล้วในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ในฐานะศูนย์กลางการผลิตสินค้าต้นน้ำ ส่งออกไปยังผู้บริโภค สิ่งที่ประเทศคู่ค้าถามหาไม่ใช่แค่คุณภาพ และราคาที่ต่ำกว่า แต่เป็นวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ หรือ Life Cycle Assessment (LCA) สินค้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากเท่าไหร่ ความไว้วางใจเพิ่มขึ้นเท่านั้น

ใบเบิกทางสู่ตลาดสีเขียว

ท่ามกลางบรรยากาศการค้าที่ให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม กลายเป็นแรงผลักดันให้หลายบริษัทหันมาสนใจทำฐานข้อมูลวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ของตัวเอง เพื่อเป็นใบเบิกทางสู่ตลาดส่งออกที่เริ่มมีแรงกดดันมากขึ้น “พีทีที ฟีนอล” เป็นหนึ่งในบริษัทน้องใหม่ที่บุกเบิกตลาดเขียว โดยมีรอยเท้าคาร์บอน หรือคาร์บอนฟุตพริ้น เป็นรายแรกของอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

พร้อมพร อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้จัดการส่วนบริหารคุณภาพ ความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม บริษัท พีทีที ฟีนอล จำกัด บอกว่า แม้บริษัทจะพึ่งเริ่มดำเนินกิจการมาเพียง 8 ปี และแจ้งเกิดในตลาดได้ไม่ถึง 3 ปี แต่เขาเชื่อว่าการที่มีฐานข้อมูลที่ดีพอจะกลายเป็นข้อได้เปรียบ สามารถแข่งขันกับคู่แข่งดำเนินธุรกิจมายาวนาน และมีประสบการณ์มากว่าได้ เพียงแค่กล้าตัดสินใจเริ่มก่อน

“การทำคาร์บอนฟุตพริ้นสำหรับธุรกิจต้นน้ำยังเป็นเรื่องใหม่ แต่สิ่งที่ธุรกิจต้องเผชิญ คือการถูกตั้งคำถามจากลูกค้า ถึงที่มาของสินค้า วัตถุดิบที่ใช้ ตลอดจนกระบวนการผลิตที่ต้องบอกได้ว่ามีค่าการปลดปล่อย Co2 สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในปริมาณเท่าไหร่ เมื่อเทียบกับบริษัทคู่แข่ง” พร้อมพรกล่าว และมองว่า สิ่งเหล่านี้เริ่มกลายเป็นกลไกตลาด ที่เมื่อผู้ผลิตรายหนึ่งทำได้ ผู้ผลิตรายอื่นๆ ก็ควรที่จะทำได้เช่นกัน

“มาตรการที่กำลังจะเกิดขึ้นไม่ใช่การกีดกันทางการค้า แต่เป็นการตัดสินใจเลือกผู้ผลิตที่ใส่ใจกับสิ่งแวดล้อม เพราะตราบใดที่บริษัทไม่มีข้อมูลให้กับลูกค้า ผลลัพธ์คือการเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลกลางที่มีอยู่ ซึ่งไม่ตรงกับการผลิตจริง ต่อให้กระบวนการผลิตดีแค่ไหนแต่ถ้าไม่มีข้อมูลที่ยืนยันได้ก็ไร้ประโยชน์” ผู้บริหารบริษัท พีทีที ฟีนอลให้มุมมอง

จากต้นน้ำสู่ต้นแบบ

พีทีที ฟีนนอล เป็นอุตสาหกรรมต้นน้ำของการโพลีคาร์บอเนต ส่วนประกอบสำคัญของผลิตภัณฑ์ประเภทพลาสติก ชิ้นส่วนอุปกรณ์อิเล็กนิกส์ อย่างโทรศัพท์มือถือ ไปจนถึงครอบไฟหน้าของรถยนต์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากอุตสาหกรรมกรรมปลายน้ำที่มุ่งมั่นในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และต้องการแจกแจงข้อมูลด้านบวกไว้บนฉลากสินค้า

“กว่าจะมาเป็นสินค้าตัวนี้ใช้พลังงานไปเท่าไหร่ ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากน้อยแค่ไหน ข้อมูลทั้งหมดนี้จะปรากฏอยู่บนฉลากคาร์บอน แสดงวัฏจักรชีวิตผลิตภัณฑ์ให้ผู้บริโภคทราบ” เขาอธิบาย

นั่นเป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้บริษัทเริ่มต้นเก็บข้อมูลคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของกระบวนการผลิตอย่างจริงจัง ควบคู่ไปกับมาตรฐานอุตสากรรมเชิงนิเวศน์ และมาตรฐาน ISO51000 โดยเชื่อมโยงฐานข้อมูลทั้งหมดเข้าด้วยกัน เพื่อตอบคำถามทุกมาตรฐานทั้งที่มีอยู่ในประเทศไทยและต่างประเทศ ซึ่งปัจจุบันลูกค้าทั้งจากประเทศจีน และยุโรป ต่างต้องการทราบข้อมูลในทุกขั้นตอนของกระบวนการผลิต

พร้อมพรเล่าว่า บริษัทได้พัฒนาระบบการเก็บข้อมูลขึ้นมาใหม่ทั้งหมด โดยร่วมกับมหาวิทยามหิดล ที่มีประสบการณ์ด้านทำคาร์บอนฟุตปริ้น ซึ่งต้องยอมรับว่ากระบวนการผลิตฟีนอล มีการใช้พลังงานมหาศาล ไม่ว่าจะเป็นน้ำ ไอน้้ำ ไฟฟ้า มากกว่าพลังงานจากภาคการขนส่ง เมื่อเทียบกับธุรกิจอื่น

แต่ข้อดีของการทำคาร์บอนฟุตปริ้นองค์กรคือ ทำให้ทราบถึงข้อมูลที่แท้จริง และนำไปสู่การออกแบบควบคุมอัตราการปล่อย Co2 ให้อยู่ในเกณฑ์ แม้จะเพิ่มกำลังการผลิต อีกทั้งมีแผนการลดสัดส่วนการใช้พลังงานให้ได้ 5% ใน 5 ปี จากปัจจุบันที่มีการใช้ไฟฟ้าในกระบวนการผลิตสูงถึง 4 แสนกิโลวัตต์ โดยแนวทางการทำงานของ พีทีที ฟีนอล ถูกนำไปถ่ายทอดในฐานะต้นแบบความสำเร็จให้กับโรงงานอื่นที่สนใจได้เรียนรู้และพัฒนาระบบเป็นของตัวเอง

“ในอนาคตหากผู้บริโภคจะซื้อตู้เย็นสักเครื่องนึง การดูแค่ฉลากเบอร์ 5 อย่างเดียวอาจไม่เพียงพอ เพราะฉลากใหม่ หรือฉลากคาร์บอนสามารถบอกได้ว่าตู้เย็นเครื่องนี้ใช้เหล็กเท่าไหร่ พลาสติกเท่าไหร่ และกว่าจะผลิตออกมาได้ปลดปล่อย Co2 สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมมากน้อยแค่ไหน นั่นคือสิ่งที่ผู้บริโภคอยากรู้” เขาอธิบาย และยืนยันว่า ปัจจุบันประเทศไทยเริ่มได้รับอิทธิพลจากเรื่องนี้พอสมควร โดยสินค้าที่บ่งบอกที่มาของการปลดปล่อยพลังงานเริ่มมีวางขาย ในขณะที่ต่างประเทศการติดฉลากคาร์บอนเป็นเรื่องปกติ

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. ถอดรหัสการผลิตสีเขียว. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : วิทยาศาสตร์). วันที่ 6 ธันวาคม 2555.

– ( 224 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


7 + seven =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>