magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก ตรวจหาไส้เดือนด้วยแผ่นชิพ
formats

ตรวจหาไส้เดือนด้วยแผ่นชิพ

ความจำเป็นในการตรวจหาจุลชีพเพื่อธุรกิจไม้น้ำส่งออก เป็นที่มาของการพัฒนาแผ่นชิพของเนคเทค เสริมแกร่งผู้ประกอบการไทย

ความต้องการผู้ช่วยจำแนกชนิดไส้เดือนฝอยของธุรกิจไม้น้ำส่งออก เป็นที่มาของการพัฒนาเครื่องตรวจจับจุลชีพในรูปแผ่นชิพของทีมวิจัยเนคเทค เพื่อลดขั้นตอนทำงานเจ้าหน้าที่ในแล็บ
:วิจัยตอบโจทย์

นายวิศรุต ศรีพุ่มไข่ ผู้ช่วยวิจัย ฝ่ายวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีไมโครอิเล็กทรอนิกส์ ศูนย์อิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ กล่าวว่า หลังได้โจทย์จากกรมวิชาการเกษตรเมื่อต้นปีที่ผ่านมา ให้พัฒนาอุปกรณ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างพรรณไม้น้ำส่งออกเพื่อหาการปนเปื้อนของไส้เดือนฝอยที่ไม่มีประโยชน์ในสินค้าก่อนส่งไปจำหน่ายในตลาดยุโรป

ช่วงเวลาไม่ถึง 6 เดือนทีมวิจัยสามารถพัฒนาเครื่องตรวจจับจุลชีพด้วยแผ่นช่องทางเดินของไหลขนาดไมครอนพร้อมระบบวินิจฉัยทางไกลต้นแบบสำเร็จ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างยื่นจดสิทธิบัตรและเตรียมส่งต่อให้กับกรมวิชาการเกษตรนำไปทดสอบใช้งานจริง

เทคโนโลยีที่ทีมวิจัยเนคเทคพัฒนาขึ้น ผู้ประกอบการไม่ต้องนำตัวอย่างเดินทางมาพบนักวิชาการที่ห้องปฏิบัติการอีกต่อไป แต่สามารถที่จะแยกไส้เดือนฝอยออกจากรากและนำเข้าแผ่นชิพ หรือเครื่องตรวจจับจุลชีพด้วยแผ่นช่องทางเดินของไหลขนาดไมครอนได้ด้วยตัวเองด้วย F4-KIT

เมื่อนำน้ำตัวอย่างที่มีการปนเปื้อนของไส้เดือนฝอยซึ่งมีขนาดเล็กกว่าเส้นผมคนเรา 5 เท่าฉีดเข้าแผ่นชิพที่ทำขึ้นจากซิลิโคนประกบกับกระจกสำหรับบังคับให้ไส้เดือนเคลื่อนที่ได้ช้าและมีการเหยียดตัวในแนวตรงเพื่อให้ง่ายต่อการบันทึกภาพผ่านกล้องขยายไมโครสโคป และอัพรูปภาพที่ได้เข้าระบบเซิร์ฟเวอร์ส่งต่อให้นักวิชาการทำการจำแนกสายพันธุ์แบบเรียลไทม์อยู่หน้าคอมพิวเตอร์

ที่ผ่านมาการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างพรรณไม้น้ำส่งออก’ class=’anchor-link’ target=’_blank’>ไม้น้ำส่งออก ผู้ประกอบการจะต้องเป็นคนส่งตัวอย่างพรรณไม้น้ำที่ต้องการตรวจไปที่กรมวิชาการเกษตร ซึ่งนักวิชาการที่ตรวจก็ต้องมีความชำนาญและใช้เวลาในการจำแนก

การจำแนกไส้เดือนฝอยในแบบเดิมนักวิชาการจะนำไม้น้ำตัวอย่างไปใส่ในบิกเกอร์แล้วทำให้ไส้เดือนหลุดออกจากรากด้วยเครื่องอัลตราโซนิกส์ จากนั้นนำไปใส่จานเพาะเชื้อเพื่อส่องกล้องจำแนกสายพันธุ์ไส้เดือนฝอยที่พบ ซึ่งหากตัวอย่างมีมากก็ต้องใช้เวลาในการวิเคราะห์สายพันธุ์นานและมีโอกาสเกิดความคลาดเคลื่อนสูงเนื่องจากไส้เดือนจะเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา

:ชุดเดียวจบ

แผนต่อไปทีมวิจัยจะต่อยอดด้วยการออกแบบแผ่นชิพให้มีลักษณะที่บังคับให้ไส้เดือนฝอยเคลื่อนผ่านได้ทีละตัว เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถมองเห็นส่วนหัวส่วนหางรวมถึงอวัยวะของไส้เดือนฝอยได้ชัดเจน เพื่อลดเวลาในการทำงานของนักวิชาการและเพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการตรวจสอบให้มีความน่าเชื่อถือยิ่งขึ้น

เทคโนโลยีดังกล่าว ไม่เพียงใช้งานกับการตรวจหาไส้เดือนฝอยในธุรกิจพรรณไม้น้ำได้เท่านั้น แต่ยังสามารถประยุกต์ใช้งานได้อีกหลากหลาย อาทิ ทางด้านอุตสาหกรรมการแพทย์เช่น การนำไปศึกษาฤทธิ์ยาต่อปรสิตเพื่อดูประสิทธิภาพของยาที่พัฒนาขึ้น ด้านอุตสาหกรรมอาหาร ด้านปศุสัตว์ เป็นต้น

นักวิจัย กล่าวต่อว่า ชุดคิดดังกล่าวมีโอกาสทางการตลาดอย่างมาก หากได้รับการขยายผลเชิงพาณิชย์ เพราะที่ผ่านมายังไม่มีเทคโนโลยีสะดวกใช้แบบนี้ในอุตสาหกรรมวิเคราะห์ทดสอบแบบง่ายมาก่อน ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังต้องพึ่งห้องแล็บและผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์โดยตรง

ทั้งนี้งานวิจัยดังกล่าวเป็น 1 ใน 5 ผลงานเด่นที่เกิดจากความร่วมมือระหว่างสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติและพันธมิตร โดยนำมาจัดแสดงในงาน Investors’ Day 2012 เพื่อให้เกิดการพบปะระหว่างนักวิจัยกับนักลงทุนและมีการเจรจาต่อยอดงานวิจัยสู่เชิงพาณิชย์

รายการอ้างอิง :

กานต์ดา บุญเถื่อน. ตรวจหาไส้เดือนด้วยแผ่นชิพ. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 5 ธันวาคม 2555.– ( 130 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


8 × nine =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>