magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก นวัตกรรมรู้ทันโรค
formats

นวัตกรรมรู้ทันโรค

ประสบการณ์ 30 ปีของเบรียแล็บ ทำให้การมองตลาดการแพทย์เป็นและไม่รีรอที่จะนำนวัตกรรมใหม่ๆมาต่อยอดเมื่อมีโอกาสประสบการณ์ 30 ปีของ

เบรียแล็บ ด้านการให้บริการตรวจสารชีวเคมีในเลือด ทำให้ทีมวิจัยของบริษัทมีประสบการณ์ด้านการแพทย์ก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง กระทั่งแตกไลน์เป็นธุรกิจนำเข้าและพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคแบบรวดเร็วขึ้นเอง และเป็นที่ยอมรับในวงการแพทย์ด้วยเวลาเพียงแค่ 10 ปี

“เบรียแล็บ แตกไลน์ธุรกิจจากการรับตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างเลือดมาเป็นผู้ค้าชุดตรวจวินิจฉัยโรคแบบรวดเร็ว โดยสร้างโรงงานขึ้นที่จ.เพชรบูรณ์ เพราะเล็งเห็นว่าประเทศไทยต้องนำเข้าชุดตรวจวินิจฉัยโรคแบบรวดเร็วในราคาแพง หากมีโรงงานสัญชาติไทยเกิดขึ้นทำหน้าที่รับจ้างผลิตหรือพัฒนาโนฮาวน์ขึ้นเองและจำหน่ายในประเทศ น่าจะลดการเสียดุลทางด้านการแพทย์ได้ทางหนึ่ง”ธีระ นิภากรพันธ์ ผู้จัดการโรงงาน แปซิฟิค ไบโอเทค กล่าว

:ประสบการณ์เบิกทางธุรกิจ

ผู้จัดการโรงงาน บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด กล่าวต่อว่า แปซิฟิค ไบโอเทค เป็นธุรกิจจำหน่ายชุดตรวจวินิจฉัยโรคแบบรวดเร็วทั้งแบบนำเข้าและรับจ้างผลิตมาได้ 10 ปีแล้ว โดยแตกไลน์มาจากบริษัทเบรียแล็บซึ่งให้บริการด้านการตรวจหาสารชีวเคมีหรือการติดเชื้อกว่า 700 รายการ จากตัวอย่างเลือดที่สถานพยาบาลส่งมาให้ตลอด 30 ปีที่ผ่านมา

ธุรกิจผลิตชุดตรวจวินิจฉัยโรคที่บริษัทผลิตอยู่ในตอนนี้มี 4 กลุ่มได้แก่ ชุดตรวจฮอร์โมน ชุดตรวจโรคติดเชื้อ ชุดตรวจสารเสพติด และชุดตรวจโรคในสัตว์ นอกจากนี้ยังรับจ้างผลิตชุดตรวจวินิจฉัยแบบรวดเร็วทั้งของไทยและต่างชาติอีกด้วย อาทิ ชุดตรวจหาไวรัสเอดส์จากน้ำลายที่รู้ผลในเวลา 20 นาทีของสหรัฐอเมริกา ชุดตรวจไวรัสเด็งกี่ของออสเตรเลีย ชุดตรวจเชื้อราในช่องคลอดของสิงคโปร์ เป็นต้น

“ประสบการณ์ของทีมวิจัยเบรียแล็บกว่า 30 ปีทำให้การรับจ้างผลิตหรือการพัฒนาชุดตรวจวินิจฉัยโรคแบบรวดเร็วไม่ใช่เรื่องยาก แถมเป็นเรื่องที่ท้าทายความสามารถของบริษัทที่ต้องทำให้ได้ รวมถึงการนำงานวิจัยของคนไทยที่มีโอกาสทางการตลาดมาต่อยอดจนพร้อมขยายผลสู่เชิงพาณิชย์”ผู้จัดการโรงงาน แปซิฟิค ไบโอเทค กล่าวและว่า การสนับสนุนงานวิจัยของคนไทยเป็นเรื่องดีเพราะระยะยาวจะช่วยลดการนำเข้าจากต่างประเทศ และถ้ามีงานวิจัยไหนที่สนใจพร้อมที่จะขยายผลสามารถมาใช้บริการห้องปฏิบัติการของบริษัทได้ ที่นี่มีเครื่องมือ นักวิจัย แผนการตลาด และฝ่ายทดสอบประสิทธิภาพคอยให้บริการแบบครบวงจร

:รู้ทัน‘ไวรัสเอดส์ดื้อยา’

ผลงานล่าสุดที่แปซิฟิค ไบโอเทค อยู่ระหว่างดำเนินการคือ ชุดทดสอบการดื้อยาในผู้ป่วยโรคเอดส์ ซึ่งรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีมาจาก ศ.นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม และคณะจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา ซึ่งทีมวิจัยโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มีการศึกษาวิจัยมานานร่วม 10 ปี จนได้โนฮาวน์สำหรับการตรวจหายีนดื้อยาของเชื้อเอชไอวีไทป์ 1 แบบ genotype assay ที่มีความจำเพาะกับเชื้อเอสไอวี

ดร.เสาวลักษณ์ ด่านสกุล ผู้จัดการวิจัยและพัฒนา บริษัท แปซิฟิค ไบโอเทค จำกัด ผู้ดูแลโครงการพัฒนาชุดทดสอบการดื้อยาในผู้ป่วยโรคเอดส์ กล่าวว่า ที่ผ่านมาผู้ป่วยโรคเอดส์จะต้องได้รับยาต้านไวรัสกินทุกวันวันละหลายเม็ด รวมถึงต้องตรวจหาปริมาณไวรัสที่มีอยู่ในเลือดอยู่เสมอ เพื่อดูว่ายาที่ใช้รักษานั้นให้ผลในการต้านไว้รัสได้มากน้อยแค่ไหน ซึ่งหากคนไข้ลืมกินยา หรือกินไม่ครบ อาเอ็นเอของเซลล์อาจทำให้เกิดการกลายพันธุ์ของโรค ซึ่งทำให้ยาที่กินเพื่อต้านไวรัสตัวนั้นๆอาจไม่ได้ผลและต้องเปลี่ยนตัวยา

ชุดทดสอบการดื้อยาในผู้ป่วยโรคเอดส์จะเป็นผู้ช่วยแพทย์ในการรักษาผู้ป่วยเอดส์ โดยใช้กับคนไข้ที่รับยาต้านไวรัสเอดส์ไปแล้ว เพื่อดูประสิทธิผลของยารักษาที่แพทย์จ่ายให้ไปว่ากินแล้วให้ผลต่อร่างกายอย่างไร หรือร่างกายเกิดการดื้อยาหรือไม่ในทุก 1 เดือน

ขณะนี้บริษัทอยู่ระหว่างเก็บข้อมูลผลการนำชุดทดสอบการดื้อยาในผู้ป่วยโรคเอดส์ไปใช้ในการตรวจตัวอย่างเลือดคนไข้ใน 3 ห้องปฏิบัติการจำนวน 100 ตัวอย่าง ได้แก่ คณะแพทย์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และห้องปฏิบัติการของเบรียแล็บ คาดว่าในปีหน้าน่าจะได้ผลการวิจัยที่เพียงพอสู่การนำไปขยายผลสู่เชิงพาณิชย์

ทั้งนี้โครงการชุดทดสอบการดื้อยาในผู้ป่วยโรคเอดส์ ได้รับเงินอุดหนุนภายใต้โครงการ แปลงเทคโนโลยีเป็นทุนมูลค่ารวม 2.7 ล้านบาท จากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ ในส่วนของการพัฒนาและทดสอบประสิทธิภาพของชุดตรวจในสถานพยาบาล ซึ่งหากพัฒนาได้สำเร็จจะลดจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มดื้อยาต้านไวรัสเอดส์ได้ประมาณร้อยละ 10 ของผู้ป่วยไทยที่มีอยู่กว่า 3.6 แสนราย

รายการอ้างอิง :

กานต์ดา บุญเถื่อน.นวัตกรรมรู้ทันโรค. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 12 ธันวาคม 2555.– ( 387 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
1 Comment  comments 

One Response

  1. ข้อมูลน่าสนใจมากค่ะ

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ 4 = eleven

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>