magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก หุ่นยนต์ผู้ช่วย
formats

หุ่นยนต์ผู้ช่วย

นักเทคโนโลยีเนคเทคอัพเดตวิทยาการ หุ่นยนต์ 2.0 ที่ทำงานใกล้ชิดกับมนุษย์ หมดยุคหุ่นยนต์โรงงานรุ่นเก่าที่ทำงานแยกโซนตามลำพัง

ปัจจุบันในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เช่น โรงงานผลิตรถยนต์ โรงงานผลิตเครื่องบิน โรงงานเหล่านี้มีสายการผลิตด้วยเครื่องจักรกลประเภทหุ่นยนต์ ซึ่งนับว่าเป็นเครื่องจักรกลอัตโนมัติในสายการผลิตที่จำเป็นอย่างยิ่ง แต่หุ่นยนต์ในโรงงานเหล่านี้ยังแยกอยู่คนละแผนกหรือบริเวณกับมนุษย์อย่างชัดเจน

บางครั้งหุ่นยนต์เหล่านี้ต้องอยู่ในคอกต่างหากของมัน ทำหน้าที่ยกหรือประกอบของหนัก ทำงานซ้ำๆ กันตามคำสั่งที่โปรแกรมมันไว้ล่วงหน้า ในขณะที่มนุษย์จะทำงานในส่วนที่ละเอียดอ่อนกว่าและอันตรายน้อยกว่า แต่ในโรงงานแห่งอนาคต มันจะไม่เป็นอย่างนั้น เราจะเห็นมนุษย์กับหุ่นยนต์ทำงานเคียงคู่กัน และช่วยเหลือกันด้วยซ้ำ หุ่นยนต์จะช่วยมนุษย์ทำงานในส่วนที่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ เช่น งานประกอบที่เล็กและละเอียดจนมนุษย์อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย

หรือตัวอย่างเช่น ในโรงงานผลิตเครื่องบินของ Boeing หุ่นยนต์ช่วยวิศวกรในการจัดเตรียมหาเครื่องมือและวัสดุที่ใช้ในการประกอบเครื่องบิน ทำให้ลดเวลาในการทำงาน เพราะวิศวกรไม่ต้องเสียเวลาเดินไปหยิบชิ้นส่วนเหล่านั้นเอง เพราะต้องยอมรับว่างานประกอบบางอย่างซับซ้อนและต้องการประสบการณ์ในการตัดสินใจแก้ปัญหา จึงเป็นการยากที่หุ่นยนต์จะทำงานเช่นนั้นได้ แต่หุ่นยนต์สามารถเป็นผู้ช่วยหรือลูกมือที่ดีได้

นอกจากนี้ หุ่นยนต์เหล่านี้ที่ทำงานร่วมกับมนุษย์ยังทำงานไม่เหมือนกันในแต่ละตัวในแต่ละสถานี โดยมันจะทำงานแตกต่างกันตามลักษณะการทำงานของวิศวกรแต่ละคนที่มันทำงานด้วย เพราะมันมีอัลกอลิธึมที่ทำให้มันสามารถเรียนรู้และปรับตัวในเข้ากับการทำงานของแต่ละคน ทำให้มันสามารถทำนายและล่วงรู้ว่าคนที่ทำงานกับมันจะทำอะไรต่อไป เรียกว่า รู้ใจและเข้าขากันเลยทีเดียว

ตัวอย่างหุ่นยนต์ที่สามารถทำงานร่วมกับมนุษย์ในปัจจุบัน ได้แก่ FRIDA ซึ่งย่อมาจาก Friendly Robot for Industrial Dual-arm Assembly ซึ่งผลิตโดยบริษัท ABB ในประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มันเป็นหุ่นยนต์อเนกประสงค์ที่ไม่มีหัวหรือหน้า มีแต่สองแขนที่สามารถเคลื่อนที่ได้อย่างอิสระแบบ 7 แกน มีมอเตอร์เซอโวที่สามารถทำให้มันจับสิ่งของด้วยความปราณีต มันสามารถเป็นหุ่นยนต์ผู้ช่วยได้เป็นอย่างดี มันสามารถขันน๊อตหรืออัดกาวเข้าไปในรูน๊อตซึ่งเป็นขั้นตอนในการประกอบปีกของเครื่องบินของเครื่องบินโบอิ้ง แล้วให้วิศวกรเป็นคนตอกน๊อตเข้าไป

หรือแม้แต่ในงานเกี่ยวกับการแพทย์ในโรงพยาบาล หุ่นยนต์ FRIDA ก็สามารถเป็นผู้ช่วยได้เป็นอย่างดี เช่น มันถูกใช้เพื่อเป็นผู้ช่วยของศัลยแพทย์ที่กำลังทำการผ่าตัด มันสามารถส่งเครื่องมือผ่าตัดให้แก่ศัลยแพทย์ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ความจริง FRIDA เป็นเพียงหนึ่งในหุ่นยนต์ที่หลายบริษัทผู้ผลิตหุ่ยนต์เพื่อการใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมกำลังวิจัยและผลิตออกมาสู่ท้องตลาด มันจะเป็นหุ่นยนต์ที่เบากว่า ปลอดภัยกว่า ง่ายต่อการโปรแกรมใช้งาน และที่สำคัญราคาถูกลง เราเรียกหุ่นยนต์พวกนี้ว่า หุ่นยนต์ 2.0 (Robotics 2.0)

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. หุ่นยนต์ผู้ช่วย. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 13 ธันวาคม 2555.– ( 98 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


2 + = seven

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>