นายศักดินา กล่าวต่อไปว่า 15.เสน่ห์บางกอก (2509) 16. พยาธิตัวจี๊ด (GNATHOSTOMA SPINIGERUM AND GNATHOSTOMIASIS IN THAILAND : 2510) 17.ยิงเป้านักโทษค้ายาเสพติด 18.อินทรีทอง (2513) 19.ดาไลลามะในสวนโมกข์ (2515) 20.หนุมานพบ 7 ยอดมนุษย์ (2517) 21.ทองพูน โคกโพ ราษฎรเต็มขั้น (2520) 22.ครูบ้านนอก (2521) 23.เมืองในหมอก (2521) 24.คนจร ฯลฯ (2542) และ 25.สวรรค์บ้านนา (2552) สำหรับหลักเกณฑ์การคัดเลือกภาพยนตร์เป็นมรดกของชาตินั้น ต้องเป็นภาพยนตร์ที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ มีคุณค่าทางศิลปะภาพยนตร์ มีความเสี่ยงต่อการสูญเสียหรือยากแก่การหามาทดแทน มีความโดดเด่น มีเอกลักษณ์ มีความสมบูรณ์ครบถ้วนตรงตามต้นฉบับ หรือเป็นภาพยนตร์ที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนและสังคม อนึ่งภาพยนตร์ที่จะได้รับคัดเลือกจะเป็นภาพยนตร์ประเภทใดก็ได้ แต่จะต้องเป็นผลงานของคนไทย หรือเกี่ยวข้องกับคนไทย หรือชาติไทย
ด้านนายโดม สุขวงศ์ ผอ.หอภาพยนตร์ กล่าวว่า สำหรับภาพยนตร์ที่ทรงคุณค่ามาก คือ ภาพยนตร์เรื่องพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลเสด็จนิวัตพระนคร พ.ศ. 2481 (2481) ภาพยนตร์ม้วนนี้ เป็นภาพยนตร์ข่าว สร้างโดย บริษัท ไทยฟิล์ม จำกัด เป็นตัวอย่างอันหาได้ยากของภาพยนตร์ข่าว ที่สร้างโดยบริษัทภาพยนตร์สำหรับฉายตามโรงภาพยนตร์ ภาพยนตร์นี้ได้บันทึกภาพเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ของชาติที่พระบาทสมเด็จพระ เจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ยุวกษัตริย์ พระชนมายุเพียง 13 พรรษา พร้อมด้วยสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอเจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา และสมเด็จพระราชชนนีศรีสังวาล จะเสด็จ ฯ นิวัติพระนครหรือสยามเป็นการชั่วคราว นับเป็นครั้งแรกของแผ่นดินสยาม ซึ่งว่างเว้นจากการมีกษัตริย์ประทับอยู่ในประเทศนับจากปี 2476
นายโดม กล่าวต่อไปว่า อีกเรื่องที่มีผลกระทบต่อประชาชน คือ เรื่องทิ้งระเบิดกรุงเทพในสงครามโลกครั้งที่ 2 (2487) ภาพยนตร์ม้วนนี้ บันทึกจากเครื่องบิน บี 29 ลำหนึ่งในฝูงบินที่ได้รับมอบภารกิจ บินมาทิ้งระเบิดถล่มกรุงเทพ ในเวลากลางวัน ซึ่งคาดว่าคือปฏิบัติการของวันที่ 14 ธันวาคม 2487 ฝูงบินขึ้นบินจากสนามบิน ที่กัลกัตตา หลังจากที่ประเทศไทยประกาศสงครามกับสหรัฐอเมริกาและอังกฤษ เมื่อ 25 มกราคม 2486 กองบินสัมพันธมิตรก็แห่มาทิ้งระเบิดกรุงเทพฯ ทันที ทำให้คนไทยโดยเฉพาะชาวเมืองหลวงได้สัมผัสอิทธิฤทธิ์ของสงครามโลกเป็นครั้ง แรก ภาพยนตร์การทิ้งระเบิดกรุงเทพ ฯ นี้ มีความสำคัญในฐานะเป็นหลักฐานที่จะเตือนให้คนไทยในรุ่นต่อ ๆ ไป ประจักษ์ถึงความน่าสะพึงกลัว ความน่าสลดใจของการทำลายล้างอย่างมหันต์ของมนุษย์ด้วยกัน
“ภาพยนตร์ แม่นาค พระโขนง” ฉบับที่สร้างโดย เสน่ห์ โกมารชุน และแสดงเป็นแม่นาคโดย ปรียา รุ่งเรือง ซึ่งออกฉายเมื่อปี 2502 และได้รับการต้อนรับจากผู้ชมเป็นประวัติการณ์ ทำรายได้สูงถึงล้านบาท นับได้ว่าเป็นแม่นาคภาพยนตร์ฉบับที่ได้รับการกล่าวขวัญถึงมากที่สุด เป็นบันทึกความทรงจำแห่งอารมณ์ความรู้สึก รสนิยมความบันเทิงด้านภาพยนตร์ อิทธิพลความเชื่อ ของสังคมไทยในยุคกึ่งพุทธกาล ถ่ายทอดผ่านสื่อภาพยนตร์ด้วยขนบการแสดงอย่างนาฏลิเก และเทคนิคการถ่ายทำอย่างหนังบ้านจนตัวภาพยนตร์ฉบับนี้กลายเป็นตำนานมาจนถึง ปัจจุบัน”ผอ.หอภาพยนตร์ กล่าว
นายโดม กล่าวอีกว่า เรื่องโชคสองชั้น ปี 2470 ถือเป็นหนังไทยแท้เรื่องแรก สร้างและแสดงโดยคนไทย อายุ 85 ปี ซึ่งหอภาพยนตร์แห่งชาติ ค้นพบเศษฟิล์มเนกาติฟของภาพยนตร์เรื่องนี้เมื่อปี 2538 และสามารถช่วยชีวิตไว้ได้เพียง 82 ฟุต ซึ่งกินเวลาฉายเพียงประมาณ 1 นาทีเศษ จึงเป็นตัวอย่างอันหาได้ยากสุดแสนของภาพยนตร์ไทยยุคภาพยนตร์เงียบ แต่ “โชคสองชั้น” สำคัญที่สุดในฐานะเป็นหนังไทยเรื่องแรก สำหรับผู้สนใจชมภาพยนตร์สามารถขอชมได้ที่ห้องสมุดเชิด ทรงศรี ที่หอภาพยนตร์ ในวันและเวลาทำการ รวมทั้งทุกวันเสาร์-อาทิตย์ ตลอดเดือน พ.ย. – ธ.ค. โดยโรงภาพยนตร์ศรีศาลายา โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม โทร. 0-2482-2013-4 ต่อ 111 หรือดูwww.facebook.com/thaifilmarchivepage
รายการอ้างอิง :
ประกาศขึ้นทะเบียนภาพยนตร์ 25 เรื่องเป็นมรดกชาติปี 55 . เดลินิวส์. การศึกษา). วันที่ 4 ตุลาคม 2555.– ( 119 Views)