magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home Librarian พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่ต่างกันของชาวอเมริกัน
formats

พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่ต่างกันของชาวอเมริกัน

 

ที่มาภาพ: http://www.pewinternet.org

The Pew Research Center’s Internet & American Life Project เผยผลสำรวจ เรื่อง พฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่แตกต่างกัน (ชุมชนเมือง ชุมชนชานเมือง และชุมชนชนบท) ของชาวอเมริกัน โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนชาวอเมริกันจำนวน 2,986 คน ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปีขึ้นไป ระหว่างวันที 16 พ.ย. -21  ธ.ค. 2554


การอ่านนับเป็นพื้นฐานของการเรียนรู้และการได้มาซึ่งสารสนเทศ อีกทั้งความสามารถในการอ่านจัดเป็นเกณฑ์เปรียบเทียบสมรรถนะของการรู้หนังสือ จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีได้ขยายและเสนอรูปแบบใหม่ของการอ่านสำหรับชุมชนเมือง ชานเมือง และชนชท โดยเฉพาะประสบการณ์ในการอ่านทั้งหนังสือฉบับพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ความแตกต่างที่กล่าวถึงสัมพันธ์กับองค์ประกอบด้านประชากรของชุมชนที่แตกต่างกัน เช่น อายุของประชากร ระดับการศึกษาที่สำเร็จ รวมถึงรายได้โดยรวมของครัวเรือน

ผู้อ่าน:
78% ของชาวอเมริกันที่มีอายุตั้งแต่ 16 ขึ้นไป ระบุว่าพวกเขาอ่านหนังสือในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา โดยประชาชนในเมือง (80%) และชานเมือง (80%) อ่านหนังสืออย่างน้อยหนึ่งเล่มในหนึ่งปีที่ผ่าน ขณะที่ประชาชนในชนบทมีตัวเลขอยู่ที่ 71% โดยหนังสือที่ชุมชนทั้ง 3 กลุ่มอ่านนั้นมีความใกล้เคียงกัน

วัตถุประสงค์ของการอ่าน:
ส่วนใหญ่นักอ่านซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป อ่านหนังสือเพื่อความเพลิดเพลินสนุกสนาน (82% ชุมชนชานเมือง 79% ชุมชนชนบท และ 76% ชุมชนเมือง)  นอกจากนี้ชุมชนเมือง (80%) และชุมชนชานเมือง (79%) ยังอ่านหนังสือเพื่อติดตามเหตุการณ์ปัจจุบันต่างๆ ที่เกิดขึ้น

ขณะที่ชุมชนชานเมือง (77%) อ่านบทความวิจัยที่พวกเขาสนใจ เปรียบเทียบกับชุมชนเมือง (74%) และชุมชนชนบท (70%)  57% ของชุมชนชานเมือง และ 58% ของชุมชนเมืองอ่านเพื่อเรียนและทำงาน ขณะที่ชุมชนชนบทตัวเลข คือ 47%

ชาวอเมริกันและห้องสมุด:
ชาวอเมริกันส่วนใหญ่ (58%) ซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป มีบัตรสมาชิกห้องสมุด (69%) และระบุว่าห้องสมุดมีความสำคัญต่อพวกเขาและสมาชิกและครอบครัว โดย 71% ของประชาชนในชุมชนเมืองกล่าวว่าห้องสมุดนั้นเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญต่อพวกเขา โดย 59% มีบัตรสมาชิกห้องสมุด ขณะที่ชุมชนชานเมืองตัวเลขในประเด็นดังกล่าว คือ 69% และ 61% ตามลำดับ ส่วนชุมชนชนบท 62% กล่าวว่าห้องสมุดนั้นเป็นแหล่งข้อมูลที่สำคัญ โดย 48% มีบัตรสมาชิกห้องสมุด

การแนะนำหนังสือ:
สำหรับชาวอเมริกันส่วนใหญ่ได้รับการแนะนำหนังสือที่น่าสนจากสมาชิกในครอบครัวและเพื่อน มีเพียง 25% ของชุมชนเมือง 24% ของชุมชนชานเมือง และ 18% ของชุมชนชนบท ที่ได้รับการแนะนำหนังสือที่น่าสนจากร้านหนังสือที่พวกเขาเข้าไปเป็นลูกค้า อีกหนึ่งแหล่งที่ให้คำแนะนำเกี่ยวกับหนังสือสำหรับชุมชนทั้ง 3 ประเภท คือ บรรณารักษ์และเว็บไซต์ห้องสมุด

การอ่านหนังสือพิมพ์และวารสาร:
58% ของชาวอเมริกันซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไป อ่านหนังสือพิมพ์และวารสารเป็นประจำ ทั้งนี้ชุมชนชานเมืองและชุมชนเมือง 57% และ 56% ตามลำดับ อ่านหนังสือพิมพ์ผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ e-Reader ขณะที่การอ่านนิตยสารและวารสารนั้น 52% ของชุมชนชานเมืองซึ่งมีอายุตั้งแต่ 16 ปี ขึ้นไปมีการอ่านนิตยสารและวารสารเป็นประจำ  ซึ่งสูงกว่าชุมชนเมือง (47%) และชุมชนชนบท (44%) ทั้งนี้ 36% และ 33% ของชุมชนเมืองและชุมชนชานเมือง ระบุว่าอ่านนิตยสารและวารสารผ่านโทรศัพท์มือถือ หรือ e-Reader เปรียบเทียบกับชุมชนชนบท 24%

หนังสือฉบับพิมพ์ VS หนังสืออิเล็กทรอนิกส์:
ปีที่ผ่านมามี 14% ของผู้อ่านอ่านหนังสือฉบับพิมพ์และอิเล็กทรอนิกส์ แต่เมื่อมีการสอบถามถึงความพึงพอใจต่อรูปแบบของหนังสือทั้งสองรูปแบบกับกิจกรรมการอ่านต่าง เช่น การแบ่งปันให้กับเพื่อน การอ่านในเตียงนอน การอ่านในขณะเดินทางท่องเที่ยว เป็นต้น พบว่านักอ่านในชุมชนเมืองพึงพอใจต่อหนังสืออิเล็กทรอนิกส์มากกว่า ต่างจากประชาชนในชุมชนชนบทพึงพอใจต่อหนังสือฉบับพิมพ์มากกว่า

จากผลสำรวจข้างต้นอาจกล่าวได้ว่าพฤติกรรมการอ่านของประชาชนใน 3 ชุมชน ค่อนข้างคล้ายคลึงกัน แต่ปัจจัยที่ส่งผลให้ตัวเลขมีความแตกต่างกันคือ อายุของประชากร ระดับการศึกษาที่สำเร็จ รวมถึงรายได้โดยรวมของครัวเรือน โดยประเภทของชุมชนที่อยู่ไม่มีผลต่อพฤติกรรมการอ่าน กล่าวคือแม้จะอาศัยอยู่ในชุมชนที่ต่างประเภทแต่มีอายุ ระดับการศึกษา และรายได้ที่คล้ายคลังกัน ก็ส่งผลให้มีพฤติกรรมการอ่านที่คล้ายคลึงกัน ดังนั้นประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น ต่างจากประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนชานเมืองและชนบท โดยเฉพาะผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนชนบทส่วนใหญ่เป็นผู้ว่างงานหรือเกษียณ นักเรียน โดยเฉพาะผู้สูงอายุ (อายุระหว่าง 50-64 ปี) และเป็นผู้มีรายได้ต่อครัวเรือนต่ำกว่าชุมชนประเภทอื่นๆ รวมทั้งมีการศึกษาในระดับมัธยมศึกษาเป็นส่วนใหญ่ ในทางตรงกันข้ามประชาชนที่อาศัยอยู่ในชุมชนชานเมืองส่วนใหญ่อายุอยู่ในช่วงวัยกลางคน มีรายได้ต่อครัวเรือนสูง และทำงานแบบเต็มเวลา

นอกจากนี้ลักษณะทางภูมิศาสตร์ที่ตั้งของชุมชนก็ส่งผลต่อพฤติกรรมการอ่าน คือ ชุมชนเมืองส่วนใหญ่ยังคงประสบปัญหาเรื่องการเข้าถึงอินเทอร์เน็ต และมีร้านขายหนังสือไม่มากเมื่อเทียบกับชุมชนเมืองและชุมชนชานเมือง

รายงานผลความแตกต่างของพฤติกรรมการอ่านในชุมชนที่แตกต่างกันนี้มีความสำคัญต่อห้องสมุด เพื่อเพิ่มความเข้าในลักษณะของกลุ่มผู้ใช้บริการในแต่ละชุมชน นำไปสู่การพัฒนา/ปรับปรุง รูปแบบและช่องทางในการให้บริการเพื่อส่งเสริมการเข้าถึงสารสนเทศแก่ผู้ใช้มากขึ้น

 

ที่มาข้อมูล:

Miller, C.,  Purcell, K., & Rainie, L. (2012). Reading Habits in Different Communities [Online]. Washington, DC: PewInternet. http://libraries.pewinternet.org/2012/12/20/reading-habits-in-different-communities [Accessed 21 December 2012].– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


− one = 6

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>