magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก กฎอินเทอร์เน็ตใหม่ไม่เข้าตานานาประเทศ สาวกเน็ตไม่ต้องจ่ายเงินทุกครั้งที่คลิก!
formats

กฎอินเทอร์เน็ตใหม่ไม่เข้าตานานาประเทศ สาวกเน็ตไม่ต้องจ่ายเงินทุกครั้งที่คลิก!

จากการเกาะติดข่าวเรื่องการแก้ไขเนื้อหาของสนธิสัญญาการบริหารเครือข่าย โทร คมนาคมของโลก หรือ อินเทอร์เน็ต เทเลคอมมูนิเคชั่น เร็กกูเรชั่น (Internet Telecommunication Regulations : ITRs) กฎหมายระหว่างประเทศที่ได้มีการตกลงให้แก้ไขเนื้อหาตั้งแต่ปี ค.ศ. 2010 (พ.ศ. 2553) และปลายเดือน ธ.ค. 2555 ประเทศสมาชิกของสหภาพโทรคมนาคมระหว่างประเทศ (ไอทียู) ราว 179 ประเทศ จะมีการลงนามในสนธิสัญญาดังกล่าว ระหว่างการประชุมด้านโทรคมนาคมซึ่งไอทียูจัดขึ้นที่เมืองดูไบ

โดยประเด็นสำคัญของเนื้อหาในสนธิสัญญาที่แก้ไขจาก 15 ข้อ มี 6 ข้อที่จะส่งผล    กระทบต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ได้แก่ 1. ความปลอดภัยทางอินเทอร์เน็ต 2. การใช้ทรัพยากรเลขหมายในทางที่ผิด 3. การกำหนดนิยามเรื่องบริการโทรคมนาคม 4. ระบุตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตและประวัติการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ต  5. คุณภาพบริการ และ 6. ค่าเชื่อมโยงโครงข่าย

สำหรับเรื่องที่แก้ไขเนื้อหาและส่งผล กระทบกับคนใช้อินเทอร์เน็ตทุกคน คือการใช้อินเทอร์เน็ต โพรโตคอล แอดเดรส (ไอพี แอดเดรส) ซึ่งระบุว่าประเทศสมาชิกต้องหาวิธีใดวิธีหนึ่งในการคิดค่าบริการจากผู้ให้ บริการโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อการใช้งานอินเทอร์เน็ตด้วยไอพี แอดเดรส ซึ่งเป็นความพยายามที่จะจัดเก็บค่าบริการจากการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตทุก ครั้ง และเก็บเงินทุกครั้งที่เข้าสู่ข้อมูลต่าง ๆ โดยเก็บเงินทั้งจากผู้ให้บริการและผู้ใช้บริการ เป็นการแก้เนื้อหาโดยอิงรูปแบบการเก็บค่าบริการจากรูปแบบการคิดค่าบริการของ โทรศัพท์มือถือ

ทว่าจากกระบวนการต่อรองสนธิสัญญาดังกล่าวระหว่างการประชุมวันที่ 3-14 ธ.ค. 2555 หากมี 25% ของประเทศที่เป็นสมาชิกไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของสนธิสัญญา ต้องนำสนธิสัญญาที่แก้ไขมาพิจารณาใหม่ ซึ่งปรากฏว่าผลการประชุมต่อรองประเทศสมาชิกส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยต่อกฎใหม่ดัง กล่าว

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ กรรมการกิจ   การกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.)  ในฐานะที่ปรึกษาหัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุม World Conference on International Telecommunications 2012 (WCIT-12) พร้อมด้วยคณะได้เข้าร่วมการประชุม ณ เมืองดูไบ ตั้งแต่วัน 10 ธ.ค.2555 ระบุว่า ประเด็นสำคัญที่เป็นที่จับตามองคือ “การรวมเอาคำว่า ไอซีที และอินเทอร์เน็ต” เข้าไว้ในคำจำกัดความของโทรคมนาคม ซึ่งหลายประเทศ เช่น จีน รัสเซีย และกลุ่มประเทศในแถบตะวันออกกลางผลักดัน ล่าสุดหลังจากที่มีการอภิปรายกันอย่างดุเดือด และมีการแบ่งกลุ่มย่อยล็อบบี้ ทำให้เกิดการประนีประนอมโดยเสนอทางเลือกที่จะนำเอาประเด็นเรื่อง “ไอซีที และอินเทอร์เน็ต” บรรจุไว้ในรายละเอียด
(Resolution) เพื่อให้มีการศึกษาต่อไป โดยยังไม่มีการบรรจุเรื่องนี้ไว้ในข้อความตกลงใด ๆ  ด้วยเหตุนี้ประเด็นเรื่อง ไอซีที และอินเทอร์เน็ตจึงสามารถยุติลงได้ ซึ่งเป็นเรื่องของข้อเสนอแนะและไม่มีผลผูกพันประเทศภาคี ถือเป็นความสำเร็จของกลุ่มประเทศสมาชิก ไอทียู รวมทั้งไทยที่แสดงท่าทีชัดเจนมาโดยตลอดว่าไม่ประสงค์จะขยายคำจำกัดความของ โทรคมนาคมให้รวมถึงประเด็นเรื่อง “ไอซีที และอินเทอร์เน็ต”

ส่วนประเด็นที่ถกเถียงกันอย่างกว้างขวางเป็นเวลานาน คือเรื่องการเพิ่มประเด็นการเคารพในหลักการเรื่องสิทธิมนุษยชนเข้าไปใน อารัมภบท (Preamble Clause) ของร่าง International Telecommunications Regulations (ITRs) โดยที่ประชุมแบ่งเป็นสองฝ่าย ขณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการให้บรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบท อีกฝ่ายหนึ่งเห็นว่าไม่ควรใส่ไว้ หรือหากจะใส่ไว้ก็ควรใช้ถ้อยคำที่ยืดหยุ่นและไม่ผูกพันประเทศภาคี

ดร.สุทธิพล กล่าวว่า ที่ประชุมใหญ่ไม่สามารถตกลงกันได้โดยฉันทามติ ประเทศอิหร่านจึงเสนอให้มีการตัดสินด้วยการลงมติในประเด็นนี้โดยที่ประชุม ได้ลงคะแนนลับ โดยผลปรากฏว่าเสียงข้างมากจำนวน 77 เสียง เห็นชอบให้บรรจุเรื่องสิทธิมนุษยชนไว้ในอารัมภบทของไอทีอาร์นับเป็นความ สำเร็จอีกครั้งหนึ่งของประเทศไทยในการประชุมครั้งนี้ ที่มีส่วนทำให้หลักเกณฑ์โทรคมนาคมระหว่างประเทศต้องคำนึงถึงหลักการพื้นฐาน ในเรื่องสิทธิมนุษยชน อย่างไรก็ตามในอารัมภบทนี้ได้มีการเพิ่มข้อความในวรรคสาม ให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวยอมรับสิทธิในการเข้าถึงบริการโทรคมนาคมระหว่างประเทศ ของประเทศภาคี ซึ่งทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกา และกลุ่มประเทศยุโรปไม่พอใจ เนื่องจากไม่ต้องการให้มีข้อความดังกล่าวปรากฏอยู่ด้วยเหตุนี้แม้ที่ประชุม ส่วนใหญ่จะสามารถตกลงกันในร่างไอทีอาร์ได้เป็นผลสำเร็จ แต่ทำให้ประเทศสหรัฐอเมริกาและกลุ่มประเทศยุโรปไม่พอใจและกล่าวว่าจะไม่ลง นามรับรองร่างความตกลงใหม่นี้

เนื่องจากมีหลายประเด็นที่ละเอียดอ่อนจำเป็นต้องนำไปศึกษาถึงผลกระทบและ ความสอดคล้องกับกฎหมายภายในที่เกี่ยวข้อง หลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวน โดยประเทศไทยได้ตั้งข้อสงวนที่จะไม่ผูกพันตามร่างไอทีอาร์นี้ หากมีประเด็นที่ขัดต่อกฎหมายภายในของประเทศไทย และสงวนสิทธิที่จะตั้งข้อสงวนเพิ่มเติมก่อนที่จะให้สัตยาบัน รวมทั้งสงวนสิทธิที่จะดำเนินการใด ๆ หากประเทศภาคีอื่นไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติที่เป็นผลจากการเจรจานี้หรือมีการ ตีความที่ไม่เหมาะสม.

รายการอ้างอิง :

กฎอินเทอร์เน็ตใหม่ไม่เข้าตานานาประเทศ สาวกเน็ตไม่ต้องจ่ายเงินทุกครั้งที่คลิก!. เดลินิวส์ (ไอที). วันพฤหัสบดีที่ 20 ธันวาคม 2555.

– ( 64 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


eight − = 2

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>