magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เก็บมาเล่า เอามาฝาก “ผักสดไทย”สู่ในตลาด “อียู”แนวโน้มดี – เกษตรทั่วไทย
formats

“ผักสดไทย”สู่ในตลาด “อียู”แนวโน้มดี – เกษตรทั่วไทย

ปัญหา สารเคมีและเชื้อจุลินทรีย์ ตก ค้างปนเปื้อนในพืชผักและผลไม้ เป็นอุปสรรคสำคัญต่อการส่งออกสินค้าพืชของไทยไปต่างประเทศ ปัญหาดังกล่าวเกือบทำให้ไทยถูก สหภาพยุโรป หรือ อียู (EU) ระงับการนำเข้าสินค้าผักสด หลังได้รับการแจ้งเตือนจากอียูบ่อยครั้ง กรมวิชาการเกษตร ได้มุ่งมั่นในการแก้ไขปัญหาอย่างจริงจัง โดยกำหนดมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ (Establishment list : EL)การส่งออกผักและผลไม้สดไปสหภาพยุโรป ซึ่งได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ประกอบการและผู้ส่งออก ทำให้ปัญหาสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้อียูเชื่อมั่นในมาตรการฯนี้ ทำให้ไทยสามารถส่งออกสินค้าผักสดไปยังอียู ได้คล่องตัวมากขึ้นนายดำรงค์ จิระสุทัศน์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า   ภายหลังกรมวิชาการเกษตรได้นำ มาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชีรายชื่อ มาใช้ควบคุมระบบการผลิตสินค้าผักสด เพื่อส่งออกไปยังกลุ่มอียูสามารถแก้ไขปัญหาสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ ปนเปื้อนในสินค้าผักสดได้ ถือเป็นเครื่องสำคัญที่ช่วยผลักดันการส่งออกสินค้าผักสดไปยังตลาดอียูได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ล่าสุดสำนักงานที่ปรึกษาการเกษตรต่างประเทศ ประจำสหภาพยุโรป ได้ส่งหนังสือแจ้งสถิติปริมาณการตรวจพบสารตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ตกค้างใน ผักไทยที่ส่งออกไปยังอียูไตรมาสที่ 2 ปี 2555 ซึ่งผลการสุ่มตรวจพบว่า ปัญหาการตรวจพบเชื้อจุลินทรีย์และสารพิษตกค้างในพืชผักของไทยมีปริมาณลดลงใน ระดับที่ต่ำกว่าทุกครั้งที่ผ่านมาตั้งแต่ปี 2553 คาดว่า อาจเป็นผลมาจากการที่กรมวิชาการเกษตรนำผักกลุ่มภายใต้

ข้อกำหนด EC Regulation 669/2009  ได้แก่ ถั่วฝักยาว มะเขือ พืชตระกูลกะหล่ำ สะระแหน่ ผักชี และขึ้นฉ่าย เข้าสู่ระบบ EL ด้วย DG-SANCO ได้แจ้งสถิติการตรวจพบสารฆ่าแมลงตกค้างในสินค้าผักไทยที่ส่งออกไปอียูภายใต้ การถูกสุ่มตรวจเข้ม ณ ด่านนำเข้าของอียู โดยไตรมาสแรกของปี 2555 ตรวจพบ 6.2%  และไตรมาสที่ 2 พบเพียง 2.35% ต่ำกว่าช่วงเดียวกันของปี 2554 ที่ตรวจพบสารฆ่าแมลง 10.96% และ 14.43% ส่วนการตรวจเชื้อจุลินทรีย์ในผักสด ได้แก่ เชื้อซัลโมเนลลา ปีนี้ไม่พบการปนเปื้อน ซึ่งถือเป็นข่าวดีที่ปัญหามีแนวโน้มลดลงมาก ทำให้อียูมีความพึงพอใจในผลการสุ่มตรวจ

จากสถิติดังกล่าว  ทำให้คณะกรรมาธิการยุโรปเตรียมที่จะเสนอต่อประเทศสมาชิกให้ลงมติลดระดับการ สุ่มตรวจหาสารฆ่าแมลงตกค้างในผักกลุ่มกะหล่ำ  มะเขือ และถั่วฝักยาวที่นำเข้าจากไทย  จากเดิมที่เคยสุ่มตรวจที่ระดับ 50% ลดลงเหลือ 20% ซึ่งคาดว่า ประเทศสมาชิกอียูจะเห็นด้วยกับข้อเสนอดังกล่าว  และลดระดับการสุ่มตรวจผักสดไทยในต้นปี 2556

อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวอีกว่า ที่ผ่านมา มีประเทศที่ส่งออกผักสดไปยังอียู ประสบปัญหาการตรวจพบสารเคมีตกค้างและเชื้อจุลินทรีย์ปนเปื้อนสินค้าคล้ายกับ ไทย โดยเฉพาะประเทศเวียดนาม ทางอียูจึงได้ขอให้ไทยเป็นต้นแบบให้กับประเทศที่มีปัญหา โดยเวียดนามได้ขอความร่วมมือจากไทย เพื่อศึกษาเรียนรู้และดูงานเกี่ยวกับการจัดทำมาตรการควบคุมพิเศษระบบบัญชี รายชื่อจากกรมวิชาการเกษตรแล้ว

รายการอ้างอิง :

“ผักสดไทย”สู่ในตลาด “อียู”แนวโน้มดี – เกษตรทั่วไทย. เดลินิวส์ (เกษตร). วันอังคารที่ 25 ธันวาคม 2555.– ( 100 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 − two =

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>