magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home เทคโนโลยี หุ่นยนต์อยู่ร่วมกับมนุษย์
formats

หุ่นยนต์อยู่ร่วมกับมนุษย์

นักเทคโนโลยีจากเนคเทค พาไปเปิดโลกอนาคตของหุ่นยนต์ยุค 2.0 หรือ Robotics 2.0 ที่จะทำงานใกล้ชิดมนุษย์ แถมยังมีประสาทสัมผัสเป็นเลิศ

หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ (Industrial robot) ที่เป็นมิตรกับมนุษย์ สามารถทำงานเคียงคู่กับมนุษย์ในส่วนที่เกินความสามารถของมนุษย์ที่จะทำได้ เช่น งานที่พละกำลังมหาศาล หรือที่ต้องใช้ความละเอียดจนมนุษย์อาจจะเกิดข้อผิดพลาดได้ง่าย จะเป็นแนวโน้มของการผลิตในอนาคต (Future of Manufacturing) แนวโน้มหรือ trend ของวิทยาการหุ่นยนต์ในยุคต่อจากนี้ไป ที่เราเรียกว่ายุค Robotics 2.0 นั้นยังมีอีกหลายแนวโน้ม
จากข้อมูลปรากฏในนิตยสาร IEEE Robotics & Automation ที่ตีพิมพ์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา มีหลายแนวโน้มที่น่าสนใจ แต่แนวโน้มที่มาแรงที่สุดของปี 2012 นี้ เห็นทีจะเป็น หุ่นยนต์ที่สามารถอยู่อาศัยร่วมกับมนุษย์ (Co-inhabitant Robot) เช่น หุ่นยนต์ที่ช่วยเหลือผู้สูงอายุที่บ้านพักอาศัย หรือหุ่นยนต์ทำหน้าที่คอยช่วยเหลือมนุษย์ไม่ว่าจะเป็นที่บ้านหรือทำงาน ซึ่งทางประเทศสหรัฐอเมริกาโดย National Robotics Initiative ได้ประกาศทุ่มเงินวิจัยมากถึง 2 พันล้านบาท เพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ที่สามารถมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ได้อย่างลงตัว

นอกจากหุ่นยนต์จะต้องมีสมองหรือระบบประมวลผลที่ฉลาดอย่างน่าทึ่งแล้ว มันต้องมีประสาทสัมผัสที่เหมือนมนุษย์หรือถ้าเป็นไปได้ต้องเหนือมนุษย์ด้วยซ้ำ

ประสาทสัมผัสที่สำคัญที่สุดคือ ตา ทำหน้าที่รับรู้วัตถุและตำแหน่ง ปัจจุบันเทคโนโลยี Kinect ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเซนเซอร์ 3 มิติของ Microsoft มาทำหน้าที่นี้ได้อย่างดี ทดแทนกล้องแบบเดิมและการใช้ลำแสงเลเซอร์แบบกวาด เนื่องจากการใช้กล้องสองตัวทำงานเลียนแบบตามนุษย์โดยที่มันสามารถค้นหาและจดจำตำแหน่งของสิ่งที่มันมองเห็นและวัตถุที่เคลื่อนไหวเป็นแบบ 3 มิติ

ในเร็วๆ นี้คาดว่าเทคโนโลยี Kinect 2 จะสามารถอ่านริมฝีปากมนุษย์ได้ ทำให้หุ่นยนต์เข้าใจคำสั่งจากปากมนุษย์โดยตรง นอกจากเทคโนโลยี Kinect แล้วยังมีการพัฒนาเทคโนโลยี Computational Camera ที่ชื่อว่า Lytro พัฒนาโดยทีมนักวิจัยจาก Stanford University มันสามารถสร้างภาพ 3 มิติจากกล้องโดยคำนวณจากความเข้มของแสงและมุมตกกระทบของแสง

นอกจากเทคโนโลยีเหล่านี้จะเป็นตาให้กับหุ่นยนต์ มันยังช่วยให้หุ่นยนต์เรียนรู้วัตถุรอบๆ ตัวมันและเก็บเข้าสู่ระบบความจำ ทำให้มันฉลาดมากยิ่งขึ้นทุกวันๆ และนอกจากประสาทสัมผัสการมองเห็นแล้ว ประสาทสัมผัสอีกอย่างหนึ่งที่สำคัญของหุ่นยนต์ได้แก่ การสัมผัส (Tactile หรือ Touch) ยิ่งเมื่อหุ่นยนต์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับมนุษย์ การสัมผัสของหุ่นยนต์ต้องนิ่มนวล (soft touch) ปกติการควบคุมแขนของหุ่นยนต์อาจจะใช้การควบคุมตำแหน่งของมอเตอร์อย่างแม่นยำ แต่มันจะให้ความรู้สึกกระชากหรือกระตุก

ดังนั้น ต้องมีการใช้เซนเซอร์เพื่อรับรู้การสัมผัสเพิ่มเติมลงไปเพื่อส่งข้อมูลย้อนกลับไปยังมอเตอร์ได้แม่นยำมากยิ่งขึ้น หรือ /แม้แต่การใช้เซนเซอร์แบบเมมเบรนขนาดเล็กและบาง แปะลงบนผิวของนิ้วมือและอุ้งมือของหุ่นยนต์เพื่อรับรู้ถึงแรงสัมผัส เพื่อให้หุ่นยนต์สามารถปรับแรงสัมผัสให้เหมาะสมและนิ่มนวลมากขึ้นแม้กระทั้งหยิบไข่ได้อย่างสบาย

นอกจากนี้นิ้วของหุ่นยนต์ยุคใหม่ยังมีลักษณะนิ่มและยืดหยุ่นเหมือนผิวหนังของมนุษย์อีกด้วย จะเห็นได้ว่าหุ่นยนต์ในยุค 2.0 นั้นมันมีประสาทสัมผัสที่ใกล้เคียงกับมนุษย์เรามากขึ้นทุกที จนกลัวว่าสักวันมันอาจจะรับรู้และเข้าใจเรามากกว่ามนุษย์ด้วยกันเสียอีก

รายการอ้างอิง :

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์. หุ่นยนต์อยู่ร่วมกับมนุษย์. กรุงเทพธุรกิจ (ไอที-นวัตกรรม : นวัตกรรม). วันที่ 27 ธันวาคม 2555 .– ( 135 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


+ seven = 16

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>