magnify
magnify

Open Knowledge for all 

Home การแพทย์/สาธารณสุข สมุนไพร​ ‘​ใบ​มะรุม​’​
formats

สมุนไพร​ ‘​ใบ​มะรุม​’​

ปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสนใจผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทสมุนไพรมาก ขึ้น หนึ่งในนั้นมี “ใบมะรุม” รวมอยู่ด้วย  จากการตรวจสอบข้อมูลทางเว็บไซต์ พบว่า มีการประกาศขายกันเกลื่อน พร้อมทั้งอวดอ้างสรรพคุณต่าง ๆ นานา ส่วนจะจริงเท็จ และมีความจำเป็นเพียงใด ที่จะต้องซื้อหามารับประทาน  มาฟังคำตอบกัน

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.มานิต ธีระตันติกานนท์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข บอกว่า ขณะนี้ในท้อง ตลาดมีผลิตภัณฑ์สมุนไพรใบมะรุมจำหน่ายอย่างแพร่หลาย ทั้งประเภท แคปซูล และ  ชาชง
ก่อนอื่นต้องขอเรียนว่า มะรุมนี้เป็นที่รู้จักของคนไทยมาตั้งแต่โบราณ บ้างก็รับประทานเนื้อในฝักและเมล็ดเป็นอาหาร ในตำราแผนโบราณของไทยระบุว่า เปลือกต้นใช้เป็นยาขับลมในลำไส้ รักษาแผลในปากและป้องกันอาการเมาสุราได้ บางประเทศใช้เป็นยาครอบจักรวาล

จากรายงานทางวิทยาศาสตร์ พบว่า  ใบมะรุมมีฤทธิ์น่าสนใจหลายประการ เช่น ลดความดันโลหิตสูง ป้องกันพิษต่อตับที่เกิด จากสารคาร์บอนเตตระคลอไรด์ และยาต้านอักเสบชนิดไดโคลฟีแนค ได้ดี ฤทธิ์ต้านการก่อมะเร็งที่เกิดจาก เอปสไตน์บาร์ ไวรัส

สารสกัดโปรตีนจากใบยังมีฤทธิ์ต้านเชื้อแบคทีเรีย และต้านเชื้อรา นอกจากนี้ผลมะรุมยังมีฤทธิ์ลดคอเลสเตอรอล และไขมันในเลือด แต่ขณะนี้ยังไม่มีรายงานด้านความปลอดภัยของสมุนไพรมะรุม

ดังนั้นเพื่อเป็นการคุ้มครองผู้บริโภคและแจ้งเตือนภัยในการ รับประทานสมุนไพรใบมะรุมเพื่อเสริมสุขภาพ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดย สถาบันวิจัยสมุนไพร ได้ศึกษาพิษเฉียบพลันของสมุนไพรมะรุม โดยเก็บตัวอย่างใบมะรุมจากสวนสมุนไพรกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จันทบุรี  มาตรวจสอบ โดยนำมาเตรียมให้อยู่ในรูปผงละเอียดและสารสกัดมะรุม

ผลการทดสอบพิษเฉียบพลันในหนูถีบจักร พบว่า ใบมะรุมที่ขนาด 5 กรัมต่อกิโลกรัม และสารสกัดใบมะรุม ขนาด 20 กรัมต่อกิโลกรัม ซึ่งสูงกว่าขนาดที่คนรับประทานถึง 125 เท่า และ 1,300 เท่า ไม่ทำให้เกิดอาการพิษเฉียบพลัน ไม่มีหนูตัวใดเสียชีวิต และไม่พบความผิดปกติของอวัยวะภายใน

ในเบื้องต้นจึงสรุปได้ว่าการรับประทานใบมะรุมเพื่อเสริมสุข ภาพในระยะสั้น ๆ น่าจะมีความปลอดภัยอย่างไรก็ตามจำเป็นต้องมีการศึกษาด้าน มาตรฐานและคุณภาพทางเคมีรวมทั้งพิษเรื้อรังของใบมะรุมเพิ่ม เติมต่อไป เพื่อให้ผู้บริโภคมั่นใจในการใช้เสริมสุขภาพระยะยาวต่อไป

ท้ายนี้ขอแนะนำผู้บริโภคว่า การรับประทานอาหารหรือสมุนไพร มีทั้งคุณประโยชน์ และโทษ จึงไม่ควรรับประทานอาหารหรือสมุนไพรชนิดเดียวกันเป็นเวลานาน ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอันตรายและผลข้างเคียงต่อร่างกายได้ โดยในวันหนึ่ง ๆ ควรเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และควรรับประทานให้พอเหมาะพอดีหมุนเวียนไม่ซ้ำซาก เพื่อให้ได้สารอาหารที่ร่างกายต้องการอย่างครบถ้วน เพียงเท่านี้ก็น่าจะเพียงพอแล้ว.

รายการอ้างอิง :

นวพรรษ บุญชาญ. สมุนไพร ‘ใบมะรุม’. เดลินิวส์ (เกษตร). วันเสาร์ที่ 24 ตุลาคม 2552.– ( 296 Views)

 
 Share on Facebook Share on Twitter Share on Reddit Share on LinkedIn
No Comments  comments 

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

*


9 + = ten

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>